Return to Video

ฟรานซ์ เดอ วาลล์: พฤติกรรมศีลธรรมในสัตว์

  • 0:00 - 0:02
    ผมเกิดที่เมืองเดน บอช (Den Bosch)
  • 0:02 - 0:05
    ที่ซึ่งจิตรกรนามเฮียโรนีมุส บอช
    (Hieronymus Bosch) ตั้งชื่อตนตามชื่อเมืองๆนี้
  • 0:05 - 0:07
    และนั้นก็ทำให้ผมชื่นชอบศิลปินท่านนี้เรื่อยมา
  • 0:07 - 0:10
    ศิลปินท่านนี้มีชีวิตและสร้างผลงาน
    อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 15
  • 0:10 - 0:12
    สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเขาเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรม
  • 0:12 - 0:15
    ก็คือในเวลาที่เขามีชีวิตอยู่นั้น
    อิทธิพลทางศาสนาค่อยๆเสื่อมลง
  • 0:15 - 0:17
    ผมคิดว่า เขาเองก็คงสงสัยอยู่เหมือนกัน
  • 0:17 - 0:19
    ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคม
  • 0:19 - 0:22
    หากสังคมไร้เสียซึ่งศาสนาหรือ
    มีความเชื่อทางศาสนาเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย
  • 0:22 - 0:25
    แรงบันดาลใจนี้เป็นที่มาของภาพวาดอันโด่งดังของเขา
    ที่ชื่อว่า "The Garden of Earthly Delights"
  • 0:25 - 0:27
    บางคนก็ได้ตีความภาพดังกล่าวว่า
  • 0:27 - 0:29
    คือสภาวะของมนุษยชาติก่อนจะถึงจุดดับ
  • 0:29 - 0:32
    หรือสภาวะของมนุษย์ชาติที่ไม่มีวันถึงจุดดับเลย
  • 0:32 - 0:34
    ภาพวาดก็คงทำให้เราท่านสงสัยเหมือนกันว่า
  • 0:34 - 0:37
    ถ้าหากบรรพบุรุษไม่ได้ลิ้มรสผลไม้แห่งความรู้แจ้ง
    มนุษย์ชาติจะเป็นอย่างไรนะ
  • 0:37 - 0:40
    คุณธรรมอย่างที่เรารู้จักกันจะเป็นอย่างไร
  • 0:40 - 0:42
    สมัยที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียน
  • 0:42 - 0:44
    ผมเคยไปที่สวนที่พิเศษมากๆอีกแห่งหนึ่ง
  • 0:44 - 0:47
    สวนสัตว์แห่งหนึ่งที่เมืองอานเฮม
  • 0:47 - 0:49
    ซึ่งเป็นสวนสัตว์ที่พวกเราเลี้ยงซิมแปนซีเอาใว้
  • 0:49 - 0:51
    และนี่ก็คือรูปผมสมัยเด็กๆ ถ่ายกับลูกซิมแปนซี
  • 0:51 - 0:54
    (หัวเราะ)
  • 0:54 - 0:56
    ผมได้ค้นพบว่า
  • 0:56 - 0:59
    ซิมแปนซีเป็นสัตว์ที่กระหายอำนาจมากๆ
    ผมเคยเขียนหนังสือเล่าถึงเรื่องนี้ด้วย
  • 0:59 - 1:02
    ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง
    งานวิจัยต่างๆที่เน้นศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่า
  • 1:02 - 1:04
    ส่วนใหญ่นั้นมุ่งเน้นไปที่ความก้าวร้าว
    และการแข่งขันกันเอง
  • 1:04 - 1:06
    ผมได้เคยชี้ประเด็นนี้เอาไว้ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
  • 1:06 - 1:08
    ที่รวมถึงมนุษยชาติด้วยนั้น
  • 1:08 - 1:10
    ในก้นบึ้งของจิตใจ พวกเราชื่นชอบการแข่งขัน
  • 1:10 - 1:12
    เราเป็นพวกก้าวร้าว
  • 1:12 - 1:15
    โดยพื้นฐานแล้ว เราต่างก็มุ่งแสวงหา
    ผลประโยชน์ให้ตัวเอง
  • 1:15 - 1:17
    นี่คืองานเปิดตัวหนังสือของผม
  • 1:17 - 1:19
    ผมไม่ค่อยมั่นใจนักว่าพวกลิง
    อ่านหนังสือรู้เรื่องแค่ไหน
  • 1:19 - 1:23
    แต่ก็มั่นใจว่าพวกลิงมันชอบหนังสือเล่มนั้นมาก
  • 1:24 - 1:26
    หลังจากนั้น เมื่อผมได้เริ่ม
  • 1:26 - 1:28
    จับงานที่มุ่งศึกษาเรื่องอำนาจและการปกครอง
  • 1:28 - 1:30
    ความก้าวร้าว และเรื่องอื่นๆ
  • 1:30 - 1:33
    ผมก็ได้พบว่า ซิมแปนซีก็มีพฤติกรรม
    ประนีประนอมกันหลังการต่อสู้
  • 1:33 - 1:36
    อย่างที่คุณเห็นในรูป คือลิงตัวผู้สองตัว
    ที่เพิ่งห้ำหั่นกันมาไม่นาน
  • 1:36 - 1:39
    สุดท้ายลิงทั้งสองตัวได้ปีนขึ้นไปอยู่บนยอดต้นไม้
    และตัวหนึ่งก็ยื่นมือส่งออกไปยังอีกฝ่าย
  • 1:39 - 1:42
    หลังจากผมถ่ายรูปนี้ไม่กี่วินาที
    พวกมันก็ปีนลงมาที่โคนต้นไม้
  • 1:42 - 1:44
    หลังจากนั้นก็ตรงเข้าไปจูบและสวมกอดกันและกัน
  • 1:44 - 1:46
    นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาๆ แล้ว
  • 1:46 - 1:49
    เพราะในเวลาอย่างนี้ ทุกอย่างน่าจะมุ่งไปที่
    การแข่งขันและความก้าวร้าวเท่านั้น
  • 1:49 - 1:51
    ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่น่างุนงงมากๆ
  • 1:51 - 1:53
    เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
    ใครจะชนะ ใครจะแพ้
  • 1:53 - 1:55
    แล้วทำไมจะต้องคืนดีกับอีกฝ่ายหนึ่งด้วย?
