Return to Video

The Solar System -- our home in space

  • 0:04 - 0:08
    ที่นี่คือระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งก็คือบ้านของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล
  • 0:10 - 0:12
    เราอาศัยอยู่ในส่วนที่แสนสงบสุขส่วนใดส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก
  • 0:14 - 0:15
    บ้านของเราคือระบบสุริยะนั่นเอง
  • 0:15 - 0:21
    การก่อตัวราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว
    หมุนรอบศูนย์กลางกาแล็คซี่ที่
  • 0:21 - 0:28
    200,000 กิโลเมตร / ชั่วโมงและหมุนครบรอบ
    ทุกๆ 250 ล้านปี
  • 0:30 - 0:33
    ดาวของเราดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
    ของระบบสุริยะ
  • 0:34 - 0:36
    มีดาวเคราะห์แปดดวงโคจรรอบ
  • 0:36 - 0:40
    อุกาบาตและดาวหางอีกล้านล้านดวง
    และมีดาวเคราะห์แคระอีกนิดหน่อย
  • 0:41 - 0:44
    ดาวเคราะห์แปดดวง แบ่งออกเป็นสี่ดวง
    ที่เหมือนโลกของเรา ได้แก่
  • 0:44 - 0:47
    ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร
  • 0:47 - 0:52
    และดาวก๊าซยักษ์สี่ดวง:
    ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
  • 0:54 - 0:57
    ดาวพุธเป็นที่เล็กที่สุดและ
    ที่เบาที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด
  • 0:57 - 1:00
    หนึ่งปีที่ดาวพุธสั้นกว่าวันหนึ่งที่ดาวพุธ
    ซึ่งนำไปสู่
  • 1:00 - 1:02
    อุณหภูมิที่มีความผันผวนอย่างมาก
  • 1:04 - 1:07
    ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศหรือดวงจันทร์
  • 1:09 - 1:13
    ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในวัตถุที่สว่างที่สุดใน
    ระบบสุริยะ
  • 1:13 - 1:15
    เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด มีความดันใน
    ชั้นบรรยากาศที่
  • 1:15 - 1:18
    92 เท่าของบนโลก
  • 1:20 - 1:24
    มีภาวะเรือนกระจกที่สุดโต่ง
    นั่นหมายความว่าดาวศุกร์
  • 1:24 - 1:27
    ไม่เคยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 437 °C เลย
  • 1:29 - 1:31
    ดาวศุกร์ก็ไม่ได้มีดวงจันทร์เช่นกัน
  • 1:33 - 1:36
    โลกเป็นบ้านของเราและเป็นดาวเดียว
  • 1:36 - 1:40
    ที่มีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอเหมาะ
    ทำให้เกิดน้ำที่มีสถานะเป็นของเหลว
  • 1:40 - 1:45
    นอกจากนี้ก็ยังเป็นสถานที่เดียวในขณะนี้
    ที่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่
  • 1:46 - 1:48
    โลกมีดวงจันทร์หนึ่งดวง
  • 1:50 - 1:53
    ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง
    ในระบบสุริยะ
  • 1:53 - 1:56
    และแทบจะมีมวลไม่มากพอจึงทำให้
    เกิดชั้นบรรยากาศที่เบาบาง
  • 1:57 - 2:00
    โอลิมปัสมอนส์เป็นภูเขาที่ใหญ่ที่สุด
    ในระบบสุริยะ
  • 2:00 - 2:03
    สูงมากกว่าสามเท่าของยอดเขา
    เอเวอร์เรส
  • 2:04 - 2:06
    ดาวอังคารมีดวงจันทร์ขนาดเล็กสองดวง
  • 2:09 - 2:12
    ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุด
    ในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  • 2:13 - 2:16
    มันประกอบด้วยไฮโดรเจนและ
    ฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่
  • 2:16 - 2:19
    และเป็นสถานที่ที่พบพายุ
    ใหญ่ที่สุดและรุนแรงมากที่สุดเท่าที่เรารู้จัก
  • 2:21 - 2:25
    พายุที่ใหญ่ที่สุดคือจุดแดงใหญ่,
