Return to Video

ทุนนิยมสามานย์ | บรรยง พงษ์พานิช | TEDxBangkok

  • 0:12 - 0:14
    สวัสดีครับ
  • 0:14 - 0:18
    ผมเป็นคนที่แก่ที่สุดบนเวทีวันนี้
  • 0:18 - 0:23
    แต่พอทอดตามองไปแล้วสงสัย
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:23 - 0:28
    แต่มองไปแล้วชักสงสัยว่า
    แก่ที่สุดในห้องนี้ด้วยหรือเปล่า
  • 0:28 - 0:32
    นอกจากจะแก่แล้ว
    การทรงตัวยังไม่ค่อยดีอีกครับ
  • 0:32 - 0:36
    ต้้งแต่เสียศูนย์จาก
    วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
  • 0:36 - 0:38
    เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
  • 0:38 - 0:41
    ก็เลยขออนุญาตนั่งคุย นั่งพูด
  • 0:41 - 0:45
    วันนี้จะมาคุยกันเรื่องของทุนนิยม
  • 0:45 - 0:47
    ผมเป็นทุนนิยม
  • 0:47 - 0:50
    ผมชื่นชอบในระบอบทุนนิยม
  • 0:50 - 0:52
    เวลาพูดอย่างนี้ในเมืองไทยนะครับ
  • 0:52 - 0:54
    มันเหมือนกับเป็นคนบ้า
  • 0:54 - 0:55
    เป็นคนโลภ
  • 0:55 - 0:58
    เป็นคนอยากดังขวางโลก
  • 0:58 - 1:03
    เหมือนกับเอาเครื่องหมายสามานย์
    มาแปะติดไว้ที่หน้าผาก
  • 1:03 - 1:07
    เพราะว่า คำว่าทุนนิยมในประเทศนี้
  • 1:07 - 1:10
    เป็นคำค่อนข้างที่จะหยาบ
  • 1:10 - 1:13
    คนไทยเวลาพูดถึงทุนนิยม
    เราก็จะเรียกรวมกันไปเลย
  • 1:13 - 1:16
    ว่าเป็นทุนนิยมสามานย์
  • 1:16 - 1:18
    และนั่นก็ทำให้เกิดคำถามว่า
  • 1:18 - 1:22
    ถ้าทุนนิยมมันชั่วช้า
    ถ้าทุนนิยมมันสามานย์จริง
  • 1:22 - 1:26
    แล้วทำไมเกือบทุกประเทศในโลกนี้
  • 1:26 - 1:28
    โดยเฉพาะในประเทศที่เขาเจริญแล้ว
  • 1:28 - 1:32
    ถึงสมาทานเอาระบบทุนนิยมกันทั้งสิ้ัน
  • 1:32 - 1:34
    ทำไมระบบอื่นๆ
  • 1:34 - 1:37
    อย่างเช่น สังคมนิยม
  • 1:37 - 1:39
    คอมมูนนิยม
  • 1:39 - 1:40
    ชาตินิยม
  • 1:40 - 1:43
    ที่ชื่อก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของส่วนรวม
  • 1:43 - 1:46
    เป็นเรื่องของสังคม
  • 1:46 - 1:48
    จึงไม่ได้รับความสำเร็จ
  • 1:48 - 1:50
    จึงไม่ได้รับความนิยม
  • 1:50 - 1:53
    กล่าวได้ว่า ล้มเหลวเลยก็ว่าได้
  • 1:53 - 1:56
    ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะครับว่า
  • 1:56 - 1:59
    ระบบทุนนิยม มันไม่ใช่ลัทธิ
  • 1:59 - 2:02
    มันไม่ใช่ศาสนา
  • 2:02 - 2:05
    ยิ่งไม่ใช่สัจธรรม ความจริงเที่ยงแท้ใดๆ
  • 2:05 - 2:08
    มันเป็นเพียงกระบวนการพัฒนาการ
  • 2:08 - 2:11
    ที่มีอายุยังสั้นนัก
  • 2:11 - 2:15
    ถ้าเทียบกับอายุโลกสี่พันล้านปี
  • 2:15 - 2:18
    อายุของมนุษยชาติแสนปี
  • 2:18 - 2:20
    อายุของอารยธรรมหมื่นปีแล้ว
