Return to Video

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิตใต้น้ำ 31 วัน

  • 0:02 - 0:04
    ผมมีเรื่องอยากจะสารภาพครับ
  • 0:04 - 0:07
    ผมติดการผจญภัย
  • 0:07 - 0:10
    และตอนที่เป็นเด็ก
  • 0:10 - 0:12
    ผมก็มักจะมองออกไปนอกหน้าต่าง
  • 0:12 - 0:15
    ดูนกบนต้นไม้ และท้องฟ้า
  • 0:15 - 0:17
    แทนที่จะดูกระดานเปื้อนชอล์คสองมิติ
  • 0:17 - 0:21
    ที่ที่เหมือนเวลาหยุดนิ่ง
  • 0:21 - 0:24
    และบางทีก็เหมือนมันตายสนิท
  • 0:24 - 0:26
    ครูของผมคิดว่าผมมีอะไรบางอย่างผิดปกติ
  • 0:26 - 0:29
    เพราะผมไม่สนใจเรียนเลย
  • 0:29 - 0:31
    พวกเขาไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ในตัวผม
  • 0:31 - 0:36
    เว้นแต่จะมีอาการเขียนคำผิดๆ ถูกๆ นิดหน่อย
    เพราะผมถนัดซ้าย
  • 0:36 - 0:40
    แต่พวกเขาไม่ได้ทดสอบความอยากรู้อยากเห็น
  • 0:40 - 0:42
    สำหรับผมแล้ว ความอยากรู้อยากเห็น
  • 0:42 - 0:44
    เป็นความสัมพันธ์ของเรา เชื่อมโยง
  • 0:44 - 0:48
    กับโลก กับเอกภพ
  • 0:48 - 0:49
    มันเกี่ยวกับการมองดู
    ว่าอะไรอยู่ถัดไปจากปะการังข้างหน้า
  • 0:49 - 0:51
    หรืออะไรอยู่ถัดจากต้นไม้ต้นถัดไป
  • 0:51 - 0:53
    และการเรียนรู้ที่มากกว่าขึ้น
    ที่ไม่ใช่แค่สิ่งที่อยู่แวดล้อมเรา
  • 0:53 - 0:55
    แต่รวมถึงตัวเราเองด้วย
  • 0:55 - 0:58
    และนี่ ที่สุดของความฝันของผม
  • 0:58 - 1:01
    ผมต้องการที่จะสำรวจมหาสมุทรของดาวอังคาร
  • 1:01 - 1:04
    แต่ก่อนที่เราจะไปที่นั่นได้
  • 1:04 - 1:07
    ผมคิดว่ามหาสมุทร
  • 1:07 - 1:09
    ยังคงกำความลับอะไรบางอย่างอยู่
  • 1:09 - 1:10
    ความจริงแล้ว
  • 1:10 - 1:14
    หากคุณคิดว่าโลกของเราเป็นแหล่งน้ำ
    ที่อุดมสมบูรณ์ของห้วงอวกาศ
  • 1:14 - 1:17
    และชำแหละมันออกมาเป็นพื้นที่ใช้สอย
  • 1:17 - 1:21
    มหาสมุทรจะมีปริมาตรมากกว่า
  • 1:21 - 1:23
    3.4 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร
  • 1:23 - 1:28
    ซึ่งเราเคยสำรวจไปแล้ว ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์
  • 1:28 - 1:30
    และผมมองดูแล้วก็บอกว่า อืม
  • 1:30 - 1:33
    มันมีเครื่องมือที่จะทำให้เราสำรวจได้
    ลึกกว่า นานกว่า ไกลกว่า
  • 1:33 - 1:39
    เช่น เรือดำน้ำ อาร์โอวี (หุ่นบังคับใต้น้ำ) หรือแม้แต่การดำน้ำลึก
  • 1:39 - 1:41
    แต่ถ้าเรากำลังจะสำรวจไปสุดพรมแดน
  • 1:41 - 1:45
    ในดาวเคราะห์ดวงนี้ เราต้องไปอยู่ที่นั่น
  • 1:45 - 1:47
    ถ้าจะทำนะ เราต้องสร้างที่พักอาศัย
  • 1:47 - 1:50
    ที่ก้นทะเล
  • 1:50 - 1:53
    และนั่นก็เป็นสุดยอดแห่งความอยากรู้อยากเห็น
    ในใจผม
