Return to Video

หุ่นยนต์ที่มีจิตใจ

  • 0:01 - 0:03
    งานของผมคือการออกแบบ สร้าง และศึกษา
  • 0:03 - 0:05
    หุ่นยนต์ที่โต้ตอบกับมนุษย์
  • 0:05 - 0:07
    แต่เรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับหุ่นยนต์เลย
  • 0:07 - 0:09
    มันเริ่มจากหนังแอนิเมชัน
  • 0:09 - 0:11
    เมื่อผมได้ดูภาพยนต์ ของพิกซาร์
    เรื่อง "ลักโซ จูเนียร์" เป็นครั้งแรก
  • 0:11 - 0:13
    ผมทึ่งมากที่พวกเขาสามารถ
  • 0:13 - 0:15
    ใส่อารมณ์มากมายให้บางสิ่งบางอย่าง
  • 0:15 - 0:17
    ที่แสนธรรมดาอย่างโคมไฟตั้งโต๊ะ
  • 0:17 - 0:19
    ลองดูพวกมันสิครับ ที่ตอนท้ายของภาพยนต์นี้
  • 0:19 - 0:22
    คุณจะมีความรู้สึกต่อเฟอร์นิเจอร์สองชิ้นนี้จริงๆ
  • 0:22 - 0:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:24 - 0:26
    ผมจึงตั้งใจว่า ผมจะต้องเรียนรู้ที่จะทำแบบนั้นให้ได้
  • 0:26 - 0:29
    ผมจึงตัดสินใจพลาด ในการเลือกสายอาชีพ
  • 0:29 - 0:32
    แม่ผมเป็นแบบนั้นเลย ตอนที่ผมตัดสินใจผิดครั้งนั้น
  • 0:32 - 0:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:34 - 0:36
    ผมทิ้งงานด้านไอที ในบริษัทซอฟท์แวร์แห่งหนึ่ง
  • 0:36 - 0:38
    ที่แสนสบายในอิสราเอล และย้ายไปนิวยอร์ค
  • 0:38 - 0:39
    เพื่อศึกษาด้านแอนิเมชัน
  • 0:39 - 0:41
    ผมอาศัย อยู่ในอพาร์ตเมนต์
  • 0:41 - 0:44
    สภาพใกล้ถล่ม ในย่านฮาร์เลม
    กับเพื่อนร่วมห้องของผม
  • 0:44 - 0:45
    ผมไม่ได้พูดเปรียบเปรยนะครับ
  • 0:45 - 0:47
    วันหนึ่ง เพดานห้องก็ถล่มลงมาจริงๆ
  • 0:47 - 0:48
    ตรงห้องนั่งเล่น
  • 0:48 - 0:51
    เมื่อใดก็ตาม ที่นักข่าวจะทำข่าว
    เกี่ยวกับอาคารที่ผิดเทศบัญญัติในนิวยอร์ค
  • 0:51 - 0:53
    พวกเขาจะต้องมาทำข่าวหน้าอพาร์ตเมนต์เรา
  • 0:53 - 0:57
    คล้ายกับว่าเป็นฉากหลัง
    เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเลวร้ายแค่ไหน
  • 0:57 - 0:59
    อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันผมก็ไปเรียน ส่วนกลางคืน
  • 0:59 - 1:02
    ผมจะนั่งวาดภาพแอนิเมชันด้วยดินสอ ทีละเฟรม
  • 1:02 - 1:05
    และผมก็ได้บทเรียนที่น่าประหลาดใจสองอย่าง
  • 1:05 - 1:07
    บทเรียนแรกคือ
  • 1:07 - 1:09
    ถ้าคุณอยากสร้างอารมณ์ความรู้สึก
  • 1:09 - 1:11
    มันไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 1:11 - 1:13
    ทุกอย่างอยู่ที่การเคลื่อนไหว และจังหวะ
  • 1:13 - 1:15
    การเคลื่อนไหวของสิ่งนั้น
  • 1:15 - 1:18
    บทเรียนที่สอง คือบางอย่างที่ครูของเราสอนเรา
  • 1:18 - 1:20
    เขาเป็นคนสร้างตัววีเซล ในเรื่อง ไอซ์เอจ
  • 1:20 - 1:22
    เขากล่าวว่า
  • 1:22 - 1:25
    "ในฐานะแอนิเมเตอร์ คุณไม่ใช่ผู้กำกับ คุณคือนักแสดง"
  • 1:25 - 1:28
    ดังนั้น ถ้าคุณต้องการหาการเคลื่อนไหว
    ที่เหมาะสมให้กับตัวละครสักตัว
  • 1:28 - 1:30
    อย่ามัวแต่คิด จงใช้ร่างกายคุณเพื่อค้นหามัน
  • 1:30 - 1:32
