Return to Video

The Internet: HTTP and HTML

  • 0:03 - 0:07
    อินเทอร์เน็ต: HTTP และ HTML
  • 0:07 - 0:12
    ฉันจัสมินค่ะ ผู้จัดการโปรแกรม
    ฝ่ายวิศวกรรม ที่ XBOX One
  • 0:14 - 0:17
    ฟีเจอร์ที่เจ๋งที่สุดอันนึงของเรา
    คือ XBOX Live
  • 0:17 - 0:21
    เป็นบริการออนไลน์ของเรา
    ที่เชื่อมต่อเกมเมอร์จากทั่วโลก
  • 0:21 - 0:24
    ซึ่งต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตล้วน ๆ ค่ะ
  • 0:24 - 0:28
    ไม่ง่ายเลยนะคะ
    เบื้องหลังก็มีเรื่องราวมากมายค่ะ
  • 0:29 - 0:34
    อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนวิธีการปฏิสัมพันธ์
    และการเชื่อมต่อของมนุษย์มาก
  • 0:34 - 0:40
    แต่มันทำงานยังไง คอมพิวเตอร์ทั่วโลก
    สื่อสารกันได้ยังไง
  • 0:40 - 0:43
    มาดูกันที่การท่องเว็บก่อนนะคะ
  • 0:44 - 0:46
    ก่อนอื่น ก็เปิดเว็บเบราว์เซอร์
  • 0:47 - 0:49
    ซึ่งเป็นแอปที่เราใช้เข้าหน้าเว็บนั่นเอง
  • 0:50 - 0:52
    จากนั้นพิมพ์ที่อยู่เว็บหรือ URL ลงไป
  • 0:53 - 0:57
    ย่อมาจาก Uniform Resource Locator
    ของเว็บไซต์ที่อยากเข้า
  • 0:57 - 0:58
    อย่าง tumblr.com
  • 1:04 - 1:06
    สวัสดีครับ ผมเดวิด คาร์ป
    ผู้ก่อตั้ง Tumblr
  • 1:07 - 1:11
    วันนี้เราะมาพูดถึงเว็บเบราว์เซอร์
    ที่เราใช้กันทุกวันว่ามันทำงานอย่างไร
  • 1:12 - 1:14
    คุณคงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
  • 1:14 - 1:17
    เวลาพิมพ์ที่อยู่ในเว็บเบราว์เซอร์
    และกด enter
  • 1:17 - 1:19
    มันก็เหลือเชื่ออย่างที่คุณคิดนี่แหละ
  • 1:20 - 1:24
    จุดนั้นที่คอมพิวเตอร์คุณคุยกับ
    คอมพิวเตอร์อื่น เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์
  • 1:25 - 1:27
    ที่มักอยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์
  • 1:27 - 1:31
    คอมพิวเตอร์คุณถามหาเว็บไซต์นั้น
    จากคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นในเสี้ยววินาที
  • 1:32 - 1:36
    เซิร์ฟเวอร์ก็ตอบกลับหาคอมพิวเตอร์คุณ
    ในภาษาที่เรียกว่า HTTP
  • 1:37 - 1:41
    HTTP ย่อมาจาก
    HyperText Transfer Protocol
  • 1:41 - 1:44
    มองว่าเป็นภาษา
    ที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งใช้
  • 1:44 - 1:46
    เพื่อขอเอกสารจาก
    คอมพิวเตอร์อีกเครื่องก็ได้
  • 1:46 - 1:48
    ซึ่งก็ตรงไปตรงมาพอสมควร
  • 1:48 - 1:53
    ถ้าคุณแอบดูบทสนทนาระหว่างคอมพิวเตอร์คุณ
    กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ในอินเทอร์เน็ต
  • 1:53 - 1:55
    ส่วนมากก็ทำจากสิ่งที่เรียกว่าคำขอ GET
  • 1:56 - 1:58
    เรียบง่ายมาก แค่มีคำว่า GET
  • 1:58 - 2:00
    ตามด้วยชื่อเอกสารที่คุณขอ
  • 2:00 - 2:03
    ถ้าคุณจะล็อกอินใน Tumblr
    และโหลดหน้าล็อกอินของเรา
  • 2:03 - 2:10
    ที่คุณทำคือส่งคำขอ GET ไปยังเซิร์ฟเวอร์
    ของ Tumblr ที่เขียนว่า GET /login
  • 2:10 - 2:12
    นั่นจะบอกเซิร์ฟเวอร์ของ Tumblr ว่า
  • 2:12 - 2:17
    คุณต้องการโค้ด HTML ทั้งหมด
    สำหรับหน้าล็อกอินของ Tumblr
  • 2:18 - 2:21
    HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language
  • 2:21 - 2:23
    เหมือนเป็นภาษาที่คุณใช้
  • 2:24 - 2:26
    บอกเว็บเบราว์เซอร์ว่า
