Return to Video

หรือฟาร์มแนวตั้งในร่มคืออนาคตใหม่ของเกษตรกรรม

  • 0:01 - 0:03
    ถ้าตัวคุณอยู่บนโลกใบนี้
  • 0:03 - 0:07
    อีกทั้งเป็นหนึ่งในประชากรโลก 7 พันล้านคน
    ที่ต้องบริโภคอาหารในทุกๆวัน
  • 0:07 - 0:08
    ผมขอให้คุณตั้งใจฟังตรงส่วนนี้
  • 0:08 - 0:10
    เพราะว่าอีก 30 ปีหลังจากนี้
  • 0:10 - 0:12
    เราอาจจะต้องกล่าวถึง
  • 0:12 - 0:16
    หนึ่งในวิกฤตการณ์ท้าทายที่สุดในรุ่นของเรา
  • 0:16 - 0:18
    และผมก็ไม่ได้พูดเรื่อง
    การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
  • 0:18 - 0:20
    ทว่าผมกำลังพูดถึงเรื่องอาหารและเกษตรกรรม
  • 0:22 - 0:27
    ปี 2050 นั้น
    ประชากรโลกคาดว่าจะมีถึง 9.8 พันล้านคน
  • 0:27 - 0:31
    ซึ่ง 68 เปอร์เซ็นต์ของพวกเรา
    อาศัยอยู่ในเมือง
  • 0:31 - 0:34
    เพื่อจะหล่อเลี้ยงประชากรที่มากมายมหาศาล
  • 0:34 - 0:36
    เราจำต้องเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร
  • 0:36 - 0:38
    ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของระดับปัจจุบัน
  • 0:39 - 0:41
    ลองใส่ตัวเลขแสดงภาพรวม
  • 0:41 - 0:45
    เราอาจจำเป็นต้องผลิตอาหาร
    ให้เพิ่มขึ้นอีกใน 35 ถึง 40 ปี
  • 0:45 - 0:48
    มากกว่า 10,000 ปีที่ผ่านมารวมกัน
  • 0:48 - 0:52
    พูดง่ายๆคือ
    ไม่ใช่แค่ประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
  • 0:52 - 0:54
    แต่ยังแออัดกันมากขึ้นอีกด้วย
  • 0:54 - 0:57
    เราต้องผลิตอาหารให้มากขึ้นเป็นพิเศษ
  • 0:57 - 1:00
    แต่ใช้พื้นที่และทรัพยากรให้น้อยลงด้วย
  • 1:01 - 1:07
    ความพยายามของเราในการแก้ปัญหา
    เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร
  • 1:07 - 1:10
    เป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ
    ต่ออุตสาหกรรมการเกษตร ณ วันนี้
  • 1:11 - 1:15
    ทั่วโลก
    หนึ่งในสามของอาหารที่เราผลิตถูกเททิ้ง
  • 1:15 - 1:18
    ปล่อยให้อาหาร 1.6 พันล้านตัน
  • 1:18 - 1:21
    ถูกทิ้งให้เน่าบูดระหว่างส่งไปจำหน่ายในตลาด
  • 1:21 - 1:23
    หมดอายุในตู้เย็น
  • 1:23 - 1:26
    หรือถูกโยนทิ้ง
    โดยห้างสรรพสินค้าและร้านอาหาร
  • 1:26 - 1:28
    เมื่อหมดวัน
  • 1:28 - 1:31
    ทุกๆปี
    ประชากรมากถึง 600 ล้านคน
  • 1:31 - 1:33
    ป่วยจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน
  • 1:33 - 1:37
    ที่สำคัญคือความท้าทาย
    ที่มีต่อการรักษาความปลอดภัยทางอาหาร
  • 1:37 - 1:39
    อีกทั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ
  • 1:39 - 1:41
    อุตสาหกรรมการเกษตร
