Return to Video

เรื่องที่เรารู้ (และไม่รู้) เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า

  • 0:01 - 0:02
    [เช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2020
  • 0:02 - 0:05
    มีผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 82,000 ราย
    ทั่วโลกที่ได้รับการยืนยันแล้ว
  • 0:05 - 0:07
    มีผู้เสียชีวิต 2,810 ราย
  • 0:07 - 0:11
    TED จึงได้เชิญ ดร.เดวิด เฮย์แมนน์
    มาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการระบาดครั้งนี้]
  • 0:11 - 0:14
    [ถ้าคุณติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
    จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?]
  • 0:14 - 0:16
    อาการจะเหมือนกับโรคไม่รุนแรงทั่วไป
    เช่น มีไข้
  • 0:16 - 0:18
    ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
  • 0:18 - 0:23
    แต่ก็มีผู้ติดเชื้อและมีอาการป่วยรุนแรง
  • 0:23 - 0:24
    หนึ่งในนั้นคือหมอและพยาบาล
  • 0:24 - 0:26
    พวกเขาจะติดเชื้อที่รุนแรง
  • 0:26 - 0:28
    เพราะพวกเขาได้รับเชื้อ
    ในปริมาณมากกว่าคนทั่วไป
  • 0:28 - 0:31
    แถมยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • 0:31 - 0:35
    จึงกล่าวได้ว่าในกลุ่มประชากรทั่วไป
  • 0:35 - 0:39
    หากติดเชื้อ คุณมีแนวโน้มที่จะได้รับเชื้อน้อยกว่า
  • 0:39 - 0:42
    ปริมาณเชื้อที่หมอและพยาบาลได้รับ
  • 0:42 - 0:45
    กลุ่มหมอและพยาบาลจึงติดเชื้อ
    ในขั้นรุนแรงกว่ามาก
  • 0:45 - 0:48
    ดังนั้นการติดเชื้อของคุณ
    จึงเบากว่ากลุ่มนี้แน่ ๆ
  • 0:48 - 0:51
    ทีนี้กลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มคนมีโรคประจำตัว
  • 0:51 - 0:53
    เป็นกลุ่มที่เราต้องมั่นใจว่า
  • 0:53 - 0:56
    พวกเขาจะได้รับการดูแลอย่างดีที่โรงพยาบาล
  • 0:56 - 1:00
    [คนกลุ่มไหนที่ต้องพึงระวังกับ
    ปัญหานี้มากที่สุด ?]
  • 1:00 - 1:03
    กลุ่มที่ต้องพึงระวังก็คือ
  • 1:03 - 1:06
    กลุ่มแรกคือประชากรในประเทศกำลังพัฒนา
  • 1:06 - 1:09
    และกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาล
  • 1:09 - 1:11
    และอาจไม่สามารถเข้าถึงโรงพยาบาลได้เลย
  • 1:11 - 1:14
    ถ้าเกิดการแพร่เชื้อขึ้นในประเทศนั้น
  • 1:14 - 1:16
    จะเกิดความเสี่ยงต่อ
    คนเหล่านั้นอย่างมาก
  • 1:16 - 1:18
    โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย
  • 1:18 - 1:20
    จริง ๆ ผู้สูงวัยในทุกกลุ่มประชากร
    นั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงหมด
  • 1:20 - 1:23
    โดยเฉพาะคนที่เขาไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ
  • 1:23 - 1:25
    ในประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรม
  • 1:25 - 1:27
    คนสูงวัยที่มีโรคประจำตัว
  • 1:27 - 1:30
    คนที่เป็นเบาหวานและโรคอื่นๆ
  • 1:30 - 1:31
    คนที่มีความเสี่ยง
  • 1:31 - 1:34
    มองในภาพรวม ประชากรทั่วไป
    จะยังไม่ค่อยมีความเสี่ยงนัก
  • 1:34 - 1:38
    [คนทีมีสภาพร่างกายยังไง
    ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ ?]
  • 1:38 - 1:39
    อย่างแรก
  • 1:39 - 1:43
    คนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับ
    ปอดจะได้รับผลกระทบตรง ๆ
  • 1:43 - 1:46
    และถ้ายิ่งเป็นผู้สูงวัยจะยิ่งเสี่ยง
  • 1:46 - 1:48
    โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 70 ปี
  • 1:48 - 1:51
    เพราะระบบภูมิคุ้มกันพวกเขาไม่แข็งแรง
  • 1:51 - 1:52
    เหมือนตอนวัยเยาว์
  • 1:52 - 1:55
    ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
  • 1:55 - 1:59
    ยกตัวอย่างกรณีหนึ่งในประเทศจีน
  • 1:59 - 2:02
    ที่มีการติดเชื้อร่วมระหว่างไข้หวัดใหญ่
  • 2:02 - 2:03
    และในขณะเดียวกัน
  • 2:03 - 2:06
    ติดเชื้อแบคทีเรียอีกตัว
  • 2:06 - 2:08
    จากอาการปอดบวม
  • 2:08 - 2:11
    [พวกเราจะหาข้อมูลข่าวสาร
    ที่อัพเดตล่าสุดได้จากไหน ?]
  • 2:11 - 2:13
    ศูนย์ควบคุมโรคในแอตแลนตาคอยเก็บข้อมูล
  • 2:13 - 2:17
    และปรับปรุงข่าวสารสม่ำเสมอบนเว็บไซต์
  • 2:17 - 2:20
    และองค์การอนามัยโลกในเจนีวา
  • 2:20 - 2:22
    ซึ่งคอยประสานงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
  • 2:22 - 2:23
    รอบโลก
  • 2:24 - 2:26
    มีการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ทุกวันเช่นกัน
  • 2:26 - 2:29
    แต่มันก็เป็นความรับผิดชอบที่พวกเรา
    ต้องติดตามข่าวสารเองด้วย
  • 2:29 - 2:31
    เพื่อที่เราจะได้เข้าใจ
  • 2:31 - 2:34
    และทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้
  • 2:34 - 2:36
    เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการแพร่เชื้อ
  • 2:36 - 2:39
    [คุณเป็นคนที่ทำให้โลกตื่นตัวกับ
    โรคระบาดซาร์ส ในปี 2003
  • 2:39 - 2:40
    ถ้าเทียบกับการระบาดครั้งนี้
    ต่างกันอย่างไร ?]
  • 2:40 - 2:43
    มีปัญหาเดียวกันเมื่อมีโรคระบาดใหม่ ๆ
  • 2:43 - 2:45
    นี่เป็นการติดเชื้อที่กระจายสู่มนุษย์
  • 2:45 - 2:48
    คนที่ไม่เคยประสบกับไวรัสนี้มาก่อน
  • 2:48 - 2:51
    พวกเขาจะยังไม่มีภูมิต้านทาน
  • 2:51 - 2:53
    และก็ยังยืนยันไม่ได้ว่า
    ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั้น
  • 2:53 - 2:55
    สามารถรับมือกับไวรัสนี้ได้หรือไม่
  • 2:55 - 3:00
    เพราะปกติไวรัสนี้มักเจอใน
    ค้างคาวหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ
  • 3:00 - 3:02
    แต่จู่ ๆ มันก็มาเกิดขึ้นกับมนุษย์
  • 3:02 - 3:05
    เรายังไม่เคยมีประสบการณ์กับไวรัสนี้มาก่อน
  • 3:05 - 3:06
    แต่พวกเราก็ค่อย ๆ
  • 3:06 - 3:09
    เริ่มเรียนรู้เหมือนครั้งของซาร์ส
  • 3:09 - 3:13
    รู้มั้ยว่าครั้งนี้จำนวนผู้เสียชีวิต
  • 3:13 - 3:15
    มีมากกว่าครั้งของซาร์ส
  • 3:15 - 3:19
    แต่ถ้าเราหารด้วยจำนวนคนติดเชื้อ
  • 3:19 - 3:22
    ครั้งนี้มีจำนวนติดเชื้อมากกว่าซาร์สเยอะมาก
  • 3:23 - 3:24
    อัตราของความร้ายแรงโรค
  • 3:24 - 3:29
    คำนวณจากจำนวนผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ
    ในกรณีของซาร์ส
  • 3:29 - 3:30
    คือประมาณร้อยละ 10
  • 3:30 - 3:33
    เทียบกับไวรัสโคโรน่า (โควิด 19)
  • 3:33 - 3:37
    คือร้อยละ 2 หรืออาจน้อยกว่านั้น
  • 3:37 - 3:39
    จึงกล่าวได้ว่าไวรัสนี้มีความรุนแรงน้อยกว่า
  • 3:39 - 3:42
    แต่มันก็ยังถือเป็นไวรัสที่คร่าชีวิตได้
  • 3:42 - 3:45
    ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้นกับประชากรมนุษย์
  • 3:45 - 3:48
    [มาตรการที่เรารับมือเวลาคนข้ามประเทศ
    ในตอนนี้นั้นเพียงพอหรือไม่เช่นที่สนามบิน]
  • 3:48 - 3:53
    ต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่าที่สนามบิน
    หรือบริเวณด่านตรวจข้ามประเทศ
  • 3:53 - 3:55
    ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ผ่านได้
  • 3:55 - 3:58
    คนที่อยู่ในระยะฟักตัวยังสามารถข้ามด่านตรวจ
  • 3:58 - 3:59
    ข้ามประเทศ
  • 3:59 - 4:02
    และค่อยมาแพร่เชื้อให้คนอื่นหลังป่วยได้
  • 4:02 - 4:08
    เพราะฉะนั้นด่านตรวจไม่ใช่จุดที่จะ
    หลีกเลี่ยงเชื้อให้เข้าประเทศได้
  • 4:08 - 4:10
    โดยการวัดอุณหภูมิ
  • 4:10 - 4:14
    แต่ด่านตรวจเหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญ
    ในการบอกประชาชน
  • 4:14 - 4:18
    ที่มาจากประเทศเสี่ยง
  • 4:18 - 4:20
    บอกให้พวกเขาเข้าใจ
  • 4:20 - 4:23
    ทั้งการใช้ลายลักษณ์อักษรและการบอกกล่าว
  • 4:23 - 4:26
    ว่าสัญญาณและอาการของโรคนี้เป็นยังไง
  • 4:26 - 4:30
    พวกเขาควรทำอย่างไร
    ถ้าพวกเขาสงสัยว่าเขาอาจติดเชื้อ
  • 4:30 - 4:33
    [เราจะคิดค้นวัคซีนได้เมื่อไหร่ ?]
