ผมมีเรื่องอยากจะสารภาพครับ ผมติดการผจญภัย และตอนที่เป็นเด็ก ผมก็มักจะมองออกไปนอกหน้าต่าง ดูนกบนต้นไม้ และท้องฟ้า แทนที่จะดูกระดานเปื้อนชอล์คสองมิติ ที่ที่เหมือนเวลาหยุดนิ่ง และบางทีก็เหมือนมันตายสนิท ครูของผมคิดว่าผมมีอะไรบางอย่างผิดปกติ เพราะผมไม่สนใจเรียนเลย พวกเขาไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ในตัวผม เว้นแต่จะมีอาการเขียนคำผิดๆ ถูกๆ นิดหน่อย เพราะผมถนัดซ้าย แต่พวกเขาไม่ได้ทดสอบความอยากรู้อยากเห็น สำหรับผมแล้ว ความอยากรู้อยากเห็น เป็นความสัมพันธ์ของเรา เชื่อมโยง กับโลก กับเอกภพ มันเกี่ยวกับการมองดู ว่าอะไรอยู่ถัดไปจากปะการังข้างหน้า หรืออะไรอยู่ถัดจากต้นไม้ต้นถัดไป และการเรียนรู้ที่มากกว่าขึ้น ที่ไม่ใช่แค่สิ่งที่อยู่แวดล้อมเรา แต่รวมถึงตัวเราเองด้วย และนี่ ที่สุดของความฝันของผม ผมต้องการที่จะสำรวจมหาสมุทรของดาวอังคาร แต่ก่อนที่เราจะไปที่นั่นได้ ผมคิดว่ามหาสมุทร ยังคงกำความลับอะไรบางอย่างอยู่ ความจริงแล้ว หากคุณคิดว่าโลกของเราเป็นแหล่งน้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ของห้วงอวกาศ และชำแหละมันออกมาเป็นพื้นที่ใช้สอย มหาสมุทรจะมีปริมาตรมากกว่า 3.4 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งเราเคยสำรวจไปแล้ว ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์ และผมมองดูแล้วก็บอกว่า อืม มันมีเครื่องมือที่จะทำให้เราสำรวจได้ ลึกกว่า นานกว่า ไกลกว่า เช่น เรือดำน้ำ อาร์โอวี (หุ่นบังคับใต้น้ำ) หรือแม้แต่การดำน้ำลึก แต่ถ้าเรากำลังจะสำรวจไปสุดพรมแดน ในดาวเคราะห์ดวงนี้ เราต้องไปอยู่ที่นั่น ถ้าจะทำนะ เราต้องสร้างที่พักอาศัย ที่ก้นทะเล และนั่นก็เป็นสุดยอดแห่งความอยากรู้อยากเห็น ในใจผม เมื่อผมได้พบกับผู้ชนะรางวัล TED (TED Prize) ที่มีชื่อว่า ดร.ซิลเวีย เอียลี (Sylvia Earle) บางทีคุณอาจเคยได้ยินชื่อของเธอมาบ้าง สองปีก่อน เธอปักหลัก ที่ห้องทดลองทางทะเลใต้น้ำอันสุดท้าย พยายามที่จะรักษามันไว้ พยายามและร้องขอ ไม่ให้เราทิ้งมัน และนำมันกลับขึ้นไปบนฝั่ง พวกเรามีห้องทดลองประมาณโหลหนึ่งได้ ที่ก้นทะเลนั่น มันเหลือเพียงแห่งเดียวในโลกนี้ มันอยู่ห่างจากฝั่ง 9 ไมล์ และลึกลงไป 65 ฟุต มันมีชื่อว่า อควาริอัส (Aquarius) อควาริอัส ในบางกรณี มันคือไดโนเสาร์ หุ่นโบราณที่ถูกล่ามไว้ที่ก้นทะเล เจ้าเลเวียแทน (Leviathan) นี้ อีกนัยหนึ่ง มันเป็นมรดก และการเยี่ยมเยียนครั้งนั้นก็เช่นกัน ผมรู้ดี ว่าเวลาของผมมันสั้นนัก ถ้าผมอยากจะมีประสบการณ์ ว่าการเป็นนักสำรวจใต้น้ำเป็นอย่างไร เมื่อเราว่ายน้ำไปยังสิ่งนี้ หลังจากการทรมานหลายคืน และการเตรียมการถึงสองปี ที่อาศัยนี้รอต้อนรับการมาถึงของเรา เฉกเช่นเป็นบ้านหลังใหม่ และเหตุผลของการลงไป และการอาศัยอยู่ที่นั่น ไม่ได้หมายถึงการไปอาศัยอยู่ข้างใน มันไม่ใช่การอาศัย อยู่ในสิ่งที่มีขนาดเท่ากับรถโรงเรียน มันเป็นการให้เวลาอันมีค่ากับเรา มีข้างนอกให้เราออกเที่ยวชม สำรวจ เพื่อจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับชายขอบมหาสมุทร เรามีสัตว์ใหญ่ผ่านมาเยี่ยมเยียน ปลากระเบนอินทรีย์จุดเห็นได้ทั่วๆ ไปในมหาสมุทร แต่ทำไมมันถึงสำคัญ ทำไมต้องภาพนี้ ก็เพราะว่า สัตว์ที่แสนสวยนี้ พาเพื่อนมาด้วย และแทนที่จะทำตัวเหมือนสัตว์ ที่อยู่ในทะเลเปิด พวกมันเริ่มสนใจพวกเรา ผู้มาใหม่นี้ที่เข้ามาเป็นเพื่อนบ้าน