Return to Video

ความยากจนไม่ใช่การขาดอุปนิสัยที่ดี แต่คือการขาดเงิน

  • 0:02 - 0:05
    ผมขอเริ่มด้วยคำถามง่าย ๆ
  • 0:06 - 0:10
    ทำไมคนจนถึงมักตัดสินใจแย่ ๆ
  • 0:12 - 0:13
    ผมรู้ว่าคำถามนี้โหด
  • 0:13 - 0:15
    แต่ลองมาดูข้อมูลก่อน
  • 0:15 - 0:17
    คนจนกู้ยืมมาก ออมน้อย
  • 0:17 - 0:19
    สูบบุหรี่จัด ออกกำลังกายน้อย
  • 0:19 - 0:20
    ดื่มเหล้าหนัก
  • 0:20 - 0:21
    แถมกินอาหารไม่ค่อยมีประโยชน์
  • 0:22 - 0:23
    ทำไมกันล่ะ
  • 0:24 - 0:26
    คำอธิบายพื้นฐาน
  • 0:26 - 0:29
    ถูกสรุปไว้โดยมาร์กาเรต แธตเชอร์
    นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
  • 0:29 - 0:33
    เธอเรียกความยากจนว่า
    "ความบกพร่องทางบุคลิกภาพ"
  • 0:33 - 0:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:35 - 0:37
    เรียกง่าย ๆ ว่า การขาดอุปนิสัยที่ดี
  • 0:37 - 0:41
    แต่ผมเชื่อว่าคนไม่มาก
    ที่จะใช้คำทื่อ ๆ แบบนั้น
  • 0:42 - 0:46
    แต่แนวคิดที่ว่าพวกคนจนน่ะผิดปกติ
  • 0:46 - 0:48
    ไม่ได้มีแค่คุณแธตเชอร์คนเดียวที่เชื่อ
  • 0:49 - 0:52
    พวกคุณบางคนอาจคิดว่า
    คนจนควรต้องรับผิดชอบ
  • 0:53 - 0:54
    ในความผิดพลาดของตัวเอง
  • 0:54 - 0:58
    บางคนอาจแย้งว่า
    เราควรช่วยให้พวกเขาตัดสินใจดีขึ้น
  • 0:59 - 1:02
    แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีสมมติฐานเดียวกัน
  • 1:03 - 1:05
    คือพวกคนจนน่ะผิดปกติ
  • 1:06 - 1:08
    ถ้าหากเราเปลี่ยนพวกเขาได้
  • 1:08 - 1:10
    ถ้าสามารถสอนวิธีใช้ชีวิตให้พวกเขา
  • 1:10 - 1:12
    ถ้าเพียงแต่พวกเขารับฟัง
  • 1:13 - 1:15
    ด้วยความสัตย์จริงนะครับ
  • 1:15 - 1:18
    ตัวผมก็คิดแบบนั้นอยู่นานพอสมควร
  • 1:19 - 1:21
    ผมเพิ่งมาตระหนักไม่กี่ปีมานี้เอง
  • 1:21 - 1:25
    ว่าที่ผมคิดว่ารู้เกี่ยวกับ
    ความยากจน นั้นผิด
  • 1:26 - 1:29
    ทุกอย่างเริ่มขึ้นเมื่อผมบังเอิญพบงานวิจัย
  • 1:29 - 1:31
    โดยนักจิตวิทยาอเมริกันกลุ่มหนึ่ง
  • 1:31 - 1:33
    พวกเขาเดินทาง 8,000 ไมล์ ไปที่อินเดีย
  • 1:33 - 1:35
    เพื่อทำการศึกษาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
  • 1:35 - 1:38
    เป็นการทดลองกับชาวไร่อ้อย
  • 1:39 - 1:42
    คุณควรทราบว่าชาวไร่เหล่านี้
    ได้เงินราว 60 เปอร์เซนต์
  • 1:42 - 1:44
    ของรายได้ทั้งปี
    ในคราวเดียว
  • 1:44 - 1:46
    ทันทีหลังจากเก็บเกี่ยว
  • 1:46 - 1:50
    ซึ่งแสดงว่าพวกเขาเป็นคนจนช่วงนึง
  • 1:50 - 1:51
    และเป็นคนรวยในอีกช่วงหนึ่ง
  • 1:53 - 1:57
    นักวิจัยขอให้พวกเขาทำแบบทดสอบไอคิว
    ก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
  • 1:58 - 2:02
    สิ่งที่พวกเขาค้นพบทำให้ผมถึงกับอึ้ง
  • 2:03 - 2:08
    ช่วงก่อนเก็บเกี่ยว
    ชาวบ้านทำคะแนนได้ต่ำกว่ามาก
