Return to Video

บัลเลต์มีไว้ทำไม - หมิง ลูค

  • 0:07 - 0:12
    เด็กที่ต้องคำสาปแต่เกิด
    การต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างความดีกับชั่ว
  • 0:12 - 0:15
    รักแท้ที่ตื่นขึ้นมาด้วยจุมพิต
  • 0:15 - 0:18
    เจ้าหญิงนิทรา เป็นหนึ่งในเทพนิยาย
    ที่ทั่วโลกชื่นชอบ
  • 0:18 - 0:23
    แต่การนำเสนอที่โด่งดังที่สุดของเรื่องนี้
    ไม่ได้ใช้คำพูดแม้กระทั่งคำเดียว
  • 0:23 - 0:25
    หลังจากการแสดงรอบปฐมทัศน์ในปี 1890
  • 0:25 - 0:27
    "เจ้าหญิงนิทรา" ก็ได้กลายเป็น
  • 0:27 - 0:31
    หนึ่งในบัลเลต์ที่จัดแสดงบ่อยที่สุด
    ในประวัติศาสตร์
  • 0:31 - 0:33
    แล้วอะไรทำให้เรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบ
    ขนาดนั้น
  • 0:33 - 0:38
    และบัลเลต์ทำให้เรื่องนี้หรือเรื่องอื่น ๆ
    พิเศษอย่างไร
  • 0:38 - 0:41
    หัวใจหลักของบัลเลต์นั้น
    คือท่วงท่าจำนวนหนึ่ง
  • 0:41 - 0:45
    ที่นักเต้นต้องฝึกฝนอย่างหนัก
    หลายพันชั่วโมงเพื่อให้สมบูรณ์แบบ
  • 0:45 - 0:48
    ท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์เหล่านี้
    ถูกใช้มากว่าหลายศตวรรษแล้ว
  • 0:48 - 0:51
    แต่ละการเคลื่อนไหวเต็มไปด้วย
    ความหมายและประวัติศาสตร์
  • 0:51 - 0:54
    แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องเรียนมัน
    เพื่อที่จะเข้าใจบัลเลต์
  • 0:54 - 0:57
    ไม่ต่างจากที่คุณไม่จำเป็นต้องเรียนดนตรี
    เพื่อให้มีอารมณ์ร่วมไปกับเพลง
  • 0:57 - 1:02
    และเช่นเดียวกันกับนักประพันธ์เพลงที่
    ผสมโน้ตและท่อนเพลงเพื่อสร้างบทเพลงขึ้นมา
  • 1:02 - 1:06
    นักออกแบบท่าเต้นก็ร้อยเรียงท่าทางเหล่านี้
    เข้ากับการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ
  • 1:06 - 1:08
    เพื่อสร้างชุดท่าเต้นที่มีความหมาย
  • 1:08 - 1:11
    เมื่อทำงานร่วมกับการบรรเลงสด
    โดยวงออร์เคสตรา
  • 1:11 - 1:15
    นักบัลเลต์จะแสดงชุดท่าเต้นเหล่านี้
    อย่างแม่นยำเพื่อสื่อสารเรื่องราว
  • 1:15 - 1:17
    อารมณ์ และลักษณะ
  • 1:17 - 1:19
    ในฉากเปิดของเรื่อง "เจ้าหญิงนิทรา"
  • 1:19 - 1:22
    มีการใช้เทคนิคกลุ่มหนึ่งเพื่อแสดง
    เหล่านางฟ้า
  • 1:22 - 1:25
    ที่มาให้ของขวัญแก่เจ้าหญิงน้อยออโรรา
  • 1:25 - 1:28
    นางฟ้าแห่งความกรุณา
    เดินอย่างประณีตแบบ "อ็องปวงต์"
  • 1:28 - 1:30
    ซึ่งหมายถึงการเดินด้วยปลายเท้า
  • 1:30 - 1:33
    ตามจังหวะของเสียงดีดไวโอลินเบา ๆ
  • 1:33 - 1:36
    นักบัลเลต์เคลื่อนไหวเข้ากับดนตรี
    อย่างสมบูรณ์แบบ
  • 1:36 - 1:40
    ถึงขนาดเลียนแบบเสียงรัวไวโอลิน
    ด้วยท่าบูเรที่งดงาม
  • 1:40 - 1:45
    นางฟ้าแห่งอารมณ์ ซึ่งให้ของขวัญ
    เป็นความตั้งใจอันแรงกล้าแก่ออโรรา
  • 1:45 - 1:49
    ถูกออกแบบท่าให้เหมือนกับ
    กำลังยิงลำแสงไฟฟ้าออกจากปลายนิ้ว
  • 1:49 - 1:51
    นักเต้นกระโดดไปทั่วเวที
  • 1:51 - 1:55