  • 1:41 - 1:44
    คือกลุ่มที่ใช้น้ำจืดรายใหญ่ที่สุด
  • 1:44 - 1:47
    นับเป็น 70 เปอร์เซ็นต์
    ของการบริโภคน้ำทั่วโลก
  • 1:48 - 1:50
    ตอนนี้เราจะทำให้คุณหายกังวลใจที่ได้รู้ว่า
  • 1:50 - 1:52
    กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร
  • 1:52 - 1:58
    อีกทั้งการเคลื่อนไหวระดับโลก
    จากสถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน และ NGOs
  • 1:58 - 2:00
    ได้ร่วมมือกันในการศึกษาวิจัย
  • 2:00 - 2:02
    และคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • 2:02 - 2:03
    เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
  • 2:04 - 2:07
    หลายสถาบันได้ทำมาแล้วเป็นเวลานานหลายสิบปี
  • 2:07 - 2:10
    หนึ่งในนวัตกรรมล่าสุดของระบบการผลิตอาหาร
  • 2:10 - 2:14
    ได้ออกใช้งานที่นิคมอุตสาหกรรม
    ในอเมริกาตอนเหนือ
  • 2:14 - 2:16
    ที่ศูนย์กลางเมืองใหญ่หลายเมืองของเอเชีย
  • 2:16 - 2:18
    แม้แต่ทะเลทรายที่แห้งแล้งในตะวันออกกลาง
  • 2:18 - 2:20
    คือการปลูกภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อม
  • 2:21 - 2:25
    การปลูกภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมนี้
    อันที่จริงอาจกล่าวอีกอย่างว่า
  • 2:25 - 2:27
    ระบบการเกษตรแบบสภาพแวดล้อมปิด
  • 2:27 - 2:31
    ฟาร์มทั้งหมดถูกปลูกแบบสามมิติ
    ในชั้นวางแนวตั้ง
  • 2:31 - 2:34
    ตรงข้ามกับแบบสองมิติ
    ในฟาร์มแบบดั้งเดิม
  • 2:34 - 2:37
    ระบบการผลิตอาหารประเภทนี้เรียกได้อีกแบบว่า
  • 2:37 - 2:39
    ฟาร์มแนวตั้งในร่ม
  • 2:40 - 2:43
    ผมเคยมีส่วนร่วม
    กับชุมชนฟาร์มเกษตรแนวตั้งในร่มนี้
  • 2:43 - 2:45
    มากว่า 5 ปีครึ่ง
  • 2:45 - 2:47
    การพัฒนาเทคโนโลยี
    เพื่อสร้างระบบการผลิตอาหารแบบนี้
  • 2:47 - 2:49
    ได้ประสิทธิภาพมากกว่าและราคาไม่สูงเกินไป
  • 2:50 - 2:53
    ภาพนี้ได้ถูกถ่ายไว้
    จากด้านนอกของคอนเทนเนอร์เก่า
  • 2:53 - 2:56
    ที่เราปรับทำเป็นฟาร์มในร่ม
  • 2:56 - 2:59
    จากนั้นนำไปวางที่ใจกลางเมือง
    ท่ามกลางความร้อนของดูไบ
  • 3:00 - 3:04
    ฟาร์มแนวตั้งในร่ม
    เป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่
  • 3:04 - 3:05
    ถ้าพูดในเชิงพาณิชย์
  • 3:05 - 3:08
    เหตุผลนั่นคือผู้บริโภค
    ใส่ใจในความปลอดภัยทางอาหาร
  • 3:08 - 3:10
    และแหล่งที่มาของมัน
  • 3:10 - 3:14
    อีกทั้งเทคโนโลยีที่จำเป็น
    เพื่อสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นจริง
  • 3:14 - 3:17
    สามารถพร้อมใช้งานและราคาไม่แพง