  • 2:20 - 2:24
    ทุนนิยมมีอายุเพียงแค่
    ไม่ถึงสามร้อยปีนี้เอง
  • 2:24 - 2:28
    มันเป็นระบบที่ยังต้องพัฒนาการต่อไป
  • 2:28 - 2:31
    ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์
  • 2:31 - 2:36
    คำว่าทุนนิยมจริงๆ แล้ว
    ก็พัฒนามาพร้อมๆ กับคำว่าเสรีชน
  • 2:36 - 2:41
    พร้อมๆ กับคำว่าประชาธิปไตยนี่ล่ะครับ
  • 2:41 - 2:43
    ย้อนกลับไปแค่สองร้อยกว่าปี
  • 2:43 - 2:48
    ลองคิดดูว่า เมื่อปี ค.ศ.1800
  • 2:48 - 2:52
    เชื่อไหมครับ
    ทั้งโลกมีประชากรอยู่แค่พันล้านคน
  • 2:52 - 2:56
    อีก 200 ปีมาถึงปัจจุบัน
    เรามี 7 พันล้านคน
  • 2:56 - 2:58
    เติบโตมาถึง 7 เท่า
  • 2:58 - 3:02
    ลองคิดดูว่าถ้าเราไม่มีระบบที่จะสร้างผลิตผล
  • 3:02 - 3:06
    ที่เติบโตในอัตราที่เท่ากันหรือมากกว่า
  • 3:06 - 3:11
    โลกจะต้องขาดแคลน
    จะต้องแก่งแย่งช่วงชิงกันขนาดไหน
  • 3:11 - 3:16
    โชคดีที่ระบบทุนนิยม
    ที่เฟื่องฟูมาในระยะเดียวกัน
  • 3:16 - 3:21
    สามารถที่จะสร้างผลผลิตขึ้นมา
    ถึง 230 เท่า
  • 3:21 - 3:23
    มนุษย์เพิ่มขึ้น 7 เท่า
  • 3:23 - 3:28
    แต่ผลผลิตของโลกเพิ่มขึ้นถึง 230 เท่า
  • 3:28 - 3:29
    แน่นอนครับ
  • 3:29 - 3:34
    ทุนนิยมมันก็มีส่วน
    ทำให้คนมากขึ้น 7 เท่าด้วย
  • 3:34 - 3:36
    เพราะความเจริญ
  • 3:36 - 3:40
    มันก็ทำให้อัตรารอดในวัยเด็กสูงขึ้นมากมาย
  • 3:40 - 3:43
    มันทำให้ช่วงชีวิตของคนเราถูกยืดยาว
  • 3:43 - 3:46
    โลกถึงแม้จะแออัด
  • 3:46 - 3:49
    แต่คุณภาพชีวิตของผู้คนบนโลก
  • 3:49 - 3:53
    ก็ดีขึ้น แทบทุกมุมโลก
  • 3:53 - 3:55
    หลักการของทุนนิยม
  • 3:55 - 3:57
    หลักที่สำคัญที่สุดก็คือ
  • 3:57 - 4:00
    ยอมรับในความโลภ
  • 4:00 - 4:03
    ยอมรับในความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
  • 4:03 - 4:05
    เสร็จแล้วก็พยายามที่จะหาระบบ
  • 4:05 - 4:08
    พยายามจะหากฏกติกาเข้าไปครอบ
  • 4:08 - 4:12
    ไม่ให้ความโลภ ความเห็นแก่ตัวนั้น
  • 4:12 - 4:17
    ไปเบียดเบียน ไปลิดรอน
    สิทธิเสรีภาพของคนอื่น
  • 4:17 - 4:21
    ไปเบียดเบียนสังคม เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
  • 4:21 - 4:24
    และเหนือกว่านั้น ทำยังไงให้ระบบ
  • 4:24 - 4:27
    กลไกตลาดที่ระบบมันสร้างขึ้น
  • 4:27 - 4:29
    ไปส่งเสริมให้ความเห็นแก่ตัวของคนแต่ละคน
  • 4:29 - 4:32
    สามารถที่จะมารวมกัน
  • 4:32 - 4:37
    แล้วก็นำไปประกอบกิจการให้ได้ผลิตผล
  • 4:37 - 4:40
    ที่เพิ่มสูงขึ้นแล้วนำมาแบ่งปันกัน
  • 4:40 - 4:42
    อันนั้นคือหลักการสำคัญที่สุด
  • 4:42 - 4:44
    ความจริงในประวัติศาสตร์ของโลก
