< Return to Video

เราจะสร้างอากาศสะอาดได้อย่างไร

  • 0:00 - 0:05
    ประมาณ17 ปีที่แล้ว
    ผมเป็นภูมิแพ้อากาศในกรุงเดลี
  • 0:05 - 0:08
    หมอบอกว่าความจุของปอดผม
  • 0:08 - 0:10
    ลดลงเหลือแค่ 70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
  • 0:10 - 0:11
    และมันกำลังฆ่าผม
  • 0:11 - 0:14
    ด้วยความช่วยเหลือจาก IIT
    (สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย)
  • 0:14 - 0:17
    TERI (สถาบันทรัพยากรและพลังงานแห่งอินเดีย)
    และการเรียนรู้จาก NASA
  • 0:17 - 0:19
    พวกเราค้นพบว่า
  • 0:19 - 0:21
    มีต้นไม้ใบเขียวสายพันธ์ุพื้นฐาน 3 ชนิด
  • 0:21 - 0:23
    เป็นต้นใบเขียวธรรมดา ๆ ทั่วไป
  • 0:23 - 0:25
    ที่ช่วยผลิตอากาศสะอาดภายในตัวอาคาร
  • 0:25 - 0:27
    ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพที่ดีของเรา
  • 0:27 - 0:28
    เรายังด้วยพบว่า
  • 0:28 - 0:30
    คุณสามารถลดความจำเป็น
  • 0:30 - 0:32
    ที่ต้องดูดอากาศสะอาดเข้าสู่ตัวอาคาร
  • 0:32 - 0:36
    ขณะที่ยังรักษาคุณภาพอากาศภายในอาคาร
    ให้ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
  • 0:36 - 0:38
    ต้นไม้ 3 ชนิดนั้น คือ หมากเหลือง
  • 0:38 - 0:42
    ลิ้นมังกร และพลูด่าง
  • 0:42 - 0:46
    ชื่อพฤกษศาสตร์ตามที่คุณเห็นด้านหน้านี้
  • 0:46 - 0:48
    หมากเหลืองเป็นต้นไม้ซึ่ง
  • 0:48 - 0:52
    กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์
    และเปลี่ยนให้เป็นออกซิเจน
  • 0:52 - 0:56
    เราต้องการหมากเหลือง
    ขนาดสูงเท่าบ่า 4 ต้น ต่อคน 1 คน
  • 0:56 - 0:57
    ส่วนการดูแล
  • 0:57 - 1:00
    เราต้องเช็ดใบให้มันทุกวัน
    สำหรับกรุงเดลี
  • 1:00 - 1:01
    หรือสัปดาห์ละครั้ง
  • 1:01 - 1:03
    ในเมืองอื่นที่อากาศสะอาดกว่า
  • 1:03 - 1:06
    หมากเหลืองควรปลูกโดยใช้ปุ๋ยคอก
  • 1:06 - 1:09
    ซึ่งปลอดเชื้อ หรือใช้วิธีไฮโดรโปนิกส์
  • 1:09 - 1:13
    และนำออกไปรับแสงแดดทุก 3-4 เดือน
  • 1:13 - 1:16
    ต้นไม้ชนิดที่สอง คือ ลิ้นมังกร
  • 1:16 - 1:18
    ซึ่งเป็นต้นไม้ที่พบได้ทั่วไปมากๆ
  • 1:18 - 1:20
    และเราเรียกมันว่า ต้นไม้ห้องนอน
  • 1:20 - 1:23
    เพราะมันแปลงคาร์บอนไดออกไซต์
    เป็นออกซิเจนตอนกลางคืน
  • 1:23 - 1:27
    เราต้องการลิ้นมังกรสูงเท่าเอว
    6-8 ต้นต่อคน 1 คน
  • 1:28 - 1:30
    ต้นไม้ชนิดที่สามคือ พลูด่าง
  • 1:30 - 1:33
    ซึ่งก็เป็นต้นไม้ที่หาได้ทั่วไปเช่นกัน
  • 1:33 - 1:36
    มันชอบโตในน้ำแบบไฮโดรโปนิกส์
  • 1:36 - 1:39
    ต้นไม้ชนิดนี้ช่วยกำจัดแก๊ส
    ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือเมทานอล
  • 1:39 - 1:40
    และเคมีระเหยอื่น ๆ
  • 1:40 - 1:42
    ต้นไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้
  • 1:42 - 1:44
    ช่วยสร้างอากาศสะอาดที่คุณต้องการ
  • 1:44 - 1:46
    ที่จริง คุณสามารถเข้าไปอยู่ในขวด
  • 1:46 - 1:50
    ที่มีจุกปิดมิด และคุณจะอยู่ได้โดยไม่ตายเลย
  • 1:50 - 1:53
    แม้จะไม่มีอากาศสะอาดอื่นใดๆ เข้ามา
  • 1:53 - 1:55
    พวกเราได้ทดลองปลูกต้นไม้เหล่านี้
  • 1:55 - 1:58
    ในอาคารของเราที่กรุงเดลี ซึ่งมีขนาด
  • 1:58 - 2:01
    50,000 ตารางฟุต อายุ 20 ปี
  • 2:01 - 2:05
    เรามีต้นไม้เกือบ 1,200 ต้น
    สำหรับผู้พักอาศัย 300 คน
  • 2:05 - 2:07
    การศึกษาของเราพบว่า
  • 2:07 - 2:10
    มีความเป็นไปได้ 42%
  • 2:10 - 2:13
    ที่ออกซิเจนในเลือดของคนเรา
    จะเพิ่มสูงขึ้น 1%
