Return to Video

สร้างแบตเตอรี่ด้วยวิถีธรรมชาติ

  • 0:00 - 0:03
    ดิฉันคิดไว้ค่ะว่าจะอธิบายสักหน่อยว่าธรรมชาติสร้างวัสดุออกมาได้ยังไง
  • 0:03 - 0:05
    ดิฉันเอาเปลือกหอยเป๋าฮื้อติดตัวมาด้วย
  • 0:05 - 0:08
    เปลือกเป๋าฮื้อชิ้นนี้เป็นวัสดุคอมโพสิตชีวภาพ (biocomposite)
  • 0:08 - 0:11
    ที่มวลร้อยละ 98 คือ หินปูน (calcium carbonate)
  • 0:11 - 0:13
    และมวลอีกร้อยละ 2 เป็นโปรตีน
  • 0:13 - 0:15
    แต่กระนั้น มันแข็งแรงทนทานกว่า 3,000 เท่า
  • 0:15 - 0:17
    ของคู่คล้ายในทางธรณีวิทยาของมัน (หินปูน)
  • 0:17 - 0:20
    และหลายๆคนอาจจะใช้โครงสร้างอย่างเปลือกเป๋าฮื้อนี้
  • 0:20 - 0:22
    แทนชอล์กได้
  • 0:22 - 0:24
    ดิฉันรู้สึกทึ่งกับวิธีการ
    ที่ธรรมชาติสรรสร้างวัสดุขึ้นมา
  • 0:24 - 0:26
    และมีลำดับขั้นตอนหลายลำดับ
  • 0:26 - 0:28
    ในการที่ธรรมชาติสามารถทำหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม
  • 0:28 - 0:30
    ส่วนหนึ่งก็คือวัสดุพวกนี้
  • 0:30 - 0:32
    มีโครงสร้างที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (macroscopic)
  • 0:32 - 0:34
    แต่สร้างขึ้นมาในระดับนาโน
  • 0:34 - 0:36
    วัสดุพวกนี้ถือกำเนิดขึ้นมาในระดับนาโน
  • 0:36 - 0:39
    และมันใช้โปรตีนซึ่งถูกป้อนรหัสไว้ในระดับพันธุกรรม
  • 0:39 - 0:42
    ที่ทำให้มันสร้างโครงสร้างที่เยี่ยมยอดเป็นอย่างยิ่งแบบนี้ได้
  • 0:42 - 0:44
    ดังนั้น มีสิ่งที่ดิฉันคิดว่าน่าทึ่งเอามากๆ
  • 0:44 - 0:47
    ก็คือ จะเป็นยังไงนะถ้าหากว่าเราสามารถให้กำเนิดชีวิต
  • 0:47 - 0:49
    กับพวกโครงสร้างที่ปราศจากชีวิต
  • 0:49 - 0:51
    อย่างพวกแบตเตอรี่และเซลล์แสงอาทิตย์ได้?
  • 0:51 - 0:53
    จะเป็นยังไงกันถ้ามันมีขีดความสามารถ
  • 0:53 - 0:55
    อย่างที่เปลือกเป๋าฮื้อมี
  • 0:55 - 0:57
    ในขอบข่ายของความสามารถ
  • 0:57 - 0:59
    ในการสร้างโครงสร้างที่ยอดเยี่ยมเป็นที่สุด
  • 0:59 - 1:01
    ที่ความดันและอุณหภูมิห้อง
  • 1:01 - 1:03
    โดยใช้สารเคมีที่ไม่เป็นพิษ
  • 1:03 - 1:06
    และสร้างวัสดุที่ไม่เป็นพิษกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม?
  • 1:06 - 1:09
    ฉะนั้น นั่นก็คือวิสัยทัศน์ที่ดิฉันได้มองภาพไว้ค่ะ
  • 1:09 - 1:11
    และถ้าเช่นนั้นแล้ว จะเป็นยังไงถ้าเราสามารถสร้างแบตเตอรี่ขึ้นมาได้ในจานเพาะเชื้อ?
  • 1:11 - 1:14
    หรือ จะเป็นยังไงนะถ้าเราสามารถใส่ข้อมูลพันธุกรรมเข้าไปในแบตเตอรี่
  • 1:14 - 1:16
    เพื่อให้มันทำงานได้ดียิ่งๆขึ้นไป
  • 1:16 - 1:18
    ตามเวลาที่ผ่านไป
  • 1:18 - 1:20
    และก็เป็นแบบนั้นได้แบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย?
  • 1:20 - 1:23
    ถ้างั้น กลับไปที่เปลือกเป๋าฮื้อนี้ก่อน
  • 1:23 - 1:25
    นอกจากจะมีโครงสร้างนาโน
  • 1:25 - 1:27
    ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งหละที่น่าทึ่ง
  • 1:27 - 1:29
    เมื่อหอยเป๋าฮื้อตัวผู้กับตัวเมียมาอยู่ด้วยกัน
  • 1:29 - 1:31
    มันส่งผ่านข้อมูลพันธุกรรม
  • 1:31 - 1:34
    ที่บอกว่า "นี่คือวิธีสร้างวัสดุที่ยอดเยี่ยม
  • 1:34 - 1:36
    นี่คือวิธีที่จะทำได้ในความดันและอุณหภูมิห้อง
  • 1:36 - 1:38
    โดยใช้วัสดุที่ไม่มีพิษ"
  • 1:38 - 1:41
    เหมือนกับตัวไดอะตอม (diatom) ซึ่งนำเสนอไว้ตรงนี้ มีโครงสร้างของแก้ว
  • 1:41 - 1:43
    ทุกๆครั้งที่ไดอะตอมแบ่งตัว
  • 1:43 - 1:45
    พวกมันใส่ข้อมูลพันธุกรรมที่บอกว่า
  • 1:45 - 1:47
    "นี่เป็นวิธีทำแก้วในมหาสมุทร
  • 1:47 - 1:49
    ที่เป็นโครงสร้างนาโนสมบูรณ์แบบ
  • 1:49 - 1:51
    และเธอก็สามารถทำแบบนี้ได้เช่นเดียวกัน ครั้งแล้วครั้งเล่า"
  • 1:51 - 1:53
    แล้วจะเป็นยังไงถ้าหากว่าเราสามารถทำเหมือนๆกันนี้ได้
  • 1:53 - 1:55
    กับเซลล์แสงอาทิตย์หรือแบตเตอรี่?
  • 1:55 - 1:58
    ดิฉันชอบพูดว่าวัสดุชีวภาพชิ้นโปรดของดิฉันคือลูกวัย 4 ขวบของดิฉันค่ะ
  • 1:58 - 2:01
    แต่ใครก็ตามที่เคยมีหรือเคยรู้เกี่ยวกับเด็กเล็กๆ
  • 2:01 - 2:04
    จะรู้ว่าพวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนอย่างเหลือเชื่อ
  • 2:04 - 2:06
    และงั้นถ้าเราอยากจะโน้มน้าวพวกเขา
  • 2:06 - 2:08
    ให้ทำอะไรที่พวกเขาไม่อยากทำ ช่างเป็นเรื่องยากเย็นเหลือเกินค่ะ
  • 2:08 - 2:11
    เพราะฉะนั้น เมื่อเราคิดไปถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคต
  • 2:11 - 2:13
    เราจึงต้องคิดไปถึงการใช้แบคทีเรียกับไวรัส
  • 2:13 - 2:15
    สิ่งมีชีวิตพื้นๆธรรมดาๆ
  • 2:15 - 2:17
    แล้วเราจะโน้มน้าวให้มันทำงานกับเครื่องมือใหม่ๆได้ยังไง
  • 2:17 - 2:19
    ที่จะทำให้มันสามารถสร้างโครงสร้าง
  • 2:19 - 2:21
    ที่จะมีความสำคัญกับดิฉัน?
  • 2:21 - 2:23
    อีกอย่าง เราคิดไปถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคต
  • 2:23 - 2:25
    เราเริ่มต้นกันด้วยการอุบัติขึ้นของโลก
  • 2:25 - 2:27
    พื้นๆนะคะ ใช้เวลาเป็นพันล้านปีกว่าที่จะ
  • 2:27 - 2:29
    มีสิ่งมีชีวิตก่อกำเนิดขึ้นมาในโลก
  • 2:29 - 2:31
    และในเวลาอันสั้นๆ พวกมันกลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
  • 2:31 - 2:34
    สิ่งมีชีวิตพวกนี้แบ่งตัวได้ ใช้การสังเคราะห์แสง
  • 2:34 - 2:36
    เป็นวิธีให้ได้มาซึ่งแหล่งพลังงาน
  • 2:36 - 2:38
    แต่มาเมื่อราว 500 ล้านปีก่อนนี่เอง
  • 2:38 - 2:40
    ซึ่งอยู่ช่วงเวลาของยุคแคมเบรียน (Cambrian)
  • 2:40 - 2:43
    ที่สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเริ่มสร้างวัสดุที่มีความแข็ง
  • 2:43 - 2:46
    ก่อนหน้านั้น พวกมันนุ่มนิ่มเป็นปุยเบา
  • 2:46 - 2:48
    และในช่วงเวลานั้นนั่นเอง
  • 2:48 - 2:50
    ที่มีปริมาณแคลเซียมกับเหล็ก
  • 2:50 - 2:52
    และซิลิคอนเพิ่มมากขึ้นในสิ่งแวดล้อม
  • 2:52 - 2:55
    และสิ่งมีชีวิตเรียนรู้วิธีสร้างวัสดุที่มีความแข็ง
  • 2:55 - 2:57
    แล้วนั่นก็เป็นสิ่งที่ดิฉันอยากจะทำให้ได้
  • 2:57 - 2:59
    ซึ่งก็คือการโน้มน้าวให้ชีววิทยา
  • 2:59 - 3:01
    มาทำงานร่วมกับตารางธาตุทั้งหมดที่เหลือค่ะ
  • 3:01 - 3:03
    ตอนนี้ถ้าเราลองมาดูที่ชีววิทยา
  • 3:03 - 3:05
    มีโครงสร้างที่คล้ายดีเอ็นเอกับสารภูมิต้านทาน (antibody)
  • 3:05 - 3:07
    และโปรตีนกับไรโบโซมที่เราได้ยินกันมา
  • 3:07 - 3:09
    ที่ต่างก็เป็นโครงสร้างระดับนาโนกันอยู่แล้ว
  • 3:09 - 3:11
    ดังนั้นธรรมชาติได้ให้
  • 3:11 - 3:13
    โครงสร้างที่ยอดเยี่ยมจริงแท้มากับเราแล้วในระดับนาโน
  • 3:13 - 3:15
    แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถควบคุมมันได้
  • 3:15 - 3:17
    และสามารถโน้มน้าวให้มันอย่าได้กลายเป็นภูมิต้านทาน
  • 3:17 - 3:19
    ที่ทำให้เกิดอะไรแบบเดียวกับเชื้อเอชไอวี?
  • 3:19 - 3:21
    แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถโน้มน้าวให้มัน
  • 3:21 - 3:23
    มาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ให้เราได้?
  • 3:23 - 3:25
    งั้นนี่เป็นตัวอย่างบางส่วนนะคะ เป็นเปลือกหอยจากธรรมชาติ
  • 3:25 - 3:27
    ที่จัดเป็นวัสดุทางชีววิทยาที่มาจากธรรมชาติ
  • 3:27 - 3:29
    เปลือกเป๋าฮื้อนี่ -- และถ้าเราหักมันให้แตกออก
  • 3:29 - 3:31
    เราก็จะเห็นความจริงว่ามันเป็นโครงสร้างระดับนาโน
  • 3:31 - 3:34
    มีพวกไดอะตอมที่ประกอบด้วยซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2)
  • 3:34 - 3:36
    และพวกมันเป็น "แบคทีเรียแม่เหล็ก" (magnetotactic bacteria)
  • 3:36 - 3:39
    ที่สร้างแม่เหล็กขนาดเล็กเรียงตัวแถวเดี่ยวเพื่อใช้สำหรับนำทาง
