Return to Video

เจาะลึกโอเคคิวปิด (OKCupid): คณิตศาสตร์ของการหาคู่ออนไลน์ - คริสเตียน รัดเดอร์ (Christian Rudder)

  • 0:18 - 0:19
    สวัสดีครับ ผมชื่อ คริสเตียน รัดเดอร์
    (Christian Rudder)
  • 0:19 - 0:22
    และผมก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง โอเคคิวปิด
    (OKCupid)
  • 0:22 - 0:25
    ตอนนี้มันเป็นหนึ่งในเว็บหาคู่
    ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา
  • 0:25 - 0:26
    ก็เหมือน ๆ กับพนักงานส่วนใหญ่ที่นั่น
  • 0:26 - 0:27
    ผมจบเอกคณิตศาสตร์ และอย่างที่คุณคาด
  • 0:27 - 0:29
    พวกเราขึ้นชื่อในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 0:29 - 0:30
    พวกเราได้นำมันมาใช้ในการหาคู่
  • 0:30 - 0:32
    พวกเราเรียกมันว่า อัลกอริทึมการจับคู่
    (matching algorithm)
  • 0:32 - 0:33
    อัลกอริทึมที่ว่าของ โอเค คิวปิด
  • 0:33 - 0:36
    ช่วยเราในการตัดสินว่า
    คนสองคนนี้ควรไปเดทกันหรือไม่
  • 0:36 - 0:39
    มันเป็นหัวใจของบริษัทเราเลยล่ะ
  • 0:39 - 0:41
    อัลกอริทึม ฟังดูเป็นคำหรูหรา
  • 0:41 - 0:43
    ผู้คนชอบพูดถึงมันเหมือนว่ามันเป็นอะไรใหญ่โต
  • 0:43 - 0:45
    แต่จริง ๆ แล้ว อัลกอริทึม
    ก็เป็นแค่วิธีในการแก้ปัญหา
  • 0:45 - 0:48
    อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
  • 0:48 - 0:50
    มันไม่จำเป็นต้องมีอะไรหรูหราเลยสักนิด
  • 0:50 - 0:52
    ในบทเรียนนี้ ผมจะอธิบายว่า
  • 0:52 - 0:54
    เราคิดอัลกอริทึมของเราขึ้นมาได้อย่างไร
  • 0:54 - 0:56
    คุณจะได้เห็นที่มาของมัน
  • 0:56 - 0:58
    แล้วทำไมอัลกอริทึมทั้งหลายจึงสำคัญ
  • 0:58 - 0:59
    ทำไมต้องมีบทเรียนอันนี้
  • 0:59 - 1:02
    สังเกตเห็นคำคำหนึ่งที่ผมได้พูดไปไหม
  • 1:02 - 1:05
    พวกมันเป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
  • 1:05 - 1:06
    บางทีคุณอาจจะรู้อยู่แล้วว่า
  • 1:06 - 1:08
    คอมพิวเตอร์เก่งในเรื่องการทำงานเป็นขั้นตอน
  • 1:08 - 1:10
    คอมพิวเตอร์ที่ปราศจากอัลกอริทึม
  • 1:10 - 1:13
    ก็เป็นแค่ที่ทับกระดาษแพง ๆ
  • 1:13 - 1:15
    และเนื่องจากคอมพิวเตอร์นั้น
    พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • 1:15 - 1:17
    อัลกอริทึมจึงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
  • 1:19 - 1:20
    คณิตศาสตร์เบื้องหลังอัลกอริทึมการจับคู่
    ของโอเค คิวปิด นั้น
  • 1:20 - 1:22
    เรียบง่ายจนน่าตกใจ
  • 1:22 - 1:23
    มันใช้แค่ การบวก
  • 1:23 - 1:24
