Return to Video

แดน กิลเบิร์ต กับคำถามที่ว่า "ทำไมเราจึงมีความสุข?"

  • 0:00 - 0:02
    ถ้าคุณมีเวลาพูด 21 นาที
  • 0:02 - 0:05
    สองล้านปีก็ดูจะเป็นเวลาที่นานเหลือเกิน
  • 0:05 - 0:08
    แต่ในแง่ของวิวัฒนาการ สองล้านปีมันสั้นนิดเดียว
  • 0:08 - 0:14
    แต่ก็ภายในแค่สองล้านปีนี่เอง ที่มวลสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า
  • 0:14 - 0:17
    จากสมองขนาดหนึ่งปอนด์เศษของฮาบิลิส บรรพบุรุษของเรา
  • 0:17 - 0:23
    มาเป็นก้อนเนื้อขนาดสามปอนด์ที่พวกเรามีอยู่ระหว่างหูสองข้าง
  • 0:23 - 0:30
    สมองใหญ่แล้วมันดีอย่างไร ทำไมธรรมชาติถึงอยากให้เรามีสมองใหญ่ๆ
  • 0:30 - 0:33
    ก็นั่นล่ะ มันกลายเป็นว่า เมื่อสมองมีขนาดเพิ่มขึ้นสามเท่า
  • 0:33 - 0:37
    มันไม่ได้แค่ใหญ่ขึ้นสามเท่า แต่มันมีโครงสร้างใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย
  • 0:37 - 0:41
    ที่สมองเราใหญ่ขึ้นก็เพราะมันมีเจ้าส่วนใหม่นี้ ที่เรียกว่า
  • 0:41 - 0:45
    สมองส่วนหน้า (frontal lobe) หรือจะเรียกให้เจาะจงลงไปว่าพรีฟรอนทัล คอร์เท็กซ์
  • 0:45 - 0:49
    แล้วเจ้าพรีฟรอนทัล คอร์เท็กซ์ทำหน้าที่อะไรหรือ มนุษย์เราถึงต้องยกเครื่อง
  • 0:49 - 0:54
    เปลี่ยนกะโหลกใหม่แบบเร่งรัด ในเวลาวิวัฒนาการเพียงช่วงสั้นๆ
  • 0:54 - 0:57
    พรีฟรอนทัล คอร์เท็กซ์ทำหน้าที่หลายอย่างครับ
  • 0:57 - 0:59
    แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
  • 0:59 - 1:03
    มันสร้างภาพจำลองประสบการณ์ได้
  • 1:03 - 1:07
    นักบินหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่องจำลองสภาพการบิน
  • 1:07 - 1:09
    จะได้ไม่ทำผิดพลาดบนเครื่องบินจริงๆ
  • 1:09 - 1:12
    มนุษย์มีความสามารถในการปรับตัวที่น่าทึ่งอันนี้
  • 1:12 - 1:16
    โดยสามารถจำลองสถานการณ์ในหัว
  • 1:16 - 1:18
    ก่อนที่จะลงมือทำในชีวิตจริง
  • 1:18 - 1:21
    กลยุทธ์แบบนี้ บรรพบุรุษของเราทำไม่ได้นะครับ
  • 1:21 - 1:26
    และไม่มีสัตว์สายพันธุ์อื่นใดทำได้ มันเป็นการปรับตัวที่ยอดเยี่ยมจริงๆ
  • 1:26 - 1:30
    เช่นเดียวกับการมีนิ้วหัวแม่มือที่พับขวางฝ่ามือได้ ยืนตรงได้ และมีภาษา
  • 1:30 - 1:33
    เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนเราออกจากป่า
  • 1:33 - 1:35
    ไปเดินในห้างสรรพสินค้าแทน
  • 1:35 - 1:38
    ทีนี้ (เสียงหัวเราะ) คุณทุกคนต้องเคยจำลองสถานการณ์
  • 1:38 - 1:39
    ผมหมายถึง, ก็อย่างเช่น
  • 1:39 - 1:43
    ไอศครีมเบน แอนด์ เจอร์รี่ ก็ไม่มีไอศครีมรสตับกับหัวหอม
  • 1:43 - 1:46
    ไม่ใช่เพราะเขาลองทำ ลองชิม แล้ว "แหวะ"
  • 1:46 - 1:49
    แต่เพราะเขาคิดได้ล่วงหน้าว่ารสชาติมันจะเป็นยังไง
  • 1:49 - 1:53
    แค่คิดถึงรสแบบนั้น ก็แหวะได้โดยไม่ต้องลองทำเลย
  • 1:53 - 1:58
    ลองมาดูกันว่ากลไกการจำลองประสบการณ์ของคุณทำงานยังไง
  • 1:58 - 2:02
    มาทดสอบกันหน่อย ก่อนที่ผมจะพูดต่อ
  • 2:02 - 2:06
    นี่เป็นสถานการณ์อนาคตสองอย่าง ที่ผมอยากให้คุณลองจินตนาการดู
  • 2:06 - 2:10
    แล้วบอกผมว่า คุณชอบอันไหนมากกว่า
  • 2:10 - 2:15
    อย่างแรกคือ ถูกล็อตเตอรี่สัก 314 ล้านเหรียญ
  • 2:15 - 2:18
    อีกอย่างคือเป็นอัมพาตครึ่งล่าง
  • 2:18 - 2:21
    ลองใช้เวลาคิดดูสักนิดหนึ่งครับ
  • 2:21 - 2:24
    คุณอาจรู้สึกว่าไม่เห็นต้องใช้เวลาคิดเลย
  • 2:24 - 2:28
    น่าสนใจนะครับ นี่คือข้อมูลของคนสองกลุ่มนี้
  • 2:28 - 2:30
    ว่าเขามีความสุขมากแค่ไหน
  • 2:30 - 2:33
    เหมือนที่คุณคิดเลยใช่ไหมครับ
  • 2:33 - 2:36
    แต่นี่ไม่ใช่ข้อมูลจริง ผมมั่วขึ้นมาเอง
  • 2:36 - 2:41
    นี่ต่างหากข้อมูลของจริง คุณสอบตกแล้ว นี่ยังฟังเลคเชอร์ไปไม่ถึงห้านาทีเลย
  • 2:41 - 2:45
    เพราะที่จริง หนึ่งปีหลังจากที่ขาใช้การไม่ได้
  • 2:45 - 2:50
    กับหนึ่งปีหลังจากถูกล็อตเตอรี่ คนที่ถูกล็อตเตอรี่กับคนที่เป็นอัมพาต
  • 2:50 - 2:52
    มีความสุขกับชีวิตพอๆ กัน
  • 2:52 - 2:55
    เอาล่ะ คุณไม่ต้องรู้สึกแย่ที่สอบตกหรอกครับ
  • 2:55 - 2:58
    เพราะทุกคนตอบผิดหมดเหมือนคุณนั่นแหละ
  • 2:58 - 3:01
    งานวิจัยที่แล็บของผมทำอยู่
  • 3:01 - 3:04
    ที่นักเศรษฐศาสตร์ และนักจิตวิทยาทั่วประเทศกำลังทำอยู่