  • 4:44 - 4:49
    ระบบที่ถือว่าเป็นคู่ขนาน
    แล้วขัดแย้งกับทุนนิยมโดยตรง
  • 4:49 - 4:51
    ก็คือระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
  • 4:51 - 4:57
    ซึ่งเริ่มโดยปรัชญาของ คาร์ล มาคส์
    ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
  • 4:57 - 5:02
    แล้วเลนินนำไปใช้ในรัสเซีย
    ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
  • 5:02 - 5:05
    หลังสงครามโลก
    30 กว่าประเทศ
  • 5:05 - 5:08
    ก็สมาทานระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
  • 5:08 - 5:12
    แล้วโลกก็เกิดสงครามเย็น 40 กว่าปี
  • 5:12 - 5:16
    40 ปีผ่านไป ผลมันก็ออก
  • 5:16 - 5:20
    ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น
  • 5:20 - 5:23
    ถึงแม้เจตนาจะดีขนาดไหน
  • 5:23 - 5:26
    ถึงแม้จะมุ่งเน้นถึงความเป็นธรรม
  • 5:26 - 5:28
    ความเท่าเทียมกันของมนุษย์
  • 5:28 - 5:32
    ถึงแม้จะพยายามที่จะขจัดความเอาเปรียบ
  • 5:32 - 5:35
    ความบิดเบือน ความชั่วร้ายต่าง ๆ
  • 5:35 - 5:40
    แต่มันก็ไม่สามารถจะสร้างผลิตผล
    และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้
  • 5:40 - 5:43
    เทียบกันแล้วผลผลิตเฉลี่ย
    เทียบกับระบบทุนนิยม
  • 5:43 - 5:46
    ต่างกันหลายเท่าตัว
  • 5:46 - 5:47
    ขอยกตัวอย่างนะครับ
  • 5:47 - 5:49
    อย่างเช่น ประเทศจีน
  • 5:49 - 5:52
    ในปี 1979
  • 5:52 - 5:55
    ปีที่เติ้งเสี่ยวผิงประกาศ
  • 5:55 - 5:58
    เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ
    เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
  • 5:58 - 6:00
    ซึ่งก็คือทุนนิยมนี่ล่ะครับ
  • 6:00 - 6:05
    ในปีนั้นจีนมีผลผลิตต่อหัว ต่อคน ต่อปี
  • 6:05 - 6:07
    เพียงไม่ถึง 300 เหรียญ
  • 6:07 - 6:10
    ขณะที่ไต้หวัน ซึ่งเคยเป็น
    ประเทศเดียวกันแล้วแยกมา
  • 6:10 - 6:14
    มีผลิตผลถึง 2,400 เหรียญ
    8 เท่าตัวเลยทีเดียว
  • 6:14 - 6:17
    แต่พอจีนเปลี่ยนระบบ
  • 6:17 - 6:19
    35 ปีที่ผ่านมา
  • 6:19 - 6:22
    เศรษฐกิจก็เติบโตขึ้น 40 เท่าตัว
  • 6:22 - 6:24
    จนกระทั่งปัจจุบัน
  • 6:24 - 6:29
    จีนก็กลายเป็นเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก
  • 6:29 - 6:31
    หรือจะไปดูเยอรมัน
  • 6:31 - 6:36
    ปีที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย 1989
  • 6:36 - 6:43
    เยอรมันตะวันตกมีผลิตผลต่อคน
    สูงกว่าเยอรมันตะวันออกถึง 2 เท่าครึ่ง
  • 6:43 - 6:45
    รัสเซียเอง
  • 6:45 - 6:50
    จากการที่ไม่ประสบผลสำเร็จ
    ในการพัฒนาเศรษกิจภายใต้ระบบมาร์กซิส
  • 6:50 - 6:54
