-
Title:
ความโหดร้ายของความสำเร็จ
-
Description:
สิ่งใดที่ทำให้ชิวิตในสังคมต้องถูกแบ่งขั้ว และเราจะหาทางเยียวยาได้อย่างไร ไมเคิล แซนเดล นักปรัชญาการเมือง ได้ให้คำตอบที่เราต้องประหลาดใจ นั่นคือ คนที่ได้ดีแล้วจะต้องมองตัวเองในกระจก เขาพิจารณาว่า "ความยโส" ของความคิดที่ว่าเราทำอะไรสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวเท่านั้นทำให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า ความสำเร็จของตัวเองมาจากตัวเองผู้เดียว และเหยียดหยามผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจ และทำให้การแย่งแยกระหว่าง "ผู้ชนะ" และ "ผู้แพ้" ชัดเจนมากขึ้นในยุคเศรษฐกิจใหม่ได้อย่างไร รับฟังว่าเหตุใดเราจึงควรพิจารณาความหมายของความสำเร็จเสียใหม่ และตระหนักถึงบทบาทของโชคและความบังเอิญ เพื่อบรรเทาความขมขื่นและนำไปสู่ชีวิตในสังคมที่อารี
-
Speaker:
ไมเคิล แซนเดล
-
นี่คือคำถามที่เราทุกคนควรถาม
-
มีอะไรผิดพลาดเหรอ
-
ไม่ใช่แค่เรื่องโรคระบาดนะ
-
แต่หมายถึงเรื่องชีวิตในฐานะพลเมือง
-
อะไรพาเรามาสู่ห้วงเวลาอันน่าขมขื่น
ของการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
-
-
การแบ่งแยกระหว่างผู้แพ้และผู้ชนะ
หยั่งรากลึก
-
เป็นพิษต่อการเมืองของเรา
-
แบ่งแยกเราออกจากกัน
-
ในการแบ่งแยกนี้ ส่วนหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับ
ความไม่เท่าเทียม
-
แต่ก็เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่เรามี
ต่อการชนะและการพ่ายแพ้
-
ที่มาด้วยกัน
-
ผู้ที่อยู่ที่ปลายยอด
-
หันมาเชื่อว่าความสำเร็จของตัวเองนั้น
มาจากการกระทำของตัวเองทั้งสิ้น
-
วัดกันที่ความพยายาม
-
และคนที่ล้มเหลว ก็ไม่โทษใคร
นอกจากตัวเอง
-
วิธีการมองความสำเร็จแบบนี้
¶
-
เห็นได้ชัดว่ามีต้นตอมาจาก
หลักการที่น่าสนใจข้อหนึ่ง
-
หากทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
-
ผู้ชนะก็สมควรได้รับชัยชนะ
-
นี่คือหัวใจของอุดมคติแบบ
ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
-
แน่นอน ในทางปฏิบัติ เราทำไม่ได้หรอก
-
ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับโอกาสที่เท่าเทียม
ในการเติบโต
-
เด็ก ๆ ที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน
ก็มักจะยังคงยากจนเมื่อโตขึ้น
-
พ่อแม่ที่ร่ำรวย ก็สามารถที่จะ
มอบอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ให้กับลูกของตนได้
-
ตัวอย่างเช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีก
-
ที่คัดเอานักศึกษาหัวกะทิ
คิดเป็นร้อยละหนึ่ง
-
ซึ่งมากกว่าจำนวนนักศึกษาหัวกะทิ
จากอีกครึ่งล่างของประเทศรวมกัน
-
แต่ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงว่า
เราล้มเหลวในการทำตาม
¶
-
หลักการทำมากได้มาก
ที่เรายึดถือ
-
แต่อุดมคติเองนั่นแหละที่มีปัญหา
-
มันมีด้านมืด
-
อุดมคติแบบทำมากได้มาก
กัดกร่อนผลประโยชน์ส่วนรวม
-
มันนำไปสูความโอหังของเหล่าผู้ชนะ
-
และการเย้ยหยันผู้ที่พ่ายแพ้
-
มันสนับสนุนให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จ