    มีขนาดเป็นสามเท่าของโลก
  • 2:26 - 2:28
    ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์หกสิบเจ็ดดวง
  • 2:30 - 2:33
    ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและ
    มีความหนาแน่นที่น้อยที่สุด
  • 2:33 - 2:34
    ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด
  • 2:36 - 2:39
    เปรียบเทียบได้ว่าหากคุณมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่
    ดาวเสาร์จะลอยอยู่ในนั้น
  • 2:40 - 2:44
    ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับ
    วงแหวนที่มองเห็นได้ชัดของมัน
  • 2:45 - 2:47
    มันมีดวงจันทร์หกสิบสองดวง
  • 2:48 - 2:52
    ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม
    และเป็นหนึ่งในที่หนาวเย็นมากที่สุด
  • 2:53 - 2:55
    และก็ยังเล็กที่สุด
    ในบรรดาดาวก็าซยักษ์
  • 2:56 - 2:59
    สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับดาวยูเรนัสก็คือว่า
    แกนของการหมุน
  • 2:59 - 3:02
    เอียงไปด้านข้างในทางตรงกันข้ามกับ
    ดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทั้งเจ็ดดวง
  • 3:03 - 3:05
    มันมีดวงจันทร์ยี่สิบเจ็ดดวง
  • 3:06 - 3:10
    ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่สุดท้ายในระบบ
    สุริยะและมีความคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส
  • 3:11 - 3:16
    มันไกลจากดวงอาทิตย์มากจน
    หนึ่งปีที่ดาวเนปจูนเป็น 164 ปีของโลก
  • 3:18 - 3:22
    ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัด
    ได้ในพายุบนดาวเนปจูน,
  • 3:22 - 3:25
    ก็เพียงเกือบๆ 2,100 กิโลเมตร / ชั่วโมง
  • 3:28 - 3:30
    ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์สิบสี่ดวง
  • 3:32 - 3:34
    ถ้าเราเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์
  • 3:34 - 3:37
    ความแตกต่างระหว่างพวกมัน
    จะเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น
  • 3:38 - 3:41
    ดาวพฤหัสบดีเป็นผู้นำโด่งในแง่ของ
    ขนาดและน้ำหนัก;
  • 3:43 - 3:45
    ในทางตรงข้าม ขนาดที่เล็กของดาวพุธ
  • 3:45 - 3:48
    มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์แกนีมีด
    หนึ่งในบริวารดาวพฤหัสบดี
  • 3:49 - 3:53
    ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ เพียงแค่มวลของมัน
    ก็มีประมาณ 70% ของมวล
  • 3:53 - 3:57
    ของทุกดาวเคราะห์รวม ๆ กันและ
    ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งที่แวดล้อมมัน
  • 3:58 - 4:01
    นับเป็นโชคดีสำหรับโลกเพราะ
    ดาวพฤหัสบดีดึงดูด
  • 4:01 - 4:05
    ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมากที่สามารถ
    ชนโลกจนทำให้สิ่งชีวิตบนโลกสูญพันพธุ์ได้
  • 4:07 - 4:12
    แม้แต่ดาวพฤหัสบดียังดูเป็นดาวแคระไปเสีย
    เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์
  • 4:12 - 4:15
    เรียกดาวพฤหัสบดีว่าใหญ่ดูจะ
    ลำเอียงกับดวงอาทิตย์
  • 4:16 - 4:20
    99.86% ของมวลในระบบสุริยะ
    มาจากดวงอาทิตย์
  • 4:21 - 4:24
    ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วย
    ไฮโดรเจนและฮีเลียม
  • 4:24 - 4:28
    น้อยกว่า 2% เป็นธาตุหนัก
    เช่นออกซิเจนหรือเหล็ก
  • 4:30 - 4:35
    ที่แกนของดวงอาทิตย์เผาไฮโดรเจน
    620 ล้านตันในแต่ละวินาที
  • 4:35 - 4:39
