Return to Video

เรื่องง่าย ๆ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงและอาหาร - อแมนดา โอโอเทน (Amanda Ooten)

  • 0:14 - 0:15
    เคยสงสัยไหมว่าอาหารส่วนใหญ่
  • 0:15 - 0:18
    ที่เรารับประทานเข้าไปทุกวันมาจากไหน
  • 0:18 - 0:20
    ประมาณ 60% ของอาหารที่เราบริโภค
  • 0:20 - 0:22
    คือคาร์โบไฮเดรต
  • 0:22 - 0:24
    คุณอาจเดาได้จากชื่อของมัน
  • 0:24 - 0:25
    คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยคาร์บอน
  • 0:25 - 0:26
    ไฮโดรเจน
  • 0:26 - 0:27
    และออกซิเจน
  • 0:27 - 0:29
    แต่อะตอมเหล่านี้มาจากไหน
  • 0:29 - 0:31
    และพวกมันเชื่อมต่อกันได้อย่างไร
  • 0:31 - 0:34
    เพื่อเกิดขึ้นเป็นอาหารที่แสนอร่อย
    อย่างผลไม้และพาสต้า
  • 0:34 - 0:36
    อันที่จริงทุกอย่างเริ่มจากอากาศ
  • 0:36 - 0:38
    ที่คุณหายใจเข้าไป ณ ขณะนี้
  • 0:38 - 0:41
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์
  • 0:41 - 0:43
    พืชกำลังหายใจ
  • 0:43 - 0:44
    เอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เดียวกันนี้
  • 0:44 - 0:47
    ผ่านรูที่ผิวหนังของพวกมัน
    ซึ่งเรียกว่าปากใบ (stomata) เข้าไป
  • 0:47 - 0:49
    พืชดืมน้ำจากทางรากของพวกมัน
  • 0:49 - 0:52
    เพื่อที่จะได้อะตอมออกซิเจนและไฮโดรเจน
  • 0:52 - 0:53
    และอิเล็กตรอนจากพวกมัน
  • 0:53 - 0:55
    เพื่อที่จะใช้สร้างเป็นคาร์โบไฮเดรต
  • 0:55 - 0:57
    สิ่งนั้นคืออะไรหรือ
  • 0:57 - 0:59
    อ้อ มันก็คือออกาเนลพิเศษของพืช
  • 0:59 - 1:00
    ที่อยู่ภายในใบ
  • 1:00 - 1:02
    ที่เรียกว่า คลอโรพลาส
  • 1:02 - 1:04
    มันมีสีเขียว เพราะว่ามีเม็ดสีพิเศษที่ดูดกลืนแสง
  • 1:04 - 1:06
    ที่เรียกว่า คลอโรฟิล
  • 1:06 - 1:09
    ใบไม้แต่ละใบมีเซลล์ประมาณ 44,000 เซลล์
  • 1:09 - 1:11
    และทุก ๆ เซลล์
  • 1:11 - 1:14
    ก็มีประมาณ 20 ถึง 100 คลอโรพลาส
  • 1:14 - 1:18
    นั่นหมายถึงมันมีมากถึง 4,400,000 คลอโรพลาส
  • 1:18 - 1:19
    ตอนนี้ คุณคงเดาได้ว่า
  • 1:19 - 1:22
    เรากำลังพูดถึงกระบวนการที่เรียกว่า
    การสังเคราะห์แสง
  • 1:22 - 1:23
    และคุณอาจสงสัยว่า
  • 1:23 - 1:26
    เมื่อไรดวงอาทิตย์จะเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • 1:26 - 1:28
    กลับไปที่โมเลกุลน้ำกันก่อน
  • 1:28 - 1:31
    พืชต้องแยกโมเลกุลน้ำ
  • 1:31 - 1:33
    เพื่อที่มันจะได้อิเล็กตรอนจากโมเลกุลนั้น
  • 1:33 - 1:36
    แต่พืชไม่สามารถดึงแยกน้ำออกจากกันได้
    ด้วยตัวของมันเอง
  • 1:36 - 1:39
    มันต้องการความช่วยเหลือจากรังสีของดวงอาทิตย์
    ที่มีพลังงานมาก
  • 1:39 - 1:42
    ฉะนั้น ตอนนี้
    คลอโรพลาสมีส่วนประกอบหลักทั้งหมด
  • 1:42 - 1:45
    คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน อิเล็กตรอน
  • 1:45 - 1:46
    มันสามารถใช้สิ่งเหล่านี้
  • 1:46 - 1:48
    ในขั้นตอนทั้งหมดของกระบวนการสังเคราะห์แสง
  • 1:48 - 1:51
    เพื่อที่จะเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • 1:51 - 1:54
    เป็นคาร์โบไฮเดรตง่าย ๆ ที่เรียกว่า กลูโคส
  • 1:54 - 1:57
    C-6-H-12-O-6
  • 1:57 - 1:59
    โมเลกุลกลูโคสเล็ก ๆ นั้น จะถูกนำไปช่วยสร้าง
  • 1:59 - 2:01
    เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ใหญ่ขึ้นและดีขึ้น
  • 2:01 - 2:03
    เช่น เซลลูโลส
  • 2:03 - 2:05
    เซลลูโลสคือคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง
    ที่เราพบได้ในพืช
  • 2:05 - 2:07
    ที่ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยสลายได้
  • 2:07 - 2:09
    เราเรียกมันว่า ใยอาหาร
  • 2:09 - 2:10
    และเราพบมันได้ในผักอย่างผักกาด
  • 2:10 - 2:11
