Return to Video

ใครคือนักเขียนคนแรกของโลก? - โซรายา ฟิลด์ ฟริริโอ

  • 0:07 - 0:10
    4,300 ปีก่อน
    ในอาณาจักรซุเมอร์โบราณ
  • 0:10 - 0:16
    ผู้มีอำนาจสูงสุดในเมืองอูร์
    ถูกขับออกจากเมืองไปยังทะเลทราย
  • 0:16 - 0:18
    เธอชื่อ เอ็นเฮ็ดดูอันนา
  • 0:18 - 0:22
    เธอเป็นหัวหน้านักบวชหญิง บูชาเทพแห่งดวงจันทร์
    และนักเขียนคนแรกในประวัติศาสตร์
  • 0:22 - 0:28
    ในตอนที่เธอถูกขับออกจากเมือง
    เธอได้ประพันธ์ 42 บทสวด และ 3 บทกวียาว
  • 0:28 - 0:31
    และเรื่องราวของเธอในซูเมอร์ยังไม่จบลง
  • 0:31 - 0:35
    เอ็นเฮ็ดดูอันนา
    มีชีวิตอยู่ 1700 ปีก่อนซัฟโฟ
  • 0:35 - 0:37
    1500 ปีก่อนโฮเมอร์
  • 0:37 - 0:41
    และประมาณ 500 ปีก่อน
    บิดาแห่งคัมภีร์ไบเบิล อับราฮัม
  • 0:41 - 0:46
    เธอเกิดในเมโสโปเตเมีย ดินแดนระหว่าง
    ลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติส
  • 0:46 - 0:49
    แหล่งกำเนิดของเมืองแห่งแรกๆ
    และวัฒนธรรมที่ก้าวหน้า
  • 0:49 - 0:53
    พ่อของเธอคือกษัตริย์ซาร์กอนมหาราช
    ผู้สร้างจักรวรรดิคนแรกในประวัติศาสตร์
  • 0:53 - 0:58
    กษัตรย์ซาร์กอนเอาชนะรัฐอิสระต่างๆ
    ในเมโสโปเตเมียและรวมเข้าเป็นรัฐเดียว
  • 0:58 - 1:02
    ซาร์กอนเป็นชาวเซไมท์ทางเหนือ
    พูดภาษาอัคคาเดียน
  • 1:02 - 1:06
    และเมืองสุเมรียนที่เก่าแก่กว่าทางตอนใต้
    มองว่าเขาเป็นผู้รุกรานต่างชาติ
  • 1:06 - 1:09
    เมืองทางใต้มักรวมตัวกันก่อการ
    เรียกร้องความเป็นอิสระ
  • 1:09 - 1:12
    ทำลายเสถียรภาพของราชวงศ์ใหม่
  • 1:12 - 1:14
    เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรม
  • 1:14 - 1:18
    ซาร์กอน แต่งตั้งลูกสาวคนเดียว
    เอ็นเฮ็ดดูอันนาเป็นหัวหน้านักบวช
  • 1:18 - 1:20
    ในวัดที่สำคัญที่สุดในอาณาจักร
  • 1:20 - 1:23
    ตามธรรมเนียมเชื้อพระวงศ์ฝ่ายหญิง
    ทำหน้าที่ทางด้านศาสนา
  • 1:23 - 1:28
    และพวกเธอก็ได้รับการสอนให้เขียนอ่านได้
    ทั้งภาษาสุเมเรียนและอัคคาเดียน
  • 1:28 - 1:30
    รวมทั้งสามารถคำนวนได้
  • 1:30 - 1:34
    งานเขียนชิ้นแรกของโลกเกิดขึ้นในซุเมอร์
    ในฐานะบันทึกทางบัญชี
  • 1:34 - 1:39
    ซึ่งทำให้พ่อค้าสามารถสื่อสารทางไกล
    และติดต่อกับคู่ค้าต่างแดนได้
  • 1:39 - 1:43
    ระบบอักษรภาพที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล
    พัฒนาขึ้นเป็นตัวอักษร
  • 1:43 - 1:46
    ประมาณ 300 ปีก่อนเอ็นเฮ็ดดูอันนาเกิด
  • 1:46 - 1:49
    อักษรในรูปแบบแรกเริ่มนี้
    เรียกว่าอักษรคูนิฟอร์ม
  • 1:49 - 1:54
    เขียนโดยใช้แท่งอ้อกดลงบนดินเหนียว