    ยืนหน้ากระจก แล้วลองทำท่าทาง
  • 1:32 - 1:34
    ต่อหน้ากล้อง อย่างที่คุณอยากทำ
  • 1:34 - 1:36
    แล้วเอาการเคลื่อนไหวนั้น มาใส่ในตัวละครของคุณ
  • 1:36 - 1:39
    หนึ่งปีหลังจากนั้น ผมก็มาอยู่ที่ MIT
  • 1:39 - 1:41
    ในกลุ่มวิจัย ชิวิตหุ่นยนต์ (robotic life group)
    เราเป็นกลุ่มแรกๆ
  • 1:41 - 1:43
    ที่วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างคนและหุ่นยนต์
  • 1:43 - 1:45
    และผมยังมีฝันที่ยังต้องไปให้ถึง
  • 1:45 - 1:48
    นั่นคือ โคมไฟ ลักโซจูเนียร์ ของจริง
  • 1:48 - 1:50
    แต่ผมก็พบว่า หุ่นยนต์นั้นไม่ได้เคลื่อนไหว
  • 1:50 - 1:51
    ในแบบที่น่าสนใจ ที่ผมคุ้นเคย
  • 1:51 - 1:53
    เมื่อตอนผมเรียนแอนิเมชัน
  • 1:53 - 1:55
    ในทางตรงข้าม พวกมันกลับ --
  • 1:55 - 1:57
    ผมจะพูดยังไงดี พวกมันทำตัวเหมือนหุ่นยนต์น่ะครับ
  • 1:57 - 1:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:59 - 2:03
    และผมก็คิดว่า ถ้าผมเอาสิ่งที่ได้เรียนมาจาก
    โรงเรียนสอนแอนิเมชัน
  • 2:03 - 2:05
    แล้วใช้มัน เพื่อออกแบบหุ่นยนต์โคมไฟของผมล่ะ
  • 2:05 - 2:08
    ผมจึงเริ่มออกแบบมันทีละเฟรม
  • 2:08 - 2:09
    เพื่อจะสร้างหุ่นยนต์ตัวนี้
  • 2:09 - 2:12
    อย่างอ่อนช้อยและให้ความรู้สึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 2:12 - 2:14
    และนี่ คุณจะเห็นเจ้าหุ่นยนต์ กำลังโต้ตอบกับผม
  • 2:14 - 2:16
    บนโต๊ะทำงาน
  • 2:16 - 2:18
    และผมกำลังออกแบบหุ่นยนต์ตัวใหม่อยู่
  • 2:18 - 2:20
    โดยที่ตัวมันเอง ไม่รู้ว่า
  • 2:20 - 2:22
    มันกำลังขุดหลุมฝังตัวเอง โดยการช่วยผม
  • 2:22 - 2:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:24 - 2:26
    ผมอยากให้มัน ไม่ดูเป็นเครื่องมือกลไกสำหรับส่องแสง
  • 2:26 - 2:28
    เท่าไหร่นัก
  • 2:28 - 2:31
    แต่อยากให้มันดูเหมือนผู้ช่วย ที่คอยช่วยเหลืออยู่เงียบๆ
  • 2:31 - 2:34
    ผู้ซึ่งพร้อมอยู่ตลอดเมื่อคุณต้องการ
    และไม่เกะกะคุณ
  • 2:34 - 2:36
    ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผมมองหาแบตเตอรี
  • 2:36 - 2:37
    ที่ผมหาไม่เจอ
  • 2:37 - 2:42
    ด้วยวิธีแยบยล มันช่วยให้ผมหาแบตเตอรีพบ
  • 2:42 - 2:44
    คุณจะเห็นว่าตอนนี้ผมเริ่มสับสน
  • 2:44 - 2:49
    ผมไม่ใช่นักแสดง
  • 2:49 - 2:50
    ผมอยากให้คุณลองสังเกตว่า
  • 2:50 - 2:52
    ด้วยโครงสร้างกลไกเดียวกัน
    แต่ด้วยการเคลื่อนไหวที่แตกต่าง
  • 2:52 - 2:55
    ด้วยการเคลื่อนไหวแบบหนึ่ง
    มันสามารถที่จะดูอ่อนโยนและเอาใจใส่
  • 2:55 - 2:58
    และในอีกแบบหนึ่ง
    ก็สามารถดูเกรี้ยวกราดและชอบเผชิญหน้า
  • 2:58 - 3:02
    มันคือโครงสร้างเดียวกัน
    แค่เคลื่อนไหวต่างกันเท่านั้นเอง
  • 3:07 - 3:13
    นักแสดง: "แกออยากรู้อะไรไหม หือ
    แกอยากรู้อะไรไหม
  • 3:13 - 3:14
    เขาตายแล้ว!
  • 3:14 - 3:18
    นอนตายอยู่ตรงนั้น ตาค้างเลย!"