  • 1:55 - 1:57
    พฤติกรรมลักษณะนี้จึงเป็นเรื่องที่น่างุนงงมากๆ
  • 1:57 - 2:00
    ส่วนนี่คือสิ่งที่โบโนโบชอบทำ ลิงพวกนี้
    ใช้การร่วมเพศเป็นเครื่องมือสำหรับแทบทุกเรื่อง
  • 2:00 - 2:02
    แม้กระทั่งการกลับมาปรองดองกันหลังการต่อสู้
  • 2:02 - 2:04
    แต่หลักการค่อนข้างจะเหมือนกัน
  • 2:04 - 2:06
    หลักการที่พวกคุณมี
  • 2:06 - 2:08
    ต่อความสัมพันธ์ที่มีค่า
  • 2:08 - 2:10
    ซึ่งถูกทำลายลงโดยความขัดแย้ง
  • 2:10 - 2:12
    ดังนั้น คุณควรที่จะต้องทำอะไรสักอย่างกับมัน
  • 2:12 - 2:14
    ดังนั้น ภาพรวมอาณาจักรสัตว์ของผม
  • 2:14 - 2:16
    ซึ่งรวมไปถึงเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วย
  • 2:16 - 2:18
    ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นั้นมา
  • 2:18 - 2:20
    เราจึงเกิดภาพลักษณ์เหล่านั้นขึ้น
  • 2:20 - 2:22
    ในทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์
  • 2:22 - 2:24
    ปรัชญาต่อเหตุการณ์เหล่านั้น
  • 2:24 - 2:26
    ที่คนนั้นเปรียบเหมือนหมาป่าต่ออีกคน
  • 2:26 - 2:29
    และลึกลงไปในธรรมชาติของพวกเรา
    แท้จริงแล้วช่างน่าสะอิดสะเอียน
  • 2:29 - 2:32
    แล้วผมว่ามันไม่ค่อยจะยุติธรรมต่อหมาป่า
    เท่าไหร่นักหากเราไปมอบภาพลักษณ์เหล่านั้นให้
  • 2:32 - 2:34
    เพราะจริงๆแล้ว หมาป่านั้น
  • 2:34 - 2:36
    เป็นสัตว์ที่ร่วมมือกันดีมาก
  • 2:36 - 2:38
    นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงเลี้ยงสุนัขที่บ้าน
  • 2:38 - 2:40
    สุนัขมีคุณลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
  • 2:40 - 2:42
    แล้วมันก็ดูไม่ค่อยยุติธรรมต่อมนุษยธรรมเท่าไหร่
  • 2:42 - 2:46
    เพราะมนุษยธรรมนั้นมีมากกว่าความร่วมมือ
    และความเข้าอกเข้าใจกัน
  • 2:46 - 2:48
    มากกว่าคุณค่าที่เรานิยามให้มัน
  • 2:48 - 2:50
    ดังนั้น ผมก็เริ่มสนใจเรื่องพวกนี้ขึ้นเรื่อยๆ
  • 2:50 - 2:52
    แล้วก็ศึกษาในกลุ่มสัตว์ประเภทอื่น
  • 2:52 - 2:54
    และภาพนี้ คือ เสาหลักแห่งศีลธรรม
  • 2:54 - 2:58
    หากพวกคุณถามใครๆว่า "ความมีศีลธรรม
    ตัดสินมาจากอะไร"
  • 2:58 - 3:00
    ก็มักจะนึกถึงสองปัจจัยนี้ขึ้นมา
  • 3:00 - 3:02
    หนึ่ง คือการพึ่งพาอาศัยกัน
  • 3:02 - 3:05
    รวมไปถึงความรู้สึกถึงความยุติธรรม
    ความรู้สึกถึงความเท่าเทียม
  • 3:05 - 3:07
    และอีกปัจจัยนึง ก็คือความเข้าอกเข้าใจ
    และความเห็นใจกัน
  • 3:07 - 3:10
    และความมีศีลธรรมของมนุษย์มากกว่าสิ่งเหล่านั้น
  • 3:10 - 3:12
    แต่ถ้าหากคุณลองเอาเสาหลักสองอันนั้นออกไป
  • 3:12 - 3:14
    คงไม่มีอะไรเหลืออยู่นักเท่าไหร่
  • 3:14 - 3:16
    และมันคงจะต้องสำคัญมากจริงๆ
  • 3:16 - 3:18
    ผมจะยกตัวอย่างสักนิดให้คุณดู
  • 3:18 - 3:20
    นี่เป็นวิดีโอเก่าจาก ศูนย์ศึกษาไพรเมตแห่งเยิร์คคีส์
    (Yerkes)
  • 3:20 - 3:23
    ที่ซึ่งฝึกให้เหล่าชิมแปนซีร่วมมือกัน
  • 3:23 - 3:26
    แล้วนั่นมันก็เกือบร้อยปีมาแล้ว
  • 3:26 - 3:29
    ที่เราทำการทดลองศึกษาเกี่ยวกับความร่วมมือกัน
  • 3:29 - 3:32
    ที่คุณดูอยู่นี่คือลูกชิมแปนซีที่มีกล่องอยู่กล่องหนึ่ง
  • 3:32 - 3:35
    และกล่องนี้ก็หนักเกินไปสำหรับลูกชิมป์
    เพียงตัวเดียวที่จะดึงมัน
  • 3:35 - 3:37
    และแน่นอน ในกล่องนั้น มีอาหารอยู่
  • 3:37 - 3:39
    ไม่งั้นพวกมันคงไม่ดึงแรงขนาดนี้
  • 3:39 - 3:41
    แล้วพวกมันก็ดึงกล่องเข้ามาได้
  • 3:41 - 3:43
    เห็นไหมว่าพวกมันพร้อมเพรียง
    เป็นจังหวะเดียวกันเลย
  • 3:43 - 3:46
    จะเห็นว่าเมื่อพวกลูกลิงทำงานร่วมกัน