    การคูณ
  • 1:24 - 1:25
    และการถอดราก นิดหน่อย
  • 1:25 - 1:28
    แต่จุดที่ยากในการออกแบบมัน
  • 1:28 - 1:30
    ก็คือว่า จะทำอย่างไรกับข้อมูลที่ดูลึกลับ
  • 1:30 - 1:31
    อย่างแรงดึงดูดระหว่างคนสองคน
  • 1:31 - 1:34
    และย่อยมันเป็นองค์ประกอบ
    ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปวิเคราะห์ได้
  • 1:34 - 1:36
    เอาล่ะ สิ่งแรกที่จำเป็น
    สำหรับการจับคู่ก็คือ ข้อมูล
  • 1:36 - 1:38
    อะไรบางอย่างที่อัลกอริทึมเอาไปใช้
  • 1:38 - 1:40
    วิธีที่ดีที่สุดที่จะได้ข้อมูลจากผู้คน
  • 1:40 - 1:42
    ก็คือ การถามจากพวกเขานั่นเอง
  • 1:42 - 1:44
    เราจึงตัดสินใจว่า โอเค คิวปิด
    ควรถามคำถามกับผู้ใช้งาน
  • 1:44 - 1:47
    อย่างเช่น
    "ในอนาคต คุณต้องการมีลูกหรือไม่"
  • 1:47 - 1:49
    และ "คุณแปรงฟันบ่อยแค่ไหน"
  • 1:49 - 1:50
    "คุณชอบหนังสยองขวัญหรือไม่"
  • 1:50 - 1:54
    หรือคำถามหนัก ๆ อย่าง
    "คุณเชื่อในพระเจ้าหรือไม่"
  • 1:54 - 1:55
    ทีนี้ หลาย ๆ คำถามนั้นเป็นประโยชน์
  • 1:55 - 1:56
    สำหรับการจับคู่คนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน
  • 1:56 - 1:59
    นั่นเกิดขึ้นเมื่อคู่ตอบคำถาม
    ไปในทางเดียวกัน
  • 1:59 - 2:01
    เช่น คนสองคนที่เป็นแฟนหนังสยองขวัญ
  • 2:01 - 2:03
    ก็น่าจะเข้ากันได้ดี
  • 2:03 - 2:04
    มากกว่า กรณีที่คนนึงชอบ
  • 2:04 - 2:05
    แต่อีกคนไม่ชอบ
  • 2:05 - 2:06
    แล้วถ้าเกิดเป็นคำถามอย่างเช่น
  • 2:06 - 2:08
    "คุณชอบที่จะตกเป็นจุดสนใจหรือไม่" ล่ะ
  • 2:08 - 2:11
    ถ้าเกิดคู่รักทั้งสอง ตอบใช่ทั้งคู่
  • 2:11 - 2:13
    นั่นคงจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา
  • 2:13 - 2:14
    พวกเราตะหนักดีถึงเรื่องเหล่านี้
  • 2:14 - 2:16
    เราจึงคิดว่าเราต้องการ
  • 2:16 - 2:18
    ข้อมูลที่ลึกลงไปอีกสำหรับแต่ละคำถาม
  • 2:18 - 2:20
    เราต้องการให้พวกเขา
    ไม่เพียงแค่ระบุคำตอบของพวกเขาเอง
  • 2:20 - 2:23
    แต่ยังต้องระบุคำตอบที่อยากได้จากอีกคนด้วย
  • 2:23 - 2:24
    ซึ่งมันให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก
  • 2:24 - 2:26
    แต่เรายังต้องการอะไรเพิ่มอีกสักอย่าง
  • 2:26 - 2:29
    บางคำถามนั้นบอกคุณเกี่ยวคนคนหนึ่ง
    ได้ดีกว่าคำถามอื่น
  • 2:29 - 2:32
    เช่น คำถามเกี่ยวกับการเมือง อย่างเช่น
  • 2:32 - 2:35
    "อย่างไหนแย่กว่าระหว่าง เผาหนังสือ กับ เผาธง"
  • 2:35 - 2:37
    อาจเผยให้เห็นตัวตนของคนคนหนึ่ง
    ได้ดีกว่าคำถามเกี่ยวกับหนัง