    ในปี 1991 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลาย
  • 6:54 - 6:56
    แล้วก็แตกออกเป็น 12 ประเทศ
  • 6:56 - 7:00
    แล้วทั้ง 12 ประเทศ
    ก็เปลี่ยนมาใช้ระบบทุนนิยม
  • 7:00 - 7:03
    แล้วก้าวหน้ามาได้ตามลำดับ
  • 7:03 - 7:07
    มองไปทั้งโลก แทบจะเหลือไม่กี่แห่ง
  • 7:07 - 7:13
    ที่ยืนหยัดชัดเจนก็คงเป็นคุณ คิม จอง อึน
  • 7:13 - 7:16
    เชื่อไหมครับ เกาหลีเหนือวันนี้เนี่ย
  • 7:16 - 7:20
    ผลิตผลต่อหัวต่อคน 1,200 เหรียญ
  • 7:20 - 7:25
    เทียบกับเกาหลีใต้ 24,000
    20 เท่าตัว
  • 7:25 - 7:28
    จากประเทศที่เคยเป็นประเทศเดียวกันแท้ๆ
  • 7:28 - 7:31
    อย่างที่ มิลตัน ฟรีดแมน เขาเคยพูด
  • 7:31 - 7:34
    ว่าปัญหาของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็คือ
  • 7:34 - 7:37
    เป็นระบบที่ไม่ยอมให้คนมีความโลภ
  • 7:37 - 7:39
    ไม่ยอมให้คนมีความเห็นแก่ตัว
  • 7:39 - 7:41
    ในขณะที่ระบบทุนนิยม
  • 7:41 - 7:43
    เป็นระบบที่ออกแบบมา
  • 7:43 - 7:46
    เพื่อจัดการกับความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
  • 7:46 - 7:50
    และนี่ก็คือคีย์สำเร็จ
    นี่ก็คือความแตกต่าง
  • 7:50 - 7:52
    อย่างไรก็ดีนะครับ
  • 7:52 - 7:55
    ทุนนิยมในโลกก็ยังไม่มีทุนนิยมไหน
  • 7:55 - 7:58
    บรรลุอุดมการณ์อย่างแท้จริง
  • 7:58 - 8:02
    แทบทุกแห่งก็ยังมีปัญหา
    ยังต้องเผชิญวิกฤตบ้าง
  • 8:02 - 8:07
    ยังมีปัญหา โดยเฉพาะปัญหาการกระจาย
  • 8:07 - 8:10
    ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
  • 8:10 - 8:15
    แต่เราก็เห็นถึงความพยายาม
    ที่จะปรับปรุงแก้ไข
  • 8:15 - 8:17
    เพื่อจะขจัดปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
  • 8:17 - 8:19
    หลายคนอาจจะบอกว่า
  • 8:19 - 8:25
    ทุนนิยมซึ่งมุ่งเน้นให้กิจการทำกำไรสูงสุด
  • 8:25 - 8:27
    ย่อมเป็นประโยชน์แก่นายทุน
  • 8:27 - 8:31
    และเป็นภาระกับผู้บริโภค
    ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่
  • 8:31 - 8:33
    แต่ในทุนนิยมอุดมการณ์
  • 8:33 - 8:35
    เขาจะไม่ยอมให้คนทำกำไรได้
  • 8:35 - 8:38
    โดยการผูกขาด โดยการครอบงำตลาด
  • 8:38 - 8:42
    ถ้าคุณจะกำไร คุณก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ
  • 8:42 - 8:46
    กำไรที่ได้มามันจะมาจากการแข่งขันที่สมบูรณ์
  • 8:46 - 8:48
    แล้วมันก็จะทำให้
  • 8:48 - 8:51
    ประสิทธิภาพการผลิตของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 8:51 - 8:56
    ไม่ได้ได้มาจากการขูดรีด
  • 8:56 - 9:00
    หรือที่พูดว่า ในระบบทุนนิยม
  • 9:00 - 9:04
    เป็นระบบกินรวบ