  • 3:17 - 3:21
    และต้นทุนโดยรวมของการผลิตอาหารทั่วโลก
    กำลังพุ่งสูงขึ้น
  • 3:21 - 3:24
    ทำให้การผลิตอาหารแบบนี้มี
    การแข่งขันสูงขึ้น
  • 3:24 - 3:27
    ถ้าคุณต้องการสร้างฟาร์มแนวตั้งในร่ม
  • 3:27 - 3:31
    คุณอาจต้องเปลี่ยน
    ปัจจัยการทำเกษตรแบบดั้งเดิม
  • 3:31 - 3:32
    แทนที่ด้วยสสารสังเคราะห์
  • 3:32 - 3:34
    เริ่มจากแสงแดด
  • 3:35 - 3:37
    ที่ฟาร์มแนวตั้งในร่ม
  • 3:37 - 3:40
    แสงแดดธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยหลอดไฟ LEDs
  • 3:40 - 3:44
    ขณะที่การใช้งาน LEDs มีหลากหลาย
    ให้เลือกใช้
  • 3:44 - 3:46
    สิ่งที่เราเลือกเอามาติดตั้ง
  • 3:46 - 3:48
    เรียกว่า LEDs สเปกตรัมสูง
  • 3:48 - 3:51
    ซึ่งปรับให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
    ที่เรากำลังปลูก
  • 3:52 - 3:55
    เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ
    การผลิตสูงสุดต่อพื้นที่ที่มี
  • 3:55 - 3:59
    ฟาร์มแนวตั้งในร่ม
    จึงนำระบบชั้นวางมาติดตั้ง
  • 3:59 - 4:01
    เพื่อปลูกพืชในแนวตั้ง
  • 4:01 - 4:03
    ส่วนหนึ่งของชุดแปลงปลูกที่ใหญ่ที่สุด
  • 4:03 - 4:06
    นำมาวางซ้อนกันได้ถึง 14 - 16 ชั้น
  • 4:08 - 4:11
    ฟาร์มแบบนี้ส่วนใหญ่เป็น
    การปลูกพีชระบบรากน้ำและรากอากาศ
  • 4:11 - 4:13
    หมายความว่าแทนที่เราจะใช้ดิน
  • 4:13 - 4:16
    เราใช้วัสดุทดแทน เช่น โฟมพอลิยูรีเทน
  • 4:16 - 4:18
    ดินขุ่ยต้นมอสที่ย่อยสลายง่าย
  • 4:18 - 4:22
    กระทั่งวัสดุอนินทรีย์อย่าง
    หินภูเขาไฟ และเม็ดดินเผา
  • 4:23 - 4:25
    รูปแบบที่โด่ดเด่นอีกอย่างของฟาร์มแบบนี้
  • 4:25 - 4:28
    นั่นคือการใส่
    สารอาหารที่มีคุณค่าให้กับพืช
  • 4:28 - 4:31
    ซึ่งหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้อีก
    ทั้งระบบ
  • 4:31 - 4:34
    สารอาหารนี้จะถูกปั๊มให้บริเวณรากพืชโดยตรง
  • 4:34 - 4:35
    เพื่อกระตุ้นให้พีชเจริญเติบโต
  • 4:36 - 4:38
    สุดท้าย ฟาร์มเหล่านี้ยัง
  • 4:38 - 4:41
    คอยเฝ้าสังเกตการณ์และควบคุมอัตโนมัติ
    ที่เป็นระบบ
  • 4:41 - 4:43
    เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น
  • 4:43 - 4:45
    อย่างประสิทธิภาพและมีความแน่นอน
  • 4:45 - 4:48
    อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่า
  • 4:48 - 4:51
    ให้กับการผลิตนั่นคือ
    สามารถตรวจสอบติดตามและมีความปลอดภัยสูง
  • 4:53 - 4:56
    ประโยชน์บางประการที่เห็นได้ชัด
    ของการเพาะปลูกแบบนี้
  • 4:56 - 4:59
    คือคุณจะมีผลผลิตตลอดทั้งปี