  • 3:18 - 3:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:19 - 3:23
    แต่การเคลื่อนไหวอย่างอ่อนโยนนั้น เป็นแค่
    สิ่งพื้นฐานสิ่งหนึ่ง ในโครงสร้างใหญ่
  • 3:23 - 3:24
    ที่เรียกว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์
  • 3:24 - 3:26
    ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกอยู่
  • 3:26 - 3:28
    ผมศึกษาเรื่อง การร่วมมือกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์
  • 3:28 - 3:30
    ซึ่งคือ ทีมของมนุษย์
    และทีมของหุ่นยนต์ ที่ทำงานร่วมกัน
  • 3:30 - 3:31
    ผมศึกษา ด้านวิศวกรรม
  • 3:31 - 3:34
    จิตวิทยา ปรัชญาของการทำงานเป็นทีม
  • 3:34 - 3:36
    และในขณะเดียวกัน ผมพบว่าตัวเองนั้น
  • 3:36 - 3:37
    ก็กำลังอยู่ในรูปแบบหนึ่งของการทำงานเป็นทีม
  • 3:37 - 3:40
    กับเพื่อนรักของผมคนหนึ่ง ซึ่งก็อยู่ที่นี่ด้วย
  • 3:40 - 3:42
    และเมื่อเราทำงานเป็นทีม
    มันง่ายมากที่เราจะจินตนาการ
  • 3:42 - 3:44
    ถึงหุ่นยนต์ที่จะอยู่กับเราในอนาคตอันใกล้ได้
  • 3:44 - 3:46
    ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพิธีกรรมทางศาสนา
    ของชาวยิว (Passover seder)
  • 3:46 - 3:48
    เรากำลังเก็บเก้าอี้พับจำนวนมาก
  • 3:48 - 3:51
    และผมก็ต้องประหลาดใจ ว่าเราค้นพบจังหวะ
    ของเราเอง ได้รวดเร็วแค่ไหน
  • 3:51 - 3:53
    ทุกคนทำงานส่วนของตัวเอง
  • 3:53 - 3:54
    เราไม่ต้องแบ่งหน้าที่กัน
  • 3:54 - 3:56
    เราไม่ต้องสื่อสารกันด้วยคำพูดออกมา
  • 3:56 - 3:58
    มันเกิดขึ้นเอง
  • 3:58 - 3:59
    ผมจึงคิดว่า
  • 3:59 - 4:01
    มนุษย์กับหุ่นยนต์ไม่เห็นทำงานร่วมกันได้แบบนี้เลย
  • 4:01 - 4:02
    เมื่อมนุษย์และหุ่นยนต์มีปฏิสัมพันธ์
  • 4:02 - 4:03
    มันเหมือนกับการเล่นหมากรุก
  • 4:03 - 4:05
    หากมนุษย์ทำอะไรบางอย่าง
  • 4:05 - 4:07
    หุ่นยนต์ก็จะวิเคราะห์สิ่งที่มนุษย์ทำ
  • 4:07 - 4:08
    จากนั้นหุ่นยนต์ก็ตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อ
  • 4:08 - 4:09
    วางแผนและลงมือทำ
  • 4:09 - 4:11
    จากนั้น มนุษย์ก็จะรอ
    จนกว่าจะถึงตาเดินของเขาอีกครั้ง
  • 4:11 - 4:13
    มันจึงเหมือนการเล่นหมากรุกเสียมากกว่า
  • 4:13 - 4:15
    และมันก็สมเหตุสมผล เพราะหมากรุกนั้นเหมาะ
  • 4:15 - 4:16
    กับนักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • 4:16 - 4:19
    มันเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 4:19 - 4:22
    การวางแผนและตัดสินใจ
  • 4:22 - 4:25
    แต่ผมอยากให้หุ่นยนต์ของผม
    ไม่เหมือนกับนักเล่นหมากรุก
  • 4:25 - 4:27
    แต่เป็นเหมือนคนที่ชอบลงมือทำ
  • 4:27 - 4:29
    ที่ทำงานร่วมกันอย่างลงตัว
  • 4:29 - 4:33
    ดังนั้นผมจึงเลือกอาชีพที่ผิดอีก เป็นครั้งที่สอง
  • 4:33 - 4:35
    นั่นคือ ผมตัดสินใจเรียนการแสดง เป็นเวลาหนึ่งเทอม
  • 4:35 - 4:38
    ผมพักเรื่องปริญญาเอกไว้ แล้วไปเรียนวิชาการแสดง
  • 4:38 - 4:41
    ผมได้เล่นละครเวทีด้วย
  • 4:41 - 4:43
    ผมหวังว่าคงไม่มีวิดีโอละครเรื่องนั้นหลุดออกมานะครับ
  • 4:43 - 4:46
    ผมมีหนังสือทุกเล่มที่จะหาได้เกี่ยวกับการแสดง
  • 4:46 - 4:48
    รวมถึงหนังสือจากศตวรรษที่ 19
  • 4:48 - 4:49
    ที่ผมได้มาจากห้องสมุด
  • 4:49 - 4:52
    และผมก็ทึ่งมาก เพราะผมเป็น
    คนยืมหนังสือเล่มนั้นเป็นคนที่สอง
  • 4:52 - 4:55
    คนแรก ยืมหนังสือเล่มนี้เมื่อปี 1889 (เสียงหัวเราะ)
  • 4:55 - 4:57
    หนังสือเล่มนี้ต้องรอถึง 100 ปี
  • 4:57 - 5:00
    เพื่อที่จะถูกนำไปใช้ในสาขาหุ่นยนต์
  • 5:00 - 5:02
    หนังสือเล่มนี้สอนให้นักแสดง
  • 5:02 - 5:04
    ว่าควรเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแต่ละมัดอย่างไร
  • 5:04 - 5:07