  • 2:08 - 2:11
    การดำรงชีวิตอย่างยากจนส่งผลให้
  • 2:11 - 2:14
    ไอคิวลดลง 14 แต้ม
  • 2:14 - 2:16
    เพื่อให้คุณเห็นภาพชัด
  • 2:16 - 2:19
    มันเทียบได้กับการอดนอนหนึ่งคืน
  • 2:19 - 2:21
    หรือมีอาการโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • 2:22 - 2:24
    หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ผมได้ข่าวว่า
  • 2:24 - 2:29
    เอลดาร์ ชาฟีร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
    และหนึ่งในผู้เขียนของการศึกษานี้
  • 2:29 - 2:31
    จะมาฮอลแลนด์ ประเทศที่ผมอาศัยอยู่
  • 2:31 - 2:32
    เราพบกันที่อัมสเตอร์ดัม
  • 2:32 - 2:36
    เพื่อพูดถึงทฤษฎีระดับปฏิวัติวงการของเขา
    ที่ว่าด้วยความยากจน
  • 2:36 - 2:38
    ผมขอสรุปเนื้อหาด้วยคำสองคำ
  • 2:39 - 2:41
    ความขาดแคลนทางความคิด
  • 2:43 - 2:45
    กลายเป็นว่าคนมีพฤติกรรมต่างออกไป
  • 2:45 - 2:47
    เมื่อเข้าใจว่าตนขาดแคลนบางอย่าง
  • 2:47 - 2:50
    สิ่งนั้นจะเป็นอะไรไม่ใช่สาระสำคัญ
  • 2:50 - 2:53
    ไม่ว่าจะเป็นการมีเวลา เงิน
    หรืออาหาร อย่างไม่เพียงพอ
  • 2:53 - 2:55
    คุณทุกคนเข้าใจความรู้สึกนี้ดี
  • 2:55 - 2:57
    เวลามีงานล้นมือเต็มไปหมด
  • 2:57 - 2:59
    หรือเวลาไม่ยอมไปพักกินข้าว
  • 2:59 - 3:00
    แล้วระดับน้ำตาลในเลือดตก
  • 3:00 - 3:03
    จิตใจคุณจะจดจ่อแต่สิ่งที่คุณขาด
  • 3:03 - 3:05
    แซนวิชที่ต้องได้กินเดี๋ยวนี้
  • 3:05 - 3:08
    การประชุมที่จะเริ่มในอีกห้านาที
  • 3:08 - 3:11
    หรือหนี้ที่ต้องจ่ายพรุ่งนี้
  • 3:11 - 3:14
    ดังนั้น การคิดเรื่องระยะยาว
    จึงยังไม่อยู่ในสมอง
  • 3:16 - 3:18
    คุณอาจจะเทียบกับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่
  • 3:18 - 3:21
    ที่เปิดโปรแกรมหนัก ๆ เป็นสิบตัว
  • 3:21 - 3:24
    เครื่องจะทำงานช้าลงเรื่อย ๆ
    และผิดพลาดบ่อย
  • 3:24 - 3:26
    จนสุดท้ายก็ค้างไป
  • 3:26 - 3:28
    ซึ่งไม่ใช่เพราะเครื่องไม่ดี
  • 3:28 - 3:31
    แต่เพราะมันต้องทำหลายอย่าง
    พร้อม ๆ กันต่างหาก
  • 3:31 - 3:34
    คนจนก็ประสบปัญหาแบบนี้เช่นกัน
  • 3:35 - 3:38
    ไม่ได้ตัดสินใจโง่ ๆ เพราะพวกเขาโง่
  • 3:38 - 3:40
    แต่เพราะสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่
  • 3:40 - 3:42
    ทำให้ไม่ว่าใครก็คงตัดสินใจโง่ ๆ เช่นกัน
  • 3:43 - 3:45
    ตอนนั้นเอง ผมถึงได้เข้าใจขึ้นมาว่า
  • 3:46 - 3:49
    ทำไมโครงการขจัดความยากจน
    ของพวกเราจึงไม่ได้ผล
  • 3:51 - 3:55
    เช่น การลงทุนด้านการศึกษามักไม่ได้ผล
  • 3:55 - 3:58
    ความยากจนไม่ใช่การขาดความรู้
  • 3:59 - 4:01
    ผลวิเคราะห์จากการศึกษา 201 ชิ้น
  • 4:01 - 4:04
    ว่าด้วยประสิทธิผลใน
    การสอนเรื่องการจัดการเงิน
  • 4:04 - 4:07