  • 3:39 - 3:41
    สิ่งมีชีวิตพวกนี้มีสิ่งที่เหมือนกัน
  • 3:41 - 3:43
    ก็คือวัสดุพวกนี้เป็นโครงสร้างในระดับนาโน
  • 3:43 - 3:45
    และพวกมันมีลำดับพันธุกรรม
  • 3:45 - 3:47
    ที่มีรหัสสำหรับสร้างลำดับโปรตีน
  • 3:47 - 3:49
    ที่เป็นพิมพ์เขียวให้พวกมัน
  • 3:49 - 3:51
    สามารถสร้างโครงสร้างพวกนี้ที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
  • 3:51 - 3:53
    ตอนนี้ กลับมาที่เปลือกเป๋าฮื้อกันก่อน
  • 3:53 - 3:56
    เป๋าฮื้อสร้างเปลือกด้วยการมีโปรตีน
  • 3:56 - 3:58
    โปรตีนมีประจุลบสูงมาก
  • 3:58 - 4:00
    และมันสามารถถึงเอาแคลเซียมมาจากสิ่งแวดล้อม
  • 4:00 - 4:03
    มาเรียงเป็นชั้นแคลเซียมและต่อด้วยคาร์บอเนต เป็นแคลเซียมกับคาร์บอเนต (หินปูน)
  • 4:03 - 4:06
    เป็นลำดับสารเคมีของกรดอะมิโน
  • 4:06 - 4:08
    ที่บอกว่า "นี่เป็นวิธีสร้างโครงสร้าง
  • 4:08 - 4:10
    นี่คือลำดับพันธุกรรม นี่คือลำดับโปรตีน
  • 4:10 - 4:12
    ที่จะใช้ในการสร้าง"
  • 4:12 - 4:15
    และดังนั้น แนวคิดที่น่าสนใจก็คือ จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถเอาวัสดุอะไรก็ได้ที่เราอยากได้
  • 4:15 - 4:17
    หรือธาตุใดก็ได้ในตารางธาตุ
  • 4:17 - 4:20
    แล้วหาลำดับพันธุกรรมที่สมนัยกัน
  • 4:20 - 4:22
    แล้วป้อนรหัสเพื่อสร้างลำดับโปรตีนที่สมนัยกัน
  • 4:22 - 4:25
    ที่จะสร้างโครงสร้าง แต่ไม่ใช่สร้างเปลือกเป๋าฮื้อนะคะ
  • 4:25 - 4:27
    แต่สร้างอะไรบางอย่างที่ ด้วยวิถีธรรมชาติ
  • 4:27 - 4:30
    ไม่เคยมีโอกาสที่จะได้ทำแบบนั้นมาก่อน
  • 4:30 - 4:32
    และนี่ก็คือตารางธาตุ
  • 4:32 - 4:34
    ดิฉันรักตารางธาตุจับจิตจับใจค่ะ
  • 4:34 - 4:37
    ทุกๆปี สำหรับนักศึกษาชั้นปี 1 ที่เข้ามาเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (MIT)
  • 4:37 - 4:39
    ดิฉันจะทำตารางธาตุที่เขียนว่า
  • 4:39 - 4:42
    "ยินดีต้อนรับสู่ MIT ตอนนี้เธอจะมีธาตุแท้ๆของตัวเอง"
  • 4:42 - 4:45
    ถ้ากลับด้านก็จะเป็นกรดอะมิโน
  • 4:45 - 4:47
    พร้อมกับความเป็นกรดด่างที่ต่างก็มีประจุแตกต่างกัน
  • 4:47 - 4:50
    และดิฉันก็จะแจกจ่ายไปยังนักศึกษาเป็นพันๆ
  • 4:50 - 4:52
    ดิฉันรู้ค่ะว่ามันเขียนว่า MIT และที่นี่คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech)
  • 4:52 - 4:54
    แต่ดิฉันทำเกินมาสองสามอันถ้าใครอยากได้
  • 4:54 - 4:56
    และดิฉันก็โชคดีมากเหลือเกิน
  • 4:56 - 4:58
    ที่ปีนี้ ท่านประธานาธิบดีโอบามา มาเยี่ยมชมห้องทดลองของดิฉันด้วย
  • 4:58 - 5:00
    ในช่วงที่ท่านมาเยี่ยมชม MIT
  • 5:00 - 5:02
    และดิฉันก็อยากจะมอบตารางธาตุให้แก่ท่านมากๆเลย
  • 5:02 - 5:04
    ดิฉันก็เลยไม่หลับไม่นอนทั้งคืนและบอกกับสามีว่า
  • 5:04 - 5:07
    "ฉันจะเอาตารางธาตุนี้ไปให้ท่านประธานาธิบดีโอบามาได้ยังไง?