  • 3:04 - 3:07
    ได้ให้ผลที่ทำให้เรางงเอามากๆ
  • 3:07 - 3:10
    เราเรียกมันว่า การประเมินผลกระทบเกินจริง (impact bias)
  • 3:10 - 3:13
    ซึ่งหมายถึงแนวโน้มที่ระบบจำลองเหตุการณ์ของเราทำงานผิดพลาด
  • 3:13 - 3:17
    โดยทำให้คุณเชื่อว่าผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
  • 3:17 - 3:20
    มันต่างกันมากเกินกว่าที่มันเป็นจริงๆ
  • 3:20 - 3:22
    ทั้งงานวิจัยภาคสนาม และในห้องทดลอง
  • 3:22 - 3:26
    เราพบว่า ชนะหรือแพ้เลือกตั้ง มีแฟนหรือแฟนทิ้ง
  • 3:26 - 3:31
    ได้เลื่อนขั้นหรือไม่ได้เลื่อนขั้น สอบผ่านหรือไม่ผ่าน
  • 3:31 - 3:36
    และอื่นๆ อีกมากมาย มีผลกระทบน้อยกว่า รุนแรงน้อยกว่า
  • 3:36 - 3:39
    และมีผลอยู่ไม่นานเท่าที่คนเราคาด
  • 3:39 - 3:42
    ที่จริง งานวิจัยล่าสุด ที่ทำเอาผมเกือบล้มตึง
  • 3:42 - 3:47
    งานนี้เป็นการศึกษาว่าเหตุการณ์สะเทือนใจมีผลกระทบกับคนเรายังไง
  • 3:47 - 3:50
    แล้วผลออกมาว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อสามเดือนที่แล้ว
  • 3:50 - 3:51
    เว้นแต่ว่าจะมีอะไรพิเศษจริงๆ
  • 3:51 - 3:54
    เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบใดๆ กับความสุขของคุณเลย
  • 3:54 - 3:57
    ทำไมล่ะ?
  • 3:57 - 4:01
    ก็เพราะว่าความสุขเป็นสิ่งที่สร้างได้ !
  • 4:01 - 4:05
    เซอร์ โทมัส บราวน์ เขียนไว้ในปี 1642 ว่า "ฉันเป็นคนที่มีความสุขที่สุด
  • 4:05 - 4:11
    ฉันสามารถเปลี่ยนความจนเป็นความรวย เปลี่ยนความแร้นแค้นเป็นความมั่งคั่ง
  • 4:11 - 4:15
    ฉันอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่าอคิลลิส ไม่มีจุดอ่อนที่ใครจะทำอะไรได้เลย
  • 4:15 - 4:19
    ผู้ชายคนนี้เขามีกลไกพิเศษอะไรในหัวหรือครับ?
  • 4:19 - 4:24
    มันก็กลไกเดียวกันกับที่เราทุกคนมีอยู่นั่นแหละครับ
  • 4:24 - 4:30
    มนุษย์เรามีสิ่งที่เรียกว่าระบบภูมิคุ้มกันทางจิต
  • 4:30 - 4:35
    เป็นกระบวนการทางความคิด ซึ่งส่วนใหญ่เราไม่ค่อยรู้ตัว
  • 4:35 - 4:39
    แต่ช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลก
  • 4:39 - 4:43
    แล้วทำให้เรารู้สึกดีขึ้นกับโลกรอบตัว
  • 4:43 - 4:45
    คุณก็มีกลไกตัวนี้เหมือนกับเซอร์ โทมัส
  • 4:45 - 4:49
    แต่ที่ต่างคือ คุณไม่รู้ตัวว่าคุณมีมันอยู่
  • 4:49 - 4:55
    เราสังเคราะห์ความสุขเองได้ แต่เราชอบคิดว่าความสุขเป็นสิ่งที่ต้องไปแสวงหา
  • 4:55 - 5:00
    ทีนี้ ผมว่าคุณไม่ต้องให้ผมบอกคุณก็คงนึกตัวอย่างคนที่สังเคราะห์ความสุขได้เยอะแยะ
  • 5:00 - 5:03
    แต่อีกเดี๋ยวผมจะเล่าเรื่องหลักฐานจากการทดลองให้ฟัง
  • 5:03 - 5:06
    คุณไม่ต้องมองหาที่ไหนไกลเลย
  • 5:06 - 5:09
    ไหนลองดูสิ ผมพูดเรื่องนี้ไปบ้างแล้วในเลกเชอร์ของผม
  • 5:09 - 5:13
    ผมเอาหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์มาดู แล้วหาตัวอย่างของคนที่สังเคราะห์ความสุขเอง
  • 5:13 - 5:15
    ผมเจอสามคนนี้ที่สังเคราะห์ความสุขเองครับ
  • 5:15 - 5:18
    "ผมดีขึ้นเยอะ ทั้งทางร่างกาย การเงิน อารมณ์ จิตใจ
  • 5:18 - 5:22
    และในแทบทุกๆ ด้าน" "ผมไม่รู้สึกเสียดายเลยแม้แต่นาทีเดียว
  • 5:22 - 5:25
    มันเป็นประสบการณ์ที่งดงามยิ่งใหญ่" "ผมเชื่อว่าผลมันออกมาดีที่สุดเลย"
  • 5:25 - 5:27
    คนพวกนี้เป็นใคร ทำไมมีความสุขกันนัก?
  • 5:27 - 5:29
    เอ่อ คนแรกคือจิม ไรท์
  • 5:29 - 5:33
    พวกคุณบางคนที่อายุมากหน่อยคงจำได้ เขาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 5:33 - 5:37
    เขาลาออกจากตำแหน่งพร้อมชื่อเสียงที่เสื่อมเสีย เมื่อนักการเมืองหนุ่มจากพรรครีพับลิกัน
  • 5:37 - 5:40
    ชื่อนายนิว กินริช เปิดโปงเรื่องการคอรัปชั่นของเขา
  • 5:40 - 5:42
    จากสมาชิกพรรคเดโมแครตที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศ
  • 5:42 - 5:43
    เขาสูญเสียหมดทุกอย่าง
  • 5:43 - 5:46
    ทั้งเงิน ทั้งอำนาจ
  • 5:46 - 5:48
    ผ่านไปหลายปี เขาพูดถึงเรื่องนี้ยังไงนะ?
  • 5:48 - 5:51
    "ผมดีขึ้นเยอะ ทั้งทางร่ายกาย การเงิน จิตใจ
  • 5:51 - 5:53
    และในแทบทุกเรื่อง"
  • 5:53 - 5:55
    คนเราจะดีขึ้นในด้านไหนได้อีกล่ะครับ?