    Winners take all
  • 9:04 - 9:06
    ในระบบทุนนิยมที่ดี
  • 9:06 - 9:11
    การแข่งขันมันจะต้องมีกติกาที่เป็นธรรม
  • 9:11 - 9:13
    ทุกคนวิ่งแข่งกันได้
  • 9:13 - 9:15
    วิ่งในกฏกติกาในลู่ของตัวเอง
  • 9:15 - 9:18
    ไม่ใช่ยื่นขาไปขัดคนอื่นเขา
  • 9:18 - 9:21
    เพราะฉะนั้น ในระบบอย่างนั้น
  • 9:21 - 9:22
    แน่นอนครับ
  • 9:22 - 9:25
    ผู้ชนะก็ได้ส่วนแบ่ง อาจจะมากกว่า
  • 9:25 - 9:28
    แต่ผู้แพ้ก็จะแข็งแรงขึ้น วิ่งเร็วขึ้น
  • 9:28 - 9:33
    แล้วก็ได้รับส่วนแบ่งตามสมควร
  • 9:33 - 9:39
    ในประเทศไทย ซึ่งเรายึดหลักปรัชญาพุทธศาสนา
  • 9:39 - 9:42
    ถ้าดูเผินๆ
  • 9:42 - 9:45
    เราจะเห็นว่าปรัชญาทุนนิยม
    กับปรัชญาพุทธศาสนา
  • 9:45 - 9:48
    ดูเหมือนจะขัดกัน
  • 9:48 - 9:50
    ทุนนิยมนั้นบอกว่า
  • 9:50 - 9:54
    ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ทุกอย่างขาด
  • 9:54 - 9:59
    มนุษย์ต้องมีแรงจูงใจ ต้องอยากถึงจะทำ
  • 9:59 - 10:04
    ในขณะที่พุทธศาสนา
    เราก็จะได้รับการสั่งสอนมาว่า
  • 10:04 - 10:08
    ทุกอย่างพอ
    ต้องละ ถึงจะสุข
  • 10:08 - 10:13
    ถ้าดูอย่างนี้
    สองระบบก็ดูเหมือนจะไปกันไม่ได้
  • 10:13 - 10:16
    ก็จะต้องเป็นปฏิปักษ์ขัดขวาง
  • 10:16 - 10:19
    แต่ถ้าเรามองต่อไปให้ลึกๆ
  • 10:19 - 10:22
    ว่าสัจธรรมปัญหาที่แท้จริงนั่นก็คือ
  • 10:22 - 10:24
    ของมันมีอยู่ไม่พอ
  • 10:24 - 10:30
    แต่ความอยากของมนุษย์ มันไม่มีที่สิ้นสุด
  • 10:30 - 10:34
    ทุนนิยมนั้น มุ่งจัดการด้านอุปทาน
  • 10:34 - 10:36
    พยามเอาของที่มีไม่พอ
  • 10:36 - 10:39
    มาสร้างให้เกิดผลิตผลมากที่สุด
  • 10:39 - 10:41
    แต่ปัญหาของทุนนิยมก็คือ
  • 10:41 - 10:45
    ไอ้ความอยากมันวิ่งหนี ไม่มีที่สิ้นสุด
  • 10:45 - 10:50
    มีร้อยอยากได้พัน มีพันอยากได้หมื่น
    ได้แสน ได้ล้าน ไปเรื่อยๆ
  • 10:50 - 10:54
    ถ้าเราใช้หลักปรัชญาของพุทธศาสนามาประกบ
  • 10:54 - 10:59
    ซึ่งมุ่งที่จะแก้ปัญหาทางด้านอุปสงค์
  • 10:59 - 11:04
    ไม่ให้มนุษย์ไปมีความต้องการที่ไร้เหตุผล
  • 11:04 - 11:09
    ความต้องการที่ไม่ได้นำมา
    ซึ่งประโยชน์สุขที่แท้จริง
  • 11:09 - 11:13
    ลองคิดดูครับว่า
    ถ้าสองระบบมาประกอบกันได้
  • 11:13 - 11:15
    สังคมจะเข้าสู่สมดุลได้
  • 11:15 - 11:18
    หลักสำคัญของทุนนิยม
  • 11:18 - 11:21
    นอกจากที่จะสร้างระบบกำกับแล้ว
  • 11:21 - 11:26
    ธรรมาภิบาลเป็นหัวข้อสำคัญ
  • 11:26 - 11:27
    ระบบทุนนิยมที่ดี
  • 11:27 - 11:29
    เขาจะไม่ยอมรับการเอารัดเอาเปรียบ
  • 11:29 - 11:35
    การฉ้อฉล การครอบงำตลาด การคอรัปชั่น