  • 5:07 - 5:09
    แล้วจะทำไงล่ะถ้าท่านบอกว่า 'อ๋อ ผมมีอันนึงแล้วหละ'
  • 5:09 - 5:11
    หรือไม่ก็ 'ผมท่องจำได้หมดแล้ว' ?"
  • 5:11 - 5:13
    พอเขามาเยี่ยมห้องทดลองของดิฉัน
  • 5:13 - 5:15
    แล้วสำรวจไปทั่วห้อง -- เป็นการเยี่ยมชมที่เยี่ยมมากค่ะ
  • 5:15 - 5:17
    แล้วต่อมาหลังจากนั้น ดิฉันก็ว่า
  • 5:17 - 5:19
    "ท่านคะ ดิฉันมีความประสงค์จะมอบตารางธาตุนี่แด่ท่านค่ะ
  • 5:19 - 5:23
    ในกรณีว่าท่านเกิดเผชิญปัญหาและจำเป็นต้องคำนวณน้ำหนักโมเลกุล"
  • 5:23 - 5:25
    และดิฉันคิดว่าน้ำหนักโมเลกุลฟังดูวิชาการน้อยกว่า
  • 5:25 - 5:27
    ค่ามวลโมล (molar mass) มากอยู่
  • 5:27 - 5:29
    แล้วท่านก็มองดูตารางธาตุ
  • 5:29 - 5:31
    และบอกว่า "ขอบคุณครับ
  • 5:31 - 5:33
    "ผมจะใส่ตารางธาตุในตารางเวลาของผมเป็นพักๆนะครับ"
  • 5:33 - 5:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:35 - 5:39
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:39 - 5:42
    และต่อมาในช่วงที่ท่านบรรยายเรื่องพลังงานสะอาด
  • 5:42 - 5:44
    ท่านก็หยิบมันขึ้นมาแล้วกล่าวว่า
  • 5:44 - 5:46
    "และผู้คนที่ MIT นี่พวกเขาแจกจ่ายตารางธาตุกันครับ"
  • 5:46 - 5:49
    เอาหละค่ะ จริงๆแล้วสิ่งที่ดิฉันไม่ได้บอกคุณ
  • 5:49 - 5:52
    ก็คือ ราว 500 ล้านปีก่อน สิ่งมีชีวิตได้เริ่มสร้างวัสดุ
  • 5:52 - 5:54
    แต่ใช้เวลาอีกราว 50 ล้านปีกว่าจะทำได้ดี
  • 5:54 - 5:56
    แล้วก็ใช้เวลาอีกราว 50 ล้านปี
  • 5:56 - 5:58
    ในการเรียนรู้ที่จะสร้างเปลือกเป๋าฮื้อได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • 5:58 - 6:00
    และนั่นก็จะยากมากเลยที่จะชวนนักศึกษา ป.โท-เอก มาร่วมงานด้วย
  • 6:00 - 6:03
    "อาจารย์มีโครงการสุดยอดมาก -- ใช้เวลา 50 ล้านปีนะ"
  • 6:03 - 6:05
    และดังนั้น เราจึงต้องพัฒนาวิธีการ
  • 6:05 - 6:07
    ที่จะพยายามเร่งกระบวนการให้เร็วมากขึ้น
  • 6:07 - 6:09
    เพราะงั้น เราจึงใช้ไวรัสที่เป็นไวรัสไม่มีพิษ
  • 6:09 - 6:11
    ชื่อว่า ไวรัสทำลายแบคทีเรีย เอ็มสิบสาม (M13 bacteriophage)
  • 6:11 - 6:13
    งานของมันก็คือแพร่เชื้อใส่แบคทีเรีย
  • 6:13 - 6:15
    มันมีโครงสร้างพันธุกรรมที่พื้นๆมาก
  • 6:15 - 6:17
    ที่เราสามารถเข้าไปตัดออกแล้วใส่
  • 6:17 - 6:19
    ลำดับพันธุกรรมเพิ่มให้มัน
  • 6:19 - 6:21
    การทำแบบนั้นทำให้ไวรัส
  • 6:21 - 6:24
    สามารถแสดงลำดับโปรตีนออกมาแบบสุ่ม
  • 6:24 - 6:26
    และนั่นเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ง่ายมากๆค่ะ
  • 6:26 - 6:28
    และเราก็อาจทำแบบนี้ได้เป็นพันล้านครั้ง
  • 6:28 - 6:30