  • 1:53 - 1:56
    เมื่อผมได้พบกับผู้ชนะรางวัล TED
    (TED Prize)
  • 1:56 - 1:58
    ที่มีชื่อว่า ดร.ซิลเวีย เอียลี
    (Sylvia Earle)
  • 1:58 - 1:59
    บางทีคุณอาจเคยได้ยินชื่อของเธอมาบ้าง
  • 1:59 - 2:03
    สองปีก่อน เธอปักหลัก
  • 2:03 - 2:06
    ที่ห้องทดลองทางทะเลใต้น้ำอันสุดท้าย
  • 2:06 - 2:08
    พยายามที่จะรักษามันไว้
  • 2:08 - 2:09
    พยายามและร้องขอ
  • 2:09 - 2:11
    ไม่ให้เราทิ้งมัน
  • 2:11 - 2:14
    และนำมันกลับขึ้นไปบนฝั่ง
  • 2:14 - 2:15
    พวกเรามีห้องทดลองประมาณโหลหนึ่งได้
  • 2:15 - 2:18
    ที่ก้นทะเลนั่น
  • 2:18 - 2:20
    มันเหลือเพียงแห่งเดียวในโลกนี้
  • 2:20 - 2:21
    มันอยู่ห่างจากฝั่ง 9 ไมล์
  • 2:21 - 2:23
    และลึกลงไป 65 ฟุต
  • 2:23 - 2:25
    มันมีชื่อว่า อควาริอัส (Aquarius)
  • 2:25 - 2:27
    อควาริอัส ในบางกรณี
  • 2:27 - 2:30
    มันคือไดโนเสาร์
  • 2:30 - 2:32
    หุ่นโบราณที่ถูกล่ามไว้ที่ก้นทะเล
  • 2:32 - 2:35
    เจ้าเลเวียแทน (Leviathan) นี้
  • 2:35 - 2:38
    อีกนัยหนึ่ง มันเป็นมรดก
  • 2:38 - 2:40
    และการเยี่ยมเยียนครั้งนั้นก็เช่นกัน ผมรู้ดี
    ว่าเวลาของผมมันสั้นนัก
  • 2:40 - 2:43
    ถ้าผมอยากจะมีประสบการณ์
  • 2:43 - 2:48
    ว่าการเป็นนักสำรวจใต้น้ำเป็นอย่างไร
  • 2:48 - 2:50
    เมื่อเราว่ายน้ำไปยังสิ่งนี้
  • 2:50 - 2:53
    หลังจากการทรมานหลายคืน
    และการเตรียมการถึงสองปี
  • 2:53 - 2:58
    ที่อาศัยนี้รอต้อนรับการมาถึงของเรา
  • 2:58 - 3:01
    เฉกเช่นเป็นบ้านหลังใหม่
  • 3:01 - 3:03
    และเหตุผลของการลงไป
  • 3:03 - 3:07
    และการอาศัยอยู่ที่นั่น
    ไม่ได้หมายถึงการไปอาศัยอยู่ข้างใน
  • 3:07 - 3:10
    มันไม่ใช่การอาศัย
    อยู่ในสิ่งที่มีขนาดเท่ากับรถโรงเรียน
  • 3:10 - 3:13
    มันเป็นการให้เวลาอันมีค่ากับเรา
  • 3:13 - 3:16
    มีข้างนอกให้เราออกเที่ยวชม สำรวจ
  • 3:16 - 3:20
    เพื่อจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับชายขอบมหาสมุทร
  • 3:20 - 3:22
    เรามีสัตว์ใหญ่ผ่านมาเยี่ยมเยียน
  • 3:22 - 3:26
    ปลากระเบนอินทรีย์จุดเห็นได้ทั่วๆ ไปในมหาสมุทร
  • 3:26 - 3:28
    แต่ทำไมมันถึงสำคัญ
  • 3:28 - 3:30
    ทำไมต้องภาพนี้
  • 3:30 - 3:33
    ก็เพราะว่า สัตว์ที่แสนสวยนี้
    พาเพื่อนมาด้วย
  • 3:33 - 3:36
    และแทนที่จะทำตัวเหมือนสัตว์
    ที่อยู่ในทะเลเปิด
  • 3:36 - 3:38
    พวกมันเริ่มสนใจพวกเรา
  • 3:38 - 3:42
    ผู้มาใหม่นี้ที่เข้ามาเป็นเพื่อนบ้าน
  • 3:42 - 3:44
    ทำอะไรบางอย่างกับแพลงค์ตอน
  • 3:44 - 3:47
    พวกเราศึกษาสัตว์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