  • 4:59 - 5:03
    คุณได้คุณภาพที่แน่นอน
    และยังคาดการณ์ปริมาณผลผลิตได้
  • 5:03 - 5:05
    คุณสมบัติหลักๆบางประการ
  • 5:05 - 5:08
    ยังรวมถึงการใช้ทรัพยากร
    ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 5:08 - 5:10
    โดยเฉพาะน้ำ
  • 5:11 - 5:13
    ผักหนึ่งกิโลกรัมที่โตด้วยวิธีนี้
  • 5:13 - 5:18
    ประหยัดน้ำไปได้กว่าหนึ่งร้อยลิตร
    เทียบกับวิถีเกษตรแบบเดิม
  • 5:18 - 5:19
    ด้วยการประหยัดน้ำแบบนี้
  • 5:19 - 5:22
    มีผลต่อการลดปริมาณการใช้ปุ๋ยด้วย
  • 5:22 - 5:24
    หนึ่งในฟาร์มที่ได้กำไรสูงสุด
  • 5:24 - 5:29
    ปลูกได้มากกว่า 350 ครั้งต่อตารางเมตร
    มากกว่าฟาร์มแบบเดิม
  • 5:31 - 5:32
    ด้วยสภาพอากาศแบบปิด
  • 5:32 - 5:36
    เราสามารถควบคุมปัจจัยปนเปื้อน
    และศัตรูพืชได้ทั้งหมด
  • 5:36 - 5:39
    ไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  • 5:40 - 5:42
    และถ้าผมคำนวณไม่ผิด
  • 5:42 - 5:45
    ฟาร์มแบบนี้สามารถผลิตอาหารได้จำนวนมหาศาล
  • 5:45 - 5:47
    ด้วยชุดแปลงปลูกผักที่ใหญ่ที่สุด
  • 5:47 - 5:50
    สามารถผลิตผักได้ถึง 30,000 หัว ต่อวัน
  • 5:50 - 5:53
    ทว่าก็เหมือนกับ
    เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆทั่วไป
  • 5:53 - 5:55
    มันยังมีข้อบกพร่อง
  • 5:55 - 5:56
    อย่างที่คุณเห็น
  • 5:56 - 5:59
    การปลูกพืชแบบนี้
    ต้องใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ
  • 5:59 - 6:03
    อีกทั้งฟาร์มเหล่านี้ยังปลูกพืชเชิงพาณิชย์
    ได้เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
  • 6:03 - 6:07
    ค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ยังสูงเกินไป
  • 6:07 - 6:09
    เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ให้หมดไป
  • 6:09 - 6:12
    ฟาร์มแนวตั้งในร่มแห่งใหญ่หลายๆที่
  • 6:12 - 6:16
    กำลังเดินหน้าลงทุน
    เริ่มจากลงทุนกับพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
  • 6:17 - 6:20
    เพื่อลดการใช้พลังงานที่มากเกินไป
  • 6:20 - 6:24
    จึงพยายามพัฒนา
    ไฟ LEDs ที่มีประสิทธิภาพสูง
  • 6:24 - 6:26
    พัฒนาระบบเลเซอร์
    เพื่อปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของพืช
  • 6:26 - 6:30
    แม้แต่การใช้
    เคเบิลใยแก้วนำแสงแบบที่เห็นนี้
  • 6:30 - 6:33
    เพื่อส่งแสงแดดพุ่งตรงเข้าสู่ฟาร์ม
  • 6:33 - 6:36
    ในตอนกลางวันเพื่อลดความต้องการ
    ใช้แสงไฟสังเคราะห์
  • 6:37 - 6:42
    อีกทั้งยังต้องลดค่าแรงงาน