    บร๊อคโคลี
  • 2:11 - 2:12
    และคื่นช่าย
  • 2:12 - 2:15
    พืชใช้เซลลูโลสเพื่อทำให้พวกมันแข็งแรง
  • 2:15 - 2:18
    พืชอาจยังสามารถเปลี่ยนกลูโคสเป็นแป้ง
  • 2:18 - 2:20
    ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่
    ที่ใช้สำหรับเก็บพลังงานสำหรับพืช
  • 2:20 - 2:22
    เราชอบรับประทานแป้งจากพืช อย่างมันฝรั่ง
  • 2:22 - 2:23
    ข้าวโพด
  • 2:23 - 2:24
    และข้าว
  • 2:24 - 2:26
    เห็นไหมว่า เมื่อคุณรับประทานพืช
  • 2:26 - 2:29
    เรายังได้รับประโยชน์จากการสังเคราะห์แสง
  • 2:29 - 2:31
    พืชสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างแป้ง
  • 2:31 - 2:31
    ซึ่งเรารับประทาน
  • 2:31 - 2:34
    และจากนั้นย่อยสลายให้กลายเป็นกลูโคส
  • 2:34 - 2:36
    รูปแบบแรกที่พืชสร้างขึ้น
  • 2:36 - 2:38
    จากนั้น ไมโตคอนเดรียในเซลล์ของพวกเรา
  • 2:38 - 2:40
    ที่ได้รับพลังงานจากออกซิเจนที่เราหายใจ
  • 2:40 - 2:43
    สามารถเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็น
    โมเลกุลพลังงานบริสุทธิ์
  • 2:43 - 2:45
    ที่เรียกว่า เอทีพี (ATP)
  • 2:45 - 2:47
    เอทีพีให้พลังงานกับงานทุกอย่าง
  • 2:47 - 2:49
    ที่แต่ละเซลล์ทำ
  • 2:49 - 2:50
    อย่างเช่น การสื่อสาร
  • 2:50 - 2:51
    การเคลื่อนไหว
  • 2:51 - 2:53
    และการขนส่ง
  • 2:53 - 2:56
    แต่ทำไมเราต้องเปลี่ยนกลูโคสเป็นเอทีพีด้วย
  • 2:56 - 2:58
    ลองคิดในแง่นี้ดู
  • 2:58 - 3:00
    คุณตื่นเต้นดีใจที่จะได้เริ่มทำงานภาคฤดูร้อน
  • 3:00 - 3:02
    ที่แผงขายไอศกรีมในท้องถิ่น
  • 3:02 - 3:03
    แต่เจ้านายของคุณเพิ่งบอกกับคุณว่า
  • 3:03 - 3:07
    เขากำลังจ่ายเงินให้คุณเป็นไอศกรีมนะ
  • 3:07 - 3:09
    คุณจะทำอย่างไร
  • 3:09 - 3:11
    กับไอศกรีมพวกนี้ได้บ้าง
  • 3:11 - 3:12
    ทำอะไรไม่ได้เลย
  • 3:12 - 3:15
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม
    คุณถึงขอให้เขาจ่ายเป็นดอลลาร์
  • 3:15 - 3:17
    เอทีพีก็เหมือนกับดอลลาร์
  • 3:17 - 3:20
    มันเป็นหน่วยเงินที่ทุกเซลล์ในสิ่งมีชีวิตใช้
  • 3:20 - 3:22
    ในขณะที่กลูโคส
  • 3:22 - 3:24
    เป็นอะไรที่คล้าย ๆ กับไอศกรีม
  • 3:24 - 3:27
    แม้ว่าพืชจะมีไมโตรคอนเดรียในเซลล์ของพวกมัน
  • 3:27 - 3:30
    ในการย่อยสลายกลูโคส
    ที่พวกมันสร้างให้กลายเป็นเอทีพี
  • 3:30 - 3:32
    เห็นไหมล่ะว่า
  • 3:32 - 3:34
    มนุษย์และพืชมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง
  • 3:34 - 3:35
    อากาศที่พวกเราหายใจออก
  • 3:35 - 3:37
    ก็ถูกใช้โดยพืชเพื่อสร้างคาร์โบไฮเดรต
  • 3:37 - 3:39
    ที่เราชอบมาก ๆ
  • 3:39 - 3:41
    และ ในกระบวนการดังกล่าว
  • 3:41 - 3:43
    พวกมันก็ปล่อยโมเลกุลออกซิเจน
  • 3:43 - 3:44
    ที่เราต้องการใช้ในการหายใจ
  • 3:44 - 3:47
    เพื่อที่ไมโตคอนเดรียของเราจะสามารถย่อยสลาย
  • 3:47 - 3:49
    คาร์โบไฮเดรตแสนอร่อยในอาหารได้
Title:
เรื่องง่าย ๆ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงและอาหาร - อแมนดา โอโอเทน (Amanda Ooten)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-simple-but-fascinating-story-of-photosynthesis-and-food-amanda-ooten

การสังเคราะห์แสงเป็นส่วนสำคัญของการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์และพืช อแมนดา โอโอเทน พาเราไปชมกระบวนการสังเคราะห์แสง และยังอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์แสงและคาร์โบไฮเดรต แป้ง และใยอาหาร และความเกี่ยวข้องระหว่างอากาศที่เราหายใจและการย่อยอาหารของเรา

บทเรียนโดย Amanda Ooten, แอนิเมชัน Bouncepad Collective

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:01

Thai subtitles

Revisions