    ได้ข้อสรุปว่ามันแทบไม่มีผลใด ๆ
  • 4:07 - 4:09
    อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ
  • 4:09 - 4:11
    นี่ไม่ได้หมายความว่า
    คนจนไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย
  • 4:11 - 4:13
    พวกเขาฉลาดมากขึ้นแน่นอน
  • 4:14 - 4:16
    แต่แค่นั้นมันไม่พอครับ
  • 4:16 - 4:19
    หรืออย่างที่อาจารย์ชาร์ฟีร์บอกผม
  • 4:19 - 4:21
    "เหมือนเวลาเราสอนคนว่ายน้ำ
  • 4:21 - 4:24
    แล้วโยนเขาลงทะเลตอนมรสุมเข้า"
  • 4:25 - 4:26
    ผมยังจำภาพตัวเองนั่งอึ้ง
  • 4:27 - 4:28
    งุนงง
  • 4:29 - 4:30
    แล้วจู่ ๆ ก็นึกขึ้นได้ว่า
  • 4:30 - 4:33
    เราควรจะเข้าใจเรื่องนี้
    ตั้งแต่หลายสิบปีก่อนแล้ว
  • 4:33 - 4:36
    นักจิตวิทยาไม่เห็นต้องใช้
    กรรมวิธีซับซ้อนสแกนสมอง
  • 4:36 - 4:38
    แค่ต้องวัดไอคิวชาวไร่อ้อย
  • 4:38 - 4:41
    แบบทดสอบไอคิว
    ก็มีมามากกว่าร้อยกว่าปีแล้ว
  • 4:41 - 4:45
    ผมนึกออกด้วยซ้ำ ว่าเคยอ่าน
    เรื่องจิตวิทยาของความยากจนมาก่อน
  • 4:46 - 4:49
    จอร์จ ออร์เวลล์
    นักเขียนชั้นครูตลอดกาลคนหนึ่ง
  • 4:49 - 4:52
    เคยสัมผัสความยากจนในทศวรรษ 1920
  • 4:53 - 4:55
    เขาเขียนไว้ว่า "แก่นแท้ของความยากจน"
  • 4:55 - 4:58
    คือมัน "ทำลายอนาคตจนไม่เหลือซาก"
  • 4:59 - 5:01
    เขาพรึงเพริดมากที่ ผมขอยกคำพูดนะ
  • 5:02 - 5:05
    "ผู้คนไม่ตระหนักในข้อนี้
    แล้วต่างถือสิทธิเทศนาคุณ
  • 5:05 - 5:08
    และสวดภาวนาให้คุณ
    ทันทีที่รายได้คุณลดต่ำกว่าจุด ๆ หนึ่ง"
  • 5:09 - 5:13
    คำพูดของเขายังใช้ได้จนถึงทุกวันนี้
  • 5:15 - 5:17
    แน่นอน คำถามสำคัญก็คือ
  • 5:17 - 5:18
    เราทำอะไรได้บ้าง
  • 5:19 - 5:21
    นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่
    มีคิดทางแก้เก็บไว้บ้าง
  • 5:21 - 5:23
    เราสามารถช่วยจัดการปัญหางานเอกสาร
  • 5:23 - 5:26
    หรือส่งข้อความเตือนให้ไปจ่ายหนี้
  • 5:26 - 5:31
    นักการเมืองสมัยใหม่นิยมมาก
    กับทางแก้จำพวกนี้
  • 5:31 - 5:33
    นั่นเพราะ
  • 5:33 - 5:35
    มันแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายไงครับ
  • 5:36 - 5:40
    ผมว่าทางแก้แบบนี้เป็นภาพแทนยุคเราได้ดี
  • 5:40 - 5:42
    ยุคที่เราเน้นรักษาอาการ
  • 5:42 - 5:44
    แต่ละเลยสาเหตุของโรค
  • 5:46 - 5:47
    ผมจึงสงสัยว่า
  • 5:48 - 5:51
    ทำไมไม่เปลี่ยนสภาพชีวิตคนจนเสียใหม่
  • 5:52 - 5:54
    หรือถ้าจะให้เปรียบกับคอมพิวเตอร์
  • 5:54 - 5:56
    ทำไมมัวนั่งซ่อมซอฟต์แวร์
  • 5:56 - 6:00
    ทั้งที่ปัญหาแก้ได้ง่ายดาย
    เพียงแค่เพิ่มความจำเข้าไป
  • 6:00 - 6:04
    พอผมพูดจบ อาจารย์ชาฟีร์จ้องหน้าผมนิ่ง
  • 6:04 - 6:06
    หลังเงียบอยู่สองสามวินาที
    เขาพูดว่า
  • 6:07 - 6:09
    "อ๋อ เข้าใจละ
  • 6:10 - 6:13