  • 3:47 - 3:49
    และพวกมันก็เข้ามาใกล้พวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:49 - 3:51
    และเพราะเวลาอันมีค่า
  • 3:51 - 3:54
    สัตว์เหล่านี้ ผู้เป็นเจ้าบ้านแห่งหมู่ปะการัง
  • 3:54 - 3:55
    เริ่มที่จะคุ้นเคยกับเรา
  • 3:55 - 3:59
    และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด
    ที่ปกติแล้วจะว่ายผ่านไป ก็มาหยุดดู
  • 3:59 - 4:01
    เจ้าสัตว์ชนิดนี้ ว่ายวนเป็นวงกลม
  • 4:01 - 4:05
    เป็นเวลา 31 วันเต็มๆ ระหว่างที่เราปฏิบัติหน้าที่
  • 4:05 - 4:08
    ดังนั้นปฎิบัติการ 31
  • 4:08 - 4:10
    ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรมากกับการทำลายสถิติ
  • 4:10 - 4:14
    แต่มันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนและมหาสมุทร
  • 4:14 - 4:16
    ด้วยเวลาอันมีค่า เราจึงสามารถ
  • 4:16 - 4:20
    ศึกษาสัตว์ดังเช่นฉลาม และปลาเก๋า
  • 4:20 - 4:22
    ที่อยู่กันเป็นกลุ่ม ที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน
  • 4:22 - 4:27
    มันเหมือนกับเห็นสุนัขและแมว
    ญาติดีต่อกัน
  • 4:27 - 4:29
    แม้กระทั่งการได้สื่อสารกับสรรพสัตว์
  • 4:29 - 4:30
    ที่ใหญ่กว่าเรามาก
  • 4:30 - 4:33
    อย่างเช่น ปลาเก๋ายักษ์ที่หายากจวนสูญพันธ์ุ
  • 4:33 - 4:36
    ที่อาศัยอยู่ที่แนวเกาะปะการัง ฟอริดา คีร์
  • 4:36 - 4:38
    แน่ละ เหมือนเพื่อนบ้านอื่นๆ
  • 4:38 - 4:41
    ไม่นานนัก ถ้าพวกมันเบื่อ
  • 4:41 - 4:42
    เจ้าปลาเก๋ายักษ์ก็จะเห่าใส่เรา
  • 4:42 - 4:44
    และการเห่านี้ก็ทรงพลังเสียด้วย
  • 4:44 - 4:47
    เพราะมันทำให้เหยื่อตกใจ
    ก่อนที่มันจะดูดเหยื่อเข้าไป
  • 4:47 - 4:49
    ภายในเสี้ยววินาที
  • 4:49 - 4:50
    สำหรับเรา มันแค่บอกให้เราถอย
  • 4:50 - 4:55
    กลับบ้านไปซะ และปล่อยมันไว้ตามลำพัง
  • 4:55 - 4:58
    ทีนี้ มันไม่ใช่แค่การผจญภัย
  • 4:58 - 5:00
    มันมีสิ่งที่จริงจังอยู่ด้วย
  • 5:00 - 5:03
    เราทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมาย
    และอีกครั้ง ด้วยเวลาอันมีค่า
  • 5:03 - 5:06
    เราสามารถที่จะได้ทำงานวิทยาศาสตร์กว่าสามปี
  • 5:06 - 5:08
    ในเวลา 31 วัน
  • 5:08 - 5:11
    ในกรณีนี้ เราใช้ แพม (PAM)
  • 5:11 - 5:12
    หรือถ้าให้ผมอธิบายง่ายๆ
  • 5:12 - 5:15
    เครื่องวัดโดยการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล
    (Pulse Amplitude Modulated Fluorometer)
  • 5:17 - 5:19
    และนักวิทยาศาสตร์ของเราจาก FIU, MIT
  • 5:19 - 5:22
    และจากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทอร์น
  • 5:22 - 5:24