    พวกมันดึงกล่องในช่วงเวลาเดียวกัน
  • 3:46 - 3:49
    นี่ค่อนข้างเป็นความฉลาดล้ำกว่าสัตว์พวกอื่น
  • 3:49 - 3:51
    เพราะสัตว์อื่นคงทำเช่นนี้ไม่ได้
  • 3:51 - 3:53
    แล้วคุณจะพบภาพที่น่าสนใจมากกว่านี้
  • 3:53 - 3:56
    เพราะทีนี้เมื่อลูกชิมป์ตัวหนึ่งถูกป้อนอาหารแล้ว
  • 3:56 - 3:58
    ดังนั้นมันจึงไม่สนใจ
  • 3:58 - 4:01
    ในงานนี้อีกต่อไป
  • 4:01 - 4:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:08 - 4:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:19 - 4:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:35 - 4:38
    มาดูกันว่า เกิดอะไรขึ้นในตอนจบ
  • 4:41 - 4:43
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:52 - 4:54
    อีกตัวมันเอาอาหารไปหมดเลย
  • 4:54 - 4:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:57 - 4:59
    ดังนั้น เรื่องนี้มีจุดที่น่าสนใจอยู่สองส่วน
  • 4:59 - 5:01
    หนึ่ง คือ ชิมป์ทางขวามือ
  • 5:01 - 5:03
    เข้าใจดีว่าตัวมันเองต้องการผู้ร่วมงาน
  • 5:03 - 5:05
    แล้วก็เข้าใจถึงความจำเป็นของการร่วมมือกัน
  • 5:05 - 5:08
    แต่อีกตัวที่เป็นผู้ร่วมงานก็เต็มใจจะช่วยเหลือ
  • 5:08 - 5:10
    แม้ว่ามันไม่ได้สนใจในอาหารเท่าไหร่นัก
  • 5:10 - 5:13
    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? นั่นอาจเกี่ยวกับเรื่อง
    การพึ่งพาอาศัยกัน
  • 5:13 - 5:15
    แล้วก็มีหลักฐานอีกหลายอย่างใน
    กลุ่มสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์อื่นๆ
  • 5:15 - 5:17
    ว่าพวกมันตอบแทนความช่วยเหลือกัน
  • 5:17 - 5:19
    ดังนั้น มันก็จะได้รับการตอบแทนคืน
    ความช่วยเหลือกลับมา
  • 5:19 - 5:21
    เช่นกันในอนาคต
  • 5:21 - 5:23
    และนั่นคือวิธีที่สิ่งเหล่านี้ดำเนินไป
  • 5:23 - 5:25
    เราลองทดสอบในช้างเช่นเดียวกัน
  • 5:25 - 5:28
    นี่คือช้าง ค่อนข้างอันตรายนะครับ
  • 5:28 - 5:30
    แล้วอีกปัญหาเกี่ยวกับช้างคือ
  • 5:30 - 5:32
    คุณไม่รู้จะหาอุปกรณ์อะไร
  • 5:32 - 5:34
    ที่จะหนักเกินไปสำหรับให้ช้างตัวนึงออกแรงลาก
  • 5:34 - 5:36
    แต่ถึงแม้คุณจะสร้างมันได้
  • 5:36 - 5:38
    แต่ผมว่ามันยังดูง่อนแง่นเกินไปนะ
  • 5:38 - 5:40
    แล้วในกรณีนี้ สิ่งที่เราทำคือ
  • 5:40 - 5:43
    เราได้ทำการศึกษาเหล่านี้ที่ประเทศไทย
    ให้แก่ จอร์จ พล็อตนิค (Josh Plotnik)
  • 5:43 - 5:46
    เรามีอุปกรณ์ที่ผูกด้วยเชือก เชือกเส้นเดียว
  • 5:46 - 5:48
    และหากคุณดึงอีกด้านนึงของเชือก
  • 5:48 - 5:50
    เชือกจะหายไปจากอีกด้านนึง
  • 5:50 - 5:53
    ดังนั้น ช้างสองตัวต้องหยิบมันขึ้นมาพร้อมกันและดึง
  • 5:53 - 5:55
    มิฉะนั้น ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  • 5:55 - 5:57
    แล้วเชือกก็จะหายไป
  • 5:57 - 5:59
    ในเทปแรกนี้คุณจะเห็นว่า
  • 5:59 - 6:01
    ช้างสองตัวที่ปล่อยออกไปพร้อมกัน
  • 6:01 - 6:03
    ไปถึงที่อุปกรณ์
  • 6:03 - 6:06
    อุปกรณ์นั่นอยู่ทางซ้ายพร้อมด้วยอาหาร
  • 6:06 - 6:09
    มันเดินมาด้วยกัน ถึงพร้อมกัน
  • 6:09 - 6:11
    พวกมันหยิบเชือกขึ้นพร้อมกันแล้วดึงพร้อมกัน
  • 6:11 - 6:14
    นี่ดูค่อนข้างง่ายสำหรับพวกมัน
  • 6:15 - 6:17
    นั่น มันมาแล้ว
  • 6:24 - 6:26
    และนั่นคือวิธีที่พวกมันดึงกล่องเข้ามา
  • 6:26 - 6:28
    แต่เราจะลองทำให้มันยากขึ้น
  • 6:28 - 6:30
    เพราะจุดประสงค์หลักของการทดลองนี้
  • 6:30 - 6:32
    คือการดูว่าพวกมันเข้าใจถึงการ่วมมือกัน
    ได้ดีขนาดไหน
  • 6:32 - 6:35
    พวกมันจะเข้าใจได้เท่ากันกับพวกชิมป์ไหม?