สูดความหอมหวานของความสำเร็จมากเกินไป
-
เพื่อมอมเมาตัวเองว่า ที่มีทุกวันนี้ได้
ไม่ใช่เพราะโชคช่วย
-
และนำไปสู่การดูถูกเหยียดหยาม
ผู้ที่อาจจะไม่ได้โชคดีขนาดนั้น
-
หรือไม่ได้มีคุณสมบัติเท่า
-
สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับเรื่องการเมือง
-
เป็นหนึ่งในต้นตอที่มีอิทธิพล
ต่อการมองผู้คนในแง่ร้าย
-
ผมหมายถึงการที่กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
ถูกคนกลุ่มอภิสิทธิ์ชนดูแคลน
-
นี่คือความไม่พอใจที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
-
แม้แต่โลกาภิวัตน์
ก็ทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมหลั่งรากลึก
¶
-
และค่าจ้างที่คงที่
-
ผู้ที่สนับสนุนหลักการนี้
ได้ให้คำแนะนำที่น่าฉุนเฉียวทีเดียว
-
"หากคุณอยากแข่งขัน
และมีจุดยืนในเศรษฐกิจโลก
-
คุณก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยสิ"
-
"สิ่งที่คุณจะได้ มาจากสิ่งที่คุณเรียน"
-
"คุณทำได้ หากคุณพยายาม"
-
พวกอภิสิทธิ์ชนไม่ได้ตระหนักถึง
การดูถูกที่แฝงอยู่ในคำแนะนำเหล่านี้
-
หากคุณไม่เรียนมหาวิทยาลัย
-
หากคุณไม่เติบโตในเศรษฐกิจใหม่
-
ความล้มเหลวของคุณ
มาจากความผิดพลาดของตัวคุณเอง
-
นี่คือความหมายที่แฝงอยู่
-
ไม่สงสัยเลยว่าทำไมกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
ถึงต่อต้านอภิสิทธิ์ชนที่ยึดในอุดมคตินี้
-
-
เราจำเป็นต้องมองชีวิตในฐานะพลเมืองเสียใหม่
ในสามด้านด้วยกัน
-
บทบาทของมหาวิทยาลัย
-
เกียรติของการทำงาน
-
และความหมายของความสำเร็จ
-
เราควรเริ่มโดยการพิจารณาบทบาท
ของมหาวิทยาลัยใหม่
¶
-
ว่าเป็นผู้กุมอำนาจในการแจกจ่ายโอกาส
-
สำหรับพวกเราหลาย ๆ คน
ที่ใช้ชีวิตในบริษัทที่น่าเชื่อถือ
-
เรามักจะหลงลืมความจริงข้อหนึ่งที่ว่า
-
ผู้คนส่วนมาก ไม่ได้เรียนสี่ปีในมหาวิทยาลัย
และไม่มีใบปริญญา
-
ว่ากันให้ชัด เกือบสองในสาม
ของพลเมืองอเมริกันไม่มีใบปริญญา
-
เพราะฉะนั้นมันจึงไร้สาระมาก
ที่จะสร้างเศรษฐกิจ
-
ที่ยกปริญญาบัตร
เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็น
-
สำหรับการทำงานที่มีเกียรติ
และชีวิตที่ดี
-
การสนับสนุนให้คนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
เป็นเรื่องที่ดี
¶
-
การขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษา
สำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ไม่พอ
-
ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
-
แต่นี่ไม่ใช่ทางออก
สำหรับปัญหาความไม่เท่าเทียม
-
เราควรละจากการติดอาวุธให้พลเมือง
ในสงครามของคนที่ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
-
และให้ความสนใจกับการทำให้ชีวิตดีขึ้น
-
สำหรับผู้ที่ไม่มีปริญญาบัตร
-
แต่เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ
ในการสร้างสังคมของเรา
-
เราควรปรับความคิดเกี่ยวกับ
เกียรติของการทำงาน
¶
-
และนำมันไปวางไว้ที่ใจกลางของการเมืองของเรา
-
เราควรที่จะจดจำว่า การทำงาน
ไม่ใช่เป็นเพียงการหารายได้
-
แต่ยังเป็นการมีส่วนร่วม
ในการสร้างสาธารณะประโยชน์
-
และมีคนมองเห็นว่าได้ทำเช่นนั้น
-
โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน
เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว
¶
-
สัมพันธภาพ ชุมชน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
-
คุณค่าที่สำคัญเหล่านี้ไม่ได้มาจาก
-
การซื้อของและการบริโภคร่วมกัน
-
แต่มาจากการจ้างงานอย่างมีเกียรติ
-
ได้รับค่าตอบแทนที่ควรจะได้รับ
-
เป็นการจ้างงานที่ทำให้เราพูดได้เต็มปากว่า
-
"ฉันช่วยสร้างประเทศนี้
-
ฉันคือผู้ที่มีส่วนในการทำเพื่อส่วนรวม"
-
ความคิดแบบพลเมืองแบบนี้
-
ห่างหายไปจาก
ชีวิตพลเมืองของพวกเราในทุกวันนี้
-
เรามักจะทึกทักเอาว่า
เงินที่ผู้คนได้รับมานั้น
¶
-
คือคุณค่าของการมีส่วนร่วม
ในการสร้างสาธารณประโยชน์
-
แต่ความคิดนี้ผิด
-
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์
ได้อธิบายไว้ว่าทำไมถึงผิด
-
สะท้อนคิดจากการประท้วง
ของเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาด
-
ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี
-
ไม่นานก่อนที่เขาจะถูกสังหาร
-
คิงกล่าวว่า
-
"สุดท้ายแล้ว คนที่ทำงานเก็บขยะ
-
ก็มีความสำคัญเท่ากับแพทย์
-
เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ทำงานของตัวเอง
-
เชื้อโรคก็คงแพร่กระจายไปไหนต่อไหน
-
แรงงานทั้งหมดนั้นมีเกียรติ"
-
ทุกวันนี้ โรคระบาดได้ทำให้คำกล่าวนี้ชัดเจน
¶
-
มันเผยให้เห็นว่า เราต้องพึ่งพา
-
บุคคลที่เรามักจะมองข้าม
-
พนักงานส่งของ
-
พนักงานซ่อมบำรุง
-
พนักงานในร้านขายของชำ
-
พนักงานในคลังเก็บสินค้า
-
พนักงานขับรถบรรทุก
-
ผู้ช่วยพยาบาล
-
พี่เลี้ยงเด็ก
-
ผู้ให้บริการสุขภาพครอบครัว
-
นี่ไม่ใช่อาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนสูง
หรือมีคนยกย่องมากเท่าไหร่
-
แต่ตอนนี้ เรามองพวกเขาเป็นบุคคลที่สำคัญ
-
นี่คือช่วงเวลาสำหรับการถกเถียงในที่สาธารณะ
-
ในการปรับค่าจ้างและเพิ่มการยอมรับ
-
ให้ไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม
และการรับรู้ความสำคัญของงานที่พวกเขาทำ
-
นี่คือจุดพลิกผันในเรื่องจริยธรรม
จุดเปลี่ยนของความเชื่อและศรัทธา
¶
-
ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับ
ความโอหังของอุดมคติทำมากได้มาก
-
ฉันสมควรได้รับความสามารถ
ที่ทำให้ฉันเติบโตได้อย่างมีจริยธรรมหรือไม่
-
เป็นความพยายามของฉัน
-
ที่จะอยู่ในสังคมที่ให้คุณค่ากับความสามารถ
-
ที่ฉันบังเอิญมีหรือเปล่า
-
หรือจริง ๆ แล้วเพราะโชคช่วย
-
การยืนกรานว่าความสำเร็จของฉัน
มาจากตัวฉัน
-
ทำให้ยากที่เราจะเข้าใจชีวิตของคนอื่น
-
การมองเห็นบทบาทของโชคชะตาในชีวิต
-
ก็ทำให้เราเริ่มที่จะอ่อนน้อมมากขึ้น
-
ไม่ว่าจะเกิดโดยบังเอิญ
หรือเพราะพระหรรษทานจากพระเจ้า
-
หรือโชคชะตาที่ยากจะหยั่งถึง
-
ที่ฉันได้เกิดมา
-
พลังของความอ่อนน้อมถ่อมตน
¶
-
คือคุณธรรมของพลเมืองที่เราต้องการในตอนนี้
-
เป็นการเริ่มต้นของหนทางในการเยียวยา
-
จากหลักจริยธรรมของความสำเร็จ
อันน่าเจ็บปวดที่แบ่งแยกเรา
-
ที่จะส่องทางให้เราก้าวข้าม
การความโหดร้ายของความสำเร็จ
-
บรรเทาความขมขื่น
และนำไปสู่ชีวิตในสังคมที่อารี