    ดังนั้น เราเข้าไปตกแต่งดีเอ็นเอให้ไวรัสเป็นพันล้าน
  • 6:30 - 6:32
    ซึ่งมันมีสารพันธุกรรมเหมือนๆกัน
  • 6:32 - 6:34
    แต่ต่างกันตรงที่แต่ละตัวจะใช้รหัสพันธุกรรมจาก
  • 6:34 - 6:36
    ลำดับพันธุกรรมอันเดียว
  • 6:36 - 6:38
    ที่จะป้อนรหัสสร้างลำดับโปรตีนอันหนึ่ง
  • 6:38 - 6:40
    ถ้าเราเอาไวรัสทั้งพันล้าน
  • 6:40 - 6:42
    แล้วใส่เข้าไปในของเหลวขนาดหนึ่งหยด
  • 6:42 - 6:45
    เราก็สามารถบังคับให้มันทำปฏิกิริยากับอะไรก็ตามจากตารางธาตุที่เราต้องการ
  • 6:45 - 6:47
    และด้วยกระบวนการคัดเลือกทางวิวัฒนาการ
  • 6:47 - 6:50
    เราสามารถดึงเอามาเพียงแค่ตัวเดียวในพันล้านตัว ตัวที่ทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำ
  • 6:50 - 6:52
    เช่นทำแบตเตอรี่ หรือทำเซลล์แสงอาทิตย์
  • 6:52 - 6:55
    โดยพื้นฐานแล้ว ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้ มันจำเป็นต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น
  • 6:55 - 6:57
    พอเราเจอตัวที่ "ใช่" จากพันล้านตัวนั่นแล้ว
  • 6:57 - 6:59
    เราก็ใส่มันเข้าไปให้แพร่เชื้อในแบคทีเรีย
  • 6:59 - 7:01
    แล้วเราก็จะได้ไวรัสออกมาเป็นล้านๆ เป็นพันล้าน
  • 7:01 - 7:03
    ที่มีลำดับพันธุกรรมแบบนั้น
  • 7:03 - 7:05
    อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความสวยงามของชีววิทยา
  • 7:05 - 7:07
    ก็คือ ชีววิทยาทำให้คุณมีโครงสร้างที่ยอดเยี่ยมเป็นที่สุด
  • 7:07 - 7:09
    ในขนาดที่สามารถนำใช้ได้ดี
  • 7:09 - 7:11
    ไวรัสพวกนี้ตัวยาวผอมเพรียว
  • 7:11 - 7:13
    และเราสามารถทำให้มันแสดงออกถึงความสามารถ
  • 7:13 - 7:15
    ในการสร้างอะไรอย่าง สารกึ่งตัวนำ (semiconductor)
  • 7:15 - 7:17
    หรือ วัสดุสำหรับแบตเตอรี่
  • 7:17 - 7:20
    นี่เป็นแบตเตอรี่กำลังสูงที่เราสร้างขึ้นมาในห้องทดลอง
  • 7:20 - 7:23
    เราสร้างไวรัสที่ไปจับเอาท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube)
  • 7:23 - 7:25
    ส่วนหนึ่งของไวรัสไปจับเอาท่อนาโนคาร์บอน
  • 7:25 - 7:27
    อีกส่วนมีลำดับพันธุกรรม
  • 7:27 - 7:30
    ที่สามารถสร้างวัสดุที่เป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่
  • 7:30 - 7:33
    แล้วถัดมามันก็เชื่อมต่อตัวมันเองเข้ากับตัวเก็บกระแสไฟฟ้า
  • 7:33 - 7:35
    เพราะฉะนั้น ด้วยกระบวนการคัดเลือกทางวิวัฒนาการ
  • 7:35 - 7:38
    เราเปลี่ยนไวรัสที่สร้างแบตเตอรี่คุณภาพแย่
  • 7:38 - 7:40
    ไปเป็นไวรัสที่สร้างแบตเตอรี่คุณภาพดี
  • 7:40 - 7:43
    ไปเป็นไวรัสที่สร้างแบตเตอรี่กำลังสูงกว่าแบตเตอรี่ที่เราเคยมีมา