  • 5:55 - 5:59
    ด้านพืชผัก? เกลือแร่? หรือว่าสรรพสัตว์? เขาพูดครอบคลุมหมดทุกด้านแล้ว
  • 5:59 - 6:01
    โมรีส บิคแฮมเป็นอีกคนที่คุณคงเคยได้ยินชื่อ
  • 6:01 - 6:05
    โมรีส บิคแฮมพูดประโยคเหล่านี้ ตอนที่เขาได้รับการปล่อยตัว
  • 6:05 - 6:07
    ตอนนั้นเขาอายุ 78 ปี และได้ใช้เวลา 37 ปี
  • 6:07 - 6:10
    อยู่ในคุกที่หลุยเซียน่า ด้วยอาชญากรรมที่เขาไม่ได้เป็นคนทำ
  • 6:10 - 6:12
    เขาได้รับการปล่อยตัว
  • 6:12 - 6:15
    ตอนอายุ 78 ปี เพราะหลักฐานทาง DNA
  • 6:15 - 6:17
    แล้วเขาพูดถึงประสบการณ์ของเขายังไงนะ?
  • 6:17 - 6:19
    "ผมไม่เสียใจเลยแม้แต่นาทีเดียว มันเป็นประสบการณ์ที่งดงามยิ่งใหญ่"
  • 6:19 - 6:21
    งดงามยิ่งใหญ่เหรอ! เขาไม่ได้แค่บอกว่า
  • 6:21 - 6:23
    "เอ่อ ก็มีคนดีๆ อยู่เหมือนกันนะ มียิมด้วย"
  • 6:23 - 6:24
    เขาพูดว่า "งดงามยิ่งใหญ่"
  • 6:24 - 6:28
    คำนี้เรามักเอาไว้ใช้กับประสบการณ์ทางศาสนา อะไรทำนองนั้นนะ
  • 6:28 - 6:32
    แฮรี่ เอส แลงเกอร์แมน เขาเป็นใครคนหนึ่งที่คุณน่าจะได้รู้จัก
  • 6:32 - 6:35
    แต่ก็ไม่รู้จัก เพราะเมื่อปี 1949 เขาอ่านข่าวเล็กๆ ในหนังสือพิพม์
  • 6:35 - 6:39
    เกี่ยวกับซุ้มขายแฮมเบอร์เกอร์ที่มีสองพี่น้องตระกูลแม็คโดนัลเป็นเจ้าของ
  • 6:39 - 6:41
    เขาคิดว่า "ไอเดียเจ๋งแฮะ!"
  • 6:41 - 6:43
    เขาก็เลยไปหาสองพี่น้องแม็คโดนัล
  • 6:43 - 6:45
    "เราขายแฟรนไชส์ให้คุณได้ในราคา 3,000 ดอลล่าร์"
  • 6:45 - 6:49
    แฮรี่กลับไปนิวยอร์ค ถามพี่ชายที่เป็นนายธนาคารด้านการลงทุน
  • 6:49 - 6:50
    เพื่อขอกู้เงิน 3,000 ดอลล่าร์
  • 6:50 - 6:52
    ประโยคอมตะของพี่ชายเขาคือ
  • 6:52 - 6:53
    "ไอ้โง่ ใครเขากินแฮมเบอร์เกอร์กัน"
  • 6:53 - 6:56
    แล้วก็ไม่ให้ยืมเงิน แล้วหกเดือนต่อมา
  • 6:56 - 6:58
    เรย์ ครอคเกิดไอเดียเหมือนกันเลย
  • 6:58 - 7:00
    และปรากฏว่าคนกินแฮมเบอร์เกอร์ครับ
  • 7:00 - 7:04
    และเรย์ ครอคก็กลายเป็นคนที่รวยที่สุดในอเมริกาอยู่พักหนึ่ง
  • 7:05 - 7:07
    สุดท้าย ประโยคเด็ดสุดๆ
  • 7:07 - 7:12
    พวกคุณบางคนอาจจะจำภาพตอนหนุ่มๆ ของพีท เบส ภาพนี้ได้
  • 7:12 - 7:14
    เขาเป็นมือกลองคนแรกของวงบีทเทิล
  • 7:14 - 7:17
    จนกระทั่งคนในวงส่งเขาไปทำธุระแล้วแอบหนี
  • 7:17 - 7:20
    ไปรับตัวริงโก สตาร์ไปออกทัวร์คอนเสิร์ต
  • 7:20 - 7:22
    ในปี 1994 มีคนไปสัมภาษณ์พีท เบสท์
  • 7:22 - 7:25
    ใช่ เขายังเป็นมือกลองอยู่ ยังเล่นดนตรีอัดเสียงในห้องอัด
  • 7:25 - 7:28
    เขาบอกว่าอย่างนี้ครับ "ผมมีความสุขมากกว่าอยู่กับวงบีทเทิลส์"
  • 7:28 - 7:31
    โอเค นี่คือสิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้จากคนเหล่านี้
  • 7:31 - 7:33
    นี่เป็นเคล็ดลับของความสุข
  • 7:33 - 7:35
    ที่ได้ถูกเปิดเผยในที่สุด
  • 7:35 - 7:38
    ข้อแรก สั่งสมทรัพย์สิน อำนาจ และเกียรติยศ
  • 7:38 - 7:41
    แล้วทำยังไงก็ได้ให้สูญเสียมันให้หมด (เสียงหัวเราะ)
  • 7:41 - 7:44
    ข้อสอง ใช้ชีวิตอยู่ในคุกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (เสียงหัวเราะ)
  • 7:44 - 7:49
    ข้อสาม ทำให้คนอื่นรวย รวยมากๆ (เสียงหัวเราะ)
  • 7:49 - 7:53
    และสุดท้าย อย่าเข้าร่วมวง เดอะ บีทเทิลส์ (เสียงหัวเราะ)
  • 7:53 - 7:58
    โอเค ผมก็เหมือน ซี แฟรงค์ ที่เดาได้ว่าคุณจะคิดอะไรต่อ
  • 7:58 - 8:00
    คุณก็คงว่า "อ๋อ เหรอ" เพราะว่า เมื่อ
  • 8:00 - 8:04
    คนเราสังเคราะห์ความสุขเอง เหมือนที่คุณๆ พวกนี้เค้าทำ
  • 8:04 - 8:08
    เรายิ้มให้เขา แต่เราก็คงจะกลอกตาไปมา
  • 8:08 - 8:11
    "อ๋อ เหรอ คุณไม่ได้อยากได้งานพวกนี้จริงๆ นะเหรอ"
  • 8:11 - 8:12
    "อ่อ ใช่ๆ คุณไม่ได้
  • 8:12 - 8:15
    มีอะไรที่เข้ากับเธอได้เลยจริงๆ
  • 8:15 - 8:17
    แล้วคุณก็เพิ่งคิดออกตอนที่เธอ
  • 8:17 - 8:19
    เพิ่งปาแหวนหมั้นใส่หน้าคุณนี่เอง"
  • 8:19 - 8:23
    เรายิ้มเยาะคนพวกนี้เพราะเราเชื่อว่าความสุขแบบสังเคราะห์
  • 8:23 - 8:26
    มีคุณภาพต่ำกว่าความสุขที่เราเรียกว่า ความสุขตามธรรมชาติ
  • 8:26 - 8:27
    คำพวกนี้มันหมายถึงอะไรเหรอครับ?
