Return to Video

ฝูงปลาว่ายน้ำไปพร้อม ๆ กันได้อย่างไร - นาธาน เอส. จาคอปส์ (Nathan S. Jacobs)

  • 0:08 - 0:12
    ฝูงปลาว่ายน้ำไปพร้อม ๆ กันได้อย่างไร
  • 0:12 - 0:16
    เซลล์เล็ก ๆ ในสมองของคุณ
    ทำให้เกิดความคิดที่ซับซ้อน
  • 0:16 - 0:17
    ความทรงจำ
  • 0:17 - 0:20
    และสติสัมปชัญญะว่าคุณเป็นคุณได้อย่างไร
  • 0:20 - 0:24
    แปลกดีที่คำถามเหล่านี้มีคำตอบเดียวกัน
  • 0:24 - 0:25
    ปรากฏการณ์
  • 0:25 - 0:30
    หรือการเกิดพฤติกรรมที่ซับซ้อนในทันที
  • 0:30 - 0:34
    และการทำงาน
    ของกลุ่มของส่วนเล็ก ๆ ที่เรียบง่าย
  • 0:34 - 0:37
    เช่นเดียวกับสัตว์อีกหลาย ๆ ชนิด
    ปลาอยู่รวมกันเป็นฝูง
  • 0:37 - 0:40
    แต่ไม่ใช่แค่ว่าพวกมัน
    ชอบที่จะอยู่เป็นเพื่อนกันและกัน
  • 0:40 - 0:42
    มันสำคัญต่อความอยู่รอด
  • 0:42 - 0:46
    ฝูงปลาแสดงพฤติกรรมการว่ายน้ำที่ซับซ้อน
  • 0:46 - 0:48
    ที่ช่วยให้พวกมันหลบหลีกจากผู้ล่าผู้หิวโหย
  • 0:48 - 0:54
    ในขณะที่ปลาตัวเดียวจะถูกแยกออกมา
    เป็นเหยื่อได้อย่างง่ายได้
  • 0:54 - 0:57
    ฉะนั้นปลาผู้นำฝูงที่ฉลาดคือตัวไหนกัน
  • 0:57 - 0:59
    อันที่จริง ไม่มีหรอก
  • 0:59 - 1:01
    และทุกตัวก็คือผู้นำ
  • 1:01 - 1:03
    นั่นหมายความว่าอย่างไรกัน
  • 1:03 - 1:07
    ในขณะที่ฝูงปลา
    หมุน กลับ และหลบฉลามอย่างงดงาม
  • 1:07 - 1:10
    เป็นสิ่งที่ดูเหมือนการร่วมมือกันอย่างจงใจ
  • 1:10 - 1:15
    อันที่จริงปลาแต่ละตัว
    แค่ทำตามกฎเพียงสองข้อ
  • 1:15 - 1:17
    ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฉลามเลย
  • 1:17 - 1:21
    หนึ่ง อยู่ใกล้กันเข้าไว้
    แต่ไม่ใกล้กับเพื่อนของคุณจนเกินไป
  • 1:21 - 1:24
    และสอง ว่ายน้ำต่อไป
  • 1:24 - 1:30
    ในฐานะปลาแต่ละตัว ปลามุ่งความสนใจ
    ไปที่ความสัมพันธ์จำเพาะในรายละเอียด
  • 1:30 - 1:34
    แต่สิ่งที่น่าทึ่งจะเกิดขึ้น
    ถ้ามีปลาในฝูงมากพอ
  • 1:34 - 1:40
    การเคลื่อนไหวของปลาแต่ละตัว
    ถูกบดบังด้วยอัตลักษณ์ใหม่
  • 1:40 - 1:44
    ฝูงปลา ที่มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์
  • 1:44 - 1:47
    ฝูงไม่ได้ถูกควบคุมโดยปลาตัวใดตัวหนึ่ง
  • 1:47 - 1:54
    มันจะปรากฏขึ้นถ้าคุณมีปลาจำนวนมากพอ
    ที่ทำตามกฎจำเพาะอย่างถูกต้อง
  • 1:54 - 1:57
    มันเหมือนกับความบังเอิญ
    ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 1:57 - 2:02
    ที่ทำให้ปลาทั้งมหาสมุทรสามารถหลบหลีก
    การล่าได้อย่างที่คาดเดาได้
  • 2:02 - 2:04
    และมันก็ไม่ใช่แค่ปลา
  • 2:04 - 2:09
    การปรากฏเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน
    ของระบบทีซับซ้อนของส่วนย่อยที่มีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 2:09 - 2:14
    ยกตัวอย่างเช่น การที่เม็ดทรายเป็นล้าน ๆ
  • 2:14 - 2:17
    ชนกันและทับกันและกัน
  • 2:17 - 2:22
    จะทำให้เกิดรูปแบบริ้วแบบเดิม ๆ ขึ้นเสมอ
  • 2:22 - 2:24
    และเมื่อความชื้นในบรรยากาศแข็งตัว