    คุณอยากแจกเงินเพิ่มให้คนจน
  • 6:14 - 6:16
    เพื่อขจัดความยากจนสินะ
  • 6:16 - 6:19
    อ๋อ ได้ ความคิดดีนะ
  • 6:20 - 6:22
    แต่ผมเกรงว่าการเมืองฝ่ายซ้าย
  • 6:22 - 6:24
    แบบที่คุณเห็นในอัมสเตอร์ดัม
  • 6:24 - 6:26
    จะไม่มีในอเมริกา"
  • 6:27 - 6:30
    แต่นี่ใช่แนวคิดเก่าแก่
    ของฝ่ายซ้ายจริง ๆ หรือ
  • 6:31 - 6:33
    ผมจำได้ว่าเคยอ่านแผนการเก่า ๆ
  • 6:33 - 6:37
    ที่นักคิดชั้นนำในอดีตเคยเสนอ
  • 6:37 - 6:41
    โธมัส มอร์ นักปรัชญาเขียนเป็นนัยถึงแผนนี้
    ครั้งแรกในหนังสือของเขา "ยูโทเปีย"
  • 6:41 - 6:43
    เมื่อกว่า 500 ปีมาแล้ว
  • 6:43 - 6:47
    ผู้สนับสนุนแผนนี้มีทั้งจากฝ่ายซ้ายและขวา
  • 6:47 - 6:50
    มีตั้งแต่มาร์ติน ลูเธอร์ คิง
    นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
  • 6:50 - 6:52
    จนถึงมิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์
  • 6:53 - 6:56
    เป็นแนวความคิดที่เรียบง่ายจนน่าตกใจ
  • 6:57 - 7:00
    การประกันรายได้พื้นฐาน
  • 7:01 - 7:03
    คืออะไรหรือครับ
  • 7:03 - 7:04
    ง่ายมากเลย
  • 7:04 - 7:07
    เงินรายเดือนจากรัฐ
    ที่เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐาน
  • 7:07 - 7:09
    ซึ่งคือ ค่าอาหาร
    ที่อยู่อาศัย การศึกษา
  • 7:10 - 7:12
    เงินนี้เป็นเงินให้เปล่า
  • 7:12 - 7:14
    จะไม่มีใครคอยพร่ำสอน
    ว่าต้องทำยังไงถึงมีสิทธิได้
  • 7:14 - 7:16
    ไม่มีคนคอยสั่งว่าต้องใช้เงินอย่างไร
  • 7:16 - 7:19
    การประกันรายได้ไม่ใช่การสงเคราะห์
    หากแต่เป็นสิทธิ
  • 7:20 - 7:22
    ไม่ถือเป็นตราบาปหรือมลทินใด ๆ
  • 7:22 - 7:25
    หลังเข้าใจธรรมชาติของความยากจนที่แท้
  • 7:25 - 7:27
    ผมเลิกสงสัยไม่ได้เลย
  • 7:27 - 7:30
    นี่คือแนวคิดที่เรารอคอยจริงหรือ
  • 7:31 - 7:33
    มันง่ายแค่นี้จริงหรือ
  • 7:34 - 7:36
    ตลอดสามปีหลังจากนั้น
  • 7:36 - 7:39
    ผมไล่ตามอ่าน
    ข้อมูลเรื่องการประกันรายได้
  • 7:39 - 7:42
    ผมค้นคว้าข้อมูล
    การทดลองที่เกิดขึ้นทั่วโลก
  • 7:42 - 7:45
    ไม่นานผมก็เจอข้อมูลของเมืองแห่งหนึ่ง
  • 7:45 - 7:48
    ที่เคยทดลองและขจัดความยากจนได้สำเร็จ
  • 7:48 - 7:49
    แต่แล้ว
  • 7:50 - 7:52
    แทบทุกคนกลับลืมเลือนมันไป
  • 7:52 - 7:54
    (ตอนสอง: เมืองที่ไร้ความยากจน)
  • 7:54 - 7:56
    เรื่องนี้เริ่มต้นที่เมืองดอฟิน
    ประเทศแคนาดา
  • 7:57 - 8:03
    ปี 1974 ชาวเมืองทุกคนมีประกันรายได้พื้นฐาน
  • 8:03 - 8:05
    เพื่อรับรองว่าไม่มีใครตกไป
    ต่ำกว่าเส้นความยากจน
  • 8:05 - 8:07
    ตอนแรกเริ่มการทดลอง
  • 8:07 - 8:11
    นักวิจัยกลุ่มใหญ่เดินทางมาเมืองนี้
  • 8:11 - 8:14
    ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดีเป็นเวลาสี่ปี
  • 8:15 - 8:18