ทำอะไรบางอย่างกับแพลงค์ตอน พวกเราศึกษาสัตว์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และพวกมันก็เข้ามาใกล้พวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ และเพราะเวลาอันมีค่า สัตว์เหล่านี้ ผู้เป็นเจ้าบ้านแห่งหมู่ปะการัง เริ่มที่จะคุ้นเคยกับเรา และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด ที่ปกติแล้วจะว่ายผ่านไป ก็มาหยุดดู เจ้าสัตว์ชนิดนี้ ว่ายวนเป็นวงกลม เป็นเวลา 31 วันเต็มๆ ระหว่างที่เราปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นปฎิบัติการ 31 ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรมากกับการทำลายสถิติ แต่มันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนและมหาสมุทร ด้วยเวลาอันมีค่า เราจึงสามารถ ศึกษาสัตว์ดังเช่นฉลาม และปลาเก๋า ที่อยู่กันเป็นกลุ่ม ที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน มันเหมือนกับเห็นสุนัขและแมว ญาติดีต่อกัน แม้กระทั่งการได้สื่อสารกับสรรพสัตว์ ที่ใหญ่กว่าเรามาก อย่างเช่น ปลาเก๋ายักษ์ที่หายากจวนสูญพันธ์ุ ที่อาศัยอยู่ที่แนวเกาะปะการัง ฟอริดา คีร์ แน่ละ เหมือนเพื่อนบ้านอื่นๆ ไม่นานนัก ถ้าพวกมันเบื่อ เจ้าปลาเก๋ายักษ์ก็จะเห่าใส่เรา และการเห่านี้ก็ทรงพลังเสียด้วย เพราะมันทำให้เหยื่อตกใจ ก่อนที่มันจะดูดเหยื่อเข้าไป ภายในเสี้ยววินาที สำหรับเรา มันแค่บอกให้เราถอย กลับบ้านไปซะ และปล่อยมันไว้ตามลำพัง ทีนี้ มันไม่ใช่แค่การผจญภัย มันมีสิ่งที่จริงจังอยู่ด้วย เราทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมาย และอีกครั้ง ด้วยเวลาอันมีค่า เราสามารถที่จะได้ทำงานวิทยาศาสตร์กว่าสามปี ในเวลา 31 วัน ในกรณีนี้ เราใช้ แพม (PAM) หรือถ้าให้ผมอธิบายง่ายๆ เครื่องวัดโดยการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล (Pulse Amplitude Modulated Fluorometer) และนักวิทยาศาสตร์ของเราจาก FIU, MIT และจากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทอร์น ที่ทำให้สามารถอ่านค่ามาตรวัดของ แนวปะการังนั้น ว่าเป็นอย่างไร เมื่อพวกเราไม่ได้อยู่ตรงนั้น เครื่องวัดโดยการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล หรือ แพม ใช้วัดการเรืองแสงของปะการัง ที่มันเกี่ยวข้องกับมลภาวะในน้ำ เหมือนกับประเด็นความสัมพันธ์ที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เราใช้อุปกรณ์ทันสมัยทุกอย่าง เช่น ตัวส่อง หรือที่ผมชอบเรียกว่า นักส่องฟองน้ำ ซึ่งตัวส่องเองนั้น ใช้ทดสอบอัตราเมตาบอลิซึม ซึ่งในกรณีนี้มันเป็นฟองน้ำครก หรือป่าแดงแห่งมหาสมุทร และมันเป็นตัววัดที่ดีกว่ามาก ว่าเกิดอะไรขึ้นใต้น้ำบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น มีผลต่อเราบนแผ่นดินอย่างไร และที่สุดแล้ว เรามองหาพฤติกรรมผู้ล่าและเหยื่อ และพฤติกรรมผู้ล่าและเหยื่อก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะว่า เมื่อเราเอาผู้ล่าออกไป จากแนวปะการังทั่วโลก เหยื่อหรือสัตว์ที่เป็นอาหาร จะมีพฤติกรรมที่ต่างไป สิ่งที่เราได้ตระหนักก็คือ ไม่เพียงแต่มันหยุดการดูแลแนวปะการัง แต่ยังพุ่งเข้ามาคว้าสาหร่ายไปเล็กๆ น้อยๆ และกลับบ้าน พวกมันเริ่มที่จะแยกย้ายและหายไป จากแนวปะการังเหล่านั้น เอาล่ะ ภายใน 31 วันนั้น เราสามารถที่จะเขียน เอกสารวิทยาศาสตร์กว่า 10 ฉบับ ในแต่ละหัวข้อ แต่จุดประสงค์ของการผจญภัยไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่เป็นการแบ่งปันความรู้ให้กับโลก และด้วยเหตุนั้น ต้องขอบคุณวิศวกรทั้งคู่ จาก MIT เราสามารถใช้กล้องต้นแบบที่เรียกว่า เอดเจอร์โทรนิก (Edgertronic) เพื่อจับภาพช้า ถึง 20,000 เฟรมต่อวินาที ในกล่องเล็กๆ นั้น มีค่าถึง 3,000 ดอลลาร์ มันมีให้สำหรับทุกคน และกล้องที่ว่านั้นทำให้เราได้รู้ ถึงเบื้องลึกว่าสัตว์ทั่วๆ ไปทำอะไร ที่เราไม่สามารถเห็นได้ในชั่วพริบตา ให้ผมเล่นวีดีโอนี้ให้คุณดู ว่ากล้องนี้ทำอะไร คุณจะเห็นฟองสีนวลออกมา จากหมวกแข็งๆ ที่ทำให้เราได้เห็นเบื้องลึก ของสัตว์ที่อยู่ใกล้ๆ เรา เป็นเวลาถึง 31 วัน และเราไม่เคยคิดที่จะสนใจมันเลย อย่างเช่น ปูเฮอมิท (hermit crabs) ทีนี้ การใช้เทคโนโลยีที่นำสมัย ที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในมหาสมุทร ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางทีเราต้องเอากล้องกลับหัว สะพายกลับมาที่ห้องทดลอง และคนที่อยู่ที่ห้องทดลอง ก็ต้องกดปุ่มเอาเอง แต่สิ่งที่เราได้ คือภาพข้างหน้าที่ให้เราดูและวิเคราะห์ ในเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ บางพฤติกรรมที่น่าทึ่งที่สุด ที่ตาของมนุษย์เราไม่สามารถจับภาพได้ เช่น กั้งสีรุ้ง (manta shrimp) ที่พยายามจับเหยื่อ ภายใน .3 วินาที การต่อยที่แข็งแรงเท่ากับกระสุน .22 และถ้าคุณพยายามที่จะจับภาพกระสุน ที่ลอยอยู่กลางอากาศด้วยตาเปล่า มันเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนี้เราได้เห็น สิ่งดังเช่น หนอนต้นสนคริสมาส หดเข้าไปและกางออก ในแบบที่ไม่สามารถจับภาพได้ด้วยตาเปล่า หรือในกรณีนี้ ปลาที่เหวี่ยงเม็ดทราย ที่จริงๆ แล้วมันคือปลา เซลฟิน โกบี และถ้าคุณมองดูตามเวลาจริง มันไม่ได้แสดงการเคลื่อนไหวที่กางออก เพราะว่ามันเร็วมาก หนึ่งในของขวัญที่มีค่าที่สุด ที่เราได้จากใต้น้ำ คือเรามี Wi-Fi และเป็นเวลา 31 วันต่อเนื่องที่เราสามารถเชื่อมต่อ กับโลกจากใต้ท้องมหาสมุทรแบบทันทีทันใด และแบ่งปันประสบการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ จริงๆ แล้วตอนนี้ ผมกำลังสไกป์กับชั้นเรียน กับหนึ่งในหกทวีป และมีนักเรียนประมาณ 70,000 คน กำลังเชื่อมต่อกับเรา ทุกวัน กับประสบการณ์เหล่านี้ ความเป็นจริงก็คือ ผมกำลังแสดงภาพ ที่ผมถ่ายมา ด้วยโทรศัพท์ของผมจากใต้น้ำ เป็นภาพฝูงปลาเก๋ายักษ์ที่นอนอยู่ เราไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน ผมฝันถึงวัน ที่เรามีเมืองใต้น้ำ และบางที แค่บางที ถ้าเราผลักขอบเขต ของการผจญภัยและความรู้ออกไป และเราแบ่งปันความรู้นั้นกับคนอื่นๆ ข้างนอก เราสามารถที่จะแก้ไขทุกปัญหาได้ ปู่ของผมเคยบอกว่า "คนเราปกป้องสิ่งที่เรารัก" พ่อผมบอกว่า "คนเราจะปกป้อง สิ่งที่เราไม่เข้าใจได้อย่างไร" และผมได้คิดเกี่ยวกับสิ่งนี้มาทั้งชีวิต ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้ พวกเราต้องฝัน พวกเราต้องสร้างสรรค์ และพวกเราต้องการการผจญภัย เพื่อที่จะสร้างความอัศจรรย์ ในเวลาที่มืดมิดที่สุด และไม่ว่ามันจะเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือการกำจัดปัญหาความอดอยาก หรือการคืนสิ่งดีๆ ให้กับลูกหลานในอนาคต ในสิ่งที่เราใช้อย่างไม่รู้ค่า มันเกี่ยวกับการผจญภัย และใครจะไปรู้ บางทีมันอาจจะมีเมืองใต้ทะเล และบางที คุณบางคน อาจจะเป็นนักสำรวจใต้น้ำในอนาคต ขอบคุณมากๆ ครับ (เสียงปรบมือ)