  • 11:35 - 11:38
    สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถึงแม้จะยังมีอยู่
  • 11:38 - 11:41
    แต่จริงๆ มันเป็นที่ไม่ยอมรับ
  • 11:41 - 11:46
    ทุนนิยมที่ดีก็จะพยายามขจัดเรื่องพวกนี้ไป
  • 11:46 - 11:50
    อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องของโอกาส
  • 11:50 - 11:53
    ในระบบที่ดี เมื่อเราสร้างให้คนอยากทำ
  • 11:53 - 11:56
    เขาต้องมีโอกาสที่จะได้ทำ
  • 11:56 - 12:00
    ทุนนิยมที่ดีนั้น จะทำให้คนในสังคม
  • 12:00 - 12:04
    มีโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
  • 12:04 - 12:08
    โอกาสที่จะได้รับการศึกษา
    ในมาตรฐานคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
  • 12:08 - 12:11
    โอกาสที่จะได้เข้าถึงทรัพยากร
  • 12:11 - 12:14
    บทบาทรัฐก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ
  • 12:14 - 12:19
    ที่นอกจากจะคอยกำกับ ดูแลตลาด
    ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมแล้ว
  • 12:19 - 12:24
    ก็ยังต้องคอยส่งเสริมโอกาสต่างๆ
  • 12:24 - 12:28
    รวมทั้งในยามที่ตลาดมันไม่เกิดความสมดุล
  • 12:28 - 12:30
    รัฐก็อาจจะต้องเข้าแทรกแซง
  • 12:30 - 12:33
    เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในตลาด
  • 12:33 - 12:35
    ที่พูดมาแล้วทั้งหมด
  • 12:35 - 12:38
    มันก็เป็นเรื่องของทุนนิยมในอุดมคติ
  • 12:38 - 12:40
    ทุนนิยมในอุดมการณ์
  • 12:40 - 12:42
    แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง
  • 12:42 - 12:46
    ในหลายๆ ที่ หลายๆ ประเทศ หลายๆ สังคม
  • 12:46 - 12:49
    เราก็มีทุนนิยมที่ชั่วร้ายอยู่ไม่น้อย
  • 12:49 - 12:52
    ระบบที่บิดเบือน
  • 12:52 - 12:57
    ยังส่งเสริมการผูกขาด การครอบงำตลาด
  • 12:57 - 13:01
    ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ การฉ้อฉล คดโกง
  • 13:01 - 13:04
    มีการคอรัปชั่นกันทุกหย่อมหญ้า
  • 13:04 - 13:08
    ระบบอย่างนั้น เราเรียกได้เต็มปาก
  • 13:08 - 13:11
    ว่านั่นเป็นทุนนิยมสามานย์
  • 13:11 - 13:13
    เหลียวกลับมามองประเทศไทยที่รักยิ่ง
  • 13:13 - 13:15
    ผมคงไม่ต้องบอก
  • 13:15 - 13:18
    ว่าเราอยู่ค่อนไปข้างไหน
  • 13:18 - 13:19
    ระหว่างทุนนิยมอุดมการณ์
  • 13:19 - 13:23
    กับทุนนิยมสามานย์
  • 13:23 - 13:26
    แล้วเรามีทางเลือกอะไรล่ะครับ
  • 13:26 - 13:29
    ผมคิดว่าเรามี 4 ทางเลือก
  • 13:29 - 13:31
    ทางเลือกที่ 1
  • 13:31 - 13:36
    ก็พัฒนาต่อไปในระบบสามานย์อย่างนี้แหละ
  • 13:36 - 13:41
    อย่างน้อย เราก็ยังดีกว่า
    พม่า เวียดนาม เขมร ลาว
  • 13:41 - 13:46
    ที่ไปหลงสมาทานคอมมิวนิสต์เสียหลายสิบปี
  • 13:46 - 13:49
    จนตอนนี้ก็ยังไม่ได้ครึ่งได้ค่อนเราเลย
  • 13:49 - 13:55
    อย่างน้อยเราก็ยังไม่คอรัปชั่น
    ตะกละมูมมามเหมือนท่านมาร์กอสและคณะ
  • 13:55 - 13:58
    ที่จนวันนี้ประชาชนฟิลิปปินส์
    ก็ยังโงหัวไม่ขึ้น
  • 13:58 - 14:02
    ยังใช้หนี้ของท่านไม่หมดเลย
  • 14:02 - 14:05
    ในระดับปัจเจก ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว
  • 14:05 - 14:07
    ว่าประเทศนี้เป็นระบบพรรคพวกนิยม
  • 14:07 - 14:11
    เราก็ควรจะตะเกียกตะกาย
    เข้าไปสู่ระบบพรรคพวก
  • 14:11 - 14:14
    ไปเอาประโยชน์จากมัน เพราะยังไงเสีย
  • 14:14 - 14:18
    ถ้าเป็นคนมั่งคั่งในประเทศนี้
  • 14:18 - 14:19
    เขาก็ยัง
  • 14:19 - 14:23
    ตามมาด้วยเกียรติยศ ตามมาด้วยสรรเสริญ
  • 14:23 - 14:27
    มั่งคั่งขึ้นมาแล้วก็ค่อยมาแบ่งปัน
  • 14:27 - 14:31
    ค่อยมาทำบุญแก้กรรมกันไป
  • 14:31 - 14:33
    นั่นเป็นทางเลือกที่หนึ่ง
  • 14:33 - 14:35
    ทางเลือกที่ 2
  • 14:35 - 14:37
    เราก็ลองสวนทาง
  • 14:37 - 14:43
    กลับไปเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
    ที่เราไม่เคยลิ้มลอง
  • 14:43 - 14:45
    เพิ่มบทบาทขนาดอำนาจรัฐ
  • 14:45 - 14:50
    เหมือนอย่างที่เขาแอบๆ ทำๆ กันอยู่ทุกวัน
  • 14:50 - 14:53
    แล้วเสร็จแล้วก็ไปยึดคืนกิจการ
  • 14:53 - 14:56
    ทวงคืนกิจการที่เป็นของเอกชน
  • 14:56 - 14:59
    ให้มาเป็นของรัฐเสียให้หมด
  • 14:59 - 15:03
    สวนกระแสโลกให้มันเอิกเกริกไปเลย
  • 15:03 - 15:05
    ไม่ต้องไปเชื่อ ไอ้ 30 กว่าประเทศ
  • 15:05 - 15:09
    ตะเกียกตะกายหนีคอมมิวนิสต์
  • 15:09 - 15:13
    ทางเลือกที่ 3
    ซึ่งก็มีคนพูดกันมากนะครับ
  • 15:13 - 15:17
    ว่ามันน่าจะมีระบบสักอันหนึ่ง
  • 15:17 - 15:19
    ที่เหมาะสมกับบริบทความเป็นไทย
  • 15:19 - 15:22
    ใช้ภูมิปัญญาไทยเป็นหลัก
  • 15:22 - 15:26
    เหมือนกับอย่างที่พม่า ที่เนปาล
    เขาเคยเชื่ออย่างนั้น
  • 15:26 - 15:30
    แล้วก็ปิดประเทศไปประมาณ 40 ปี
  • 15:30 - 15:32
    เชื่อผมเถอะครับ
  • 15:32 - 15:35
    ประเทศเราเปิดกว้างเชื่อมโยง
  • 15:35 - 15:42
    ประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกรวมกัน
    เกือบ 150% ของจีดีพีอย่างเรา
  • 15:42 - 15:44
    เราไม่มีทาง
  • 15:44 - 15:47
    ที่จะไปทดลองระบบที่ไม่ได้รับการพิสูจน์
  • 15:47 - 15:49
    ที่ไม่ได้สอดคล้องเชื่อมโยงกับใคร
  • 15:49 - 15:54
    มันเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงเกินไป
    แล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