  • 8:27 - 8:31
    ความสุขธรรมชาติ คือความรู้สึกเมื่อเราได้ในสิ่งที่เราต้องการ
  • 8:31 - 8:36
    และความสุขสังเคราะห์ คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองเมื่อเราไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
  • 8:36 - 8:39
    และในสังคมของเรา เรามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า
  • 8:39 - 8:42
    ความสุขสังเคราะห์มันด้อยกว่า
  • 8:42 - 8:44
    ทำไมเราจึงเชื่ออย่างนั้นครับ?
  • 8:44 - 8:48
    ง่ายมากครับ กลไกทางเศรษฐกิจตัวไหนบ้าง
  • 8:48 - 8:49
    ที่จะเดินได้
  • 8:49 - 8:55
    ถ้าเราเชื่อว่า การไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการจะทำให้เรามีความสุขเท่ากับการได้มันมา?
  • 8:55 - 8:59
    ผมต้องขอโทษแมทธิเออ ริการ์ เพื่อนของผมจริงๆ ครับ
  • 8:59 - 9:01
    ห้างสรรพสินค้าที่เต็มไปด้วยพระเซ็น
  • 9:01 - 9:03
    คงจะไม่ค่อยมีกำไรหรอกครับ
  • 9:03 - 9:07
    เพราะพวกท่านไม่ต้องการข้าวของต่างๆ มากพอ
  • 9:07 - 9:10
    แต่ผมอยากจะบอกกับคุณว่า ทุกๆ อณูของความสุขสังเคราะห์
  • 9:10 - 9:13
    นั้นเป็นจริงและยั่งยืน
  • 9:13 - 9:16
    ไม่ต่างจากความสุขที่คุณบังเอิญได้เจอ
  • 9:16 - 9:19
    เมื่อคุณได้ในสิ่งที่คุณหวังไว้ ...ทีนี้ ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์
  • 9:19 - 9:20
    ฉะนั้นผมจะไม่พูดเปล่าๆ
  • 9:20 - 9:22
    ผมจะจับคุณลงไปแช่ในบ่อข้อมูลสักหน่อย
  • 9:23 - 9:25
    ผมขอเล่าวิธีการทดลองที่ใช้ในการ
  • 9:25 - 9:29
    ทดสอบให้เห็นการสังเคราะห์ความสุข
  • 9:29 - 9:31
    ที่เคยทำกันมาก่อนนะครับ อันนี้ไม่ใช่การทดลองของผม
  • 9:31 - 9:34
    นี่เป็นวิธีการที่ใช้กันมาห้าสิบปีแล้ว เรียกว่าการให้ตัดสินใจเลือกโดยอิสระ
  • 9:34 - 9:36
    วิธีการง่ายมากครับ
  • 9:36 - 9:39
    คุณเอาของมาสักหกอย่าง
  • 9:39 - 9:41
    ให้ผู้ร่วมการทดลองจัดอันดับจากที่ชอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
  • 9:41 - 9:44
    ในกรณีนี้ การทดลองที่ผมจะเล่าให้ฟังเขาใช้
  • 9:44 - 9:46
    ภาพพิมพ์จากภาพวาดของโมเน่
  • 9:46 - 9:48
    ผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนจัดอันดับภาพของโมเน่
  • 9:48 - 9:50
    จากที่เขาชอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
  • 9:50 - 9:52
    ทีนี้ เราให้ผู้ร่วมการทดลองเลือก
  • 9:52 - 9:55
    เราบอกเขาว่า "บังเอิญเรามีภาพพวกนี้เหลืออยู่ในตู้
  • 9:55 - 9:57
    เราจะให้คุณเอากลับบ้านได้ใบหนึ่งเป็นรางวัลตอบแทน
  • 9:57 - 10:00
    บังเอิญว่าเรามีภาพอันดับ 3 กับอันดับ 4"
  • 10:00 - 10:03
    นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากอยู่
  • 10:03 - 10:06
    เพราะผู้ร่วมการทดลองไม่ได้ชอบตัวเลือกไหนเป็นพิเศษ
  • 10:06 - 10:09
    แต่ตามธรรมชาติ ผู้ร่วมการทดลองก็จะเลือกอันดับที่สาม
  • 10:09 - 10:11
    เพราะเขาชอบมากกว่าอันดับสี่นิดหน่อย
  • 10:12 - 10:15
    ต่อมาอีก 15 นาที หรือ 15 วันในบางเงื่อนไขการทดลอง
  • 10:15 - 10:18
    ของชุดเดิมถูกนำมาวางต่อหน้าผู้ร่วมการทดลองอีกครั้ง
  • 10:18 - 10:20
    แล้วเราก็ขอให้ผู้ร่วมการทดลองจัดอันดับใหม่
  • 10:20 - 10:22
    "บอกเราหน่อยว่าตอนนี้คุณชอบของแต่ละชิ้นมากแค่ไหน"
  • 10:22 - 10:25
    เกิดอะไรขึ้นครับ? ดูสิครับ ความสุขถูกสังเคราะห์แล้ว
  • 10:25 - 10:29
    นี่เป็นผลที่ได้รับการยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 10:29 - 10:30
    คุณกำลังมองดูความสุขถูกสังเคราะห์ เห็นไหมครับ
  • 10:30 - 10:35
    อยากดูอีกทีไหมครับ? โอ้ ความสุข!
  • 10:35 - 10:37
    "ภาพที่ฉันได้เป็นเจ้าของมันดียิ่งกว่าที่ฉันคิดทีแรกซะอีก!
  • 10:37 - 10:39
    ส่วนภาพที่ฉันไม่ได้เป็นเจ้าของมันห่วย!"
  • 10:39 - 10:41
    (เสียงหัวเราะ) นี่แหละคือการสังเคราะห์ความสุข
  • 10:41 - 10:47
    ทีนี้ คุณจะมีปฏิกิริยาตอบสนองยังไง "อ๋อ เหรอ คงใช่หรอกนะ!"