  • 2:13 - 2:16
    หากอยู่ภายในอาคารนี้ 10 ชั่วโมง
  • 2:16 - 2:19
    รัฐบาลอินเดียค้นพบ
  • 2:19 - 2:21
    และเผยแพร่การศึกษาที่แสดงว่า
  • 2:21 - 2:24
    อาคารนี้เป็นอาคารเพื่อสุขภาพ
    ที่ดีที่สุดในกรุงนิวเดลี
  • 2:24 - 2:27
    และการศึกษายังแสดงว่า
  • 2:27 - 2:28
    เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารอื่นๆ
  • 2:28 - 2:30
    คนในอาคารนี้เกิดอาการป่วยต่างๆ ลดลง
  • 2:30 - 2:32
    โดยอาการระคายเคืองตาลดลง 52%
  • 2:32 - 2:35
    โรคระบบทางเดินหายใจลดลง 34%
  • 2:35 - 2:37
    อาการปวดหัวลดลง 24%
  • 2:37 - 2:41
    ความเสื่อมปอดลดลง 12%
    และโรคหอบหืดลดลง 9%
  • 2:41 - 2:44
    การศึกษานี้เผยแพร่ตั้งแต่กันยายน 2551
  • 2:44 - 2:47
    และปรากฏในเว็บไซต์ของรัฐบาลอินเดีย
  • 2:48 - 2:51
    จากประสบการณ์ของเรา ชี้ให้เห็นว่า
  • 2:51 - 2:54
    ผลิตภาพของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่ง
  • 2:54 - 2:57
    ถึงมากกว่า 20% เมื่อใช้ต้นไม้เหล่านี้
  • 2:57 - 3:01
    และยังช่วยลดความต้องการพลังงานภายในอาคาร
  • 3:01 - 3:06
    ลงได้มากถึง 15% เพราะความจำเป็น
    ที่ต้องดูดอากาศสะอาดเข้าอาคารน้อยลง
  • 3:06 - 3:08
    ตอนนี้ เราทำการทดลองซ้ำ
  • 3:08 - 3:11
    ในอาคารขนาด 1.75 ล้านตารางฟุต
  • 3:11 - 3:13
    ซึ่งจะมีต้นไม้ภายในอาคารถึง 60,000 ต้น
  • 3:14 - 3:15
    ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ
  • 3:15 - 3:17
    เพราะมันสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมไงครับ
  • 3:17 - 3:18
    เพราะมีการคาดการณ์ว่า
  • 3:18 - 3:20
    ความต้องการพลังงานในโลกของเรา
  • 3:20 - 3:22
    จะเพิ่มขึ้น 30% ในทศวรรษหน้า
  • 3:22 - 3:23
    40% ของพลังงานในโลกนี้
  • 3:23 - 3:25
    ถูกใช้ในอาคารต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • 3:25 - 3:27
    และคาดกันว่า 60% ของประชากรโลก
  • 3:27 - 3:30
    จะอาศัยในอาคารในเขตเมือง
  • 3:30 - 3:34
    ซึ่งจะมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน
    ในอีก 15 ปีข้างหน้า
  • 3:34 - 3:36
    และมีคนที่เลือกอยู่อาศัย
  • 3:36 - 3:39
    และทำงานในอาคาร
    ที่ใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:39 - 3:42
    "หากอยากเปลี่ยนโลก
    จงเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเอง"
  • 3:42 - 3:43
    มหาตมะ คานธี กล่าวไว้
  • 3:43 - 3:44
    ขอบคุณที่รับฟังครับ
  • 3:44 - 3:46
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราจะสร้างอากาศสะอาดได้อย่างไร
Speaker:
คามาล มิทเทิล
Description:

คามาล มิทเทิล ซึ่งเป็นนักวิจัย แสดงให้เราเห็นว่า การจัดวางต้นไม้พื้นๆ 3 ชนิด ไว้ในจุดที่เหมาะสมในบ้านหรืออาคารที่ทำงาน สามารถสร้างอากาศสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจนวัดผลได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
03:46
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for How to grow fresh air
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Varintorn Tacha accepted Thai subtitles for How to grow fresh air
Varintorn Tacha edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Varintorn Tacha edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Varintorn Tacha edited Thai subtitles for How to grow fresh air
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions