Return to Video

แบคทีเรียตัวนี้กินพลาสติก

  • 0:02 - 0:05
    พลาสติก: คุณรู้เรื่องของมัน
    คุณอาจจะไม่ได้รักมัน
  • 0:05 - 0:09
    แต่ความเป็นไปได้ก็คือ คุณใช้มันทุกๆวัน
  • 0:10 - 0:13
    ถึงปี ค.ศ 2050 นักวิจัยประมาณการณ์ว่า
  • 0:13 - 0:16
    จะมีพลาสติกมากกว่าปลาในมหาสมุทร
  • 0:17 - 0:19
    แม้จะมีความพยายามที่ดีที่สุดแล้วก็ตาม
  • 0:19 - 0:25
    แค่ 9 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกที่เราใช้
    ที่จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่
  • 0:25 - 0:27
    และที่แย่กว่านั้น
  • 0:27 - 0:30
    พลาสติกเหนียวและทนทานอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 0:30 - 0:31
    และนักวิจัยประมาณว่า
  • 0:31 - 0:36
    มันจะใช้เวลาตั้งแต่ 500 จนถึง 5000 ปี
  • 0:36 - 0:38
    กว่าที่จะย่อยสลายไปได้อย่างหมดสิ้น
  • 0:38 - 0:43
    มันปล่อยสารเคมีอันตรายเข้าไปปนเปื้อน
    อยู่เข้าไปในมหาสมุทรของเรา ในดินของเรา
  • 0:43 - 0:48
    ในอาหารของเรา ในน้ำ และเข้าไปในตัวเรา
  • 0:49 - 0:53
    แล้วทำไมเราจึงลงท้าย
    ด้วยการมีขยะพลาสติกมากมายนัก?
  • 0:53 - 0:55
    มันก็ง่ายๆ
  • 0:55 - 1:00
    พลาสติกมีราคาถูก ทนทาน ปรับใช้ได้ง่าย
    และมันมีอยู่ในทุกแห่งหน
  • 1:01 - 1:02
    แต่ข่าวดีก็คือ
  • 1:02 - 1:07
    ยังมีอย่างอื่นอีก ที่ราคาถูก ทนทาน
    ปรับตัวได้ดี และมีอยู่ในทุกแห่งหน
  • 1:07 - 1:10
    และงานวิจัยของฉัน แสดงให้เห็นว่า
    มันอาจจะสามารถช่วยเราได้
  • 1:10 - 1:12
    กับปัญหามลพิษจากพลาสติกของเรา
  • 1:13 - 1:16
    ฉันกำลังพูดถึงแบคทีเรีย
  • 1:17 - 1:22
    แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กจิ๋ว
    มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • 1:22 - 1:23
    ที่มีชีวิตอยู่ในทุกแห่งหน
  • 1:23 - 1:27
    ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และรุนแรงสุดขีด
  • 1:27 - 1:30
    จากในท้องไส้ของมนุษย์ จนถึงในดิน ผิวหนัง
  • 1:30 - 1:35
    จนถึงรอยแยกในพื้นมหาสมุทร
    ที่อุณหภูมิสูงถึง 700 องศาฟาเรนไฮต์
  • 1:35 - 1:37
    แบคทีเรียเรียอาศัยอยู่ในทุกๆ ที่
  • 1:37 - 1:40
    ในทุกสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและสุดโต่ง
  • 1:40 - 1:45
    เมื่อเป็นเช่นนั้น มันต้องสร้างสรรค์อย่างมาก
    เกี่ยวกับแหล่งอาหารของมัน
  • 1:46 - 1:48
    นอกจากนี้ยังมีพวกมันมากมาย
  • 1:48 - 1:53
    นักวิจัยประมาณว่า มีคร่าวๆ ประมาณ
    ห้าล้านพันล้านพันล้าน
  • 1:53 - 1:59
    นั่นก็คือ มีแบคทีเรียอยู่จำนวน เลข 5
    กับเลข 0 อีก 30 ตัวอยู่ข้างหลัง อยู่บนโลก
  • 2:00 - 2:03
    ทีนี้เมื่อพิจารณาว่า มนุษย์เราผลิต
  • 2:03 - 2:07
    พลาสติกใหม่ขึ้นมา 300 ล้านตัน ในแต่ละปี
  • 2:07 - 2:10
    เราก็น่าจะกล่าวได้ว่า ตัวเลขพลาสติกของเรา
  • 2:10 - 2:13
    ดูเหมือนจะพอเปรียบเทียบกันได้
    กับของแบคทีเรีย
  • 2:14 - 2:16
    ดังนั้น หลังจากสังเกตเห็นเรื่องนี้
  • 2:16 - 2:19
    และหลังจากการเรียนรู้เกี่ยวกับ
    วิธีการสร้างสรรค์ทั้งหมด
  • 2:19 - 2:21
    ที่แบคทีเรียหาอาหาร
  • 2:21 - 2:23
    ฉันจึงเริ่มต้นคิดว่า:
  • 2:23 - 2:26
    แบคทีเรียในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษจากพลาสติก
  • 2:26 - 2:29
    จะหาวิธีใช้พลาสติกมาเป็นอาหารได้อย่างไร?
  • 2:30 - 2:35
    ค่ะ นี่เป็นคำถามที่ฉันได้ตัดสินใจ
    ที่จะไล่ตามหาคำตอบ เมื่อสองปีที่แล้ว
  • 2:35 - 2:37
    ทีนี้โชคดีสำหรับฉัน
  • 2:37 - 2:41
    ฉันมาจากเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดเมืองหนึ่งในอเมริกา
  • 2:41 - 2:42
    เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส
  • 2:42 - 2:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:44 - 2:45
    ในบ้านเกิดของฉันแห่งเดียว
  • 2:45 - 2:50
    มีพื้นที่ขยะถึง 7 แห่ง ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
    กำหนดโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ
  • 2:50 - 2:53
    พื้นที่เหล่านี้มีมลพิษปนเปื้อนมากเสียจนกระทั่ง
  • 2:53 - 2:57
    รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าการทำให้มันสะอาด
    เป็นเรื่องสำคัญในระดับชาติ
  • 2:58 - 3:01
    ฉันจึงได้ตัดสินใจเดินทาง
    ดั้นด้นไปรอบๆ พื้นที่เหล่านี้
  • 3:01 - 3:05
    และรวบรวมตัวอย่างดิน
    ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแบคทีเรีย
  • 3:05 - 3:07
    ฉันได้เริ่มทดลองกับขั้นตอนพิธี
  • 3:07 - 3:10
    ซึ่งเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์อย่างหรู
    ที่เราใช้เรียกสูตรอะไรบางอย่าง
  • 3:10 - 3:14
    สิ่งที่ฉันต้องการจะปรุงขึ้นมา
    ก็คือตัวกลางเพาะเลี้ยงที่ไม่มีคาร์บอน
  • 3:14 - 3:17
    หรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่มีสารอาหารเลย
  • 3:17 - 3:20
    เป็นสภาพแวดล้อมที่ปราศจากคาร์บอน
    หรืออาหารตามปกติ
  • 3:20 - 3:23
    ที่ซึ่งแบคทีเรีย จำเป็นต้องใช้เพื่ออยู่รอด
    เช่นเดียวกับมนุษย์
  • 3:24 - 3:25
    ค่ะ ในสภาพแวดล้อมนี้
  • 3:25 - 3:29
    ฉันได้จัดให้แบคทีเรียของฉันมีแหล่งอาหาร
    คือคาร์บอน ได้จากเพียงแหล่งเดียว
  • 3:30 - 3:34
    ฉันเลี้ยงแบคทีเรียของฉัน
    ด้วยสารพอลิเอทิลีนเทเลฟทาเลต
  • 3:34 - 3:37
    หรือ พลาสติกเพท (PET)
  • 3:38 - 3:43
    พลาสติกเพทเป็นพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นมา
    ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดในโลก
  • 3:43 - 3:46
    มันถูกนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท
    สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม
  • 3:46 - 3:50
    กับตัวอย่างที่ดังกระฉ่อน
    ของการเป็นขวดน้ำพลาสติก
  • 3:50 - 3:56
    ที่มนุษย์เราในปัจจุบันกำลังใช้อยู่
    ที่อัตราหนึ่งล้านขวดต่อนาที
  • 3:58 - 4:00
    ดังนั้น สิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่
  • 4:00 - 4:05
    กล่าวง่ายๆ ก็คือเลี้ยงแบคทีเรีย
    ด้วยการบังคับให้กินพลาสติกเพท
  • 4:05 - 4:10
    และดูว่าแบคทีเรียตัวไหน
    ที่อาจยังคงอยู่รอดได้ หรือหวังว่าจะเติบโต
  • 4:11 - 4:14
    เห็นมั๊ยคะ การทดลองแบบนี้
    จะเป็นเหมือนการกลั่นกรอง
  • 4:14 - 4:18
    เพื่อหาแบคทีเรียที่สามารถปรับตัวได้
    ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนจากพลาสติก
  • 4:18 - 4:22
    และได้วิวัฒนาการความสามารถที่เยี่ยมยอด
    อย่างไม่น่าเชื่อ ที่จะกินพลาสติกเพทได้
  • 4:23 - 4:25
    และการใช้การกลั่นกรองนี้
  • 4:25 - 4:28
    ฉันได้ค้นพบแบคทีเรียบางตัวที่ทำอย่างนั้นได้
  • 4:29 - 4:34
    แบคทีเรียเหล่านี้
    ค้นพบวิธีการที่จะกินพลาสติกเพท
  • 4:37 - 4:39
    แล้วแบคทีเรียพวกนี้ทำได้อย่างไรน่ะหรือ?
  • 4:40 - 4:42
    ค่ะ จริงๆ แล้วมันก็ง่ายมาก
  • 4:42 - 4:46
    ก็เหมือนกับมนุษย์เราย่อยคาร์บอน
    หรืออาหารไปเป็นก้อนน้ำตาล
  • 4:46 - 4:48
    ที่เราสามารถนำไปใช้ต่อเป็นพลังงาน
  • 4:48 - 4:50
    แบคทีเรียของฉันก็ทำอย่างนั้น ด้วยเหมือนกัน
  • 4:51 - 4:56
    แต่แบคทีเรียของฉัน
    สามารถหาวิธีการย่อย ที่ใช้การได้
  • 4:56 - 4:59
    กับพลาสติกเพทที่ใหญ่ เหนียวและทนทาน
  • 5:00 - 5:03
    ค่ะ เพื่อทำสิ่งนี้ แบคทีเรียของฉันใช้รูปแบบพิเศษ
  • 5:03 - 5:05
    ของสิ่งที่เรียกว่าเอ็นไซม์
  • 5:05 - 5:09
    ค่ะ เอ็นไซม์เป็นเพียงสารประกอบ
    ที่มีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด
  • 5:10 - 5:12
    มีเอ็นไซม์อยู่มากมายหลายประเภท
  • 5:12 - 5:15
    แต่โดยพื้นฐานแล้ว พวกมันทำให้
    กระบวนการต่างๆ เคลื่อนไปข้างหน้า
  • 5:15 - 5:17
    อย่างเช่น การย่อยอาหารให้เป็นพลังงาน
  • 5:18 - 5:22
    ตัวอย่างเช่น มนุษย์เรามีเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง
    ที่เรียกว่าอะไมเลส
  • 5:22 - 5:26
    ที่ช่วยเราย่อยแป้งเชิงซ้อน
    (complex starches) อย่างเช่น ขนมปัง
  • 5:26 - 5:29
    ไปเป็นก้อนน้ำตาลเล็กๆ
    ที่เราสามารถใช้ไปเป็นพลังงานได้
  • 5:30 - 5:34
    ค่ะ แบคทีเรียของฉัน
    มีเอ็นไซม์พิเศษตัวหนึ่งเรียกว่าไลเพส (lipase)
  • 5:34 - 5:38
    ที่ไปผูกเข้ากับพลาสติกเพท
    ที่ใหญ่ เหนียว และทนทาน
  • 5:38 - 5:40
    แล้วช่วยทำให้มันแตกไปเป็นก้อนน้ำตาลเล็กๆ
  • 5:40 - 5:43
    ที่แบคทีเรียของฉัน
    สามารถใช้ไปเป็นพลังงานได้
  • 5:44 - 5:46
    ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว
  • 5:46 - 5:50
    พลาสติกเพทเปลี่ยนจากสารมลพิษ
    ที่ใหญ่ เหนียว ทนทานอยู่ได้นาน
  • 5:50 - 5:53
    กลายไปเป็นอาหารที่เอร็ดอร่อย
    สำหรับแบคทีเรียของฉันไป
  • 5:55 - 5:57
    ฟังดูแล้วเจ๋ง ใช่มั๊ยคะ?
  • 5:58 - 6:03
    และฉันก็คิดว่า เมื่อคำนึงถึง
    ขอบเขตปัญหามลพิษพลาสติกของเราในปัจจุบัน
  • 6:03 - 6:05
    ฉันคิดว่ามันดูมีประโยชน์มากทีเดียว
  • 6:06 - 6:08
    สถิตที่ฉันเล่าให้คุณฟัง
  • 6:08 - 6:12
    ในเรื่องของจำนวนขยะพลาสติก
    ว่ามีสะสมไว้มากขนาดไหนบนโลกของเรานั้น
  • 6:12 - 6:14
    น่าหวาดหวั่น
  • 6:14 - 6:16
    พวกมันน่ากลัว
  • 6:16 - 6:17
    และฉันคิดว่าพวกมันเน้นให้เห็นว่า
  • 6:17 - 6:21
    ในขณะที่การลดการใช้ลง
    การเอามาใช้อีก และการรีไซเคิลนั้นสำคัญ
  • 6:22 - 6:25
    แต่เพียงพวกนั้นอย่างเดียว
    คงไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหานี้ได้
  • 6:26 - 6:31
    และนี่เป็นที่ซึ่งฉันคิดว่า
    แบคทีเรียอาจจะช่วยเราไว้ได้
  • 6:32 - 6:36
    แต่ฉันก็เข้าใจอย่างยิ่งว่า
    ทำไมแนวคิดการใช้แบคทีเรียมาช่วยนั้น
  • 6:36 - 6:38
    อาจทำให้ผู้คนบางคนวิตกกังวลบ้างเล็กน้อย
  • 6:38 - 6:44
    ในที่สุดแล้ว ถ้าพลาสติกมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
    และแบคทีเรียเหล่านี้กินพลาสติก
  • 6:44 - 6:47
    จะมีความเสี่ยงของการที่
    แบคทีเรียเหล่านี้จะออกไปสู่สิ่งแวดล้อม
  • 6:47 - 6:49
    และสร้างความหายนะได้หรือไม่?
  • 6:50 - 6:54
    ค่ะ คำตอบสั้นๆ คือ ไม่
    และฉันก็จะบอกคุณว่าทำไม
  • 6:54 - 6:58
    แบคทีเรียเหล่านี้
    มันมีอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อม
  • 6:58 - 7:03
    แบคทีเรียในงานวิจัยของฉัน
    ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรียตำนานผีแฟรงเก็นสไตน์
  • 7:04 - 7:07
    พวกมันเป็นแบคทีเรียที่ปรากฎขึ้นตามธรรมชาติ
  • 7:07 - 7:10
    ที่เพียงได้ปรับตัว
    เข้ากับสิ่งแวดล้อมมลพิษพลาสติก
  • 7:10 - 7:15
    และได้วิวัฒนาการความสามารถ
    ที่ดีอย่างการกินพลาสติกเพทขึ้นมา
  • 7:16 - 7:22
    ดังนั้นกระบวนการของแบคทีเรียที่กิน
    พลาสติกเพท จริงๆ แล้วเป็นกระบวนการธรรมชาติ
  • 7:22 - 7:24
    แต่มันเป็นกระบวนการที่ช้าอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 7:24 - 7:27
    และก็ยังมีงานอีกมากมายที่ยังต้องทำ
  • 7:27 - 7:31
    เพื่อหาทางเร่งกระบวนการนี้
    ให้มีความเร็วเพียงพอที่จะเป็นประโยชน์ได้
  • 7:32 - 7:35
    งานวิจัยของฉันปัจจุบัน
    กำลังมองหาวิธีการที่จะทำสิ่งนี้อยู่
  • 7:35 - 7:39
    โดยใช้กระบวนการบำบัดล่วงหน้าด้วยยูวี
    หรือแสงอัลตราไวโอเลต
  • 7:39 - 7:43
    ซึ่งหมายความว่าฉายแสงอาทิตย์
    ส่องไปที่พลาสติกเพท
  • 7:44 - 7:49
    เราทำแบบนี้ก็เพราะแสงอาทิตย์
    ทำงานเหมือนกับค้อนที่ทุบให้เนื้อสเต็กนุ่ม
  • 7:49 - 7:53
    เปลี่ยนพันธะโมเลกุลที่ใหญ่ เหนียว
    และทนทานในพลาสติกเพท
  • 7:53 - 7:57
    ให้อ่อนตัวลงบ้างและง่ายขึ้นเล็กน้อย
    เพื่อให้แบคทีเรียของฉันขบเคี้ยวมันได้
  • 7:58 - 8:01
    ท้ายที่สุดแล้ว
    สิ่งที่งานวิจัยของฉันหวังที่จะทำ
  • 8:01 - 8:05
    คือการสร้างระบบจำกัดเขตแบบไร้คาร์บอน
    ในขนาดอุตสาหกรรม
  • 8:05 - 8:08
    คล้ายกับกองปุ๋ยหมัก
  • 8:08 - 8:11
    ที่ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดี
    ในระบบที่จำกัดเขตนี้
  • 8:11 - 8:15
    ที่ซึ่งแหล่งอาหารอย่างเดียวของมันคือ
    ขยะพลาสติกเพท
  • 8:16 - 8:21
    ลองจินตนาการถึงว่า วันหนึ่งที่คุณ
    สามารถทิ้งขยะพลาสติกทั้งหมด
  • 8:21 - 8:23
    ลงในถังขยะที่หัวถนน
  • 8:23 - 8:28
    ที่คุณรู้ว่าจะบ่ายหน้าไปที่
    โรงงานขยะพลาสติกที่ใช้แบคทีเรียโดยเฉพาะ
  • 8:30 - 8:34
    ฉันคิดว่าด้วยการทำงานที่หนัก
    นี่จะเป็นความเป็นจริงที่สามารถบรรลุถึงได้
  • 8:35 - 8:39
    แบคทีเรียที่กินพลาสติก
    ไม่ใช่จะช่วยได้ทั้งหมด
  • 8:39 - 8:43
    แต่เมื่อคำนึงถึงสถิติในปัจจุบัน
    มันชัดเจนแล้วว่า มนุษย์เรา
  • 8:43 - 8:45
    เราต้องการความช่วยเหลือ
    สำหรับการแก้ปัญหานี้
  • 8:46 - 8:48
    เพราะว่าผู้คนเรานั้น
  • 8:48 - 8:51
    เรามีปัญหาที่เรื่องมลพิษจากพลาสติก
    ที่กำลังกดดันเร่งด่วนอยู่
  • 8:51 - 8:56
    และแบคทีเรียก็อาจจะเป็น
    ส่วนสำคัญอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหานี้
  • 8:56 - 8:57
    ขอบคุณค่ะ
  • 8:57 - 9:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แบคทีเรียตัวนี้กินพลาสติก
Speaker:
มอร์แกน เวก (Morgan Vague)
Description:

มนุษย์ผลิตพลาสติกขึ้นมาใหม่ 300 ล้านตัน ในแต่ละปี - - แต่ แม้จะมีความพยายามที่ดีที่สุดของเราแล้ว น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายแล้วได้ถูกนำไปรีไซเคิล มีวิธีการที่ดีกว่านี้หรือไม่ที่จะจัดการกับขยะทั้งหมดนี้? นักจุลชีววิทยา ชื่อ มอร์แกน เวก ศึกษาเรื่องแบคทีเรียที่เมื่อมันผ่านการปรับตัวที่สร้างสรรค์บางอย่าง ได้วิวัฒนาการความสามารถที่คาดไม่ถึงที่จะกินพลาสติกขึ้นมาได้ - - และจะสามารถช่วยเราแก้ปัญหามลพิษที่เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:13
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for These bacteria eat plastic
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
PanaEk Warawit accepted Thai subtitles for These bacteria eat plastic
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
yamela areesamarn edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
yamela areesamarn edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
yamela areesamarn edited Thai subtitles for These bacteria eat plastic
Show all

Thai subtitles

Revisions