    เพื่อให้เข้ากับอารมณ์แต่ละแบบ
    ที่พวกเขาอยากแสดงออก
  • 5:07 - 5:09
    แต่สิ่งที่ช่วยเปิดหูเปิดตาผม ก็คือ
  • 5:09 - 5:10
    เมื่อผมเรียนเกี่ยวกับการแสดงแบบ
    เมธอด (Method Acting)
  • 5:10 - 5:12
    มันได้รับความนิยมมากในศตวรรษที่ 20
  • 5:12 - 5:15
    ในการแสดงแบบ เมธอด คุณไม่จำเป็น
    ต้องจัดกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย
  • 5:15 - 5:18
    ในทางกลับกัน คุณต้องใช้ร่างกาย
    เพื่อหาการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม
  • 5:18 - 5:20
    คุณต้องใช้ความทรงจำที่ร่างกายคุณมี
  • 5:20 - 5:22
    เพื่อสร้างอารมณ์ และ
  • 5:22 - 5:24
    คิดโดยใช้ร่างกายของคุณ
    ค้นหาการแสดงออกอย่างเหมาะสม
  • 5:24 - 5:26
    กับนักแสดงที่เข้าฉากกับคุณอย่างทันทีทันใด
  • 5:26 - 5:30
    และผมก็ได้เรียนรู้สิ่งนี้
    ขณะที่ผมกำลังอ่านเรื่องแนวโน้ม
  • 5:30 - 5:33
    ในจิตวิทยาการรู้คิด เรื่อง การรู้คิดโดยร่างกาย
    (embodied cognition)
  • 5:33 - 5:34
    ซึ่งกล่าวไว้ในแนวคิดคล้ายกัน
  • 5:34 - 5:36
    ว่าเราใช้ร่างกายของเราเพื่อคิด
  • 5:36 - 5:38
    เราไม่เพียงแค่คิดด้วยด้วยสมอง
    แล้วใช้ร่างกายของเราเพื่อเคลื่อนที่
  • 5:38 - 5:41
    แต่ร่างกายของเราก็ส่งสัญญาณกลับไปยังสมอง
  • 5:41 - 5:43
    และสร้างพฤติกรรมของเรา
  • 5:43 - 5:44
    มันเหมือนกับสายฟ้าฟาด
  • 5:44 - 5:46
    ผมกลับไปที่ห้องทำงานของผม
  • 5:46 - 5:48
    และเขียนรายงานขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งผมไม่เคยตีพิมพ์
  • 5:48 - 5:51
    ชื่อว่า "วิชาการแสดงสำหรับปัญญาประดิษฐ์"
  • 5:51 - 5:52
    และผมใช้เวลาหนึ่งเดือน
  • 5:52 - 5:55
    เพื่อสร้างละครเวทีเรื่องแรก
  • 5:55 - 5:57
    ที่มีคนและหุ่นยนต์เล่นละครด้วยกัน
  • 5:57 - 6:00
    ซึ่งคุณได้ชมไปตอนต้นแล้ว ในวิดีโอที่มีนักแสดง
  • 6:00 - 6:02
    และผมก็คิดว่า
  • 6:02 - 6:05
    เราจะสร้างแบบจำลองของปัญญาประดิษฐ์
  • 6:05 - 6:06
    คอมพิวเตอร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์
  • 6:06 - 6:09
    ที่จะจำลองแนวคิดของการอิมโพรไวส์
  • 6:09 - 6:11
    ของการรับความเสี่ยง และคว้าโอกาส
  • 6:11 - 6:13
    และแม้กระทั่งยอมที่จะผิดพลาด
  • 6:13 - 6:15
    บางทีมันอาจทำให้หุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมทีมที่ดีขึ้น
  • 6:15 - 6:18
    ผมศึกษาแบบจำลองเหล่านี้เป็นเวลานานมาก
  • 6:18 - 6:20
    และผมนำมันไปใช้ในหุ่นยนต์หลายตัว
  • 6:20 - 6:22
    คุณจะเห็นได้จากตัวอย่างในช่วงแรกๆ
  • 6:22 - 6:26
    ในหุ่นยนต์ที่พยายามจะใช้ปัญญาประดิษฐ์เชิงร่างกาย
  • 6:26 - 6:29
    เพื่อพยายามจะเลียนแบบการเคลื่อนไหวของผม
    ให้ใกล้เคียงมากที่สุด
  • 6:29 - 6:30
    เหมือนกับเป็นเกม
  • 6:30 - 6:32
    ลองมาดูกัน
  • 6:36 - 6:40
    คุณจะเห็นว่าเมื่อผมแกล้งมัน มันก็โดนหลอก
  • 6:40 - 6:42
    มันคล้ายกับสิ่งที่คุณอาจจะเคยเห็นนักแสดงทำ
  • 6:42 - 6:44
    เวลาที่พวกเขาพยายามเลียนแบบกัน
  • 6:44 - 6:46
    เพื่อหาจังหวะที่สอดคล้องของกันและกัน
  • 6:46 - 6:48
    จากนั้น ผมทำการทดลองอีกอันหนึ่ง
  • 6:48 - 6:52
    ผมให้ผู้คนทั่วๆไป
    ลองใช้โคมไฟหุ่นยนต์ตัวนี้
  • 6:52 - 6:56
    และทดลองแนวคิดเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์เชิงร่างกาย
  • 6:56 - 7:01
    ผมใช้สมองสองแบบ สำหรับหุ่นยนต์ตัวเดียวกัน
  • 7:01 - 7:02
    หุ่นยนต์ก็คือโคมไฟที่คุณเห็น
  • 7:02 - 7:04
    และผมใส่สมองสองแบบเข้าไป
  • 7:04 - 7:06
    สำหรับผู้คนครึ่งหนึ่ง
  • 7:06 - 7:08
    ผมใช้สมองแบบธรรมดา
  • 7:08 - 7:10
    สมองหุ่นยนต์แบบนักคำนวณ
  • 7:10 - 7:12
    มันรอให้ถึงตาของมัน วิเคราะห์ทุกอย่าง และวางแผน