  • 2:37 - 2:39
    มันดูไม่มีเหตุผล
    ที่จะให้ทุกคำถามมีน้ำหนักเท่ากันหมด
  • 2:39 - 2:42
    ดังนั้นเราจึงเพิ่มตัวแปรสุดท้ายเข้าไปอีกอันนึง
  • 2:42 - 2:43
    สำหรับทุก ๆ คำถามที่ โอเค คิวปิด ถามคุณ
  • 2:43 - 2:45
    คุณมีโอกาสที่จะบอกเรา
  • 2:45 - 2:46
    ว่าคุณซีเรียสกับมันแค่ไหน
  • 2:46 - 2:49
    ตั้งแต่เป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว
    ไปจนถึงเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย
  • 2:49 - 2:51
    ทีนี้ สำหรับทุก ๆ คำถาม
  • 2:51 - 2:53
    เราก็ได้ 3 สิ่งสำหรับอัลกอริทึมของเรา
  • 2:53 - 2:54
    หนึ่ง คำตอบของคุณเอง
  • 2:54 - 2:56
    สอง คำตอบที่คุณอยากให้คนอื่น
  • 2:56 - 2:57
    คนที่เป็นว่าที่คู่ของคุณ
  • 2:57 - 2:59
    ให้คำตอบ
  • 2:59 - 3:02
    และสาม คำถามนี้สำคัญกับคุณแค่ไหน
  • 3:02 - 3:04
    ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้
  • 3:04 - 3:07
    โอเคคิวปิด สามารถบอกได้ว่าคนสองคนนี้
    จะไปกันได้ดีแค่ไหน
  • 3:07 - 3:09
    อัลกอริทึมจะวิเคราะห์ตัวเลขและให้ผลลัพธ์ออกมา
  • 3:09 - 3:11
    ลองมาดูตัวอย่างกัน
  • 3:11 - 3:14
    ดูซิว่า เราทำการจับคู่คุณเข้ากับคนอื่นได้อย่างไร
  • 3:14 - 3:16
    สมมติให้เขาชื่อ นายบี
  • 3:16 - 3:17
    เปอร์เซ็นต์ที่คุณจะคู่กับ นายบี ขึ้นอยู่กับ
  • 3:17 - 3:19
    คำถามที่คุณทั้งคู่ตอบ
  • 3:19 - 3:22
    เราตั้งชื่อมันว่า ชุดคำถามทั่วไป "เอส"
  • 3:22 - 3:25
    ในตัวอย่างนี้ เราใช้คำถามจากชุดคำถาม "เอส"
  • 3:25 - 3:26
    เพียงแค่ 2 คำถาม
  • 3:26 - 3:28
    นำมาคำนวนหาความเข้าคู่กัน
  • 3:28 - 3:30
    และนี่เป็นตัวอย่างคำถาม 2 ข้อนั้น
  • 3:30 - 3:32
    ข้อที่หนึ่ง "คุณเป็นคนซกมกแค่ไหน"
  • 3:32 - 3:35
    คำตอบก็เป็นได้ตั้งแต่
  • 3:35 - 3:36
    ซกมกสุด ๆ
  • 3:36 - 3:36
    ระดับปกติ
  • 3:36 - 3:38
    และเรียบร้อยสุด ๆ
  • 3:38 - 3:40
    สมมติว่าคำตอบของคุณคือ "เรียบร้อยสุด ๆ"
  • 3:40 - 3:43
    คุณก็คงจะอยากให้คู่ของคุณตอบ
    "เรียบร้อยสุด ๆ" เช่นกัน
  • 3:43 - 3:45
    และคำถามนี้ถือว่ามีความสำคัญกับคุณมาก
  • 3:45 - 3:46
    สำหรับคุณแล้วทุกอย่างต้องหมดจดเรียบร้อย
  • 3:46 - 3:47
    คุณเป็นคนเรียบร้อย
  • 3:47 - 3:48
    คุณต้องการให้อีกคนเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • 3:48 - 3:49
    ก็แค่นั้นเอง
  • 3:49 - 3:51
    ส่วนนาย บี นั้นต่างออกไปเล็กน้อย
  • 3:51 - 3:54
