< Return to Video

ศูนย์กลางของเอกภพมีจริงหรือ - มาจี ชมิเอล (Marjee Chmiel) และ ทรีเวอร์ โอเวนส์ (Trevor Owens)

  • 0:14 - 0:17
    ที่ศูนย์กลางจักรวาลนั้นมีอะไรนะ ?
  • 0:17 - 0:18
    มันเป็นคำถามหลัก
  • 0:18 - 0:21
    ที่มนุษย์เราสงสัยมาหลายศตวรรษแล้ว
  • 0:21 - 0:23
    แต่การเดินทางสู่คำตอบนั้น
  • 0:23 - 0:24
    เป็นอะไรที่แปลกทีเดียว
  • 0:24 - 0:27
    ถ้าคุณต้องการที่จะทราบคำตอบของคำถามนี้
  • 0:27 - 0:29
    ในศตวรรษที่สามก่อนสากลศักราช
    ในประเทศกรีก
  • 0:29 - 0:30
    คุณอาจมองขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืน
  • 0:30 - 0:32
    และเชื่อในสิ่งทึ่คุณเห็น
  • 0:32 - 0:33
    นั่นเป็นสิ่งที่ อริสโตเติล (Aristotle) เชื่อ
  • 0:33 - 0:36
    เขาคือชายผู้รอบรู้ในยุคนั้น
  • 0:36 - 0:38
    เขาคิดว่า เมื่อเราอยู่บนโลก แล้วเรามองขึ้นไป
  • 0:38 - 0:40
    โลกมันต้องอยู่ตรงกลาง จริงไหมล่ะ
  • 0:40 - 0:42
    สำหรับเขา โลกกลมๆนี้
  • 0:42 - 0:44
    ประกอบด้วยธาตุสี่ชนิด
  • 0:44 - 0:44
    ดิน
  • 0:44 - 0:45
    น้ำ
  • 0:45 - 0:45
    ลม
  • 0:45 - 0:46
    และ ไฟ
  • 0:46 - 0:48
    และธาตุเหล่านี้เปลี่ยนไปมาได้ในกลุ่มร่างแห
  • 0:48 - 0:51
    ของผลึกแข็งทรงกลม
  • 0:51 - 0:53
    แต่ละดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ที่โคจร
  • 0:53 - 0:55
    มีผลึกทรงกลมของพวกมัน
  • 0:55 - 0:58
    เอกภพทั้งหมด และดวงดาวทั้งหมดของมัน
  • 0:58 - 1:00
    เป็นผลึกทรงกลมอันใหญ่ที่สุด
  • 1:00 - 1:02
    ถ้าคุณมองดูท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
  • 1:02 - 1:04
    คุณจะเห็นได้ว่า แนวคิดนี้ใช้ได้ดีทีเดียว
  • 1:04 - 1:06
    ในการอธิบายการเคลื่อนที่ ที่คุณเห็น
  • 1:06 - 1:08
    กว่าหลายศตวรรษ นี่เป็นศูนย์กลางแนวทัศนะ
  • 1:08 - 1:11
    ที่ชาวยุโรปและชาวอิสลาม มีต่อเอกภพ
  • 1:11 - 1:14
    แต่แล้วในปี ค.ศ. 1543 ชายผู้นามว่า
    โคเปอร์นิคัส (Copernicus)
  • 1:14 - 1:16
    เสนอแบบจำลองที่ต่างออกไป
  • 1:16 - 1:17
    เขาเชื่อว่า ดวงอาทิตย์
  • 1:17 - 1:20
    เป็นศูนย์กลางแห่งเอกภพ
  • 1:20 - 1:21
    แนวคิดใหม่ที่แหวกแนวอย่างที่สุดนี้
  • 1:21 - 1:23
    ยากที่จะเป็นที่ยอมรับจากใครหลายๆ คน
  • 1:23 - 1:26
    อย่างไรก็ดี ความคิดของอริสโตเติลนั้นฟังเข้าท่า
  • 1:26 - 1:27
    เมื่อกอปรกับสิ่งที่พวกเขาสามารถเห็นได้
  • 1:27 - 1:29
    และความคิดเหล่านั้นก็ค่อนข้างที่จะเอาใจมนุษย์ซะด้วย
  • 1:29 - 1:31
    แต่การค้นพบเรื่อยมาต่อจากนั้น
  • 1:31 - 1:35
    ทำให้มันยากที่จะละเลย
    แบบจำลองที่มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง
  • 1:35 - 1:37
    ประการแรก โยฮันเนส แคปเลอร์
    (Johannes Kepler) ชี้ชัดไว้ว่า
  • 1:37 - 1:40
    วงโคจรนั้น ไม่ได้เป็นวงกลมหรือทรงกลมอย่างสมบูรณ์
  • 1:40 - 1:42