  • 2:24 - 2:27
    คุณสมบัติจำเพาะ
    ของการเกิดพันธะของโมเลกุลน้ำ
  • 2:27 - 2:34
    ก็จะทำให้เกิดโครงข่ายที่มีแนวรัศมี
    ที่เกิดเป็นเกล็ดหิมะที่สวยงาม
  • 2:34 - 2:36
    สิ่งที่ทำให้การปรากฏมีความซับซ้อน
  • 2:36 - 2:39
    คือคุณไม่สามารถเข้าใจมัน
    ด้วยการแยกส่วนเล็ก ๆ ออกจากกันได้
  • 2:39 - 2:42
    ในแบบที่คุณทำกับเครื่องยนต์
  • 2:42 - 2:46
    การแยกชิ้นส่วนออกจากกัน เป็นการทำความเข้าใจ
    ต่อระบบที่ซับซ้อนที่ดีในตอนแรก
  • 2:46 - 2:49
    แต่ถ้าคุณแยกฝูงปลาจนเหลือปลาตัวเดียว
  • 2:49 - 2:51
    มันสูญเสียคุณสมบัติในการหลบหลีกผู้ล่าไป
  • 2:51 - 2:54
    และไม่มีอะไรเหลือให้ศึกษา
  • 2:54 - 2:58
    และถ้าคุณแยกสมอง
    จนเหลือแค่เซลล์ประสาทเซลล์เดียว
  • 2:58 - 3:01
    คุณก็เหลือสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้
  • 3:01 - 3:04
    และไม่มีอะไรที่เหมือนกับการที่เราคิด
    และพฤติกรรมของเรา
  • 3:04 - 3:06
    อย่างน้อยก็เป็นส่วนใหญ่
  • 3:06 - 3:09
    ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
    ไม่ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่ตอนนี้
  • 3:09 - 3:13
    มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาทเพียงเซลล์เดียว
    ที่อยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งของสมอง
  • 3:13 - 3:17
    แต่ว่า ความคิดปรากฏขึ้นจาก
    การรวมกันของกิจกรรมต่าง ๆ
  • 3:17 - 3:22
    ของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์
  • 3:22 - 3:25
    มันมีเซลล์ประสาทเป็นพันล้าน
    ในสมองของมนุษย์
  • 3:25 - 3:29
    และการเชื่อมต่อเป็นล้านล้าน
    ระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านี้
  • 3:29 - 3:32
    เมื่อคุณเปิดระบบที่ซับซ้อนดังกล่าว
  • 3:32 - 3:36
    มันสามารถแสดงพฤติกรรม
    ได้หลากหลายแบบ แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น
  • 3:36 - 3:41
    เซลล์ประสาทในสมองของเรา
    ทำตามกฎง่าย ๆ เช่นเดียวกับปลา
  • 3:41 - 3:46
    เมื่ออยู่กันเป็นกลุ่ม กิจกรรมของพวกมัน
    ถูกจัดวางเป็นรูปแบบที่คาดเดาได้
  • 3:46 - 3:49
    ที่ทำให้คุณทำสิ่งต่าง ๆ
    เช่นการจดจำหน้าตา
  • 3:49 - 3:53
    ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ทำเป็นประจำ
    เป็นผลสำเร็จ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 3:53 - 3:58
    และเก็บพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
    ที่คนชอบเกี่ยวกับตัวคุณ
  • 3:58 - 4:02
    แล้วอะไรที่เป็นกฎเมื่อพูดถึงสมอง
  • 4:02 - 4:05
    หน้าที่พื้นฐานของแต่ละเซลล์ประสาท
    ในสมอง
  • 4:05 - 4:09
    มีอยู่หรือฝังอยู่ในเส้นประสาทอื่น
  • 4:09 - 4:12
    ถ้าคุณเชื่อมต่อเส้นประสาทเข้าด้วยกัน
    เป็นวงจรง่าย ๆ
  • 4:12 - 4:15
    คุณสามารถสร้างรูปแบบจังหวะ
    ของกิจกรรม
  • 4:15 - 4:18
    วงวนกลับไปกลับมาที่เร่งหรือปิดสัญญาณ
  • 4:18 - 4:20
    ด้วยตัวรับร่วม
  • 4:20 - 4:23