  • 6:35 - 6:37
    เราจึงทดลองในขั้นต่อไป
  • 6:37 - 6:39
    โดยการปล่อยช้างออกมาก่อนตัวหนึ่ง
  • 6:39 - 6:41
    และช้างนี่จำเป็นต้องฉลาดพอ
  • 6:41 - 6:43
    ที่จะหยุดรอตรงนั้น และไม่ดึงเชือกนั่น
  • 6:43 - 6:46
    เพราะหากว่ามันดึงเชือกแล้วเชือกก็จะหายไป
    และถือเป็นอันจบการทดสอบ
  • 6:46 - 6:48
    แล้วช้างตัวนี้ก็ทำอะไรบ้างอย่างที่ผิดกฎ
  • 6:48 - 6:50
    ที่เราไม่ได้สอนมันมาก่อน
  • 6:50 - 6:52
    แต่มันก็แสดงให้เห็นความเข้าใจที่พวกมันมี
  • 6:52 - 6:55
    เพราะมันวางเท้าใหญ่ๆของมันลงบนเชือก
  • 6:55 - 6:57
    ยืนที่ตรงนั้นและรอช้างอีกตัวหนึ่ง
  • 6:57 - 7:00
    แล้วให้ช้างอีกตัวออกแรงทำงานทั้งหมด
  • 7:00 - 7:03
    นี่เรียกว่า กินแรง นะครับ
  • 7:03 - 7:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:05 - 7:08
    แต่แสดงให้เห็นถึงความฉลาดที่พวกมันมี
  • 7:08 - 7:11
    พวกมันได้พัฒนาเทคนิคอื่นๆอีกหลายอย่าง
  • 7:11 - 7:14
    ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากเรา
  • 7:14 - 7:19
    นั่น ช้างอีกตัวมาแล้ว
  • 7:19 - 7:22
    แล้วมันก็กำลังดึง
  • 7:38 - 7:41
    นี่ดูอีกตัวสิ แน่นอนมันยังไม่ลืมที่จะกินอาหารเลย
  • 7:41 - 7:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:45 - 7:47
    นี่เรียกว่าความร่วมมือกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
    ของการพึ่งพาอาศัย
  • 7:47 - 7:49
    แล้ว ความเข้าอกเข้าใจกันล่ะ
  • 7:49 - 7:51
    การรับรู้ถึงความเข้าอกเข้าใจกัน
    เป็นหัวข้อหลักของงานวิจัยขณะนั้น
  • 7:51 - 7:53
    และความเข้าอกเข้าใจก็มีสองระดับ
  • 7:53 - 7:56
    ระดับหนึ่งคือ การรับรู้ถึงมัน
    ซึ่งเป็นนิยามโดยปกติอยู่แล้ว
  • 7:56 - 7:58
    ซึ่งก็คือ ความสามารถในการรับรู้เข้าใจ
    และแบ่งปันความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง
  • 7:58 - 7:59
    และอีกระดับนึง คือ ส่วนที่เกี่ยวข้อง
    กับอารมณ์ความรู้สึก
  • 7:59 - 8:01
    ดังนั้น
  • 8:01 - 8:02
    ความเข้าอกเข้าใจกันโดยมี 2 ช่องทางในการสื่อสาร
  • 8:02 - 8:04
    ช่องทางแรกคือ ทางร่างกาย
  • 8:04 - 8:06
    หากคุณคุยกับคนที่โศกเศร้า
  • 8:06 - 8:09
    คุณก็จะได้รับความรู้สึกเศร้า
    และท่าทางเศร้าสร้อยนั้นมา
  • 8:09 - 8:11
    และมันก็เกิดขึ้นก่อนคุณจะรู้ตัวเสียอีก
  • 8:11 - 8:14
    และนั่นคือ การสื่อสารผ่านร่างกาย
    ของความอกเข้าความใจในอารมณ์
  • 8:14 - 8:16
    ซึ่งมีในสัตว์หลายๆชนิด
  • 8:16 - 8:18
    สุนัขทั่วไปก็มีเช่นกัน
  • 8:18 - 8:20
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไมมนุษย์ถึงได้เลี้ยง
    สัตว์เลือดอุ่นไว้ในบ้าน
  • 8:20 - 8:22
    แต่ไม่ใช่เต่าหรืองู หรืออะไรพวกนั้น
  • 8:22 - 8:24
    สัตว์ที่ไม่รู้จักถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ
  • 8:24 - 8:26
    แล้วก็มีช่องทางของกระบวนการคิด
  • 8:26 - 8:28
    ซึ่งคล้ายกับการเอาตัวเองไปอยู่ในมุมมองของผู้อื่น
  • 8:28 - 8:30
    มันมีอยู่อย่างจำกัดมาก
  • 8:30 - 8:32
    ในสัตว์ไม่กี่ชนิด ผมคิดว่าช้างและลิง
    สามารถทำสิ่งนั้นได้
  • 8:32 - 8:35
    แต่ก็มีสัตว์ไม่กี่ชนิดสามารถทำได้เช่นกัน
  • 8:35 - 8:37
    ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
  • 8:37 - 8:39
    ซึ่งเป็นกระบวนการของการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น
  • 8:39 - 8:41
    ที่เกิดขึ้นมาช้านานในอาณาจักรสัตว์
  • 8:41 - 8:43
    และในสังคมมนุษย์ แน่นอนครับ
    เราได้ทำการศึกษามัน
  • 8:43 - 8:45
    นั่นคือ การหาวติดต่อ
  • 8:45 - 8:47