    จากนั้น กล้องโทรทัศน์ของ กาลิเลโอ (Galileo)
  • 1:42 - 1:44
    ก็พบว่าดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
    โคจรรอบดาวพฤหัสฯ
  • 1:44 - 1:45
    โดยไม่ได้สนใจโลกเลย
  • 1:45 - 1:49
    และจากนั้น นิวตัน (Newton)
    เสนอทฤษฎีความโน้มถ่วงสากล
  • 1:49 - 1:52
    สาธิตให้เห็นว่า วัตถุทุกอย่างนั้นถูกดึงเข้าหากัน
  • 1:52 - 1:54
    ในที่สุด พวกเราต้องละทิ้งความคิดที่ว่า
  • 1:54 - 1:57
    พวกเรานั้นเป็นศูนย์กลางของเอกภพ
  • 1:57 - 2:00
    หลังจากโคเปอร์นิคัสไม่นาน ในยุค 1580
  • 2:00 - 2:02
    พระในนิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาเลียน
    จิออดาโน บรูโน (Giordano Bruno)
  • 2:02 - 2:04
    แนะเอาไว้ว่า ดวงดาวก็คือดวงอาทิตย์
  • 2:04 - 2:06
    ซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกมันก็มีดาวเคราะห์ของมัน
  • 2:06 - 2:09
    และเอกภพนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
  • 2:09 - 2:11
    แนวคิดนี้ไปได้ไม่สวยนัก
  • 2:11 - 2:15
    บรูโนถูกเผาทั้งเป็น
    เพราะข้อคิดเห็นของเขาที่แหวกแนวมาก
  • 2:15 - 2:17
    หลายศตวรรษต่อมา นักปรัชญานาม เรเน เดการ์ต
    (Rene Descartes)
  • 2:17 - 2:20
    เสนอว่าเอกภพลำดับของวังวน
  • 2:20 - 2:22
    ที่เขาเรียกว่า วอร์ทิซิส (Vortices)
  • 2:22 - 2:25
    และดาวแต่ละดวงนั้นอยู่ในใจกลางของวังวน
  • 2:25 - 2:28
    ไม่ช้าไม่นาน เราก็ได้ตระหนักว่า มันมีดาวมากมาย
  • 2:28 - 2:30
    เกินกว่าที่อริสโตเติลเคยฝันไว้
  • 2:30 - 2:32
    เมื่อนักดาราศาสตร์อย่าง
    วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel)
  • 2:32 - 2:34
    มีกล้องโทรทัศน์ที่ดีมากขึ้นและมากขึ้น
  • 2:34 - 2:37
    มันก็เป็นที่ชัดเจนว่า ดวงอาทิตย์นั้นที่จริงแล้ว
  • 2:37 - 2:40
    เป็นหนึ่งในดวงดาวมากมายที่อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก
  • 2:40 - 2:42
    และรอยด่างเปรอะๆบนท้องฟ้าที่เราเห็นล่ะ ?
  • 2:42 - 2:44
    พวกมันเป็นดาราจักรอื่น
  • 2:44 - 2:46
    ที่ใหญ่พอๆกับดาราจักรทางช้างเผือก บ้านของเรา
  • 2:46 - 2:50
    บางที เราอาจจะห่างจากจุดศูนย์กลางมากกว่าที่เราตระหนัก
  • 2:50 - 2:53
    ในช่วง 1920 นักดาราศาสตร์ทำการศึกษาเหล่าเนบิวลา
  • 2:53 - 2:55
    ต้องการที่จะทราบว่า พวกมันเคลื่อนที่อย่างไร
  • 2:55 - 2:57
    โดยหลักของปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect)
  • 2:57 - 2:58
    พวกเขาหวังจะเห็นแสง
    เลื่อนไปทางสีน้ำเงิน
  • 2:58 - 3:00
    สำหรับวัตถุที่เคลื่อนห่างออกไปจากเรา
  • 3:00 - 3:03
    และแสงเลื่อนไปทางสีแดง
    สำหรับวัตถุที่เคลื่อนออกไป
  • 3:03 - 3:05
    แต่พวกเขาเห็นแต่แสงที่เลือนไปทางสีแดง
  • 3:05 - 3:08
    ทุกอย่างเคลื่อนที่ออกห่างจากเราไป อย่างรวดเร็ว
  • 3:08 - 3:11
    สังเกตการณ์นี้เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่ง