    ด้วยการจ้างคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • 6:42 - 6:45
    มีความรู้ และเป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือสูง
  • 6:45 - 6:49
    หุ่นยนต์อัตโนมัติ
    จะถูกใช้ทำงานทั่วทั้งแปลงขนาดใหญ่
  • 6:51 - 6:54
    คุณจะไม่มีวัน
    ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า
  • 6:54 - 6:58
    การสร้างฟาร์มเกษตรแนวตั้งในร่ม
    ไว้รอบๆใจกลางเมือง
  • 6:58 - 7:01
    ช่วยลดห่วงโซ่อุปทานการเกษตรได้
  • 7:01 - 7:04
    ช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนการในผัก
  • 7:04 - 7:08
    ยังมีพื้นที่ห่างไกลแหล่งอาหารในหลายประเทศ
  • 7:08 - 7:12
    มีโอกาสน้อยหรือไม่มีเลย
    ที่จะเข้าถึงผักที่มีสารอาหาร
  • 7:12 - 7:14
    เมื่ออุตสาหกรรมนี้ถึงจุดอิ่มตัว
  • 7:14 - 7:17
    อาจเป็นไปได้ที่เราจะมีโอกาสเข้าถึง
    แหล่งอาหารอย่างเท่าเทียม
  • 7:18 - 7:20
    ได้กินผักคุณภาพสูง
    ที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน
  • 7:20 - 7:23
    แม้แต่
    ผู้ยากไร้ที่แทบจะไม่มีสิทธิในสังคม
  • 7:24 - 7:28
    สุดท้ายแล้ว
    ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ผมตื่นเต้นที่สุด
  • 7:28 - 7:31
    ฟาร์มสามารถรวมเป็นหนึ่ง
    ได้อย่างไม่เห็นความแตกต่าง
  • 7:31 - 7:33
    กับสถาปัตยกรรมของเมือง
  • 7:33 - 7:39
    ช่วยเปลี่ยนทัศนะคติของคนว่างงาน
    และใช้ประโยชน์จากอาคารที่ไม่ได้ถูกใช้งาน
  • 7:39 - 7:41
    ที่จริง ทุกวันนี้มันได้เกิดขึ้นแล้ว
  • 7:42 - 7:47
    บริการแชร์รถโดยสาร ทำให้จำนวนรถบนถนน
    หลายร้อยหลายพันคันหายไป
  • 7:47 - 7:50
    อีกทั้งยังลดความต้องการที่จอดรถลง
  • 7:51 - 7:53
    นี่คือฟาร์มที่เราติดตั้งใจกลางเมืองปักกิ่ง
  • 7:53 - 7:56
    ในลานจอดรถใต้ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  • 7:56 - 7:59
    เพื่อปลูกผักให้กับโรงแรมใกล้เคียง
  • 7:59 - 8:01
    อาคารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  • 8:01 - 8:05
    ไม่ได้ถูกจำกัดว่าจะต้องเป็น
    โครงการก่อสร้างใหญ่โตอะไรเลย
  • 8:05 - 8:08
    พวกคุณสามารถใช้พื้นที่ส่วนเล็กๆได้
    อย่างเช่น มุมว่างๆในร้านอาหาร
  • 8:09 - 8:11
    นี่คือตัวอย่าง
    ของฟาร์มที่เราได้ติดตั้ง
  • 8:11 - 8:15
    กับผนังกั้นของทางเข้าโรงแรม
  • 8:15 - 8:18
    เพื่อปลูกสมุนไพร
    และต้นอ่อนไว้สำหรับเชฟ
  • 8:20 - 8:21
    พุดตามตรง ถ้าคุณมองไปรอบๆ
  • 8:21 - 8:24
    คุณจะเห็นพื้นที่ว่างเปล่าทุกหนทุกแห่ง
  • 8:24 - 8:28
    ใต้ดิน รอบตัว หรือ
    ภายในโครงการของเมือง