    มนุษย์มักจะหาวเมื่อคนอื่นหาว
  • 8:47 - 8:49
    มันมีความเชื่อมโยงกับการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น
  • 8:49 - 8:51
    มันเกิดการกระตุ้นที่บริเวณเดียวกันของสมอง
  • 8:51 - 8:53
    แล้วเราก็รู้ว่าคนที่มีอาการหาวติดต่อมากๆนั้น
  • 8:53 - 8:55
    ค่อนข้างมีความเห็นใจเข้าใจผู้อื่นสูง
  • 8:55 - 8:57
    คนที่มีความผิดปกติกับการเข้าใจผู้อื่น
    เช่นเด็กออทิสติก
  • 8:57 - 8:59
    พวกเขาจะไม่เกิดการหาวติดต่อ
  • 8:59 - 9:01
    มันจึงเชื่อมโยงกัน
  • 9:01 - 9:04
    เราได้ศึกษาในชิมแปนซีด้วยการให้พวกมัน
    ดูตัวการ์ตูนลิงที่มีเฉพาะส่วนหัว
  • 9:04 - 9:06
    นี่ครับ มันเป็นแบบด้านซ้ายบน
  • 9:06 - 9:08
    ภาพหัวการ์ตูนจะหาว
  • 9:08 - 9:10
    แล้วนั่น เจ้าชิมแปนซีกำลังดูอยู่
  • 9:10 - 9:13
    ชิมแปนซีตัวจริงกำลังดูภาพบนจอคอมพิวเตอร์
  • 9:13 - 9:16
    ซึ่งเรากำลังเปิดให้ดู
  • 9:20 - 9:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:22 - 9:24
    แล้วก็เกิด "หาวติดต่อ"
  • 9:24 - 9:26
    บางที่คุณอาจจะคุ้นเคยบ้างว่า --
  • 9:26 - 9:29
    แล้วคุณอาจจะเริ่มหาวแล้วก็ได้
  • 9:29 - 9:32
    นี่เป็นสิ่งที่เราแบ่งปันกันกับสัตว์ประเภทอื่น
  • 9:32 - 9:35
    มันเชื่อมต่อกับทั้งร่างกายอย่างพร้อมเพรียงกัน
  • 9:35 - 9:37
    นั่นมันซ่อนอยู่ภายใต้ความเข้าใจผู้อื่น
  • 9:37 - 9:40
    และพบได้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแทบทุกชนิด
  • 9:40 - 9:43
    ตอนนี้เรายังศึกษาการแสดงออกที่ซับซ้อนมากขึ้น
    นี่คือการปลอบโยน
  • 9:43 - 9:46
    นี่คือชิมแปนซีตัวผู้ ที่เพิ่งแพ้ในการต่อสู้
    และมันกำลังกรีดร้อง
  • 9:46 - 9:48
    และลิงตัวที่เด็กกว่าเข้ามาหาและโอบแขนรอบๆมัน
  • 9:48 - 9:50
    และทำให้มันสงบลง
  • 9:50 - 9:53
    นั่นคือการปลอบโยน มันคล้ายมากกับ
    การปลอบโยนในมนุษย์
  • 9:53 - 9:56
    และพฤติกรรมการปลอบโยนนี้
  • 9:56 - 9:58
    ถูกขับเคลื่อนโดยความเห็นอกเห็นใจ
  • 9:58 - 10:01
    จริงๆ แล้ววิธีที่จะศึกษาเรื่องความเห็นใจ
    ในเด็กที่เป็นมนุษย์นั้น
  • 10:01 - 10:03
    คือการสั่งให้คนในครอบครัวทำท่าทางเศร้าสร้อย
  • 10:03 - 10:05
    และจากนั้นพวกเขาก็สังเกตว่าเด็กจะทำอย่างไร
  • 10:05 - 10:07
    ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องกับการเห็นอกเห็นใจ
  • 10:07 - 10:10
    และนั่นคือการแสดงออกที่เราศึกษา
  • 10:10 - 10:13
    เมื่อเร็วๆนี้เรายังได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่คุณอาจเคยได้ยิน
  • 10:13 - 10:16
    เกี่ยวกับความเผื่อแผ่ในชิมแปนซี
  • 10:16 - 10:18
    ที่ซึ่งคำถามคือ ชิมแปนซีห่วงใย
  • 10:18 - 10:20
    ความเป็นอยู่ของลิงตัวอื่นๆ ไหม
  • 10:20 - 10:22
    และนานนับทศวรรษ เราคิดเองว่า
  • 10:22 - 10:24
    มีเพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ทำแบบนั้นได้
  • 10:24 - 10:27
    มีเพียงแค่มนุษย์ที่ห่วงใยต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ
  • 10:27 - 10:29
    ทีนี้เราทำการทดลองที่ง่ายมากๆ
  • 10:29 - 10:32
    เราทดลองกับชิมแปนซีที่อาศัยอยู่ในลอว์เรนซ์วิลล์ (Lawrenceville)
  • 10:32 - 10:34
    ที่สถานีทดลองภาคสนามที่เยิร์คคีส์
  • 10:34 - 10:36
    และนั่นคือวิถีชีวิตของมัน
  • 10:36 - 10:39
    เราเอาพวกมันเข้ามาในห้อง
    และทำการทดลองกับพวกมัน
  • 10:39 - 10:41
    ในกรณีนี้ เราเอาชิมแปนซีสองตัวไว้ในห้องติดๆกัน
  • 10:41 - 10:44
    และมีถังอยู่ใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยเหรียญ
    และเหรียญเหล่านั้นมีความหมายต่างกัน