    เพื่อทำเครื่องหมายทรงสามเหลี่ยม
  • 1:54 - 1:56
    แต่ก่อนที่เอ็นเฮ็ดดูอันนาจะเขียน
  • 1:56 - 2:00
    งานเขียนส่วนใหญ่เป็นการบันทึกข้อมูล
    และบันทึกคำพูด
  • 2:00 - 2:05
    ไม่ใช่งานสร้างสรรค์ที่เกิดจาก
    นักเขียนเพียงคนเดียว
  • 2:05 - 2:10
    เมืองอูร์ที่เอ็นเฮ็ดดูอันนาอาศัยอยู่
    มีประชากร 34,000 คน มีถนนแคบๆ
  • 2:10 - 2:14
    มีบ้านดินหลายชั้น ยุ้งฉาง
    และระบบระบายน้ำ
  • 2:14 - 2:17
    หัวหน้านักบวชเอ็นเฮ็ดดูอันนา
    บริหารเสบียงธัญพืชของเมือง
  • 2:17 - 2:21
    ดูแลการสร้างศาสนสถานของคนงาน
    ตีความความฝันศักดิ์สิทธิ์
  • 2:21 - 2:24
    และยังดูแลเทศกาลเดือนเพ็ญทุกเดือน
  • 2:24 - 2:27
    รวมไปถึงพิธีกรรมที่เฉลิมฉลองฤดูกาล
    ที่กลางวันเท่ากับกลางคืน
  • 2:27 - 2:31
    เอ็นเฮ็ดดูอันนาตั้งใจจะรวม
    วัฒนธรรมสุเมเรียนที่เก่าแก่กว่า
  • 2:31 - 2:33
    กับอารยธรรมอัคคาเดียนที่ใหม่กว่า
  • 2:33 - 2:36
    เพื่อการนี้ เธอเขียน
    บทสวดทางศาสนา 42 บท
  • 2:36 - 2:39
    ซึ่งรวมเอาเทพปกรณนัม
    ของทั้งสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
  • 2:39 - 2:42
    เมืองในเมโสโปเตเมียแต่ละแห่ง
    ถูกปกครองโดยเทพีประจำเมือง
  • 2:42 - 2:46
    บทสวดทั้งหลายของเธออุทิศแด่
    เทพีที่ปกครองเมืองต่างๆ
  • 2:46 - 2:50
    สรรเสริญวิหารประจำเมือง
    และกล่าวถึงความรุ่งโรจน์ของพรจากเทพ
  • 2:50 - 2:54
    บทสวดยังอธิบายความสัมพันธ์
    ระหว่างเทพเจ้าหลายองค์บนสวรรค์
  • 2:54 - 2:58
    งานเขียนของเธอทำให้เทพเจ้าที่ไม่มีตัวตน
    มีลักษณะของความเป็นมนุษย์
  • 2:58 - 3:04
    เหล่าเทพทนทุกข์ ต่อสู้ มีความรัก
    และตอบรับคำขอของมนุษย์
  • 3:04 - 3:06
    งานเขียนที่ทรงคุณค่า
    ที่สุดของเอ็นเฮ็ดดูอันนา
  • 3:06 - 3:11
    คือบทกวีที่เธอเขียนถึงอินานนา
    เทพีแห่งสงครามและความปรารถนา
  • 3:11 - 3:15
    พลังงานเหนือธรรมชาติที่น่าสับสน
    ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งจักรวาล
  • 3:15 - 3:18
    อินานนาเปล่งประกายในการแสดงออก
    ทางเพศทุกรูปแบบ
  • 3:18 - 3:22
    และได้รับความเคารพว่าทรงพลังมาก
    จนก้าวข้ามการแบ่งแยกทางเพศ
  • 3:22 - 3:28
    ดังเช่นผู้เคารพอินานนาบนโลกซึ่งอาจเป็น
    หญิงงามเมือง ขันที หรือ ผู้แต่งงานข้ามเพศ
  • 3:28 - 3:33
    เอ็นเฮ็ดดูอันนาสรรเสริญอินานนา
    ในฐานะเทพีสูงสุดแห่งสรวงสวรรค์
  • 3:33 - 3:38
    ในบทกวีอุทิศแด่อินานนาของเธอ
    เป็นครั้งแรกที่มีผู้แต่งแทนตัวเองว่า "ฉัน"
  • 3:38 - 3:43
    และยังเป็นครั้งแรกที่งานเขียน
    แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