    แต่แล้วก็มีรัฐบาลใหม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา
  • 8:18 - 8:21
    คณะรัฐบาลใหม่เห็นว่า
    การทดลองราคาแพงนี้ไร้ประโยชน์
  • 8:22 - 8:26
    เมื่อรู้แน่ว่าไม่เหลืองบให้วิเคราะห์ผล
  • 8:26 - 8:31
    เหล่านักวิจัยเก็บเอกสาร
    ลงกล่อง 2,000 กว่าใบและจากไป
  • 8:32 - 8:35
    ผ่านไป 25 ปี
  • 8:35 - 8:38
    เอเวอลิน ฟอร์เจต์ อาจารย์ชาวแคนาดา
  • 8:38 - 8:39
    ไปพบเอกสารเหล่านั้นเข้า
  • 8:39 - 8:43
    เธอใช้เวลา 3 ปีวิเคราะห์ข้อมูล
    ด้วยวิธีการทางสถิติต่าง ๆ นานา
  • 8:43 - 8:45
    ไม่ว่าจะทำอย่างไร
  • 8:45 - 8:47
    ผลลัพธ์ที่ได้เหมือนเดิมทุกครั้ง
  • 8:48 - 8:52
    การทดลองประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
  • 8:53 - 8:54
    เอเวอลิน ฟอร์เจต์ค้นพบว่า
  • 8:54 - 8:57
    ชาวเมืองดอฟินร่ำรวยขึ้น
  • 8:57 - 8:59
    มิหนำซ้ำยังฉลาด
    และสุขภาพแข็งแรงกว่าเดิม
  • 8:59 - 9:02
    นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้นชัดเจน
  • 9:03 - 9:07
    อัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาล
    ลดลงมากถึง 8.5 เปอร์เซ็นต์
  • 9:08 - 9:10
    การใช้ความรุนแรงในครัวเรือนลดลง
  • 9:10 - 9:12
    เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิต
  • 9:12 - 9:14
    ชาวเมืองไม่ได้ลาออกจากงานนะครับ
  • 9:15 - 9:18
    คนที่ทำงานน้อยลงนิดหน่อย
    คือแม่เพิ่งคลอด และเด็กนักเรียน
  • 9:18 - 9:20
    ที่ได้เรียนสูงกว่าเดิม
  • 9:21 - 9:23
    การทดลองคล้ายคลึงกัน
  • 9:23 - 9:25
    ต่างก็ให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันทั่วโลก
  • 9:25 - 9:27
    ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาไปจนถึงอินเดีย
  • 9:29 - 9:30
    ดังนั้น
  • 9:31 - 9:33
    สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ
  • 9:34 - 9:36
    พอพูดถึงความยากจน
  • 9:36 - 9:41
    พวกเรา คนรวยทั้งหลาย
    ควรเลิกแสร้งทำเป็นรู้ดีกว่าใคร
  • 9:42 - 9:45
    เราควรเลิกบริจาครองเท้าและตุ๊กตาหมีให้คนจน
  • 9:45 - 9:47
    ให้กับคนที่เราไม่เคยเห็นหน้า
  • 9:47 - 9:50
    และควรยกเลิกตำแหน่งงาน
    ที่มีข้าราชการชอบทำเป็นสั่งสอน
  • 9:50 - 9:52
    ในเมื่อเราเอาเงินเดือนของคนพวกนั้น
  • 9:52 - 9:54
    ไปแจกจ่ายให้คนจน
    ซึ่งพวกเขาควรจะช่วยอยู่แล้ว
  • 9:54 - 9:56
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:56 - 9:59
    ข้อดีของเงินน่ะ
  • 9:59 - 10:02
    คือคนเราสามารถใช้ซื้อสิ่งของจำเป็น
  • 10:02 - 10:05
    ไม่ใช่ของที่พวกผู้เชี่ยวชาญ
    คิดเอาเองว่าจำเป็น
  • 10:06 - 10:09
    นึกดูสิครับว่ามีนักวิทยาศาสตร์ฉลาดล้ำ
  • 10:09 - 10:11
    ผู้ประกอบการและนักเขียน
    อย่างจอร์จ ออร์เวลล์ อยู่กี่คน
  • 10:11 - 10:14
    ที่ตอนนี้หมดแรงหมดใจ
    เพราะความขัดสน
  • 10:14 - 10:17
    ลองนึกดูว่าเราจะปลดปล่อย
    ศักยภาพได้สักแค่ไหน
  • 10:17 - 10:20
    หากเราขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไป
  • 10:20 - 10:24
    ผมเชื่อว่าการประกันรายได้พื้นฐาน
    เป็นเหมือนการลงทุนในศักยภาพของประชาชน
  • 10:25 - 10:27
    และเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ทำ
  • 10:27 - 10:30
    เพราะความยากจนมีราคาแพงเหลือเกิน
  • 10:31 - 10:34
    ดูสิ่งที่ต้องจ่ายจากความยากจน
    ของเด็กในสหรัฐฯ สิครับ
  • 10:34 - 10:38
    ตัวเลขคาดการณ์คือปีละ 5 แสนล้านเหรียญ
  • 10:38 - 10:41
    ทั้งด้านค่าบริการสุขภาพ
    อัตราการเลิกเรียนกลางคันที่สูง
  • 10:41 - 10:43
    และอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น
  • 10:43 - 10:46
    นี่คือการผลาญศักยภาพโดยเสียเปล่า
  • 10:48 - 10:51
    เปลี่ยนมาพูดเรื่องที่เห็นตำตากันดีกว่า
  • 10:51 - 10:54
    ต้องทำยังไงถึงจะมีประกันรายได้พื้นฐาน
  • 10:55 - 10:58
    ราคามันอาจจะถูกกว่าที่คุณคิด
  • 10:58 - 11:02
    เมืองดอฟีนทดลอง
    โดยอาศัยเกณฑ์ภาษีเงินได้ติดลบ
  • 11:02 - 11:04
    แปลว่าเมืองจะเติมเงินเพิ่มให้
  • 11:04 - 11:06
    เมื่อรายได้คุณเองตกไป
    ต่ำกว่าเส้นความยากจน
  • 11:06 - 11:08
    ในสถานการณ์แบบนั้น
  • 11:08 - 11:10
    นักเศรษฐศาสตร์ประเมินไว้อย่างดีว่า
  • 11:10 - 11:13
    จะมีต้นทุนสุทธิ 1.75 แสนล้านเหรียญ
  • 11:13 - 11:18
    หนึ่งในสี่ของงบการทหารในสหรัฐฯ
    หรือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
  • 11:18 - 11:22
    ขอแค่นี้ คุณจะพาคนยากคนจนทั่วอเมริกา
    ขึ้นมาอยู่เหนือเส้นความยากจนได้
  • 11:23 - 11:26
    คุณจะขจัดความยากจนหมดสิ้น
  • 11:26 - 11:28
    เราควรตั้งเป้าอย่างนี้สิครับ
  • 11:28 - 11:29
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:29 - 11:33
    หมดเวลาของการ
    มักน้อยค่อย ๆ พัฒนา
  • 11:33 - 11:36
    ผมว่าถึงเวลาที่เราต้องคิดการใหญ่
  • 11:36 - 11:39
    อีกทั้งรายได้พื้นฐานไม่ได้เป็นแค่นโยบาย
  • 11:39 - 11:44
    แต่คือการเปลี่ยนความคิด
    ว่างานคืออะไรกันแน่
  • 11:44 - 11:46
    และในแง่นั้น
  • 11:46 - 11:47
    ไม่เพียงแต่แนวคิดนี้จะปลดปล่อยคนจน
  • 11:49 - 11:50
    แต่ยังช่วยพวกเราที่เหลือด้วย
  • 11:51 - 11:54
    ทุกวันนี้ คนนับล้านรู้สึกว่า
  • 11:54 - 11:56
    งานที่ทำไร้ค่าหรือไม่มีความสำคัญ
  • 11:56 - 11:59
    การสำรวจความเห็นของพนักงาน 230,000 คน
  • 11:59 - 12:01
    จาก 142 ประเทศ
  • 12:01 - 12:05
    พบว่ามีคนแค่ 13 เปอร์เซ็นต์ที่ชอบงานของตน
  • 12:07 - 12:10
    การสำรวจความเห็นอีกแหล่งพบว่า
    มีผู้ใช้แรงงานที่อังกฤษถึง 37%