  • 7:43 - 7:46
    แล้วทั้งหมดนี้ก็ทำในอุณหภูมิห้อง แล้วก็ทำกันที่บนโต๊ะนี่แหละค่ะ
  • 7:46 - 7:49
    แล้วแบตเตอรี่นั่นก็เดินทางไปทำเนียบขาวในงานแถลงข่าว
  • 7:49 - 7:51
    ดิฉันพกติดตัวมาที่นี่ด้วยนะ
  • 7:51 - 7:54
    คุณจะเห็นว่ามันอยู่ในกล่องนี้ค่ะ -- กำลังจ่ายไฟให้หลอดแอลอีดี (LED)
  • 7:54 - 7:56
    คราวนี้ถ้าเราสามารถทำให้มันใหญ่ขึ้น
  • 7:56 - 7:58
    เราก็จะสามารถใช้มัน
  • 7:58 - 8:00
    ขับเคลื่อนรถพรีอุส (Toyota Prius) ให้เราได้
  • 8:00 - 8:03
    ซึ่งเป็นความฝันของดิฉันค่ะ ความฝันที่จะขับรถที่ขับเคลื่อนด้วยไวรัส
  • 8:04 - 8:06
    แต่จริงๆแล้ว
  • 8:06 - 8:09
    เราสามารถดึงไวรัสตัวนึงออกมาจากพันล้านตัว
  • 8:09 - 8:11
    แล้วทำให้มันเพิ่มจำนวนขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 8:11 - 8:13
    จริงๆแล้ว เราเพิ่มจำนวนครั้งเดียวในห้องทดลอง
  • 8:13 - 8:15
    จากนั้นเราก็ทำให้มันประกอบชิ้นส่วนด้วยตัวเอง
  • 8:15 - 8:17
    ให้เป็นโครงสร้างอย่างเช่นแบตเตอรี่
  • 8:17 - 8:19
    เราทำแบบนี้ได้ด้วยการเร่งปฏิกิริยาเคมี (catalysis) ได้ด้วย
  • 8:19 - 8:21
    นี่เป็นตัวอย่าง
  • 8:21 - 8:23
    ของการแยกโมเลกุลน้ำด้วยการเร่งปฏิกิริยาเคมีด้วยแสง
  • 8:23 - 8:25
    และสิ่งที่พวกเราสามารถทำกันมาได้
  • 8:25 - 8:28
    ก็คือสร้างไวรัสที่ไปจับเอาโมเลกุลที่ดูดสีย้อม
  • 8:28 - 8:30
    แล้วเอามาเรียงไว้ที่พื้นผิวหน้าของมัน
  • 8:30 - 8:32
    ให้ทำหน้าที่เป็นเหมือนเสาอากาศ
  • 8:32 - 8:34
    แล้วเราก็ส่งผ่านพลังงานข้ามไวรัสได้
  • 8:34 - 8:36
    จากนั้นเราก็ใส่ยีนส์ตัวที่สองเข้าไป
  • 8:36 - 8:38
    ให้สร้างวัสดุอนินทรีย์
  • 8:38 - 8:40
    ที่จะใช้ในการแยกโมเลกุลน้ำ
  • 8:40 - 8:42
    ให้เป็นออกซิเจนกับไฮโดรเจน
  • 8:42 - 8:44
    ที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดได้
  • 8:44 - 8:46
    และดิฉันเอาตัวอย่างมากับดิฉันด้วยในวันนี้
  • 8:46 - 8:48
    นักศึกษาของดิฉันสัญญากับดิฉันไว้ว่ามันจะทำงานได้แน่
  • 8:48 - 8:50
    นี่เป็นสายไฟระดับนาโนที่ไวรัสประกอบขึ้นมา
  • 8:50 - 8:53
    พอเราฉายไฟลงไป เราจะเห็นว่ามันปล่อยฟองออกมา
  • 8:53 - 8:56
    ในกรณีนี้ เราจะเห็นฟองออกซิเจนลอยออกมา
  • 8:57 - 9:00
    และจริงๆแล้วก็ควบคุมด้วยยีนส์
  • 9:00 - 9:03
    เราสามารถควบคุมวัสดุพร้อมกันหลายชนิดเพื่อยกระดับสมรรถนะของอุปกรณ์
  • 9:03 - 9:05
    ตัวอย่างสุดท้ายเป็นเซลล์แสงอาทิตย์
  • 9:05 - 9:07
    เราใช้เทคนิคนี้กับเซลล์แสงอาทิตย์ได้เช่นกัน
  • 9:07 - 9:09
    กลุ่มวิจัยของดิฉันสามารถสร้างไวรัส
  • 9:09 - 9:11
    ที่ไปจับเอาท่อนาโนคาร์บอน
  • 9:11 - 9:15
    แล้วมาสร้างไทเทเนียมไดออกไซด์รอบๆตัวมัน
  • 9:15 - 9:19
    เพื่อใช้เป็นวิธีดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวอุปกรณ์
  • 9:19 - 9:21
    แล้วเราได้ค้นพบว่า ด้วยพันธุวิศกรรม
  • 9:21 - 9:23
    เราสามารถจะเพิ่ม
  • 9:23 - 9:26
    ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์พวกนี้
  • 9:26 - 9:28
    ได้สูงเป็นประวัติการณ์
  • 9:28 - 9:31
    สำหรับระบบประเภทที่สนองตอบกับสีย้อม
  • 9:31 - 9:33
    และดิฉันก็ติดมาด้วยอันนึง
  • 9:33 - 9:36
    ที่คุณๆสามารถมาลองเล่นดูได้ ข้างนอกหลังจบบรรยายค่ะ
  • 9:36 - 9:38
    ดังนั้น นี่ก็คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่อาศัยไวรัส
  • 9:38 - 9:40
    ด้วยวิวัฒนาการและการคัดเลือก
  • 9:40 - 9:43
    เราพัฒนาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาิทิตย์จากประสิทธิภาพร้อยละ 8
  • 9:43 - 9:46
    ไปเป็นร้อยละ 11
  • 9:46 - 9:48
    ฉะนั้น ดิฉันหวังค่ะว่าดิฉันจะโน้มน้าวให้คุณเชื่อ
  • 9:48 - 9:51
    ได้ว่ามีอะไรอีกมากมายที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่เราสามารถเรียนรู้
  • 9:51 - 9:53
    เกี่ยวกับว่าธรรมชาติสร้างวัสดุต่างๆมาได้อย่างไร
  • 9:53 - 9:55
    แล้วนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้
  • 9:55 - 9:57
    ดูว่าเราจะทำได้หรือไม่ที่จะสามารถ
  • 9:57 - 9:59
    ผลักดัน หรือฉกฉวยเอาวิธีการที่ธรรมชาติสร้างวัสดุต่างๆ
  • 9:59 - 10:02
    มาสร้างเป็นอะไรที่ธรรมชาติเองไม่แม้แต่จะวาดฝันไว้ว่าสามารถทำขึ้นมาได้จริง
  • 10:02 - 10:04
    ขอบคุณค่ะ
Title:
สร้างแบตเตอรี่ด้วยวิถีธรรมชาติ
Speaker:
แอนเจลา เบลเชอร์ (Angela Belcher)
Description:

ด้วยแรงบันดาลใจจากเปลือกหอยเป๋าฮื้อ ศาสตราจารย์แอนเจลา เบลเชอร์ (Angela Belcher) โปรแกรมให้ไวรัสสร้างโครงสร้างนาโนอันอลังการให้มนุษย์อย่างเรานำไปใช้งานได้ ด้วยการคัดเลือกยีนส์สมรรถนะสูงผ่านการกำกับควบคุมทางวิวัฒนาการ ศ.แอนเจลาได้สร้างไวรัสที่สามารถสร้างแบตเตอรี่กำลังสูงชนิดใหม่ เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่สะอาด และ เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงเป็นประวัติการณ์ ในงาน TEDxCaltech เธอมานำเสนอให้พวกเราดูว่าการสร้างแบตเตอรี่ด้วยธรรมชาตินั้นทำได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:05
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Using nature to grow batteries
Heartfelt Grace added a translation

Thai subtitles

Revisions Compare revisions