    หมุนตัวด้วยท่าแชเนอย่างรวดเร็ว
    ก่อนที่จะทำท่าเฌอเตอย่างเฉียบขาด
  • 1:55 - 1:59
    การเคลื่อนไหวบางท่ายังตรงตัว
    มากกว่านี้อีก
  • 1:59 - 2:03
    นางฟ้าชั่วร้ายคาราบ็อส สาปเจ้าหญิง
    ด้วยท่า "X"
  • 2:03 - 2:07
    และนางฟ้าสีม่วงอ่อนแห่งความเมตตา
    ก็แก้คำสาปนั้นกลับ
  • 2:07 - 2:10
    แน่นอนว่าความสัมพันธ์
    ระหว่างดนตรีกับท่าทางนั้น
  • 2:10 - 2:12
    ไม่ได้ตรงตัวเช่นนี้เสมอไป
  • 2:12 - 2:16
    แม้ว่าท่าทางในบัลเลต์คลาสสิก
    มักจะเข้ากับส่วนต่าง ๆ ของดนตรี
  • 2:16 - 2:19
    แต่ระดับความเข้ากันของ
    นักเต้นกับวงออร์เคสตรา
  • 2:19 - 2:21
    ก็เป็นเครื่องมือการออกแบบท่าเต้น
    อีกชนิดหนึ่ง
  • 2:21 - 2:25
    ตัวละครบางตัวหรือฉากบางฉากเคลื่อนไหว
    เข้ากับดนตรีเพื่อสร้างความชัดเจนของจังหวะ
  • 2:25 - 2:29
    แต่ในบางครั้งก็จงใจให้โดด
    ออกมาจากดนตรีออร์เคสตรา
  • 2:29 - 2:31
    นักเต้นและนักดนตรีจะคอยรักษา
    ความสมดุลอันละเอียดนี้ไว้
  • 2:31 - 2:33
    ตลอดการแสดงหนึ่ง ๆ
  • 2:33 - 2:37
    เป็นการต่อรองกันแบบสด ๆ
    ของความเร็วและจังหวะ
  • 2:37 - 2:41
    แต่ก่อนการแสดงนั้น
    ความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของบัลเลต์
  • 2:41 - 2:44
    คือระหว่างนักออกแบบท่าเต้น
    กับดนตรี
  • 2:44 - 2:48
    นักออกแบบท่าเต้น มาเรียส เปอตีปา
    และนักประพันธ์เพลง ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี
  • 2:48 - 2:52
    ทำงานร่วมกันตลอดการแสดง
    เรื่อง "เจ้าหญิงนิทรา"
  • 2:52 - 2:57
    สิ่งนี้เห็นได้ชัดโดยเฉพาะ
    ช่วงที่เจ้าหญิงออโรราเข้าฉากอย่างร่าเริง
  • 2:57 - 2:59
    ในวันเกิดปีที่ 16 ของเธอ
  • 2:59 - 3:03
    ดนตรีที่กระตือรือร้นของไชคอฟสกี
    พุ่งไปข้างหน้าสลับเป็นช่วง
  • 3:03 - 3:08
    แล้วยังจบท่อนดนตรีบางท่อน
    เพื่อแสดงความใจร้อนของออโรราออกมา
  • 3:08 - 3:12
    เปอตีปาออกแบบท่าเต้นให้ออโรรากระโดดไปมา
    ด้วยท่า "ปาเดอชา"
  • 3:12 - 3:16
    ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "ก้าวของแมว"
    ในขณะที่เธอรอให้งานเลี้ยงของเธอเริ่มขึ้น
  • 3:16 - 3:20
    เมื่องานเลี้ยงเริ่มต้นขึ้น
    ก็ขึ้นอยู่กับนักแสดงแล้ว
  • 3:20 - 3:23
    ที่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจ
    โดยการแสดงท่าทางเหล่านี้ด้วยความสง่างาม
  • 3:23 - 3:28
    ออโรราต้องแสดงส่วนที่ยากที่สุด
    นั่นคือท่า โรสอาดาฌิโอ ที่โด่งดัง
  • 3:28 - 3:30
    ในขณะที่ผู้ชายสี่คนเข้ามาขอมือเธอ
  • 3:30 - 3:35
    เจ้าหญิงจะแสดงลำดับการทรงตัว
    โดยใช้ท่าอ็องปวงต์ตลอดเวลา
  • 3:35 - 3:40
    โดยรับมือของผู้ชายแต่ละคนช่วงหนึ่ง
    แล้วกลับมาทรงตัวโดยไม่มีใครช่วย
  • 3:40 - 3:43
    เป็นการแสดงความแข็งแรงของร่างกาย
    และทักษะที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างมาก