  • 10:44 - 10:47
    เหรียญแบบหนึ่งจะให้อาหารแต่กับลิงตัวที่เลือก
  • 10:47 - 10:49
    และอีกเหรียญหนึ่งจะให้อาหารกับทั้งสองตัว
  • 10:49 - 10:52
    นี่คือการศึกษาที่เราทำพร้อมด้วย วิคกี้ ฮอร์เนอร์
    (Vicky Horner)
  • 10:53 - 10:55
    และในกรณีนี้คุณมีเหรียญสองสี
  • 10:55 - 10:57
    พวกเขามีถังที่เต็มไปด้วยเหรียญ
  • 10:57 - 11:00
    และพวกมันจะต้องเลือกหนึ่งในสองสี
  • 11:00 - 11:03
    คุณจะเห็นว่าผลมันออกมาอย่างไร
  • 11:03 - 11:06
    ถ้าลิงเลือกตัวเลือกที่เห็นแก่ตัว
  • 11:06 - 11:09
    ซึ่งคือเหรียญสีแดงในกรณีนี
  • 11:09 - 11:11
    มันต้องเอาเหรียญให้กับเรา
  • 11:11 - 11:14
    เราหยิบเหรียญขึ้น วางบนโต๊ะ
    ที่ซึ่งอาหารสองชิ้นจะถูกให้เป็นรางวัล
  • 11:14 - 11:17
    แต่ในกรณีนี้ตัวทางขวาตัวเดียวเท่านั้นจะได้อาหาร
  • 11:17 - 11:19
    ตัวทางด้านซ้ายเดินหนีเพราะมันรู้ผลอยู่แล้ว
  • 11:19 - 11:22
    ว่าการทดสอบนี้ไม่ดีสำหรับเธอ
  • 11:22 - 11:24
    อันถัดไปเป็นเหรียญแห่งการแบ่งปัน
  • 11:24 - 11:27
    ลิงตัวที่มีหน้าที่เลือก
    นี่ถึงตอนที่น่าสนใจแล้วครับ
  • 11:27 - 11:29
    สำหรับตัวที่เป็นผู้เลือก
  • 11:29 - 11:31
    มันไม่สำคัญเลยว่ามันจะเลือกสีอะไร
  • 11:31 - 11:34
    ตอนนี้มันให้เหรียญแห่งการแบ่งปัน
    และลิงทั้งสองตัวก็จะได้อาหาร
  • 11:34 - 11:37
    ลิงตัวที่เป็นผู้เลือกจะได้อาหารเสมอ
  • 11:37 - 11:39
    มันไม่สำคัญว่ามันเลือกสีอะไร
  • 11:39 - 11:41
    ดังนั้นมันควรจะเลือกแบบสุ่ม
  • 11:41 - 11:43
    แต่สิ่งที่เราพบ
  • 11:43 - 11:45
    คือพวกมันชอบเหรียญแห่งการแบ่งปัน
  • 11:45 - 11:48
    นี่คือเส้น 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นความคาดหวัง
    จากการเลือกแบบสุ่ม
  • 11:48 - 11:51
    และถ้าเพื่อนของมันเพ่งความสนใจ
    ไปที่มันเป็นพิเศษ มันจะเลือกมากขึ้น
  • 11:51 - 11:54
    แต่ถ้าเพื่อนกดดันมันมากๆ
  • 11:54 - 11:57
    เช่นถ้าเพื่อนเริ่มพ่นน้ำ และข่มขู่มัน
  • 11:57 - 12:00
    ผลการเลือกจะแย่ลง
  • 12:00 - 12:02
    เหมือนเป็นการบอกเป็นนัยๆว่า
  • 12:02 - 12:04
    "ถ้าแกไม่ทำตัวดีๆ วันนี้ฉันจะไม่เผื่อแผ่กับแก"
  • 12:04 - 12:06
    และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีลิงอีกตัวอยู่
  • 12:06 - 12:08
    เมื่อไม่มีลิงอีกตัวนั่งอยู่ตรงนั้น
  • 12:08 - 12:10
    ดังนั้นเราพบว่าชิมแปนซีนั้นห่วงใย
  • 12:10 - 12:12
    ความเป็นอยู่ของลิงตัวอื่นๆ
  • 12:12 - 12:15
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันเป็นลิงที่เป็นสมาชิก
    ของฝูงเดียวกัน
  • 12:15 - 12:18
    การทดลองสุดท้ายที่ผมอยากจะเล่าให้คุณฟัง
  • 12:18 - 12:20
    คือการศึกษาเรื่องความยุติธรรม
  • 12:20 - 12:23
    และมันได้กลายเป็นการศึกษาที่โด่งดัง
  • 12:23 - 12:25
    และตอนนี้ก็มีการศึกษาลักษณะเดียวกัน
    อีกมากมาย
  • 12:25 - 12:27
    หลังจากการศึกษาของเราเมื่อ 10 ปีก่อน
  • 12:27 - 12:29
    มันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
  • 12:29 - 12:31
    เราทำการศึกษากับลิงคาปูชิน (capuchin)
  • 12:31 - 12:34
    และผมจะแสดงให้คุณเห็นถึงการทดลองที่เราได้ทำ
  • 12:34 - 12:37
    ซึ่งบัดนี้มันได้ถูกนำไปทดลองกับสุนัขและนก
  • 12:37 - 12:39
    และกับชิมแปนซี
  • 12:39 - 12:43
    แต่การทดลองนี้ซึ่งเราร่วมทำกับซาร่าห์ บรอสแนน (Sarah Brosnan) เราเริ่มทดลองกับลิงคาปูชิน
  • 12:43 - 12:45
    สิ่งที่เราได้ทำ
  • 12:45 - 12:47
    คือเราเอาลิงคาปูชินสองตัวไว้ในกรงติดๆกัน
  • 12:47 - 12:49