    จะให้หน้านั้นมีลักษณะยังไง
  • 2:27 - 2:31
    ลองนึกถึง Wikipedia
    ที่มีเอกสารง่าย ๆ มากมาย
  • 2:31 - 2:35
    ตัว HTML คือภาษา
    ที่ให้ชื่อเรื่องตัวใหญ่และหนา
  • 2:35 - 2:37
    ให้ฟอนต์เป็นฟอนต์ที่ต้องการ
  • 2:37 - 2:42
    ให้ลิงก์ข้อความบางส่วนไปยังบางเพจ
    ให้ข้อความบางส่วนเป็นตัวหนา
  • 2:43 - 2:46
    ให้อักษรเป็นตัวเอียง
    ให้ใส่รูปภาพกลางหน้า
  • 2:46 - 2:48
    ให้ขยับรูปชิดขวา ให้ขยับรูปชิดซ้าย
  • 2:49 - 2:53
    ข้อความของเว็บเพจ รวมอยู่ใน HTML โดยตรง
  • 2:53 - 2:58
    แต่ส่วนอื่นอย่างรูปภาพ วีดีโอ
    เป็นไฟล์แยกที่มี URL เป็นของตัวเอง
  • 2:58 - 2:59
    ซึ่งต้องทำการขอ
  • 3:00 - 3:04
    เบราว์เซอร์ส่งคำขอ HTTP แยก
    สำหรับแต่ละไฟล์
  • 3:04 - 3:06
    แล้วค่อยแสดงเมื่อไฟล์ไปถึง
  • 3:08 - 3:10
    หากหน้าเว็บมีรูปภาพมาก
  • 3:11 - 3:16
    แต่ละอันต้องส่งคำขอ HTTP แยก
    ทำให้เพจนั้นโหลดช้า
  • 3:19 - 3:23
    ทีนี้เวลาเราเข้าเว็บไซต์
    เราไม่ได้ส่งแต่เพียงคำขอ GET เท่านั้น
  • 3:24 - 3:29
    บางทีเราก็ส่งข้อมูล เช่นเวลากรอกแบบฟอร์ม
    หรือพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา
  • 3:30 - 3:32
    เบราว์เซอร์ของคุณจะส่งข้อความนี้
    เป็นคำข้อความ
  • 3:32 - 3:36
    ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้คำขอ HTTP POST
  • 3:37 - 3:38
    สมมติเราลงชื่อเข้าใช้ Tumblr
  • 3:39 - 3:41
    อย่างแรกที่คุณทำคือคำขอ POST
  • 3:41 - 3:46
    ซึ่งก็คือ POST ไปยังหน้าเพจของ Tumblr
    ที่มีข้อมูลติดมาด้วย
  • 3:47 - 3:49
    มันจะมีอีเมลของคุณ รหัสผ่านของคุณ
  • 3:49 - 3:51
    อันนั้นจะเข้าเซิร์ฟเวอร์ของ Tumblr
  • 3:51 - 3:53
    เซิร์ฟเวอร์ของ Tumblr ก็จะรู้ว่า
    โอเค คุณคือเดวิด
  • 3:54 - 3:58
    มันจะส่งหน้าเว็บกลับมาเบราว์เซอร์ของคุณ
    ที่แจ้งว่า สำเร็จ
  • 3:58 - 4:00
    ลงชื่อเข้าใช้ชื่อเดวิดแล้ว
    แต่ในหน้าเว็บนั้น
  • 4:00 - 4:04
    มันจะติดข้อมูลคุกกี้ที่มองไม่เห็นมาด้วย
  • 4:04 - 4:07
    แต่เบราว์เซอร์คุณเห็นและรู้ว่าต้องบันทึก
  • 4:07 - 4:08
    นั่นสำคัญมาก เพราะว่า
  • 4:09 - 4:11
    เป็นทางเดียวที่เว็บไซต์จะจำคุณได้
  • 4:12 - 4:16
    ข้อมูลคุกกี้นั่นก็เหมือน
    บัตรประจำตัวของ Tumblr
  • 4:16 - 4:18
    เป็นตัวเลขที่ระบุว่าคุณคือเดวิด
  • 4:18 - 4:21
    เว็บเบราว์เซอร์คุณจะยึกตัวเลขนั้น
  • 4:21 - 4:26
    ต่อไปพอคุณรีเฟรชหรือเข้า Tumblr.com
    เว็บเบราว์เซอร์คุณก็จะรู้
  • 4:26 - 4:30
    ว่าต้องติดเลขประจำตัวนี้ไปกับคำขอที่ส่ง
    ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Tumblr โดยอัตโนมัติ
  • 4:30 - 4:34
    ทีนี้เซิร์ฟเวอร์ของ Tumblr
    ก็เห็นคำร้องนี้จากเบบราว์เซอร์ของคุณ
  • 4:34 - 4:38
    เห็นเลขประจำตัวและรู้ว่า
    โอเค คำร้องนี้มาจากเดวิด
  • 4:40 - 4:43
    อินเทอร์เน็ตนั้นเปิดกว้างมาก
  • 4:43 - 4:48
    ทุกการเชื่อมต่อมีการแชร์กัน
    และข้อมูลก็ส่งเป็นข้อความ
  • 4:49 - 4:54
    ทำให้แฮกเกอร์แอบนำข้อมูลส่วนตัว
    ที่คุณส่งไปในอินเทอร์เน็ตได้
  • 4:55 - 4:57
    แต่เว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะป้องกันสิ่งนี้ค่ะ
  • 4:57 - 5:01