    เขาตอบว่า "เรียบร้อยสุด ๆ" สำหรับตัวเขา
  • 3:54 - 3:55
    แต่ตอบว่า "ระดับปกติ" ก็โอเคสำหรับเขา
  • 3:55 - 3:57
    สำหรับคำตอบของอีกคน
  • 3:57 - 3:59
    และเขาก็ไม่ค่อยซีเรียสกับคำถามนี้สักเท่าไร
  • 3:59 - 4:00
    ทีนี้ลองมาดูคำถามที่สองกัน
  • 4:00 - 4:02
    มันมาจากหนึ่งในตัวอย่างก่อนโน้น
  • 4:02 - 4:04
    "คุณชอบที่จะตกเป็นจุดสนใจใช่หรือไม่"
  • 4:04 - 4:05
    คำตอบเป็นได้แค่ ใช่ กับ ไม่ใช่
  • 4:05 - 4:06
    ทีนี้คุณตอบว่า "ไม่ใช่"
  • 4:06 - 4:08
    คำตอบที่คุณอยากให้อีกคนตอบ คือ "ไม่ใช่"
  • 4:08 - 4:11
    และคำถามนี้ก็ไม่ค่อยสำคัญกับคุณสักเท่าไร
  • 4:11 - 4:12
    ส่วน นาย บี คำตอบของเขาคือ "ใช่"
  • 4:12 - 4:14
    คำตอบที่เขาอยากให้อีกคนตอบ คือ "ไม่ใช่"
  • 4:14 - 4:16
    เพราะเขาต้องการเป็นจุดเด่น
  • 4:16 - 4:19
    และคำถามนี้ก็ค่อนข้างสำคัญกับเขามาก
  • 4:19 - 4:22
    เราลองมาวิเคราะห์ผลทั้งหมดนี้กัน
  • 4:22 - 4:23
    อันดับแรก คือ
  • 4:23 - 4:24
    เนื่องจากเราต้องอาศัยคอมพิวเตอร์
  • 4:24 - 4:26
    เราจึงต้องกำหนดค่าต่าง ๆ เป็นตัวเลข
  • 4:26 - 4:29
    สำหรับคำตอบเช่น "ค่อนข้างสำคัญ"
    หรือ "สำคัญมาก"
  • 4:29 - 4:31
    เพราะคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ตัวเลข
  • 4:31 - 4:34
    พวกเราที่ โอเคคิวปิด กำหนดค่าต่าง ๆ ตามนี้
  • 4:34 - 4:36
    "ไม่สำคัญเลย" มีค่าเท่ากับ 0
  • 4:36 - 4:38
    "สำคัญเล็กน้อย" มีค่าเท่ากับ 1
  • 4:38 - 4:40
    "ค่อนข้างสำคัญ" มีค่าเท่ากับ 10
  • 4:40 - 4:42
    "สำคัญมาก" มีค่าเท่ากับ 50
  • 4:42 - 4:46
    "เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย" มีค่าเท่ากับ 250
  • 4:46 - 4:49
    อัลกอริทึมก็จะทำการคำนวนง่าย ๆ 2 อย่าง
  • 4:49 - 4:52
    อย่างแรก คุณพึงพอใจคำตอบของ นายบี แค่ไหน
  • 4:52 - 4:56
    หรือก็คือ ความเป็นไปได้ของคะแนนของนายบี
    ตามระดับของคุณเป็นเท่าไร
  • 4:56 - 4:58
    คุณบอกว่า คำตอบของนายบี
  • 4:58 - 5:00
    สำหรับคำถามแรกเกี่ยวกับความซกมก
  • 5:00 - 5:01
    สำคัญมากสำหรับคุณ
  • 5:01 - 5:04
    มันจึงมีค่า 50 คะแนน
    และนายบีก็ตอบได้ถูกใจคุณ
  • 5:04 - 5:06
    ส่วนคำถามที่สองมีค่าแค่ 1
  • 5:06 - 5:08
    เพราะคุณบอกว่ามันสำคัญแค่เล็กน้อยเท่านั้น
  • 5:08 - 5:09
    และนายบีก็ตอบไม่เข้าเป้า
  • 5:09 - 5:12
    ดังนั้นคะแนนจากคำตอบของนายบี
    จึงเท่ากับ 50 เต็ม 51
  • 5:12 - 5:14
    หรือ คะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 98%