  • 12:10 - 12:13
    คิดว่างานที่ตัวเองทำไม่จำเป็น
  • 12:14 - 12:17
    เหมือนที่แบรด พิตต์พูดในเรื่องไฟท์คลับ
  • 12:17 - 12:20
    "เรามักทนทำงานที่เกลียด
    เพื่อมาซื้อของที่ไม่จำเป็น"
  • 12:20 - 12:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:22 - 12:23
    อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดนะ
  • 12:23 - 12:26
    ผมไม่ได้พูดถึงครู คนเก็บขยะ
  • 12:26 - 12:27
    หรืองานดูแลผู้คน
  • 12:27 - 12:29
    ถ้าพวกเขาหยุดทำงาน
  • 12:29 - 12:30
    พวกเราเจอปัญหาแน่นอน
  • 12:31 - 12:35
    ผมพูดถึงผู้เชี่ยวชาญ
    เงินเดือนสูง ประวัติย่อหรู
  • 12:35 - 12:36
    ที่มีรายได้จากการเป็น
  • 12:36 - 12:39
    ผู้วางกลยุทธ์การประชุม
    ระดมสมองเรื่องมูลค่าเพิ่ม
  • 12:39 - 12:42
    จากงานร่วมสร้างสรรค์
    ที่ก่อความพลิกผันในสังคมเครือข่าย
  • 12:42 - 12:43
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:43 - 12:44
    (เสียงปรบมือ)
  • 12:44 - 12:46
    หรืองานเทือกนั้น
  • 12:46 - 12:49
    ลองนึกดูสิว่าเราผลาญ
    ความสามารถคนไปแค่ไหน
  • 12:49 - 12:53
    เพราะเราบอกลูกหลานว่าต้อง
    "ทำงานเลี้ยงชีพ"
  • 12:54 - 12:57
    หรือสิ่งที่นักคณิตศาสตร์หัวกะทิ
    เขียนระบายบนเฟซบุ๊กเมื่อไม่กี่ปีก่อน
  • 12:57 - 12:59
    "บรรดาอัจฉริยะของรุ่นผม
  • 12:59 - 13:03
    ต้องมาจมปลักกับ
    การคิดหาวิธีให้คนคลิกดูโฆษณา"
  • 13:05 - 13:06
    ตัวผมเป็นนักประวัติศาสตร์
  • 13:07 - 13:09
    ถ้าประวัติศาสตร์สอนอะไรเราได้บ้าง
  • 13:09 - 13:12
    นั่นคือสอนว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนี้
  • 13:12 - 13:13
    วิธีที่เราจัดโครงสร้างสังคม
  • 13:13 - 13:16
    และเศรษฐกิจนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • 13:16 - 13:19
    ความคิดสามารถเปลี่ยนโลกได้จริง
  • 13:19 - 13:21
    ผมคิดด้วยว่าในช่วงสองสามปีมานี้
  • 13:21 - 13:23
    มันยิ่งชัดแจ่มแจ้งทีเดียว
  • 13:23 - 13:25
    ว่าเราคงสถานะเช่นนี้ต่อไปไม่ได้
  • 13:25 - 13:26
    ว่าเราต้องการแนวคิดใหม่
  • 13:28 - 13:32
    ผมรู้ว่าหลาย ๆ คนมองแง่ร้าย
  • 13:32 - 13:34
    เกี่ยวกับอนาคต
    ที่ความไม่เทียมจะรุนแรงขึ้น
  • 13:34 - 13:35
    คนจะเกลียดกลัวคนต่างชาติ
  • 13:35 - 13:36
    และมีปัญหาโลกร้อน
  • 13:37 - 13:39
    แต่แค่การรู้อุปสรรคที่ต้องสู้
    นั้นยังไม่พอ
  • 13:39 - 13:41
    เรายังต้องมีสิ่งยึดมั่น
  • 13:41 - 13:43
    มาร์ติน ลูเธอร์ คิงไม่ได้พูดว่า
    "ข้าพเจ้าฝันร้าย"
  • 13:43 - 13:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:45 - 13:46
    เขามีความฝัน
  • 13:47 - 13:48
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:48 - 13:49
    ฉะนั้นแล้ว...
  • 13:50 - 13:51
    นี่คือฝันของผมครับ
  • 13:52 - 13:54
    ผมเชื่อมั่นในอนาคต
  • 13:54 - 13:56
    ที่คุณค่าของผลงานเรา
    ไม่ได้ถูกกำหนด
  • 13:56 - 13:58
    ด้วยจำนวนค่าตอบแทน
  • 13:58 - 14:00
    แต่ด้วยปริมาณความสุขที่คุณส่งต่อ
  • 14:00 - 14:02
    และความหมายที่คุณมอบแก่มัน
  • 14:02 - 14:03
    ผมเชื่อมั่นในอนาคต
  • 14:03 - 14:07
    ที่ซึ่งการศึกษาไม่ได้มีเพื่อ
    เตรียมคุณให้พร้อมทำงานไร้ประโยชน์
  • 14:07 - 14:08
    แต่เพื่อชีวิตที่ควรค่า
  • 14:09 - 14:10
    ผมเชื่อมั่นในอนาคต
  • 14:11 - 14:14
    ที่ชีวิตอันปราศจากความยากจนไม่ใช่อภิสิทธิ์
  • 14:14 - 14:16
    หากแต่เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมี
  • 14:16 - 14:17
    นั่นแหละครับ
  • 14:17 - 14:18
    นั่นแหละครับ
  • 14:18 - 14:21
    เราทำการวิจัยแล้ว มีหลักฐานยืนยัน
  • 14:21 - 14:22
    และมีเครื่องมือพร้อม
  • 14:22 - 14:26
    โธมัส มอร์ เขียนเรื่องรายได้พื้นฐาน
    เป็นครั้งแรกเมื่อ 500 กว่าปีที่แล้ว
  • 14:26 - 14:30
    ร้อยปีต่อมาหลังจอร์จ ออร์เวลล์
    ค้นพบธรรมชาติของความยากจนที่แท้
  • 14:30 - 14:32
    เราต้องปรับมุมมองของเราใหม่
  • 14:32 - 14:35
    เพราะความยากจนไม่ใช่
    การขาดอุปนิสัยที่ดี
  • 14:37 - 14:39
    แต่ความยากจนคือการขาดเงิน
  • 14:39 - 14:40
    ขอบคุณครับ
  • 14:41 - 14:43
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความยากจนไม่ใช่การขาดอุปนิสัยที่ดี แต่คือการขาดเงิน
Speaker:
รุตเกอร์ เบรกแมน
Description:

"ความคิดสามารถเปลี่ยนโลกได้จริง" รุตเกอร์ เบรกแมน นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ขณะเล่าแนวคิดน่าตื่นใจเรื่องการประกันรายได้พื้นฐาน มาทำความรู้จักแนวคิดอายุ 500 ปีและการทดลองสมัยใหม่ที่ถูกลืมเลือนซึ่งจริง ๆ แล้วได้ผล และจินตนาการว่าเราจะปลดปล่อยพลังและความสามารถได้มากขึ้นแค่ไหน หากสามารถแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไปได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:58

Thai subtitles

Revisions Compare revisions