    ด้วยการขอให้เว็บเบราว์เซอร์ของคุณ
    สื่อสารในช่องทางที่ปลอดภัย
  • 5:01 - 5:04
    ด้วยการใช้สิ่งที่เรียกว่า
    Secure Sockets Layer
  • 5:04 - 5:07
    และตัวรับช่วงต่อของมัน
    Transport Layer Security
  • 5:07 - 5:14
    จะมองว่า SSL และ TLS เป็นความปลอดภัย
    อีกชั้นที่หุ้มการสื่อสารของคุณ
  • 5:14 - 5:17
    เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูลก็ได้
  • 5:17 - 5:21
    SSL และ TLS ใช้งานได้
    เมื่อคุณเป็นรูปแม่กุญแจเล็ก ๆ
  • 5:21 - 5:25
    ในบาร์ที่อยู่เบราว์เซอร์คุณ ข้าง HTTPS
  • 5:26 - 5:31
    โพรโตคอล HTTPS ทำให้คำขอ HTTP ของคุณ
    ปลอดภัยและได้รับการปกป้อง
  • 5:32 - 5:36
    เมื่อเว็บไซต์ขอให้เบราว์เซอร์ของคุณ
    เชื่อมต่ออย่างปลอดภัย
  • 5:36 - 5:39
    มันจะออกใบรับรองดิจิทัลให้ก่อน
  • 5:39 - 5:44
    ซึ่งเหมือนบัตรประชาชนที่พิสูจน์ว่า
    เว็บไซต์นี้เป็นอย่างที่มันบอกจริง ๆ
  • 5:44 - 5:49
    ใบรับรองดิจิทัลออกให้โดย
    หน่วยงานใบรับรองที่เป็นที่ไว้วางใจ
  • 5:49 - 5:53
    ที่รับรองตัวตนของเว็บไซต์
    และออกใบรับรองให้
  • 5:54 - 5:57
    เหมือนที่รัฐบาลออกบัตรประชาชน
    หรือพาสปอร์ตให้เรา
  • 5:57 - 6:00
    หากเว็บไซต์
    พยายามทำการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย
  • 6:00 - 6:04
    โดยไม่ได้รับใบรับรองดิจิทัลก่อน
    เบราว์เซอร์ก็จะเตือนคุณ
  • 6:07 - 6:09
    นี่แหละค่ะเรื่องพื้นฐานของการเล่นเว็บ
  • 6:10 - 6:12
    เป็นอินเทอร์เน็ตที่เราเห็นกันทุกวัน
  • 6:12 - 6:19
    สรุปว่า HTTP และ DNS
    จัดการการรับส่ง HTML
  • 6:19 - 6:22
    ไฟล์สื่อหรืออะไรก็ตามในหน้าเว็บ
  • 6:22 - 6:27
    สิ่งที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้คือ TCP/IP
    และเครือข่ายเราเตอร์
  • 6:27 - 6:31
    ซึ่งแยกและส่งข้อมูลเป็นแพ็คเก็ตเล็ก ๆ
  • 6:31 - 6:34
    แพ็คเก็ตพวกนี้ประกอบด้วยเลขฐานสอง
  • 6:35 - 6:38
    ชุดตัวเลข 1 และ 0 ที่ถูกส่งทางกายภาพ
  • 6:38 - 6:42
    ผ่านสายไฟ ใยแก้วนำแสง และเครือข่ายไร้สาย
  • 6:42 - 6:46
    ทีนี้เมื่อได้รู้แล้วว่า
    อินเทอร์เน็ตเลเยอร์แรกทำงานอย่างไร
  • 6:46 - 6:49
    คุณก็เชื่อใจมันได้เลย
    โดยไม่ต้องจำรายละเอียดทั้งหมด
  • 6:50 - 6:53
    เราเชื่อได้ว่าเลเยอร์ทั้งหมดนั้น
    จะทำงานร่วมกัน
  • 6:53 - 6:58
    เพื่อส่งข้อมูลทุกขนาดได้
    อย่างน่าเชื่อถือค่ะ
Title:
The Internet: HTTP and HTML
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
07:07
TranslateByHumans edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Thachaparn Bunditlurdruk edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Peem Klinprachum edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Peem Klinprachum edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Peem Klinprachum edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Thachaparn Bunditlurdruk edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Thachaparn Bunditlurdruk edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Thachaparn Bunditlurdruk edited Thai subtitles for The Internet: HTTP and HTML
Show all

Thai subtitles

Revisions