  • 10:47 - 10:50
    ทีนี้ นี่เป็นงานวิจัยที่เราทำ
  • 10:50 - 10:51
    และผมหวังว่านี่จะทำให้คุณเชื่อว่า
  • 10:51 - 10:54
    "อ๋อ เหรอ คงใช่หรอกนะ!" เนี่ย ไม่ใช่ปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้อง
  • 10:54 - 10:56
    เราทำการทดลองกับผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง
  • 10:56 - 10:59
    ที่มีอาการความจำในปัจจุบันเสื่อม ผู้ป่วยเหล่านี้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • 10:59 - 11:01
    ส่วนใหญ่มีอาการคอร์ซาคอฟ ซินโดรม
  • 11:01 - 11:06
    โรคทางจิตประสาทที่เกิดเพราะว่าดื่มเหล้ามากเกินไป
  • 11:06 - 11:08
    จนไม่สามารถเก็บความทรงจำใหม่ๆ ได้
  • 11:08 - 11:12
    ผู้ป่วยเหล่านี้จำวัยเด็กของตัวเองได้ แต่ถ้าคุณเข้าไปแนะนำตัว
  • 11:12 - 11:13
    แล้วออกจากห้องไป
  • 11:13 - 11:15
    เมื่อคุณกลับมาใหม่ เขาจะไม่รู้แล้วว่าคุณคือใคร
  • 11:16 - 11:19
    เราเอาชุดภาพโมเน่ไปโรงพยาบาล
  • 11:19 - 11:23
    ขอให้ผู้ป่วยเหล่านี้จัดอันดับ
  • 11:23 - 11:26
    จากที่เขาชอบมากที่สุดไปน้อยที่สุด
  • 11:26 - 11:30
    แล้วให้เขาเลือกภาพเก็บไว้ใบหนึ่ง ระหว่างอันดับที่ 3 กับอันดับที่ 4
  • 11:30 - 11:32
    เช่นเดียวกับคนอื่น พวกเขาตอบว่า
  • 11:32 - 11:34
    "โอ้ ขอบคุณครับหมอ! นี่มันยอดมาก! ผมจะได้มีภาพพิมพ์ใบใหม่
  • 11:34 - 11:36
    ผมเลือกภาพอันดับ 3 ครับ"
  • 11:36 - 11:40
    เราอธิบายว่า เราจะส่งภาพอันดับ 3 ที่เขาเลือกไปให้ทางไปรษณืย์
  • 11:40 - 11:43
    เราเก็บข้าวของ แล้วออกจากห้องไป
  • 11:43 - 11:45
    จับเวลาให้ครบครึ่งชั่วโมง
  • 11:45 - 11:48
    แล้วกลับเข้าไปในห้องใหม่ "เฮ้ เรากลับมาแล้ว"
  • 11:48 - 11:52
    ผู้ป่วยที่น่ารักของเราตอบว่า "อ่า หมอครับ ผมขอโทษ
  • 11:52 - 11:54
    ผมมีปัญหาเรื่องความจำ ผมถึงได้มาอยู่โรงพยาบาลนี่
  • 11:54 - 11:56
    ถ้าผมเคยพบคุณมาก่อน ผมก็จำไม่ได้ซะแล้วล่ะ"
  • 11:56 - 11:59
    "จริงเหรอจิม คุณจำไม่ได้เลยเหรอ? เมื่อกี้ผมอยู่ตรงนี้กับภาพพิมพ์ของโมเน่ไง จำได้ไหม?"
  • 11:59 - 12:02
    "ขอโทษครับหมอ ผมจำอะไรไม่ได้เลย"
  • 12:02 - 12:05
    "ไม่เป็นไร จิม ผมแค่อยากให้คุณช่วยจัดอันดับภาพพวกนี้
  • 12:05 - 12:10
    จากภาพที่คุณชอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด"
  • 12:10 - 12:12
    เอาล่ะ เรามาเช็คดูก่อนให้แน่ใจว่า
  • 12:12 - 12:14
    เขาจำไม่ได้จริงๆ เราถามผู้ป่วยเหล่านี้
  • 12:14 - 12:18
    ว่าเขาจำได้ไหมว่าภาพไหนที่เขาได้เป็นเจ้าของ
  • 12:18 - 12:21
    ภาพไหนที่เขาเลือกเมื่อรอบแรก ภาพไหนที่เป็นของเขา
  • 12:21 - 12:25
    เราพบว่า ผู้ป่วยความจำเสื่อมได้แค่เดา
  • 12:25 - 12:27
    นี่คือกลุ่มควบคุมที่เป็นคนปกติ คือ ถ้าผมทำแบบนี้กับคุณ
  • 12:27 - 12:29
    คุณทุกคนจะจำได้ว่าภาพไหนที่คุณเลือก
  • 12:29 - 12:31
    แต่ถ้าผมถามผู้ป่วยความจำเสื่อม
  • 12:31 - 12:37
    เขาจำอะไรไม่ได้เลย เขาไม่สามารถเลือกรูปภาพของเขาจากตัวเลือกทั้งหกได้
  • 12:37 - 12:41
    นี่คือสิ่งที่กลุ่มควบคุมที่เป็นคนปกติทำ เขาสังเคราะห์ความสุข
  • 12:41 - 12:43
    ใช่ไหมครับ? นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงของคะแนนความชอบ
  • 12:43 - 12:46
    ซึ่งเปลี่ยนไปจากครั้งแรกที่เขาจัดอันดับ
  • 12:46 - 12:47
    ในกลุ่มควบคุมที่เป็นคนปกติ เราได้ผล
  • 12:47 - 12:49
    เหมือนกลวิเศษที่ผมให้คุณดูไปแล้ว
  • 12:49 - 12:52
    ทีนี้ ผมจะให้คุณดูกราฟเทียบกัน
  • 12:52 - 12:55
    "รูปที่ฉันเป็นเจ้าของมันดียิ่งกว่าที่ฉันเคยคิด รูปที่ฉันไม่ได้เป็นเจ้าของ
  • 12:55 - 12:58
    รูปที่ฉันไม่ได้เลือก มันไม่ได้ดีเท่าที่ฉันเคยคิด"
  • 12:58 - 13:03
    ผู้ป่วยความจำเสื่อมทำเหมือนกับคนปกติเป๊ะเลย คิดดูดีๆ สิครับ
  • 13:03 - 13:06
    จากผลการวิจัยนี้ คนเหล่านี้ชอบรูปที่เขาเป็นเจ้าของมากขึ้น
  • 13:06 - 13:09
    ทั้งที่เขาไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเจ้าของภาพนั้น
  • 13:10 - 13:13
    คุณจะตอบว่า "อ๋อ เหรอ, คงใช่หรอก" ไม่ได้แล้ว
  • 13:14 - 13:17
    สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อคนเหล่านี้สังเคราะห์ความสุข
  • 13:17 - 13:20
    พวกเขาเปลี่ยนปฏิกิริยาตอบสนองทาง