  • 5:14 - 5:15
    ถือว่าดีทีเดียว
  • 5:15 - 5:17
    และ คำถามที่สองของที่อัลกอริทึมจะคำนวน
  • 5:17 - 5:19
    ก็คือนายบีจะพึงพอใจคุณแค่ไหน
  • 5:19 - 5:21
    สำหรับนายบี คำถามเรื่องระดับความซกมก
  • 5:21 - 5:22
    มีค่าแค่ 1 คะแนน
  • 5:22 - 5:25
    ส่วนคำถามข้อที่สองมีค่า 10 คะแนน
  • 5:25 - 5:27
    ดังนั้นคะแนนเต็ม 11 ซึ่งคือ 1 บวก 10
  • 5:27 - 5:28
    คุณก็ทำได้ 10 คะแนน
  • 5:28 - 5:31
    คุณทั้งคู่พึงพอใจกับคำถามที่สองของแต่ละฝ่าย
  • 5:31 - 5:33
    คุณได้คะแนน 10 เต็ม 11
  • 5:33 - 5:35
    เท่ากับสำหรับนายบีแล้ว
    คุณมีความพึงพอใจ 91%
  • 5:35 - 5:36
    มันก็ไม่เลวนัก
  • 5:36 - 5:38
    ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ นำค่าเปอร์เซ็นต์ทั้งสองค่านั้น
  • 5:38 - 5:40
    ทำให้เป็นค่าเดียวกันสำหรับคุณทั้งสอง
  • 5:40 - 5:43
    โดยอัลกอริทึมจะนำค่าทั้งสองมาคูณกัน
  • 5:43 - 5:44
    แล้วถอดรากที่ n
  • 5:44 - 5:47
    โดย n คือจำนวนของคำถามทั้งหมด
  • 5:47 - 5:50
    แต่ s ซึ่งคือจำนวนคำถามในตัวอย่างนี้
  • 5:50 - 5:52
    มีแค่ 2 ข้อ
  • 5:52 - 5:54
    เปอร์เซ็นต์การจับคู่จึงเท่ากับ
  • 5:54 - 5:58
    รากที่สองของ 98% คูณ 91%
  • 5:58 - 6:00
    ซึ่งเท่ากับ 94%
  • 6:00 - 6:03
    94% ก็คือโอกาสที่คุณจะเข้ากันได้กับนายบี
  • 6:03 - 6:05
    มันเป็นค่าตัวเลขที่แสดงว่า
  • 6:05 - 6:06
    คุณน่าจะมีความสุขด้วยกันแค่ไหน
  • 6:06 - 6:08
    โดยอาศัยจากข้อมูลที่เรามี
  • 6:08 - 6:10
    แล้วทำไมอัลกอริทึมนี้ถึงต้องเอาค่ามาคูณกัน
  • 6:10 - 6:12
    แทนที่จะแค่หาค่าเฉลี่ยก็พอ
  • 6:12 - 6:15
    แถมยังมีการถอดรากอีกทำไมกัน
  • 6:15 - 6:16
    ทั่วไปแล้ว สูตรคณิตนี้มีชื่อว่า
    ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (Geometric Mean)
  • 6:16 - 6:18
    ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล
  • 6:18 - 6:19
    ที่มีพิสัยของข้อมูลกว้าง
  • 6:19 - 6:21
    และมีที่มาของข้อมูลหลากหลาย
  • 6:21 - 6:23
    อีกนัยก็คือ มันเหมาะที่จะใช้กับการหาคู่มาก
  • 6:23 - 6:24
    คุณมีข้อมูลที่มีพิสัยกว้าง
  • 6:24 - 6:26
    คุณมีการให้คะแนนที่หลากหลายมาตรฐาน
  • 6:26 - 6:27
    อย่างที่เคยพูดถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับภาพยนตร์
  • 6:27 - 6:28
    เกี่ยวกับการเมือง
  • 6:28 - 6:29
    เกี่ยวกับศาสนา
  • 6:29 - 6:30
    หรือในทุก ๆ เรื่อง
  • 6:30 - 6:32
    ลึก ๆ แล้ว มันดูเข้าท่า
  • 6:32 - 6:35