  • 8:29 - 8:31
    นี่คือฟาร์มที่เราติดตั้งอีกแห่ง
    ในมุมหนึ่งของสำนักงาน
  • 8:31 - 8:35
    เพื่อปลูกผักสดๆ
    ให้พนักงานร้านกาแฟที่อยู่ใกล้ๆ
  • 8:36 - 8:39
    ผมเป็นส่วนหนึ่ง
    ของโครงการสุดเจ๋งเหล่านี้
  • 8:39 - 8:41
    ทั้งยังทำงานในอุตสาหกรรมการเกษตร
  • 8:41 - 8:44
    เพื่อยกระดับการเข้าถึงและเอื้อมถึง
  • 8:44 - 8:46
    ความสดใหม่และคุณค่าทางโภชนาการ
  • 8:46 - 8:49
    หวังว่าเร็วๆนี้
    ไม่ว่าใคร หรือที่ไหนก็ตามแต่
  • 8:49 - 8:52
    จะได้รับความสุขที่ยิ่งใหญ่นี้
    อีกทั้งมันคือความภาคภูมิใจ
  • 8:52 - 8:55
    และท้าทายความสามารถมากที่สุด
    เท่าที่ผมเคยทำมา
  • 8:56 - 9:00
    เวลานี้ผมอยากจะบอกคุณว่า
    การเกษตรเป็นอะไรที่เซ็กซี่มากเลย
  • 9:00 - 9:02
    คุณอาจจะตกใจที่ได้รู้
  • 9:02 - 9:05
    ว่าผมกำลังมีปัญหา
  • 9:05 - 9:10
    พูดให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าทำไม
    ผมตัดสินใจทำงานแล้วยังคงทำต่อ
  • 9:10 - 9:12
    ในงานอุตสาหกรรมการเกษตร
  • 9:12 - 9:15
    หลายปีก่อน
    ผมพบคำตอบที่ค่อนข้างพิเศษ
  • 9:15 - 9:17
    เหมือนเส้นผมบังภูเขา
  • 9:17 - 9:19
    เรื่องมีอยู่ว่า ผมไปอ่านบทความ
  • 9:19 - 9:21
    เรื่องความหมายของชื่อ
  • 9:21 - 9:23
    โดยเฉพาะนามสกุล
  • 9:23 - 9:25
    มีผลจริงจัง
  • 9:25 - 9:28
    ต่อทุกอย่างทั้งเรื่องส่วนตัว
    ไปจนถึงเรื่องอาชีพการงานของคุณ
  • 9:29 - 9:31
    นี่คือนามสกุลของผม
  • 9:31 - 9:33
    โอดะ
  • 9:33 - 9:37
    ถ้าแปลตามตัวอักษร
  • 9:37 - 9:38
    มีความหมายว่า ฟาร์มเล็กๆ
  • 9:38 - 9:39
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:39 - 9:40
    ขอบคุณครับ
  • 9:41 - 9:43
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หรือฟาร์มแนวตั้งในร่มคืออนาคตใหม่ของเกษตรกรรม
Speaker:
สจ๊วต โอดะ
Description:

ปี 2050 ประชากรโลกถูกคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มสูงถึง 9.8 พันล้านคน แล้วเราจะเลี้ยงดูทุกคนในโลกนี้ได้อย่างไร นักลงทุน นายธนาคาร ซึ่งผันตัวเป็นนักการเกษตร สจ๊วต โอดะ ผู้ชี้ให้เราเห็นถึงการทำเกษตรแนวตั้งในร่ม การเพาะปลูกบนชั้นวางภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมแบบปิดทั้งหมด สิ่งที่เรากำลังจะได้รับชมนี้ สจ๊วตอธิบายว่าวิธีการใหม่นี้ช่วยรักษามาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ช่วยประหยัดต้นทุน ลดการใช้น้ำ ทั้งยังเตรียมการณ์เผื่อคนรุ่นต่อไปได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:57

Thai subtitles

Revisions