  • 3:43 - 3:46
    อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่เทคนิคเท่านั้น
    ที่สื่อความหมาย
  • 3:46 - 3:48
    แต่สไตล์และบุคลิกภาพก็เช่นกัน
  • 3:48 - 3:50
    เช่นเดียวกับนักแสดงที่แสดงออกมาตามบท
  • 3:50 - 3:55
    นักบัลเลต์ก็สามารถสร้างการเคลื่อนไหว
    ที่สื่ออารมณ์ได้หลากหลาย
  • 3:55 - 3:57
    ออโรราอาจดูสูงส่งและสงวนท่าที
  • 3:57 - 4:00
    โดยการเอามือออกมาจากผู้ชาย
    ด้วยตัวเอง
  • 4:00 - 4:04
    หรือก็อาจดูชมดชม้อยและเย้ายวนได้
    โดยการหยุดท่าอ็องปวงต์ด้วยความสง่างาม
  • 4:04 - 4:06
    และความมั่นใจ
  • 4:06 - 4:10
    "เจ้าหญิงนิทรา" เป็นส่วนหนึ่ง
    ที่แสดงให้เห็นว่าบัลเลต์ทำอะไรได้บ้าง
  • 4:10 - 4:13
    ความตื่นตาตื่นใจแสนสง่างาม
    คำศัพท์ท่าทางต่าง ๆ สุดอลังการ
  • 4:13 - 4:16
    และการรวมกันอย่างน่าหลงใหล
    ของดนตรีและการเคลื่อนไหว
  • 4:16 - 4:20
    สะท้อนธีมของนิยายโรมานซ์แสนมหัศจรรย์
    เรื่องนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • 4:20 - 4:23
    แต่บัลเลต์ก็ไม่ได้มีไว้สำหรับเทพนิยาย
    เท่านั้น
  • 4:23 - 4:26
    บัลเลต์ยังเป็นการเดินทางของอารมณ์
    โดยไม่มีเนื้อเรื่อง
  • 4:26 - 4:28
    การทดลองถอดรูปแบบต่าง ๆ
  • 4:28 - 4:30
    หรือการแสดงทักษะล้วน ๆ ก็ได้
  • 4:30 - 4:35
    รูปแบบศิลปะนี้ยังคงมีการทดลองตลอด
    ด้วยกฎที่มีมาเป็นศตวรรษ
  • 4:35 - 4:39
    นั่นคือการทำให้บัลเลต์เป็นสื่อ
    ของเรื่องเล่าเก่าและใหม่อย่างสมบูณ์
Title:
บัลเลต์มีไว้ทำไม - หมิง ลูค
Speaker:
หมิง ลูค
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/what-s-the-point-e-of-ballet-ming-luke

เด็กที่ต้องคำสาปแต่เกิด การต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างความดีกับชั่ว รักแท้ที่ตื่นขึ้นมาด้วยจุมพิต หลังจากการแสดงรอบปฐมทัศน์ในปี 1890 "เจ้าหญิงนิทรา" ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในบัลเลต์ที่จัดแสดงบ่อยที่สุดในประวัติศาสตร์ แล้วอะไรทำให้เรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบขนาดนั้น และบัลเลต์ทำให้เรื่องนี้หรือเรื่องอื่น ๆ พิเศษอย่างไร หมิง ลูค จะมาแบ่งปันมุมมองว่าอะไรทำให้บัลเลต์เป็นสื่อสำหรับเรื่องเล่าทั้งเก่าและใหม่ที่สมบูรณ์แบบ

บทเรียนโดย หมิง ลูค กำกับโดย Visorama

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:39
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for What's the point(e) of ballet?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for What's the point(e) of ballet?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What's the point(e) of ballet?
Teetach Atsawarangsalit edited Thai subtitles for What's the point(e) of ballet?
Teetach Atsawarangsalit edited Thai subtitles for What's the point(e) of ballet?

Thai subtitles

Revisions