    คนสองคนที่มีระดับความพึงพอใจต่อกันที่ 50%
  • 6:35 - 6:36
    ควรจะเข้ากันได้ดีกว่า
  • 6:36 - 6:39
    กรณีระดับความพอใจ
    ที่คนนึงได้ 0 แต่อีกคนได้ 100
  • 6:39 - 6:41
    เพราะความรักเป็นเรื่องระหว่างคนสองคน
  • 6:41 - 6:43
    หลังจากที่เราปรับแก้เล็กน้อย
    สำหรับค่าความคลาดเคลื่อน
  • 6:43 - 6:46
    ในกรณีที่ชุดคำถามมีคำถามน้อยมาก ๆ
  • 6:46 - 6:47
    เหมือนที่ทำในตัวอย่าง
  • 6:47 - 6:49
    มันก็พร้อมใช้งานได้จริง
  • 6:49 - 6:50
    เมื่อใดก็ตามที่ โอเคคิวปิด
    จับคู่ระหว่างคนสองคน
  • 6:50 - 6:52
    มันก็จะทำไปตามขั้นตอนอย่างที่ได้กล่าวไป
  • 6:52 - 6:54
    เริ่มจาก รวบรวมคำตอบของคุณ
  • 6:54 - 6:57
    ต่อมา เปรียบเทียบคำตอบและความชอบของคุณ
  • 6:57 - 7:00
    กับคนอื่น ด้วยคณิตศาสตร์ง่าย ๆ
  • 7:00 - 7:02
    การที่เราสามารถ
    นำปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง
  • 7:02 - 7:05
    แล้วทำให้เป็นอะไรที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้
  • 7:05 - 7:06
    ผมคิดว่าสิ่งนี้
  • 7:06 - 7:09
    เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด
    ที่ใครก็ควรมีในทุกวันนี้
  • 7:09 - 7:11
    เหมือนกับที่คุณใช้ประโยค
    ในการเล่าเรื่องราวแก่คนอื่น
  • 7:11 - 7:14
    คุณก็ใช้อัลกอริทึม
    ในการเล่าเรื่องราวแก่คอมพิวเตอร์
  • 7:14 - 7:15
    ถ้าคุณได้เรียนรู้ภาษาของมัน
  • 7:15 - 7:16
    คุณก็จะสามารถออกไปบอกเล่าเรื่องราวของคุณได้
  • 7:16 - 7:19
    นี่เป็นสิ่งที่ผมอยากให้คุณทำดู
Title:
เจาะลึกโอเคคิวปิด (OKCupid): คณิตศาสตร์ของการหาคู่ออนไลน์ - คริสเตียน รัดเดอร์ (Christian Rudder)
Speaker:
Christian Rudder
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/inside-okcupid-the-math-of-online-dating-christian-rudder

เมื่อคนสองคนมาใช้บริการเว็บหาคู่ พวกเขาถูกจับคู่กันตามความสนใจที่มีร่วมกัน และตามการตอบคำถามส่วนบุคคลของพวกเขา แต่ว่าเว็บหาคู่สามารถคำนวนได้อย่างไรถึงโอกาสที่คนทั้งคู่จะเข้ากันได้ดี คริสเตียน รัดเดอร์ (Christian Rudder) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเว็บหาคู่ชื่อดัง โอเคคิวปิด(OKCupid) จะมาเล่ารายละเอียดของอัลกอริทึมที่อยู่เบื้องหลัง "การปิ๊งกัน"

บทเรียนโดย Christian Rudder, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
07:31
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside OKCupid: The math of online dating
Show all

Thai subtitles

Revisions