    ที่ทำให้สามารถอ่านค่ามาตรวัดของ
    แนวปะการังนั้น ว่าเป็นอย่างไร
  • 5:24 - 5:26
    เมื่อพวกเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น
  • 5:26 - 5:29
    เครื่องวัดโดยการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล
    หรือ แพม
  • 5:29 - 5:31
    ใช้วัดการเรืองแสงของปะการัง
  • 5:31 - 5:34
    ที่มันเกี่ยวข้องกับมลภาวะในน้ำ
  • 5:34 - 5:37
    เหมือนกับประเด็นความสัมพันธ์ที่ทำให้
    เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • 5:37 - 5:41
    เราใช้อุปกรณ์ทันสมัยทุกอย่าง
  • 5:41 - 5:43
    เช่น ตัวส่อง หรือที่ผมชอบเรียกว่า
  • 5:43 - 5:49
    นักส่องฟองน้ำ ซึ่งตัวส่องเองนั้น
  • 5:49 - 5:52
    ใช้ทดสอบอัตราเมตาบอลิซึม
  • 5:52 - 5:55
    ซึ่งในกรณีนี้มันเป็นฟองน้ำครก
  • 5:55 - 5:57
    หรือป่าแดงแห่งมหาสมุทร
  • 5:57 - 5:59
    และมันเป็นตัววัดที่ดีกว่ามาก
  • 5:59 - 6:01
    ว่าเกิดอะไรขึ้นใต้น้ำบ้าง
  • 6:01 - 6:04
    ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลง
    ของสภาพภูมิอากาศ
  • 6:04 - 6:06
    และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
  • 6:06 - 6:08
    มีผลต่อเราบนแผ่นดินอย่างไร
  • 6:08 - 6:11
    และที่สุดแล้ว เรามองหาพฤติกรรมผู้ล่าและเหยื่อ
  • 6:11 - 6:13
    และพฤติกรรมผู้ล่าและเหยื่อก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
  • 6:13 - 6:15
    เพราะว่า เมื่อเราเอาผู้ล่าออกไป
  • 6:15 - 6:17
    จากแนวปะการังทั่วโลก
  • 6:17 - 6:21
    เหยื่อหรือสัตว์ที่เป็นอาหาร จะมีพฤติกรรมที่ต่างไป
  • 6:21 - 6:23
    สิ่งที่เราได้ตระหนักก็คือ
  • 6:23 - 6:26
    ไม่เพียงแต่มันหยุดการดูแลแนวปะการัง
  • 6:26 - 6:28
    แต่ยังพุ่งเข้ามาคว้าสาหร่ายไปเล็กๆ น้อยๆ
  • 6:28 - 6:29
    และกลับบ้าน
  • 6:29 - 6:31
    พวกมันเริ่มที่จะแยกย้ายและหายไป
  • 6:31 - 6:33
    จากแนวปะการังเหล่านั้น
  • 6:33 - 6:36
    เอาล่ะ ภายใน 31 วันนั้น
  • 6:36 - 6:38
    เราสามารถที่จะเขียน
    เอกสารวิทยาศาสตร์กว่า 10 ฉบับ
  • 6:38 - 6:41
    ในแต่ละหัวข้อ
  • 6:41 - 6:46
    แต่จุดประสงค์ของการผจญภัยไม่ใช่แค่การเรียนรู้
  • 6:46 - 6:49
    แต่เป็นการแบ่งปันความรู้ให้กับโลก
  • 6:49 - 6:53
    และด้วยเหตุนั้น ต้องขอบคุณวิศวกรทั้งคู่
    จาก MIT
  • 6:53 - 6:56
    เราสามารถใช้กล้องต้นแบบที่เรียกว่า
    เอดเจอร์โทรนิก (Edgertronic)
  • 6:56 - 6:59
    เพื่อจับภาพช้า
  • 6:59 - 7:02
    ถึง 20,000 เฟรมต่อวินาที
  • 7:02 - 7:03
    ในกล่องเล็กๆ นั้น
  • 7:03 - 7:05
    มีค่าถึง 3,000 ดอลลาร์
  • 7:05 - 7:07
    มันมีให้สำหรับทุกคน
  • 7:07 - 7:10
    และกล้องที่ว่านั้นทำให้เราได้รู้
  • 7:10 - 7:12
    ถึงเบื้องลึกว่าสัตว์ทั่วๆ ไปทำอะไร
  • 7:12 - 7:15
    ที่เราไม่สามารถเห็นได้ในชั่วพริบตา
  • 7:15 - 7:17
    ให้ผมเล่นวีดีโอนี้ให้คุณดู
  • 7:17 - 7:19
    ว่ากล้องนี้ทำอะไร
  • 7:19 - 7:22
    คุณจะเห็นฟองสีนวลออกมา
  • 7:22 - 7:24
    จากหมวกแข็งๆ
  • 7:24 - 7:26
    ที่ทำให้เราได้เห็นเบื้องลึก
  • 7:26 - 7:29
    ของสัตว์ที่อยู่ใกล้ๆ เรา
  • 7:29 - 7:31
    เป็นเวลาถึง 31 วัน
  • 7:31 - 7:33
    และเราไม่เคยคิดที่จะสนใจมันเลย
  • 7:33 - 7:35
    อย่างเช่น ปูเฮอมิท (hermit crabs)
  • 7:35 - 7:38
    ทีนี้ การใช้เทคโนโลยีที่นำสมัย
  • 7:38 - 7:40
    ที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในมหาสมุทร
  • 7:40 - 7:42
    ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
  • 7:42 - 7:45
    บางทีเราต้องเอากล้องกลับหัว
  • 7:45 - 7:48
    สะพายกลับมาที่ห้องทดลอง
  • 7:48 - 7:50
    และคนที่อยู่ที่ห้องทดลอง
  • 7:50 - 7:52
    ก็ต้องกดปุ่มเอาเอง
  • 7:52 - 7:54
    แต่สิ่งที่เราได้
  • 7:54 - 7:57
    คือภาพข้างหน้าที่ให้เราดูและวิเคราะห์
  • 7:57 - 8:00
    ในเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
  • 8:00 - 8:04
    บางพฤติกรรมที่น่าทึ่งที่สุด
  • 8:04 - 8:05
    ที่ตาของมนุษย์เราไม่สามารถจับภาพได้
  • 8:05 - 8:08
    เช่น กั้งสีรุ้ง (manta shrimp)
  • 8:08 - 8:10
    ที่พยายามจับเหยื่อ
  • 8:10 - 8:15
    ภายใน .3 วินาที
  • 8:15 - 8:18
    การต่อยที่แข็งแรงเท่ากับกระสุน .22
  • 8:18 - 8:20
    และถ้าคุณพยายามที่จะจับภาพกระสุน
  • 8:20 - 8:24
    ที่ลอยอยู่กลางอากาศด้วยตาเปล่า มันเป็นไปไม่ได้
  • 8:24 - 8:25
    แต่ตอนนี้เราได้เห็น
  • 8:25 - 8:28
    สิ่งดังเช่น หนอนต้นสนคริสมาส
  • 8:28 - 8:31
    หดเข้าไปและกางออก
  • 8:31 - 8:34
    ในแบบที่ไม่สามารถจับภาพได้ด้วยตาเปล่า
  • 8:34 - 8:35
    หรือในกรณีนี้
  • 8:35 - 8:42
    ปลาที่เหวี่ยงเม็ดทราย
  • 8:42 - 8:45
    ที่จริงๆ แล้วมันคือปลา เซลฟิน โกบี
  • 8:45 - 8:47
    และถ้าคุณมองดูตามเวลาจริง
  • 8:47 - 8:50
    มันไม่ได้แสดงการเคลื่อนไหวที่กางออก
  • 8:50 - 8:53
    เพราะว่ามันเร็วมาก
  • 8:53 - 8:56
    หนึ่งในของขวัญที่มีค่าที่สุด
    ที่เราได้จากใต้น้ำ
  • 8:56 - 8:58
    คือเรามี Wi-Fi
  • 8:58 - 9:00
    และเป็นเวลา 31 วันต่อเนื่องที่เราสามารถเชื่อมต่อ
  • 9:00 - 9:03
    กับโลกจากใต้ท้องมหาสมุทรแบบทันทีทันใด
  • 9:03 - 9:05
    และแบ่งปันประสบการณ์ทั้งหมดเหล่านี้
  • 9:05 - 9:06
    จริงๆ แล้วตอนนี้