  • 13:20 - 13:25
    ความรู้สึก ความพึงพอใจ สุนทรียสัมผัสที่มีต่อภาพนั้นไปจริงๆ
  • 13:25 - 13:28
    เขาไม่ได้ตอบไปอย่างนั้นเพียงเพราะเขาได้เป็นเจ้าของมัน
  • 13:28 - 13:31
    เพราะกรณีนี้เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาเป็นเจ้าของภาพพวกนั้น
  • 13:32 - 13:35
    ทีนี้ เวลานักจิตวิทยาให้คุณดูภาพกราฟแท่ง
  • 13:35 - 13:38
    คุณคงรู้ว่ามันหมายถึงค่าเฉลี่ยของคนจำนวนมาก
  • 13:38 - 13:42
    คนทุกคนมีระบบภูมิคุ้มกันทางจิต
  • 13:42 - 13:44
    ซึ่งสามารถสังเคราะห์ความสุขได้
  • 13:44 - 13:47
    แต่บางคนก็สังเคราะห์ความสุขได้เก่งกว่าคนอื่น
  • 13:47 - 13:51
    และสถานการณ์บางอย่างก็เอื้อให้เราสังเคราะห์ความสุข
  • 13:51 - 13:54
    ได้อย่างมีประสิทธิกว่าสถานการณ์อื่น
  • 13:55 - 13:59
    ปรากฏว่า เสรีภาพ
  • 13:59 - 14:02
    --การที่คนเราสามารถที่จะตัดสินใจ และเปลี่ยนใจ--
  • 14:02 - 14:05
    คือ เพื่อนแท้ของความสุขตามธรรมชาติ เพราะว่าคุณมีโอกาสเลือก
  • 14:05 - 14:10
    ระหว่างอนาคตที่หอมหวาน และเลือกทางที่คุณชอบมากที่สุด
  • 14:10 - 14:12
    แต่เสรีภาพที่จะเลือก
  • 14:12 - 14:16
    --ที่จะเปลี่ยนใจ และตัดสินใจด้วยตัวเอง-- เป็นศัตรูกับความสุขสังเคราะห์
  • 14:16 - 14:18
    ผมจะอธิบายให้คุณฟังว่าทำไม
  • 14:18 - 14:19
    ดิลเบิร์ตรู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว
  • 14:19 - 14:21
    คุณอ่านการ์ตูนดูนะ ผมจะพูดไปด้วย
  • 14:21 - 14:23
    "ด็อกเบิร์ต เทค การช่าง จะให้เราแกล้งคุณยังไงดีครับวันนี้?"
  • 14:23 - 14:26
    "พรินเตอร์ของผมพิมพ์กระดาษเปล่าออกมาแผ่นนึงหลังผมพิมพ์เอกสารทุกครั้ง"
  • 14:26 - 14:28
    "คุณได้กระดาษฟรีแล้วจะบ่นไปทำไม?"
  • 14:28 - 14:30
    "ฟรีเหรอ? นั่นมันกระดาษของผมเองไม่ใช่เหรอ?"
  • 14:30 - 14:32
    "เฮ้ คุณลองดูคุณภาพกระดาษฟรีพวกนี้
  • 14:32 - 14:33
    เทียบกับกระดาษห่วยๆ ธรรมดาของคุณซะก่อน!
  • 14:33 - 14:36
    มีแต่คนโง่หรือจอมโกหกเท่านั้นล่ะที่จะบอกว่ามันเหมือนกัน!"
  • 14:36 - 14:39
    "อ่า! ฟังที่คุณพูดแล้ว มันก็ดูเนื้อเนียนกว่าหน่อยนึงจริงๆ ด้วย!"
  • 14:39 - 14:41
    "นายทำอะไรน่ะ?"
  • 14:41 - 14:44
    "ฉันช่วยให้คนยอมรับสิ่งที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไงล่ะ" จริงของเค้านะ
  • 14:44 - 14:47
    ระบบภูมิคุ้มกันทางจิตทำงานได้ดีที่สุด
  • 14:47 - 14:51
    เมื่อเราติดกับ แก้ไขอะไรไม่ได้
  • 14:51 - 14:53
    นี่คือความแตกต่างระหว่างการเป็นแฟนกับการแต่งงาน ใช่ไหมครับ?
  • 14:53 - 14:55
    คือ คุณไปออกเดทกับหนุ่มสักคน
  • 14:55 - 14:57
    แล้วเขาแคะขี้มูก คุณก็ไม่อยากไปกับเขาอีก
  • 14:57 - 14:59
    ถ้าคุณแต่งงานกับผู้ชายที่แคะขี้มูกล่ะ?
  • 14:59 - 15:00
    อ่อ เขาเป็นคนจิตใจงามอย่างกับทองคำ
  • 15:00 - 15:02
    แต่อย่ามาแตะเค้กผลไม้นั่นแล้วกัน ใช่ไหมครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 15:02 - 15:06
    คุณหาทางมีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วได้
  • 15:06 - 15:09
    ทีนี้ ประเด็นที่ผมอยากให้แสดงคุณดูก็คือ
  • 15:09 - 15:12
    คนเราไม่รู้หรอกครับว่าตัวเราเองเป็นอย่างนี้
  • 15:12 - 15:15
    และการที่เราไม่รู้ ก็ทำให้เราเสียประโยชน์ไปเยอะมากนะครับ
  • 15:15 - 15:17
    นี่เป็นการทดลองที่เราทำที่ฮาร์วาร์ด
  • 15:17 - 15:20
    เราสร้างวิชาการถ่ายภาพขาวดำขึ้นมาวิชาหนึ่ง
  • 15:20 - 15:23
    ให้นักศึกษามาเรียนรู้การใช้ห้องมืด
  • 15:24 - 15:26
    เอากล้องให้เขา ให้ไปตระเวนทั่วมหาวิทยาลัย
  • 15:26 - 15:31
    ถ่ายภาพมา 12 ภาพ จะเป็นภาพอาจารย์คนโปรด หอพัก สุนัข
  • 15:31 - 15:33
    และอะไรก็ตามที่เขาอยากเก็บไว้เป็นความทรงจำเกี่ยวกับฮาร์วาร์ด
  • 15:33 - 15:36
    พอเขากลับมา เราก็อัดรูปกัน
  • 15:36 - 15:38
    เราให้เขาเลือกภาพที่เขาคิดว่าดีที่สุดสองภาพ
  • 15:38 - 15:40
    เราใช้เวลาหกชั่วโมงสอนเขาใช้ห้องมืด
  • 15:40 - 15:42
    แล้วให้เขาอัดภาพขยายสองภาพที่เขาเลือก
  • 15:42 - 15:44
    ทีนี้เขาก็มีภาพขนาด 8x10 นิ้วสุดสวยสองภาพ
  • 15:44 - 15:46
    ที่มีความหมายกับเขา แล้วเราก็บอกเขาว่า
  • 15:46 - 15:49
    "เอาล่ะ ภาพไหนที่คุณไม่เอา?"