  • 15:54 - 15:56
    งั้นก็เหลือทางเลือกที่ 4
  • 15:56 - 15:59
    ก็คือ ตามกระแสของโลกนี่ล่ะครับ
  • 15:59 - 16:02
    พยายามศึกษา เข้าใจ
  • 16:02 - 16:06
    ว่าไอ้ระบบทุนนิยมที่ดี มันเป็นยังไง
  • 16:06 - 16:11
    ทุนนิยมที่อยู่ในอุดมการณ์นั้น ควรจะทำอะไร
  • 16:11 - 16:13
    เรายังขาดระบบอะไรอยู่
  • 16:13 - 16:15
    เรายังมีความชั่วช้าสามานย์
  • 16:15 - 16:17
    อยู่ตรงไหนบ้าง
  • 16:17 - 16:20
    ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ การได้เปรียบ
  • 16:20 - 16:22
    การผูกขาด
  • 16:22 - 16:27
    โดยเฉพาะการฉ้อฉล คอรัปชั่น
  • 16:27 - 16:31
    พยายามขจัดคำว่าสามานย์ออกไป
  • 16:31 - 16:36
    ให้เหลือเป็นทุนนิยมในอุดมการณ์
  • 16:36 - 16:39
    นั่นเป็น 4 ทางเลือก
  • 16:39 - 16:40
    ผมคงไม่ต้องบอกนะครับ
  • 16:40 - 16:43
    ว่าเราควรจะเลือกทางไหน
  • 16:43 - 16:45
    สวัสดีครับ
  • 16:45 - 16:48
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทุนนิยมสามานย์ | บรรยง พงษ์พานิช | TEDxBangkok
Description:

ทุนนิยมมักถูกมองว่าเป็นระบบที่ส่งเสริมให้คนโลภ ใช้อำนาจเงินเพื่อประโยชน์ส่วนตัว บรรยง พงษ์พานิช อธิบายการตีความหมายของทุนนิยม มันมีไปเพื่ออะไร และมันสามานย์อย่างที่บางคนกล่าวหรือไม่

บรรยง พงษ์พาณิช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นักการเงิน และนักปฏิรูปการเมือง ด้วยประสบการณ์หลายปีในวงการ เขาได้สะท้อนแนวคิดผ่านงานเขียนจำนวนมาก เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ทุนนิยม และความพยายามต่อต้านคอรัปชั่น

ปาฐกถานี้เกิดขึ้นในงาน TEDx ที่ใช้รูปแบบ TED conference แต่จัดอย่างอิสระโดยชุมชนในประเทศ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ http://ted.com/tedx

Capitalism is often viewed as a system that encourages one to be selfish, using monetary power only for one's own sake. In this talk, Banyong Pongpanich explains to us his interpretation of capitalism, what it is for, and whether or not it is vicious as some says.

Banyong Pongpanich is a chief executive officer, banker and political reformer. With years of experiences in the industry, he reflected his opinions through many writings regarding economics, capitalism, anti-corruption efforts.

This talk was given at a TEDx event using the TED conference format but independently organized by a local community. Learn more at http://ted.com/tedx

more » « less
Video Language:
Thai
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
16:57

Thai subtitles

Revisions