    และสร้างพลังงานพอที่จะตอบสนองความ
    ความต้องการของมนุษย์มานานเนิ่นนาน
  • 4:42 - 4:44
    แต่ไม่เพียงดาวเคราะห์แค่แปดดวง
    โคจรรอบดวงอาทิตย์
  • 4:45 - 4:48
    ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางนับล้านล้าน
    ก็ยังโคจรอยู่
  • 4:49 - 4:51
    ส่วนใหญ่ของพวกมันรวมกันอยู่คล้าย
    เข็มขัดสองเส้น:
  • 4:52 - 4:55
    หนึ่ง แถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาว
    ดาวพฤหัสบดี
  • 4:55 - 4:58
    และ สอง แถบไคเปอร์ที่ขอบของ
    ระบบสุริยะ
  • 4:59 - 5:03
    เข็มขัดเหล่านี้เป็นบ้านของวัตถุที่นับไม่ถ้วน
    บางอย่างมีขนาดเพียงเท่าอนุภาคฝุ่น
  • 5:03 - 5:05
    บางอย่างมีขนาดเท่าดาวเคราะห์แคระ
  • 5:06 - 5:09
    วัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดใน
    แถบดาวเคราะห์น้อยคือเซเรส
  • 5:09 - 5:15
    วัตถุส่วนใหญ่รู้จักกันดีในแถบไคเปอร์
    มีดาวพลูโต Makemake และ Haumea
  • 5:16 - 5:19
    โดยปกติแล้วเราจะอธิบายแถบดาวเคราะห์น้อยเป็น
  • 5:19 - 5:22
    ส่วนที่หนาแน่นและเกิดการ
    ชนอย่างต่อเนื่อง
  • 5:23 - 5:27
    แต่ในความเป็นจริง มีดาวเคราะห์น้อย
    กระจายไปทั่วบริเวณ ซึ่ง
  • 5:27 - 5:31
    กว้างใหญ่เสียจนยากที่จะ
    เห็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงในคราวเดียว
  • 5:33 - 5:35
    แม้จะมีดาวเคราะห์น้อยหลายพันล้านดวงในแถบ
  • 5:35 - 5:38
    แถบดาวเคราะห์น้อยยังคงดูเหมือนพื้นที่่ว่างเปล่า
    นั่นเอง
  • 5:38 - 5:42
    และยังคงมีการชนกัน
    ครั้งแล้วครั้งเล่า.
  • 5:42 - 5:45
    มวลของแถบทั้งสองนั้น
    แทบจะไม่มีความสำคัญ:
  • 5:45 - 5:50
    แถบดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยกว่า
    4% ของมวลดวงจันทร์ของเราและ
  • 5:50 - 5:54
    แถบไคเปอร์มีขนาดระหว่าง 1/25 ถึง
    1/10 ของมวลของโลก
  • 5:57 - 6:00
    วันหนึ่งระบบสุริยะจะหายไป
    ไม่มีอยู่แล้ว
  • 6:01 - 6:05
    ดวงอาทิตย์จะตาย และดาวพุธ ดาวศุกร์
    บางทีโลกด้วยก็จะถูกทำลาย
  • 6:07 - 6:11
    ในเวลา 500 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ
    และร้อนจนถึงจุดหนึ่ง
  • 6:11 - 6:13
    มันจะละลายเปลือกโลก
  • 6:15 - 6:18
    จากนั้นดวงอาทิตย์จะโตขึ้นเรื่อยๆ
    จนกระทั่งกลืนโลก
  • 6:18 - 6:22
    หรืออย่างน้อยก็ทำให้โลกกลายเป็นทะเลลาวา
  • 6:24 - 6:28
    เมื่อดวงอาทิตย์ได้ถูกเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมดและ
    สูญเสียมวลไปมาก
  • 6:28 - 6:32
    มันจะหดตัวจนเป็นดาวแคระขาวและเผาไหม้ช้าๆ
    ต่อไปอีกไม่กี่พันล้านปี
  • 6:32 - 6:35
    ก่อนที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิง
  • 6:37 - 6:41
    จากนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตในระบบสุริยะ
    คือสิ่งเป็นไปไม่ได้
  • 6:42 - 6:43
    ทางช้างเผือกเองจะแทบจะไม่ได้สังเกตว่า
  • 6:44 - 6:48
    ส่วนเล็ก ๆ อย่างระบบสุริยะในแขนข้างหนึ่ง
    จะกลายเป็นเพียงจุดที่มืดขึ้นเล็กน้อย
  • 6:49 - 6:54
    และมนุษย์จะหายไป
    หรือออกจากระบบสุริยะ
  • 6:54 - 6:57
    เพื่อการค้นหาดาวบ้านดวงใหม่
  • 6:57 - 7:05
    คำบรรยายโดยชุมชน Amara.org :
    Thunwa Somboonvit, ytuaeb sciencemath
Title:
The Solar System -- our home in space
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
07:21

Thai subtitles

Revisions