  • 15:49 - 15:50
    "อ่าว ผมต้องเลือกทิ้งภาพนึงเหรอ?"
  • 15:50 - 15:53
    "อ่อ ใช่ เราต้องการภาพถ่ายใบหนึ่งไว้เป็นหลักฐานของวิชานี้
  • 15:53 - 15:56
    คุณต้องให้ภาพผมใบหนึ่ง คุณต้องเลือกละ
  • 15:56 - 15:59
    คุณเก็บไว้ใบหนึ่ง ผมเก็บไว้ใบหนึ่ง"
  • 15:59 - 16:02
    ทีนี้ การทดลองนี้มีสองสถานการณ์
  • 16:02 - 16:05
    ในสถานการณ์หนึ่ง เราบอกนักศึกษาว่า "อ่อ แต่ว่า
  • 16:05 - 16:08
    ถ้าคุณเปลี่ยนใจ เราก็ยังเก็บภาพนี้ไว้ที่นี่แหละนะ
  • 16:08 - 16:12
    ภายในสี่วันข้างหน้า ก่อนที่เราจะส่งมันไปที่สำนักงานใหญ่
  • 16:12 - 16:15
    ผมยินดี "-- (เสียงหัวเราะ) -- ใช่ ผมพูดว่า "สำนักงานใหญ่" --
  • 16:15 - 16:18
    ผมยินดีที่จะให้คุณสลับภาพนะ ที่จริง
  • 16:18 - 16:19
    ผมไปหาคุณที่หอเลยก็ได้ หรือว่า
  • 16:19 - 16:22
    -- ให้อีเมล์ผมไว้ เอางี้เลยดีกว่า เดี๋ยวผมอีเมล์ไปถามคุณเลย
  • 16:22 - 16:25
    ถ้าคุณเปลี่ยนใจ คุณเอามาเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้"
  • 16:25 - 16:28
    แล้วเราก็บอกนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งตรงกันข้ามเลย
  • 16:28 - 16:30
    "ตัดสินใจเลือกเลย อ้อ
  • 16:30 - 16:33
    เราจะส่งภาพพวกนี้ไปยังอังกฤษทางไปรษณีย์ภายในสองนาทีนี้แล้ว
  • 16:33 - 16:35
    ภาพถ่ายของคุณจะบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปอังกฤษ
  • 16:35 - 16:37
    คุณจะไม่ได้เห็นมันอีกแล้ว"
  • 16:37 - 16:40
    แล้วเราก็ให้ครึ่งหนึ่งของนักศึกษา
  • 16:40 - 16:42
    ในแต่ละสถานการณ์ข้างต้นทำนายว่า
  • 16:42 - 16:45
    ตัวเขาเองจะชอบภาพที่เขาเลือกเก็บไว้
  • 16:45 - 16:47
    กับภาพที่เขาไม่ได้เลือกมากแค่ไหน
  • 16:47 - 16:50
    ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของนักศึกษาในแต่ละสถานการณ์ เราแค่ปล่อยให้กลับไปเฉยๆ
  • 16:50 - 16:55
    เราตามไปสำรวจความเห็นนักศึกษาเหล่านี้ภายในสามถึงหกวันให้หลัง
  • 16:55 - 16:57
    เกี่ยวกับความชอบ ความพอใจที่เขามีต่อภาพถ่ายของเขา
  • 16:57 - 16:58
    ดูสิว่าเราพบอะไร
  • 16:58 - 17:01
    ประการแรก นี่คือสิ่งที่นักศึกษาคิดว่าจะเกิดขึ้น
  • 17:01 - 17:05
    พวกเขาคิดว่าเขาจะชอบภาพที่ตัวเองเลือก
  • 17:05 - 17:08
    มากกว่าภาพที่เขาไม่ได้เลือก
  • 17:08 - 17:11
    แต่ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  • 17:12 - 17:14
    แค่ชอบมากขึ้นเล็กน้อย และไม่ได้มีผลอะไรนัก
  • 17:14 - 17:17
    กับการที่เขาจะเปลี่ยนภาพ หรือเปลี่ยนไม่ได้ ก็ยังทำนายแบบเดียวกัน
  • 17:17 - 17:22
    แต่ว่า ผิดครับ กลไกสร้างภาพจำลองของเรามันแย่ เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
  • 17:22 - 17:25
    ทั้งก่อนจะถึงวันสุดท้ายที่เปลี่ยนได้ และห้าวันให้หลัง
  • 17:25 - 17:27
    คนที่เปลี่ยนภาพไม่ได้
  • 17:27 - 17:28
    คนที่ไม่มีทางเลือก
  • 17:28 - 17:33
    คนที่ไม่สามารถเปลี่ยนใจได้ ชอบภาพที่ตัวเองเลือกมากๆ!
  • 17:33 - 17:36
    ส่วนคนที่คิดว่า "เอ ควรจะเอาไปเปลี่ยนไหมนะ?
  • 17:36 - 17:38
    เราเลือกถูกหรือเปล่า บางทีภาพนี้อาจไม่ใช่ภาพที่ดีที่สุด หรือเปล่า?"
  • 17:38 - 17:40
    หรือว่าเราทิ้งภาพที่ดีกว่าไป?" ความคิดนี้ทำร้ายตัวเขาเอง
  • 17:40 - 17:42
    พวกเขาไม่ชอบภาพที่ตัวเองเลือก
  • 17:42 - 17:44
    แม้ว่าโอกาสที่จะเปลี่ยนได้ ได้ผ่านไปแล้ว
  • 17:44 - 17:50
    พวกเขาก็ยังคงไม่ชอบภาพที่ตัวเองเลือกมา ทำไมล่ะ?
  • 17:50 - 17:53
    เพราะสถานการณ์ที่เปลี่ยนใจได้
  • 17:53 - 17:55
    ไม่เอื้อต่อการสังเคราะห์ความสุข
  • 17:55 - 17:58
    เอาล่ะ นี่เป็นตอนจบของการทดลองนี้
  • 17:58 - 18:02
    เราเอานักศึกษาฮาร์วาร์ดกลุ่มใหม่มา
  • 18:02 - 18:05
    บอกพวกเขาว่า "เรากำลังจะเปิดวิชาการถ่ายภาพ
  • 18:05 - 18:07
    เราจัดวิชานี้ได้สองแบบ
  • 18:07 - 18:10
    แบบแรกคือ ให้คุณถ่ายภาพสองภาพ
  • 18:10 - 18:12
    แล้วมีเวลาสี่วันให้เปลี่ยนใจได้ว่าจะเลือกเก็บภาพไหนไว้
  • 18:12 - 18:14
    หรืออีกแบบหนึ่ง คุณถ่ายภาพสองภาพ
  • 18:14 - 18:16
    แล้วคุณตัดสินใจเลือกภาพทันที
  • 18:16 - 18:18
    แล้วเปลี่ยนใจไม่ได้นะ คุณจะเรียนคอร์สไหน?