  • 3:11 - 3:14
    ของสิ่งที่ตอนนี้เราขนานนามว่า
    ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang Theory)
  • 3:14 - 3:15
    จากการกล่าวอ้างของทฤษฎีนี้
  • 3:15 - 3:16
    สสารทั้งหมดในเอกภพ
  • 3:16 - 3:20
    ครั้งหนึ่งเคยเป็นหนึ่งเดียว
    เป็นอนุภาคที่มีความหนาแน่นเป็นอนันต์
  • 3:20 - 3:22
    โดยนัยแล้ว เอกภพของเรานี้
  • 3:22 - 3:24
    ครั้งหนึ่งเคยอยู่ที่ศูนย์กลาง
  • 3:24 - 3:27
    แต่ทฤษฎีนี้ได้กำจัดแนวคิดทั้งหมดเกี่ยวกับศูนย์กลาง
  • 3:27 - 3:30
    เนื่องจากเอกภพที่ไร้ขอบเขตนั้น
    ไม่สามารถที่จะมีศูนย์กลางได้
  • 3:30 - 3:33
    บิ๊กแบง ไม่ได้เป็นแค่การระเบิดออกในอวกาศ
  • 3:33 - 3:36
    มันเป็นการระเบิดออกของอวกาศเอง
  • 3:36 - 3:38
    สิ่งที่แต่ละการค้นพบใหม่ได้พิสูจน์
  • 3:38 - 3:41
    ก็คือ แม้ว่าการสังเกตของเรานั้นจะจำกัด
  • 3:41 - 3:43
    ความสามารถของเราในการใคร่ครวญและฝันเฟื่อง
  • 3:43 - 3:45
    ถึงสิ่งที่ไกลออกไปนั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่
  • 3:45 - 3:48
    สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ในวันนี้
    อาจเปลี่ยนไปในวันพรุ่งนี้
  • 3:48 - 3:50
    เหมือนกับนักคิดหลายๆท่านที่เราเพิ่งรู้จัก
  • 3:50 - 3:52
    บางครั้ง การคาดเดาที่สุดคะนองของเรา
  • 3:52 - 3:55
    ได้นำไปสู่คำตอบที่แสนจะเรียบง่ายสวยงาม
  • 3:55 - 3:59
    และขับเคลื่อนเราสู่ปริศนา
    ที่น่าสับสนงุนงงเสียยิ่งกว่าเดิม
Title:
ศูนย์กลางของเอกภพมีจริงหรือ - มาจี ชมิเอล (Marjee Chmiel) และ ทรีเวอร์ โอเวนส์ (Trevor Owens)
Speaker:
Marjee Chmiel and Trevor Owens
Description:

ชมแบบเรียนทั้งหมดได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/is-there-a-center-of-the-universe-marjee-chmiel-and-trevor-owens

หนทางอันแสนยาวนานบนถนนสู่การค้นพบว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล ทางช้างเผือก หรือแม้แต่เอกภพ นักคิดจากอริสโตเติลถึงบรูโน ปลุกปล้ำกับปัญหานี้มาหลายศตวรรษ แต่ถ้าเราไม่ได้อยู่ที่ศูนย์กลางของเอกภพ แล้วอะไรล่ะ ที่อยู่ตรงนั้น มาจี ชมิเอล และเทรเวอร์ โอเวนส์ อภิปรายถึงจุดยืนของเราในภาพกว้าง(มากๆ)

แบบเรียนโดย Marjee Chmiel and Trevor Owens
แอนิเมชั่นโดย Qa'ed Mai.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:14
TED Translators admin edited Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kanawat Senanan accepted Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for Is there a center of the universe?
Show all
  • Great translation as always krab. I try to simplified the translation of red-shift and blue-shift. Also remove some "วรรณยุกต์" from names. Let me know if you agree krab.
    -Pun.

  • Love this version ka :)

Thai subtitles

Revisions Compare revisions