  • 4:33 - 4:35
    ตอนนี้เรากำลังพัฒนาวัคซีนอยู่
  • 4:35 - 4:37
    ทำการวิจัยหลายรูปแบบ
  • 4:37 - 4:41
    ต้องทำการวิจัยก่อน จึงจะพัฒนาวัคซีนได้
  • 4:41 - 4:45
    จากนั้นจึงศึกษาว่ามันปลอดภัยและใช้ได้ผลไหม
    หลังจากฉีดวัคซีนลงไปในสัตว์
  • 4:45 - 4:49
    ที่ได้รับเชื้อ
  • 4:49 - 4:51
    ต่อจากนั้นเราจะมาทดสอบกับคน
  • 4:51 - 4:53
    แต่ในตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนทดสอบกับสัตว์
  • 4:53 - 4:56
    แต่คงจะได้เริ่มเร็ว ๆ นี้เมื่อพัฒนาวัคซีน
  • 4:56 - 4:58
    และผมคิดว่าในสิ้นปีนี้
  • 4:58 - 4:59
    หรือต้นปีหน้า
  • 4:59 - 5:02
    จะมีวัคซีนที่น่าจะรักษาอาการ
  • 5:02 - 5:07
    ถูกนำไปศึกษาต่อและได้รับ
    อนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล
  • 5:07 - 5:11
    แปลว่าเราอาจต้องรออย่างน้อยเป็นปี
    จนกว่าวัคซีนจะถูกผลิต
  • 5:11 - 5:13
    และนำไปใช้ในหลาย ๆ ประเทศได้
  • 5:13 - 5:17
    [ตอนนี้มีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับโรคระบาดนี้
    ที่ยังให้คำตอบไม่ได้ ?]
  • 5:17 - 5:19
    ตอนนี้เรารู้แน่ชัดว่ามันติดต่อกันได้
  • 5:19 - 5:22
    แต่ยังไม่รู้ว่ามันติดต่อแบบคนสู่คน
  • 5:22 - 5:26
    ในสถานที่เปิดโล่งได้ง่ายแค่ไหน
  • 5:26 - 5:28
    ตอนนี้ที่เรารู้แน่ ๆ ตัวอย่างเช่น
  • 5:28 - 5:32
    ในสถานที่ปิด เช่น เรือสำราญ
    มันแพร่กระจายง่ายมาก
  • 5:32 - 5:33
    และเราจำเป็นจะต้องเข้าใจให้ได้
  • 5:34 - 5:37
    ว่าถ้ามันกระจายในสถานที่
    เปิดโล่งมันจะเป็นยังไง
  • 5:37 - 5:40
    ที่ ๆ ซึ่งคนอาจจะได้รับเชื้อ
    จากคนที่อาจติดเชื้ออยู่แล้ว
  • 5:41 - 5:44
    [ทั่วโลกจะมีวิธีที่รับมือกับโรคนี้ให้
    รัดกุมมากขึ้นได้อย่างไรบ้าง ?]
  • 5:45 - 5:48
    ปัญหาใหญ่หลัก ๆ คือมุมมองที่
    เรามองต่อโรคระบาด
  • 5:48 - 5:50
    ในประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 5:50 - 5:52
    ว่าเป็นสิ่งที่เราต้องรีบเข้าไปหยุด
  • 5:53 - 5:55
    เช่น กรณีโรคระบาดอีโบลา
  • 5:55 - 5:58
    พวกเรามองว่า "เราจะหยุด
    โรคระบาดในประเทศนี้ยังไงดี ?"
  • 5:58 - 6:01
    แต่เราไม่มองว่า "เราจะช่วยประเทศนี้
  • 6:01 - 6:03
    ให้เขาเพิ่มศักยภาพตัวเองมากพอที่จะ
  • 6:03 - 6:07
    ตรวจพบและรับมือกับการติดเชื้อได้อย่างไร ?"
  • 6:07 - 6:09
    จึงกล่าวได้ว่าเราไม่ได้ลงทุนมากพอ
  • 6:09 - 6:13
    ให้กับประเทศเหล่านี้ให้เขามี
    ระบบสาธารณสุขที่ดียิ่งขึ้น
  • 6:13 - 6:17
    สิ่งที่เราทำคือลงทุนในวิธีการ
    หลายอย่างทั่วโลก
  • 6:17 - 6:20
    เพื่อที่จะช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ
  • 6:20 - 6:22
    และหยุดการระบาดเหล่านั้น
  • 6:22 - 6:25
    แต่ผมอยากให้เรามองโลกนี้
    เป็นสถานที่ที่ทุกประเทศ
  • 6:25 - 6:27
    สามารถรับมือและหยุดยั้งการระบาดได้
  • 6:27 - 6:30
    [ในอนาคตเรามีสิทธิ์จะเห็น
    การระบาดมากกว่านี้อีกมั้ย ?]
  • 6:30 - 6:32
    ทุกวันนี้เรามีประชากรมากกว่าเจ็ดพันล้านคน
  • 6:32 - 6:34
    และเมื่อมีประชากรเกิดบนโลกใบนี้
  • 6:34 - 6:35
    เขาก็ต้องการอาหาร
  • 6:35 - 6:37
    เขาต้องการหลายสิ่ง
  • 6:37 - 6:39
    เราอยู่อาศัยแบบแออัดกันมากขึ้น
  • 6:39 - 6:42
    จริง ๆ แล้ว รูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเรา
    คืออยู่กันในเมือง
  • 6:42 - 6:45
    และเราก็เลี้ยงสัตว์มากขึ้น
  • 6:45 - 6:50
    โดยสัตว์เหล่านี้ ก็เป็นอาหารให้กับคน
  • 6:50 - 6:51
    จะเห็นได้ว่า
  • 6:51 - 6:56
    วิถีคนและสัตว์เริ่มหลอมรวม
    เข้าใกล้กันมากขึ้น
  • 6:56 - 7:00
    เรามีการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
  • 7:00 - 7:02
    ประชากรเพิ่มจำนวนขึ้น
  • 7:03 - 7:05
    การอยู่อาศัยอยู่บนโลกใบเดียวกัน
  • 7:05 - 7:10
    มันจึงเหมือนเป็นหม้อหลอมที่
    สามารถเกิดการระบาดขึ้นได้ทุกเมื่อ
  • 7:10 - 7:13
    ท้ายสุดพวกเราจะมีการระบาดมากขึ้นแน่ ๆ
  • 7:13 - 7:17
    เพราะฉะนั้นการติดเชื้อวันนี้
    จึงเป็นสัญญาณเตือนภัย
  • 7:17 - 7:19
    ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • 7:19 - 7:20
    เราต้องทำให้
  • 7:20 - 7:23
    ศาสตร์วิชาการบนโลกนี้
  • 7:23 - 7:25
    จับมือร่วมกัน
  • 7:25 - 7:28
    เพื่อหาทางเข้าใจสถานการณ์
    เวลามีการระบาดเกิดขึ้น
  • 7:28 - 7:32
    และรีบกระจายข้อมูลที่สำคัญเพื่อควบคุมมัน
  • 7:32 - 7:34
    [สถานการณ์ยังเลวร้ายได้กว่านี้อีกมั้ย ?]
  • 7:34 - 7:36
    ผมไม่อาจคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ
  • 7:36 - 7:39
    ผมพูดได้แค่พวกเราต้องเตรียมตัว
  • 7:39 - 7:41
    สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด
  • 7:41 - 7:43
    และในขณะเดียวกัน
  • 7:43 - 7:46
    ต้องเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเอง
    และคนรอบข้าง
  • 7:46 - 7:48
    หากเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของโรคระบาด
  • 7:49 - 7:52
    [หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเข้าดูได้ที่
    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค
  • 7:52 - 7:54
    และองค์การอนามัยโลก]
Title:
เรื่องที่เรารู้ (และไม่รู้) เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า
Speaker:
เดวิด เฮย์แมนน์ (David Heymann)
Description:

จะเกิดอะไรถ้าคุณเกิดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ? ใครมีความเสี่ยงสูงที่สุด ?
คุณจะป้องกันตัวเองอย่างไร ? ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เดวิด เฮย์แมนน์ บุคคลที่ทำให้โลกตื่นตัวกับโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ซาร์ส) ที่ระบาดใน ค.ศ. 2003 ได้แบ่งปันสิ่งที่เขาค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับโควิด 19 และอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:06

Thai subtitles

Revisions