  • 7:12 - 7:14
    เรียกง่ายๆ ว่าสมองนักคำนวณ
  • 7:14 - 7:18
    สมองอีกส่วน เป็นส่วนนักแสดง ชอบความเสี่ยง
  • 7:18 - 7:20
    หรือเรียกได้ว่า สมองนักผจญภัย
  • 7:20 - 7:23
    บางที มันก็ทำโดยที่ไม่รู้ทุกอย่างที่ต้องรู้
  • 7:23 - 7:25
    บางครั้งมันก็ทำพลาด และแก้ไข
  • 7:25 - 7:27
    ผมให้พวกเขาทำงานที่จำเจมากๆ
  • 7:27 - 7:29
    ที่ใช้เวลาเกือบ 20 นาที
  • 7:29 - 7:30
    พวกเขาต้องทำงานร่วมกัน
  • 7:30 - 7:33
    คล้ายกับการจำลองงานในโรงงาน
  • 7:33 - 7:35
    ที่ต้องทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ กัน
  • 7:35 - 7:37
    และผมพบว่า ผู้คนชื่นชอบ
  • 7:37 - 7:39
    หุ่นยนต์นักผจญภัยมากกว่า
  • 7:39 - 7:40
    พวกเขาคิดว่ามันฉลาดกว่า
  • 7:40 - 7:42
    มุ่งมั่นต่องานมากกว่า และเป็นเพื่อนร่วมทีมที่ดีกว่า
  • 7:42 - 7:44
    และเสียสละต่อทีมมากกว่า
  • 7:44 - 7:46
    พวกเขาถึงกับเรียกมันว่า 'เขา' หรือ 'เธอ'
  • 7:46 - 7:49
    ในขณะที่คนอีกกลุ่มที่ทำงาน
    กับหุ่นนักคำนวณ เรียกมันว่า 'มัน'
  • 7:49 - 7:52
    แต่ไม่มีใครเรียกมันว่า 'เขา' หรือ 'เธอ' เลย
  • 7:52 - 7:53
    เมื่อพวกเขาพูดถึงมัน หลังจากที่ได้ร่วมงาน
  • 7:53 - 7:55
    กับสมองนักผจญภัยแล้ว
  • 7:55 - 7:59
    พวกเขากล่าวว่า "เมื่องานเสร็จ พวกเรา
    กลายเป็นเพื่อนกัน และแตะมือกันทางจิตเลย"
  • 7:59 - 8:01
    ไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไรนะครับ
  • 8:01 - 8:04
    (เสียงหัวเราะ) คงทรมานน่าดู
  • 8:04 - 8:07
    ขณะที่ผู้คนที่ทำงานกับสมองนักคำนวณ
  • 8:07 - 8:09
    บอกว่ามันเป็นเหมือนผู้ช่วยที่ขี้เกียจ
  • 8:09 - 8:12
    มันแค่ทำในสิ่งที่มันต้องทำ
    แต่ไม่ทำอะไรนอกเหนือจากนั้น
  • 8:12 - 8:14
    ซึ่งก็คือเกือบทั้งหมดที่คนคาดหวังจากหุ่นยนต์
  • 8:14 - 8:17
    ดังนั้น ผมจึงประหลาดใจมาก
    ที่ผู้คนมีความคาดหวังจากหุ่นยนต์
  • 8:17 - 8:22
    มากกว่าที่ใครๆก็ตามในสาขาหุ่นยนต์ จะคาดถึง
  • 8:22 - 8:24
    ในแง่หนึ่ง ผมคิดว่ามันถึงเวลาแล้ว
  • 8:24 - 8:27
    เช่นเดียวกับที่การแสดงแบบ เมธอด ได้เปลี่ยน
  • 8:27 - 8:28
    วิธีที่ผู้คนคิดเกี่ยวกับการแสดงในศตวรรษที่ 19
  • 8:28 - 8:30
    จากการแสดงที่ต้องคิดคำนวณ
  • 8:30 - 8:32
    และวางแผนทุกการเคลื่อนไหว
  • 8:32 - 8:35
    ไปเป็นการแสดงไปตามสัญชาตญาณ
    และลองผิดลองถูก
  • 8:35 - 8:37
    บางทีมันอาจถึงเวลาที่หุ่นยนต์
  • 8:37 - 8:40
    ที่จะต้องมีการปฏิวัติคล้ายๆ กัน
  • 8:40 - 8:41
    สองสามปีให้หลัง
  • 8:41 - 8:43
    ผมทำงานเป็นนักวิจัยที่ จอร์เจียเทค รัฐแอตแลนตา
  • 8:43 - 8:45
    ผมได้ทำงานอยู่ในกลุ่ม
  • 8:45 - 8:46
    ที่วิจัยเรื่องหุ่นยนต์นักดนตรี
  • 8:46 - 8:49
    ผมคิดว่า ดนตรี คือสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
  • 8:49 - 8:51
    ที่จะศึกษาเรื่องทีมเวิร์ค การประสานงาน
  • 8:51 - 8:53
    จังหวะ และการอิมโพรไวส์
  • 8:53 - 8:55
    เราจังให้หุ่นต์ตัวนี้เล่น มาริมบา
  • 8:55 - 8:57
    สำหรับคนที่ไม่รู้จัก มาริมบา
  • 8:57 - 9:00
    ก็คือ ไซโลโฟนไม้ ขนาดมหึมา
  • 9:00 - 9:03
    เมื่อผมศึกษาเรื่องนี้
  • 9:03 - 9:06
    ผมค้นคว้างานวิจัยอื่นๆ
    เรื่องการอิมโพรไวส์ระหว่างคนและหุ่นยต์
  • 9:06 - 9:08
    ใช่ครับ มันมีงานศึกษาอื่นๆ ในเรื่องนั้น
  • 9:08 - 9:10
    และพวกมันก็ดูคล้ายๆ กับเกมหมากรุก
  • 9:10 - 9:11
    มนุษย์จะเล่น
  • 9:11 - 9:14
    หุ่นยนต์ก็จะวิเคราะห์การเล่นนั้น
  • 9:14 - 9:16
    และจะสร้างส่วนการเล่นของมัน
  • 9:16 - 9:18
    นี่คือสิ่งที่นักดนตรีเรียกว่า
  • 9:18 - 9:19
    การโต้ตอบแบบการขานเรียก และตอบรับ
  • 9:19 - 9:23