    และเช่นกัน สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
    มันรู้จักกัน
  • 12:49 - 12:52
    เราเอามันออกมาจากฝูง และใส่ไว้ในห้องทดสอบ
  • 12:52 - 12:54
    และเรากำหนดงานง่ายๆ
  • 12:54 - 12:56
    ซึ่งพวกมันต้องทำ
  • 12:56 - 12:59
    และถ้าคุณให้แตงกวาเป็นรางวัลสำหรับงานที่ทำ
  • 12:59 - 13:01
    ลิงทั้งสองตัวที่อยู่ติดๆกัน
  • 13:01 - 13:03
    พวกมันเต็มอกเต็มใจจะทำงานนี้ 25 ครั้ง
    ติดต่อกันเลย
  • 13:03 - 13:07
    ดังนั้น แตงกวา แม้ว่ามันเป็นเพียงแค่น้ำ
    ในความคิดของผม
  • 13:07 - 13:10
    แต่พวกมันก็พอใจแล้วกับแค่แตงกวา
  • 13:10 - 13:13
    ทีนี้ ถ้าคุณเอาองุ่นให้ลิงตัวหนึ่ง
  • 13:13 - 13:15
    ซึ่งเป็นอาหารที่ชื่นชอบของลิงคาปูชิน
  • 13:15 - 13:18
    ซึ่งราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็แพงกว่าด้วย
  • 13:18 - 13:21
    ดังนั้นถ้าคุณให้องุ่นกับพวกมัน
    นั่นเป็นอาหารที่ดีกว่ามาก
  • 13:21 - 13:24
    นั่นแปลว่าคุณสร้างความไม่เท่าเทียมระหว่างพวกมัน
  • 13:24 - 13:26
    ดั้งนั้น นั่นคือการทดลองที่เราทำ
  • 13:26 - 13:29
    เมื่อเร็วๆนี้ เราบันทึกวิดีโอลิงคู่ใหม่
    ที่ไม่เคยทำงานนี้มาก่อน
  • 13:29 - 13:31
    เราคิดว่าบางทีเราอาจได้การตอบสนองที่รุนแรงกว่า
  • 13:31 - 13:33
    และปรากฏว่าเราคิดถูก
  • 13:33 - 13:35
    ลิงตัวทางซ้าย คือลิงที่ได้แตงกวา
  • 13:35 - 13:38
    ลิงตัวทางขวา คือตัวที่ได้องุ่น
  • 13:38 - 13:40
    ตัวที่ได้แตงกวา
  • 13:40 - 13:42
    โปรดสังเกตว่าแตงกวาชิ้นแรกนั้นไม่มีปัญหาอะไรเลย
  • 13:42 - 13:45
    มันกินแตงกวาชิ้นแรก
  • 13:45 - 13:48
    แต่เมื่อมันเห็นลิงอีกตัวได้องุ่น
    คุณจะเห็นว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 13:48 - 13:51
    มันให้ก้อนหินกับเรา นั่นคืองานที่เราให้ทำ
  • 13:51 - 13:54
    เราให้แตงกวาชิ้นหนึ่งแกมัน และมันก็กิน
  • 13:54 - 13:57
    ลิงอีกตัวต้องให้ก้อนหินกับเรา
  • 13:57 - 14:00
    และนั่นคือสืงที่มันทำ
  • 14:00 - 14:03
    และมันได้องุ่นเป็นรางวัล และมันก็กิน
  • 14:03 - 14:05
    อีกตัวหนึ่งมองเห็น
  • 14:05 - 14:07
    มันให้ก้อนหินกับเราอีก
  • 14:07 - 14:10
    และก็ได้แตงกวาอีก
  • 14:12 - 14:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:27 - 14:30
    มันทดสอบก้อนหินกับกำแพงดู
  • 14:30 - 14:32
    มันต้องเอาก้อนหินให้เรา
  • 14:32 - 14:35
    และมันก็ได้แตงกวาอีก
  • 14:37 - 14:41
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:43 - 14:47
    นี่มันคือการประท้วงตามวอลล์สตรีทดีๆนี่เอง
  • 14:47 - 14:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:50 - 14:53
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:53 - 14:55
    ผมจะเล่าให้ฟัง
  • 14:55 - 14:57
    ผมยังเหลืออีกสองนาที ให้ผมเล่าเรื่องตลกๆ
    ให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 14:57 - 14:59
    การศึกษานี้เป็นที่โด่งดัง
  • 14:59 - 15:01
    และเราได้รับคำวิจารณ์มากมาย
  • 15:01 - 15:03
    นักมานุษยวิทยา นักเศรษฐศาสตร์
  • 15:03 - 15:05
    นักปราชญ์
  • 15:05 - 15:07
    พวกเขาไม่ชอบมันเอาเสียเลย
  • 15:07 - 15:10
    ผมเชื่อว่า นั่นเป็นเพราะพวกเขามีความคิดอยู่ในใจ
  • 15:10 - 15:12
    ว่าความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
  • 15:12 - 15:14
    และสัตว์ไม่มีทางรับรู้ถึงมัน
  • 15:14 - 15:16
    และนักการกุศลคนหนึ่งเขียนมาหาเรา
  • 15:16 - 15:19
    ว่ามันเป็นไปไม่ได้ว่าลิงไม่มีทางรับรู้ถึงความยุติธรรม
  • 15:19 - 15:22
    เพราะความยุติธรรมนั้นถูกสร้างขึ้นมา
    ระหว่างยุคปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 15:22 - 15:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:24 - 15:27
    ส่วนอีกคนเขียนมาเสียยาวยืด
  • 15:27 - 15:31
    ว่าเขาจะเชื่อว่ามันเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม
  • 15:31 - 15:33
    ก็ต่อเมื่อลิงตัวที่ได้องุ่นจะต้องปฏิเสธองุ่นนั้น
  • 15:33 - 15:35
    ที่ตลกก็คือ ซาราห์ บรอสแนน
  • 15:35 - 15:37
    ผู้ซึ่งทำการทดลองนี้ในชิมแปนซี
  • 15:37 - 15:39
    ทำการทดลองกับชิมแปนซีสองคู่
  • 15:39 - 15:42
    และปรากฎว่าลิงตัวที่ต้องได้องุ่นจะปฏิเสธองุ่นนั้น
  • 15:42 - 15:44
    จนกว่าลิงอีกตัวจะได้องุ่นด้วย
  • 15:44 - 15:47
    ดังนั้นเราจึงเข้าใกล้มากแล้วสำหรับสิ่ง
    ที่มนุษย์เรียกว่าความยุติธรรม
  • 15:47 - 15:51
    และผมคิดว่านักปราชญ์ควรคิดทบทวนปรัชญา
    ของพวกเขาอีกสักพัก
  • 15:51 - 15:53
    ดังนั้น ผมจะกล่าวสรุป
  • 15:53 - 15:55
    ผมเชื่อว่าศีลธรรมนั้นมีวิวัฒนาการ
  • 15:55 - 15:57
    ผมคิดว่าศีลธรรมนั้นเป็นอะไร
    มากกว่าสิ่งที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้
  • 15:57 - 16:00
    แต่มันคงเกิดขึ้นไม่ได้หากขาด
    ส่วนประกอบเหล่านี้
  • 16:00 - 16:02
    องค์ประกอบที่เราพบในลิงพันธุ์อื่นๆ
  • 16:02 - 16:04
    ซึ่งนั่นคือ ความเห็นอกเห็นใจ การปลอบโยน
  • 16:04 - 16:07
    การช่วยเหลือกันและกัน
    และความรู้สึกถึงความยุติธรรม
  • 16:07 - 16:10
    และดังนั้นเราจึงศึกษาในเรื่องนี้
  • 16:10 - 16:13
    เพื่อที่จะหาว่าเราสามารถสร้างศีลธรรมได้
    จากจุดเริ่มต้น
  • 16:13 - 16:15
    โดยไม่จำเป็นต้องมีพระเจ้าหรือศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • 16:15 - 16:18
    และเพื่อหาว่าเราสามารถไปถึงศีลธรรม
    ที่มีวิวัฒนาการแล้วได้หรือไม่
  • 16:18 - 16:21
    ขอบคุณที่รับฟังครับ
  • 16:21 - 16:30
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ฟรานซ์ เดอ วาลล์: พฤติกรรมศีลธรรมในสัตว์
Speaker:
ฟรานซ์ เดอ วาลล์ (Frans de Waal)
Description:

ความเห็นอกเห็นใจ การร่วมมือกัน ความยุติธรรม การช่วยเหลือกันและกัน อีกทั้งความห่วงใยความเป็นอยู่ของผู้อื่น ดูเหมือนจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์เท่านั้น แต่ฟรานซ์ เดอ วาลล์ แบ่งปันวิดีโออันน่าทึ่งของการทดลองทางพฤติกรรมของสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่า มีพฤติกรรมด้านศีลธรรมมากแค่ไหนที่ทั้งคนและสัตว์ต่างมีเช่นเดียวกัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:31
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Moral behavior in animals
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Moral behavior in animals
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Moral behavior in animals
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Moral behavior in animals
Paravee Asava-Anan accepted Thai subtitles for Moral behavior in animals
Paravee Asava-Anan edited Thai subtitles for Moral behavior in animals
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Moral behavior in animals
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Moral behavior in animals
Show all
  • Great work! Thank you very much for translating and reviewing. I made very few typo corrections and I think it's ready to be published! Thank you again krub.

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 10 Edited (legacy editor)
    Unnawut Leepaisalsuwanna