    และตัวยับยั้ง
  • 4:23 - 4:27
    ที่ซึ่งเส้นประสาทการยับยั้งทั้งสอง
    สามารถกระตุ้นเส้นประสาทอีกเส้นหนึ่ง
  • 4:27 - 4:29
    โดยการหยุดการยับยั้งออก
  • 4:29 - 4:32
    เมื่อเส้นประสาทเข้ามาเชื่อมต่อมากขึ้น
  • 4:32 - 4:36
    รูปแบบที่ซับซ้อนของกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น
    ก็ปรากฏขึ้นจากเครือข่าย
  • 4:36 - 4:42
    ไม่นาน เส้นประสาทมากมายก็มีปฏิสัมพันธ์
    ในแบบต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน
  • 4:42 - 4:44
    ที่ทำให้ระบบกลายเป็นความโกลาหล
  • 4:44 - 4:48
    เส้นวิถีของกิจกรรมของเครือข่าย
    ไม่สามารถถูกอธิบายได้โดยง่าย
  • 4:48 - 4:52
    โดยวงจรจำเพาะง่าย ๆ
    ที่เราใช้อธิบายกันก่อนหน้านี้
  • 4:52 - 4:55
    และกระนั้น สำหรับความโกลาหนนี้
    รูปแบบสามารถเกิดขึ้นได้
  • 4:55 - 4:59
    และปรากฏขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
    ในแบบเดิม ๆ
  • 4:59 - 5:02
    ณ จุดหนึ่ง การปรากฏของรูปแบบ
    ของกิจกรรมเหล่านี้
  • 5:02 - 5:04
    มีความซับซ้อนอย่างมาก
  • 5:04 - 5:09
    และเป็นที่น่าสนใจต่อการศึกษา
    ที่มาที่ไปของจุดเริ่มต้นทางชีวภาพของเรา
  • 5:09 - 5:11
    ส่วนการปรากฏนั้นก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
  • 5:11 - 5:15
    และสิ่งที่เราพบในปรากฏการณ์
    การปรากฏในระดับต่าง ๆ
  • 5:15 - 5:19
    เป็นลักษณะที่น่าทึ่งเดียวกัน
    กับการแสดงของฝูงปลา
  • 5:19 - 5:24
    การปรากฏนั้นไม่ต้องการใคร
    หรืออะไรมาบังคับกำกับ
  • 5:24 - 5:26
    ถ้ามีการใช้กฎที่ถูกต้อง
  • 5:26 - 5:28
    และปัจจัยพื้นฐานบางอย่างมีพร้อม
  • 5:28 - 5:33
    ระบบที่ซับซ้อนจะมีพฤติกรรมเดิม
    ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 5:33 - 5:37
    เปลี่ยนความยุ่งเหยิงให้กลายเป็นระเบียบ
  • 5:37 - 5:40
    มันเป็นความจริงในความโกลาหล
    ของโมเลกุลที่ทำให้เซลล์ของคุณทำงานได้
  • 5:40 - 5:43
    ความซับซ้อนยุ่งเหยิงของเส้นประสาท
    ที่ทำให้เกิดความคิดและตัวตนของคุณ
  • 5:43 - 5:46
    เครือข่ายของเพื่อนและครอบครัวของคุณ
  • 5:46 - 5:51
    เรื่อยไปจนถึงโครงสร้างและเศรษฐกิจ
    ของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก
Title:
ฝูงปลาว่ายน้ำไปพร้อม ๆ กันได้อย่างไร - นาธาน เอส. จาคอปส์ (Nathan S. Jacobs)
Speaker:
Nathan S. Jacobs
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-schools-of-fish-swim-in-harmony-nathan-s-jacobs

ฝูงปลาว่ายน้ำไปพร้อม ๆ กันได้อย่างไร เซลล์เล็ก ๆ ในสมองของคุณทำให้เกิดความคิดที่ซับซ้อน ความทรงจำ และสติสัมปชัญญะว่าคุณเป็นคุณได้อย่างไร แปลกดีที่คำถามเหล่านี้มีคำตอบเดียวกัน นาธาน เอส. จาคอปส์ อธิบายแนวคิดของการปรากฏการณ์การเกิดพฤติกรรมที่ซับซ้อนในทันที และการทำงานของกลุ่มของส่วนเล็ก ๆ ที่เรียบง่าย

บทเรียนโดย Nathan S. Jacobs, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
06:07

Thai subtitles

Revisions