  • 9:06 - 9:07
    ผมกำลังสไกป์กับชั้นเรียน
  • 9:07 - 9:09
    กับหนึ่งในหกทวีป
  • 9:09 - 9:12
    และมีนักเรียนประมาณ 70,000 คน
    กำลังเชื่อมต่อกับเรา
  • 9:12 - 9:15
    ทุกวัน กับประสบการณ์เหล่านี้
  • 9:15 - 9:17
    ความเป็นจริงก็คือ ผมกำลังแสดงภาพ
    ที่ผมถ่ายมา
  • 9:17 - 9:20
    ด้วยโทรศัพท์ของผมจากใต้น้ำ
  • 9:20 - 9:23
    เป็นภาพฝูงปลาเก๋ายักษ์ที่นอนอยู่
  • 9:23 - 9:28
    เราไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน
  • 9:28 - 9:29
    ผมฝันถึงวัน
  • 9:29 - 9:32
    ที่เรามีเมืองใต้น้ำ
  • 9:32 - 9:34
    และบางที แค่บางที ถ้าเราผลักขอบเขต
  • 9:34 - 9:36
    ของการผจญภัยและความรู้ออกไป
  • 9:36 - 9:40
    และเราแบ่งปันความรู้นั้นกับคนอื่นๆ ข้างนอก
  • 9:40 - 9:43
    เราสามารถที่จะแก้ไขทุกปัญหาได้
  • 9:43 - 9:44
    ปู่ของผมเคยบอกว่า
  • 9:44 - 9:47
    "คนเราปกป้องสิ่งที่เรารัก"
  • 9:47 - 9:50
    พ่อผมบอกว่า "คนเราจะปกป้อง
  • 9:50 - 9:55
    สิ่งที่เราไม่เข้าใจได้อย่างไร"
  • 9:55 - 9:59
    และผมได้คิดเกี่ยวกับสิ่งนี้มาทั้งชีวิต
  • 9:59 - 10:02
    ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้
  • 10:02 - 10:05
    พวกเราต้องฝัน พวกเราต้องสร้างสรรค์
  • 10:05 - 10:08
    และพวกเราต้องการการผจญภัย
  • 10:08 - 10:11
    เพื่อที่จะสร้างความอัศจรรย์
    ในเวลาที่มืดมิดที่สุด
  • 10:11 - 10:14
    และไม่ว่ามันจะเกี่ยวกับ
    การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
  • 10:14 - 10:16
    หรือการกำจัดปัญหาความอดอยาก
  • 10:16 - 10:18
    หรือการคืนสิ่งดีๆ ให้กับลูกหลานในอนาคต
  • 10:18 - 10:21
    ในสิ่งที่เราใช้อย่างไม่รู้ค่า
  • 10:21 - 10:23
    มันเกี่ยวกับการผจญภัย
  • 10:23 - 10:25
    และใครจะไปรู้ บางทีมันอาจจะมีเมืองใต้ทะเล
  • 10:25 - 10:26
    และบางที คุณบางคน
  • 10:26 - 10:29
    อาจจะเป็นนักสำรวจใต้น้ำในอนาคต
  • 10:29 - 10:31
    ขอบคุณมากๆ ครับ
  • 10:31 - 10:35
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิตใต้น้ำ 31 วัน
Speaker:
เฟเบียน คอสทัว (Fabien Cousteau)
Description:

ในปีค.ศ. 1963 แจ็คกี คอสทัว ได้ใช้ชีวิตกว่า 30 วันในห้องทดลองใต้น้ำ ที่ตั้งอยู่ที่พื้นทะเลแดงและสร้างสถิติโลกในการดำเนินการนี้ ฤดุร้อนนี้ หลานชายของเขา เฟเบียน คอสทัว ได้ทำลายสถิตินั้น คอสทัวผู้เป็นหลาน ใช้เวลา 31 วันในอควาริอัส ห้องทดลองใต้น้ำที่ห่างจากชายฝั่งฟอริดาไปเก้าไมล์ ในการบรรยายที่ทรงสเน่ห์นี้ เขาได้ปลุกการผจญภัยอันน่าตื่นตาของเขาให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:47

Thai subtitles

Revisions