    และมันก็เหมาะกันอย่างยิ่ง หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
  • 9:23 - 9:25
    แต่ผมกลับคิดว่า ถ้าผมใช้แนวคิดที่ผมใช้
  • 9:25 - 9:28
    กับละครเวที และการศึกษาเรื่องการทำงานร่วมกัน
  • 9:28 - 9:31
    บางทีผมอาจทำให้หุ่นยนต์เล่นดนตรีร่วมกัน
  • 9:31 - 9:32
    เป็นวงดนตรี
  • 9:32 - 9:36
    ทุกคนต่อเพลงจากคนอื่นๆ โดยไม่มีใครหยุดเล่นเลย
  • 9:36 - 9:39
    ดังนั้น ผมจึงพยายามทำสิ่งเดียวกัน
    แต่ครั้งนี้ ผมทดลองกับดนตรี
  • 9:39 - 9:40
    ซึ่งหุ่นยนต์นั้นจะไม่รู้ล่วงหน้า
  • 9:40 - 9:41
    ว่ามันจะต้องเล่นอะไร
  • 9:41 - 9:43
    มันเคลื่อนไหวร่างกายของมัน
  • 9:43 - 9:45
    และหาจังหวะที่จะเล่นเพลง
  • 9:45 - 9:47
    และทำในสิ่งที่ครูสอนดนตรีแจ้สของผม
    สอนผมไว้เมื่อตอน 17 ปี
  • 9:47 - 9:49
    เธอสอนว่า เมื่อคุณอิมโพรไวส์
  • 9:49 - 9:50
    บางครั้งคุณจะไม่รู้ตัวว่าเล่นอะไรอยู่
  • 9:50 - 9:51
    แต่คุณก็เล่นไปเรื่อยๆ
  • 9:51 - 9:53
    ดังนั้น ผมจึงพยายามสร้างหุ่นยนต์ ที่ไม่รู้จริงๆ ว่า
  • 9:53 - 9:55
    มันกำลังเล่นอะไร แต่ก็ยังเล่นไปเรื่อยๆ
  • 9:55 - 9:58
    ลองมาดูการแสดงที่ว่า สั้นๆ สัก 2-3 วินาที
  • 9:58 - 10:01
    โดยหุ่นยนต์จะฟังนักดนตรีที่เป็นมนุษย์
  • 10:01 - 10:02
    และอิมโพรไวส์
  • 10:02 - 10:05
    จากนั้น ลองดูว่านักดนตรีที่เป็นมนุษย์
  • 10:05 - 10:07
    โต้ตอบ และรับส่งเพลงกับหุ่นยนต์อย่างไร
  • 10:07 - 10:09
    โดยดูจากท่าทางของมัน
  • 10:09 - 10:14
    บางจังหวะ คุณจะประหลาดใจกับสิ่งหุ่นยนต์เล่นออกมา
  • 10:14 - 11:00
    (เสียงเพลง)
  • 11:00 - 11:05
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:05 - 11:07
    การเป็นนักดนตรี ไม่ใช่เพียงแค่เล่นโน้ตให้ถูก
  • 11:07 - 11:09
    ไม่เช่นนั้น คงไม่มีใครอยากไปดูการแสดงดนตรีสด
  • 11:09 - 11:11
    นักดนตรีนั้นสื่อสารด้วยร่างกายของเขา
  • 11:11 - 11:13
    กับสมาชิกในวงคนอื่นๆ และกับผู้ชม
  • 11:13 - 11:15
    พวกเขาใช้ร่างกาย เพื่อแสดงออกถึงดนตรี
  • 11:15 - 11:18
    และผมก็คิดว่า ในเมื่อเรามีนักดนตรีหุ่นยนต์บนเวทีแล้ว
  • 11:18 - 11:21
    ทำไมไม่ทำให้มันเป็นนักดนตรีเต็มตัว
  • 11:21 - 11:23
    ผมจึงเริ่มออกแบบส่วนหัวของหุ่นยนต์
  • 11:23 - 11:25
    ที่แสดงอารมณ์ได้
  • 11:25 - 11:27
    ส่วนหัวนั้นไม่ได้แตะต้อง มาริมบา
  • 11:27 - 11:28
    มันแค่แสดงออกถึงอารมณ์ของดนตรี
  • 11:28 - 11:31
    นี่คือภาพร่างที่ผมวาดบนกระดาษเช็ดปาก
    ที่บาร์แห่งหนึ่งในแอตแลนตา
  • 11:31 - 11:34
    ซึ่งตำแหน่งค่อนข้างอันตรายเพราะอยู่กึ่งกลาง
  • 11:34 - 11:36
    ระหว่างที่ทำงาน และบ้านของผม (เสียงหัวเราะ)
  • 11:36 - 11:37
    ผมจึงใช้เวลาโดยเฉลี่ย
  • 11:37 - 11:40
    ประมาณวันละ 3-4 ชั่วโมงที่นั่น
  • 11:40 - 11:43
    คิดว่านะครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 11:43 - 11:46
    ผมกลับไปยังเครื่องมือแอนิเมชัน
    และพยายามจะคิด
  • 11:46 - 11:48
    ว่าหุ่นยนต์นักดนตรีจะหน้าตาอย่างไร
  • 11:48 - 11:51
    และเน้นว่ามันจะเคลื่อนไหวอย่างไร
  • 11:51 - 11:54
    เพื่อจะแสดงออกว่ามันไม่ชอบสิ่งที่นักดนตรีคนอื่นๆ เล่น
  • 11:54 - 11:56
    และอาจแสดงออกถึงจังหวะที่มันกำลังรู้สึก
  • 11:56 - 11:58
    ณ ขณะนั้น
  • 11:58 - 12:03
    ปรากฏกว่าเราได้เงินสนับสนุนให้สร้างหุ่นตัวนี้
    ซึ่งมันเยี่ยมมาก
  • 12:03 - 12:05
    ผมจะให้คุณได้เห็นการแสดงแบบเดียวกัน
  • 12:05 - 12:07
    แต่ครั้งนี้หุ่นยนต์จะมีส่วนหัวที่แสดงอารมณ์ได้ด้วย
  • 12:07 - 12:09
    และโปรดสังเกตว่า
  • 12:09 - 12:11
    หุ่นยนต์พยายามแสดงให้เราเห็น
  • 12:11 - 12:13
    ถึงจังหวะที่มันรับรู้ได้จากมนุษย์
  • 12:13 - 12:17
    เรายังให้มนุษย์ได้รับรู้ว่าหุ่นยนต์