  • 18:18 - 18:23
    "โธ่เอ๋ย! นักศึกษา 66% นั่นคือสองในสาม
  • 18:23 - 18:27
    เลือกเรียนคอร์สที่เขามีโอกาสเปลี่ยนใจหลังเลือกภาพได้
  • 18:27 - 18:31
    อะไรเนี่ย? 66% ของนักศึกษาเลือกลงวิชาที่จะทำให้เขา
  • 18:31 - 18:35
    ไม่พึงพอใจกับภาพที่ตัวเองเลือกในที่สุด
  • 18:35 - 18:41
    เพราะเขาไม่รู้ว่าสภาวะที่ความสุขสังเคราะห์งอกงามได้ดีต้องเป็นอย่างไร
  • 18:41 - 18:46
    เชกเสปียร์กล่าวไว้ว่าทุกอย่างล้วนดีที่สุด แน่นอนครับ นั่นตรงกับที่ผมต้องการพูดเลย
  • 18:46 - 18:49
    แต่เชกเสปียร์ก็พูดเกินไป
  • 18:49 - 18:52
    "สิ่งอันเลวหรือดีหามีไม่ / หากเพราะใจ เพราะความคิดขีดให้เป็น"
  • 18:52 - 18:55
    เป็นบทกวีที่เพราะดีครับ แต่นั่นก็ไม่ถูกซะทีเดียว
  • 18:55 - 18:58
    มันไม่มีอะไรที่ดีจริงๆ หรือเลวจริงๆ เลยหรือ?
  • 18:58 - 19:01
    จริงหรือที่การผ่าตัดถุงน้ำดี กับการไปเที่ยวปารีส
  • 19:01 - 19:08
    มันจะดีพอๆ กัน? เหมือนคำถามทดสอบไอคิวที่แสนง่ายเลยนะครับ
  • 19:08 - 19:10
    มันไม่มีทางเหมือนกันได้
  • 19:10 - 19:13
    ในงานเขียนทื่อๆ แต่ว่าใกล้เคียงความจริงมากกว่า
  • 19:13 - 19:16
    โดยบิดาของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ อดัม สมิธ กล่าวว่า
  • 19:16 - 19:18
    เรื่องนี้น่าคิดนะครับ
  • 19:18 - 19:22
    ท่านบอกว่า "ที่มาของทั้งความทุกข์และความวุ่นวายของชีวิตมนุษย์
  • 19:22 - 19:25
    ดูเหมือนจะมาจากการประเมินสถานการณ์ที่ถาวรอันหนึ่ง
  • 19:25 - 19:28
    ว่าแตกต่างจากอีกสถานการณ์หนึ่งมากเกินจริง
  • 19:28 - 19:33
    แน่นอนว่า สถานการณ์เหล่านี้ บางอย่างก็เป็นที่ปรารถนามากกว่าสถานการณ์อื่นๆ
  • 19:33 - 19:39
    แต่ไม่มีสถานการณ์ไหนที่เราสมควรจะไขว่คว้า
  • 19:39 - 19:43
    ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้า จนผลักดันให้เราละเมิดหรือละเลยกฎเกณฑ์
  • 19:43 - 19:48
    ไม่ว่าจะเป็นด้านความรอบคอบหรือความยุติธรรม หรือทำลายความสงบสุขของจิตใจตัวเอง
  • 19:48 - 19:52
    ไม่ว่าจะด้วยความอับอายเมื่อระลึกถึงการกระทำโง่ๆ
  • 19:52 - 19:56
    หรือความรู้สึกผิดในความอยุติธรรมอันเลวร้ายของเราเอง"
  • 19:56 - 20:01
    พูดอีกอย่างก็คือ ใช่ บางอย่างมันดีกว่าบางอย่าง
  • 20:01 - 20:06
    เราควรเลือกสิ่งที่เราชอบมากกว่า ซึ่งจะนำเราไปสู่อนาคตแบบหนึ่งที่แตกต่างจากแบบอื่น
  • 20:06 - 20:10
    แต่เมื่อความพอใจของเรามันผลักดันเรารุนแรง หรือรวดเร็วเกินไป
  • 20:10 - 20:14
    เพราะเราประเมินว่าของสองอย่างมันดีเลวกว่ากันมากเกินจริง
  • 20:14 - 20:17
    เราก็ตกอยู่ในความเสี่ยง
  • 20:17 - 20:20
    เมื่อความทะเยอทะยานของเรามีขอบเขต มันนำเราไปสู่การทำงานอย่างเบิกบาน
  • 20:20 - 20:26
    เมื่อความทะเยอทะยานของเราไม่มีขอบเขต มันทำให้เราโกหก โกง ขโมย ทำร้ายคนอื่น
  • 20:26 - 20:30
    ยอมละทิ้งสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริง ...เมื่อความกลัวของเรามีขอบเขต
  • 20:30 - 20:34
    เราจะรอบคอบ ระมัดระวัง
  • 20:34 - 20:37
    เมื่อความกลัวของเราไม่มีขอบเขต เมื่อเรากลัวมากเกินไป
  • 20:37 - 20:40
    เราจะไร้สติ และกลัวลนลาน
  • 20:40 - 20:43
    บทเรียนที่ผมอยากทิ้งท้ายไว้ให้คุณจากข้อมูลเหล่านี้
  • 20:43 - 20:48
    คือ ความต้องการและความกังวลของเรา มันเกินขอบเขตอยู่ไม่มากก็น้อย
  • 20:48 - 20:54
    เพราะที่จริง ภายในใจของเราทุกคน มีกลไกสำหรับสร้างสิ่งที่เราต้องการ (ความสุข) อยู่แล้ว
  • 20:54 - 20:58
    สิ่งเดียวกับที่เราไขว่คว้าไม่หยุดหย่อน เมื่อเราตัดสินใจเลือกประสบการณ์ต่างๆ นั่นเอง
  • 20:58 - 20:59
    ขอบคุณครับ
Title:
แดน กิลเบิร์ต กับคำถามที่ว่า "ทำไมเราจึงมีความสุข?"
Speaker:
Dan Gilbert
Description:

แดน กิลเบิร์ต เขียนหนังสือเรื่อง "Stumbling on Happiness" ท้าทายความคิดที่ว่า เราจะเป็นทุกข์ถ้าไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ เขาเชื่อว่า "ระบบภูมิต้านทานทางจิต" ของเรายังจะช่วยให้เรามีความสุขได้ แม้อะไรๆ จะไม่เป็นไปอย่างที่ใจหวัง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:59
Thipnapa Huansuriya added a translation

Thai subtitles

Revisions