  • 3:43 - 3:47
    หลังจากที่พ่อของเอ็นเฮ็ดดูอันนา
    กษัตริย์ซาร์กอน สวรรคต
  • 3:47 - 3:51
    นายพลคนหนึ่งใช้โอกาสนั้น
    ปฏิวัติยึดอำนาจ
  • 3:51 - 3:56
    ในฐานะที่เป็นเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมือง
    เอ็นเฮ็ดดูอันนาตกเป็นเป้าหมาย
  • 3:56 - 3:58
    และนายพลขับเธอออกจากเมืองอูร์
  • 3:58 - 4:02
    หลานของเธอ นาราม ซิน
    กษัตริย์สุเมรียนในตำนาน
  • 4:02 - 4:07
    สามารถเอาชนะการจลาจล
    และคืนตำแหน่งหัวหน้านักบวชให้กับป้าของเขา
  • 4:07 - 4:12
    โดยรวมแล้ว เอ็นเฮ็ดดูอันนา
    ทำหน้าที่หัวหน้านักบวชกว่า 40 ปี
  • 4:12 - 4:14
    หลังจากที่เธอเสียชีวิต
    เธอกลายเป็นเทพยดา
  • 4:14 - 4:19
    และบทกวีของเธอถูกคัดลอก
    ศึกษา และแสดง ทั่วจักรวรรดิ
  • 4:19 - 4:21
    เป็นเวลากว่า 500 ปี
  • 4:21 - 4:24
    ที่บทกวีของเธอส่งผลต่อ
    พระคัมภีร์เก่าของชาวฮิบรู
  • 4:24 - 4:27
    มหากาพย์ของโฮเมอร์
    และเพลงสวดในศาสนาคริสต์
  • 4:27 - 4:31
    ปัจจุบัน มรดกจากผลงาน
    ของเอ็นเฮ็ดดูอันนายังคงอยู่
  • 4:31 - 4:33
    บนแผ่นดินเหนียว
    ที่ผ่านการทดสอบแห่งกาลเวลา
Title:
ใครคือนักเขียนคนแรกของโลก? - โซรายา ฟิลด์ ฟริริโอ
Speaker:
โซรายา ฟิลด์ ฟริริโอ
Description:

รับชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ https://ed.ted.com/lessons/who-was-the-world-s-first-author-soraya-field-fiorio

4,300 ปีก่อนในซูเมอร์โบราณ ผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในเมืองอูร์ ถูกขับออกไปยังทะเลทรายเวิ้งว้าง ชื่อของเธอคือเอ็นเฮ็ดดูอันนา ก่อนที่เธอจะถูกขับออกจากเมือง เธอได้เขียนบทสวด 42 บท และบทกวีขนาดยาวอีก 3 บท เรื่องราวของเธอในซูเมอร์โบราณยังไม่จบแค่นั้น ผู้หญิงคนนี้เป็นใคร และทำไมเธอจึงถูกขับออกจากเมือง โซรายา ฟิลด์ ฟริริโอ เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของนักเขียนคนแรกของโลก

บทเรียนโดย โซรายา ฟิลด์ ฟริริโอ กำกับโดย ลอร่า ไวท์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:34
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for Who was the world's first author?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Who was the world's first author?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Who was the world's first author?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Who was the world's first author?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Who was the world's first author?

Thai subtitles

Revisions