    นั้นรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่
  • 12:17 - 12:18
    และกรุณาสังเกตว่ามันเปลี่ยนแปลง
    การเคลื่อนไหวอย่างไร
  • 12:18 - 12:21
    ทันทีที่มันเริ่มโซโล่
  • 12:21 - 12:25
    (เสียงเพลง)
  • 12:25 - 12:28
    ตอนนี้มันมองมาที่ผมเพื่อให้แน่ใจว่าผมฟังอยู่
  • 12:28 - 12:49
    (เสียงเพลง)
  • 12:49 - 12:52
    ทีนี้ดูที่ท่อนสุดท้ายอีกครั้ง
  • 12:52 - 12:55
    ครั้งนี้หุ่นยนต์สื่อสารด้วยร่างกายของมัน
  • 12:55 - 12:57
    เมื่อมันกำลังสนุกกับการโซโล
  • 12:57 - 12:59
    และเมื่อมันพร้อม
  • 12:59 - 13:02
    ที่จะร่วมกันเล่นคอร์ดสุดท้ายกับผม
  • 13:02 - 13:15
    (เสียงเพลง)
  • 13:15 - 13:21
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:21 - 13:25
    ขอบคุณครับ ผมหวังว่าคุณคงจะเห็น
  • 13:25 - 13:28
    ว่าชิ้นส่วนนี้ ที่ไม่ได้แตะเครื่องดนตรีเลย
  • 13:28 - 13:31
    ได้ช่วยในการแสดงดนตรีครั้งนี้มากขนาดไหน
  • 13:31 - 13:35
    และในจุดนี้ เราอยู่ในแอตแลนตา
    ดังนั้น จึงมีแรปเปอร์บางคน
  • 13:35 - 13:36
    แวะเวียนมาเยี่ยมแลปของเราในบางครั้ง
  • 13:36 - 13:39
    เราให้แรปเปอร์คนนี้
  • 13:39 - 13:41
    ร้องเพลงร่วมกับหุ่นยนต์ของเรา
  • 13:41 - 13:44
    คุณจะเห็นว่าหุ่นยนต์
  • 13:44 - 13:45
    ตอบสนองต่อจังหวะ
  • 13:45 - 13:48
    และโปรดสังเกตสองสิ่ง อย่างแรกคือ
    อดไม่ได้เลยที่จะ
  • 13:48 - 13:51
    โยกหัวไปตามหุ่นยนต์เมื่อมันโยกหัว
  • 13:50 - 13:52
    แม้แต่คุณเองก็ยังอยากโยกหัวตาม
    เมื่อหุ่นยนต์ทำเช่นนั้น
  • 13:52 - 13:56
    และอย่างที่สอง คือแม้ว่าแรปเปอร์คนนั้น
    จะสนใจแต่ไอโฟนของเขา
  • 13:56 - 13:59
    ทันทีที่หุ่นยนต์หันไปหาเขา เขาก็ต้องหันมา
  • 13:59 - 14:01
    แม้ว่ามันแทบไม่อยู่ในสายตาเขา
  • 14:01 - 14:04
    มันอยู่แค่หางตาของเขา
    แต่มันก็มีพลังมาก
  • 14:04 - 14:06
    เหตุผลก็คือ เราไม่สามารถละเลย
  • 14:06 - 14:08
    สิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่รอบๆตัวเราได้
  • 14:08 - 14:09
    เราถูกสร้างมาแบบนั้น
  • 14:09 - 14:13
    ดังนั้น ถ้าคุณมีปัญหากับเพื่อนของคุณ
  • 14:13 - 14:15
    ว่าเขามัวแต่เล่นไอโฟน หรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป
  • 14:15 - 14:17
    คุณอาจเอาหุ่นยนต์ตัวนี้ไปไว้ใกล้ๆ
  • 14:17 - 14:19
    เพื่อเรียกร้องความสนใจ (เสียงหัวเราะ)
  • 14:19 - 14:38
    (เสียงเพลง)
  • 14:38 - 14:45
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:45 - 14:47
    และเพื่อแนะนำหุ่นยนต์ตัวล่าสุด
  • 14:47 - 14:50
    ที่เรากำลังสร้างอยู่นั้น
  • 14:50 - 14:52
    มันเกิดมาจากสิ่งน่าประหลาดใจที่เราค้นพบ
  • 14:52 - 14:55
    บางครั้ง ผู้คนก็ไม่ได้สนใจว่าหุ่นยนต์จะฉลาดแค่ไหน
  • 14:55 - 14:56
    หรือสามารถฟัง และอิมโพรไวส์
  • 14:56 - 15:01
    และมีปัญญาเชิงร่างกาย
    เหล่านี้ที่ผมใช้เวลาหลายปีเพื่อพัฒนามัน
  • 15:01 - 15:04
    พวกเขากลับชื่นชอบที่หุ่นยนต์นั้น
    สนุกไปกับเสียงเพลง (เสียงหัวเราะ)
  • 15:04 - 15:07
    และพวกเขาไม่ได้พูดว่าหุ่นยนต์นั้น
    เคลื่อนไหวไปตามเสียงเพลง
  • 15:07 - 15:08
    พวกเขากล่าวว่ามันกำลังสนุกกับเสียงเพลง
  • 15:08 - 15:11
    เราจึงคิดว่า ทำไมเราไม่เอาแนวคิดนี้ล่ะ
  • 15:11 - 15:14
    ผมจึงออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่
  • 15:14 - 15:16
    ครั้งนี้ มันไม่ใช่โคมไฟตั้งโต๊ะ
    และเป็นแท่นลำโพง
  • 15:16 - 15:19
    มันเป็นสิ่งที่คุณเอาสมาร์ทโฟนของคุณมาเสียบ
  • 15:19 - 15:21
    ผมจึงคิดว่า จะเกิดอะไรขึ้น
  • 15:21 - 15:23
    เมื่อแท่นลำโพงของคุณจะไม่เพียง
    แค่เล่นดนตรีให้คุณฟังเท่านั้น
  • 15:23 - 15:26
    แต่มันจะสนุกไปกับเสียงเพลงด้วย (เสียงหัวเราะ)
  • 15:26 - 15:27
    และเช่นกัน นี่คือแอนิเมชันตัวอย่าง
  • 15:27 - 15:32
    จากการออกแบบขั้นต้น (เสียงหัวเราะ)
  • 15:32 - 15:36
    และนี่คือหน้าตาผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว
  • 15:47 - 16:09
    (เพลง "Drop It Like It's Hot")
  • 16:09 - 16:12
    มีหลายคนโยกหัว --
  • 16:12 - 16:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:15 - 16:17
    ในที่นี้ก็มีหลายคนโยกหัวตาม
  • 16:17 - 16:20
    เราจึงเห็นได้ว่าหุ่นยนต์นั้นมีอิทธิพลต่อผู้คน
  • 16:20 - 16:23
    มันไม่ใช่แค่สนุกหรือแค่เกม
  • 16:23 - 16:25
    ผมคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ผมสนใจมาก
  • 16:25 - 16:27
    เกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้ร่างกายของมันเพื่อสื่อสาร
  • 16:27 - 16:29
    และใช้ร่างกายของมันเคลื่อนไหว
  • 16:29 - 16:33
    ผมจะบอกความลับ ที่พวกเราชาวหุ่นยนต์ เก็บซ่อนไว้
  • 16:33 - 16:35
    นั่นคือ พวกเราทุกคนกำลังจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์
  • 16:35 - 16:37
    ในจุดๆ หนึ่งของชีวิต
  • 16:37 - 16:40
    ในอนาคต จะต้องมีหุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคุณ
  • 16:40 - 16:42
    และถ้าไม่ใช่รุ่นคุณ ก็คงเป็นรุ่นลูกรุ่นหลาน
  • 16:42 - 16:43
    และผมต้องการให้หุ่นยนต์เหล่านี้
  • 16:43 - 16:47
    คล่องแคล่วมากขึ้น เกี่ยวโยงกันมากขึ้น อ่อนโยนมากขึ้น
  • 16:47 - 16:49
    กว่าที่มันเป็นอยู่ในทุกวันนี้
  • 16:49 - 16:51
    และเพื่อให้เป็นเช่นนั้น ผมคิดว่า
  • 16:51 - 16:52
    หุ่นยนต์ต้องเป็นเหมือนนักเล่นหมากรุกให้น้อยลง
  • 16:52 - 16:55
    และเป็นเหมือนนักแสดง หรือนักดนตรีให้มากขึ้น
  • 16:55 - 16:58
    บางทีมันควรจะเลือกเสี่ยง และอิมโพรไวส์
  • 16:58 - 17:00
    และอาจจะสามารถคาดเดาสิ่งที่คุณกำลังจะทำได้
  • 17:00 - 17:03
    บางที มันจำเป็นต้องทำผิดพลาด
  • 17:03 - 17:04
    และแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น
  • 17:04 - 17:06
    เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็คือมนุษย์
  • 17:06 - 17:09
    และในฐานะมนุษย์ หุ่นยนต์ที่ไม่สมบูรณ์แบบนัก
  • 17:09 - 17:11
    อาจจะเหมาะสมสำหรับเรา
  • 17:11 - 17:13
    ขอบคุณครับ
  • 17:13 - 17:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หุ่นยนต์ที่มีจิตใจ
Speaker:
กาย ฮอฟฟ์แมน (Guy Hoffman)
Description:

หุ่นยนต์แบบไหน ที่นักสร้างหนังแอนนิเมเตอร์ นักดนตรีแจ้ส และนักพัฒนาหุ่นยนต์จะสร้างออกมา? คำตอบคือ หุ่นยนต์ที่ขี้เล่น ช่างโต้ตอบ และอยากรู้อยากเห็น กาย ฮอฟฟ์แมน แสดงวิดีโอตัวอย่างของเพื่อนผองหุ่นยนต์ที่ไม่ธรรมดาของเขา รวมถึงหุ่นยนต์นักดนตรีสองตัวที่ชอบมีส่วนร่วมกับมนุษย์ (บันทึก ณ TEDxJaffa)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:38
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Robots with "soul"
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Robots with "soul"
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Robots with "soul"
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Robots with "soul"
Tisa Tontiwatkul accepted Thai subtitles for Robots with "soul"
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for Robots with "soul"
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for Robots with "soul"
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Robots with "soul"
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 11 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut