< Return to Video

เจ้าลิงผู้ควบคุมหุ่นยนต์...จริงๆนะ!

  • 0:00 - 0:03
    รูปแบบของประสาทวิทยาศาสตร์ที่ผมและเพื่อนร่วมงานทำงานอยู่
  • 0:03 - 0:05
    คล้ายกับนักพยากรณ์อากาศ
  • 0:05 - 0:09
    เราจะเฝ้าติดตามพายุเสมอ
  • 0:09 - 0:14
    เราต้องการจะเห็นและตรวจวัดพายุ พูดอีกอย่างคือพายุในสมอง
  • 0:14 - 0:17
    พวกเราทุกคนพูดถึงการระดมสมองในชีวิตประวันของเรา
  • 0:17 - 0:20
    แต่พวกเราไม่เคยเห็นหรือได้ยินสมองของเราเลย
  • 0:20 - 0:22
    ดังนั้น ผมจึงชอบที่จะเริ่มต้นการพูดของผม
  • 0:22 - 0:25
    ด้วยการนำมันมาคุณให้รู้จัก
  • 0:25 - 0:28
    จริงๆ แล้ว นี่คือครั้งแรกที่เราบันทึกเซลล์ประสาทมากกว่าหนึ่งเซลล์
  • 0:28 - 0:30
    เราบันทึกถึงหนึ่งร้อยเซลล์สมองพร้อม ๆ กัน
  • 0:30 - 0:33
    เราสามารถวัดสัญญาณจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้า
  • 0:33 - 0:35
    ของร้อยเซลล์นี้จากสัตว์ตัวเดียว
  • 0:35 - 0:37
    และนี่คือภาพแรกที่เราได้
  • 0:37 - 0:39
    ในช่วง 10 วินาทีแรกของการบันทึก
  • 0:39 - 0:43
    ซึ่งตอนนี้เราได้บันทึกเสี้ยวหนึ่งของความคิด
  • 0:43 - 0:46
    ดังที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าพวกเรานี้
  • 0:46 - 0:47
    ผมบอกนักศึกษาเสมอว่า
  • 0:47 - 0:51
    เราสามารถเรียกนักประสาทวิทยาว่าเป็นนักดาราศาสตร์ประเภทหนึ่งได้เหมือนกันนะ
  • 0:51 - 0:52
    เพราะว่าพวกเราทำงานกับระบบ
  • 0:52 - 0:55
    ที่จำนวนเซลล์นั้นเทียบได้กับ
  • 0:55 - 0:58
    จำนวนกาแล็กซีที่มีอยู่ในจักรวาลเลยทีเดียว
  • 0:58 - 1:01
    และจากหลายพันล้านเซลล์ประสาท
  • 1:01 - 1:04
    เราบันทึกได้เพียงแค่หนึ่งร้อยเซลล์ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • 1:04 - 1:06
    ขณะนี้เรากำลังพยายามบันทึกเซลล์เป็นหลักพัน
  • 1:06 - 1:11
    และเราหวังว่าจะเข้าใจบางอย่างในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
  • 1:11 - 1:13
    เพราะว่า คุณอาจยังไม่รู้ว่า
  • 1:13 - 1:18
    ทุกสิ่งที่เราใช้นิยามธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนมาจากพายุเหล่านี้
  • 1:18 - 1:23
    มาจากพายุเหล่านี้ซึ่งม้วนตัวผ่านขุนเขาและหุบเหวในสมองของเรา
  • 1:23 - 1:27
    กำหนดความทรงจำของเรา ความเชื่อของเรา
  • 1:27 - 1:30
    ความรู้สึกของเรา และแผนการของเราสำหรับอนาคต
  • 1:30 - 1:32
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยทำ
  • 1:32 - 1:37
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ทุกคนเคยทำ กำลังทำ และจะทำ
  • 1:37 - 1:42
    จำเป็นจะต้องใช้เซลล์ประสาทจำนวนมากทำงานร่วมกันเพื่อสร้างพายุดังกล่าวขึ้นมา
  • 1:42 - 1:45
    และเสียงของพายุสมอง ถ้าคุณไม่เคยได้ยินมาก่อน
  • 1:45 - 1:48
    เป็นแบบนี้
  • 1:48 - 1:51
    คุณช่วยเร่งระดับเสียงให้ดังขึ้นด้วยครับ
  • 1:51 - 1:58
    ลูกชายผมบอกว่าเหมือน "กำลังอบป็อบคอร์นพร้อมๆกับฟังสถานีวิทยุ AM ที่จูนสัญญาณไม่ดี"
  • 1:58 - 1:59
    นี่คือสมองของเรา
  • 1:59 - 2:03
    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณนำสัญญาณไฟฟ้าจากพายุสมองป้อนใส่ลำโพง
  • 2:03 - 2:06
    และคุณลองฟังเสียงของเซลล์สมองร้อยเซลล์กำลังส่งสัญญาณ
  • 2:06 - 2:10
    สมองของคุณจะมีเสียงเป็นแบบนี้ หรือไม่ว่าสมองของผม หรือสมองของใครๆ ก็ตาม
  • 2:10 - 2:14
    และสิ่งที่เราต้องการทำในฐานะที่เป็นนักประสาทวิทยา ณ ขณะนี้
  • 2:14 - 2:19
    ก็คือการนั่งลงฟังเสียงซิมโฟนี่ ซิมโฟนี่ของสมองเหล่านี้
  • 2:19 - 2:23
    และพยายามถอดรหัสข้อความที่ซ่อนอยู่ในเสียงนี้
  • 2:23 - 2:26
    เมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว
  • 2:26 - 2:29
    เราได้สร้างสิ่งที่เราเรียกว่า ส่วนต่อเชื่อมระหว่างสมองและเครื่องจักร
  • 2:29 - 2:31
    และที่คุณเห็นอยู่นี้คือแผนผังแสดงการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว
  • 2:31 - 2:37
    แนวคิดก็คือ เราใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าจากพายุเหล่านี้
  • 2:37 - 2:40
    และลองดูว่า ในเวลาเดียวกันกับที่
  • 2:40 - 2:45
    พายุนี้เคลื่อนออกจากสมองไปสู่ขาหรือแขนของสัตว์ที่เราทดลอง
  • 2:45 - 2:48
    ซึ่งคือประมาณครึ่งวินาที
  • 2:48 - 2:50
    เราอยากรู้ว่าเราจะสามารถตรวจจับสัญญาณ
  • 2:50 - 2:54
    ถอดรหัสข้อความที่ซ่อนอยู่
  • 2:54 - 2:56
    แปลงมันให้อยู่ในรูปคำสั่งแบบดิจิตอล
  • 2:56 - 2:58
    และส่งคำสั่งนี้ไปยังอุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้น
  • 2:58 - 3:04
    ซึ่งจะขับเคลื่อนมอเตอร์ตามคำสั่งที่ได้รับจากสมองแบบเรียลไทม์
  • 3:04 - 3:08
    และเราจะประเมินความสามารถในถอดรหัสของเรา
  • 3:08 - 3:11
    เทียบกับการทำงานของร่างกาย
  • 3:11 - 3:14
    และถ้าเราสามารถจะป้อนกลับ
  • 3:14 - 3:20
    สัญญาณรับรู้ด้านการสัมผัสจากแขนกลนี้
  • 3:20 - 3:22
    ซึ่งตอนนี้ถูกควบคุมด้วยสมอง
  • 3:22 - 3:23
    กลับไปยังสมอง
  • 3:23 - 3:25
    สมองจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
  • 3:25 - 3:30
    ต่อข้อความที่ได้รับจากแขนกล
  • 3:30 - 3:33
    และนั่นคือสิ่งที่เราทำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • 3:33 - 3:36
    เราเริ่มทดลองกับลิงมีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า ออโรร่า
  • 3:36 - 3:38
    ซึ่งทำให้มันมีชื่อเสียงโด่งดังในสาขานี้ในเวลาต่อมา
  • 3:38 - 3:40
    ออโรร่าชอบเล่นวีดิโอเกมส์
  • 3:40 - 3:42
    อย่างที่คุณเห็น
  • 3:42 - 3:47
    มันชอบใช้จอยสติ๊กเหมือนพวกเรา เหมือนพวกเด็กๆ เวลาเล่นเกมส์
  • 3:47 - 3:51
    และสมกับที่เป็นไพรเมต มันพยายามโกงก่อนที่มันจะตอบได้ถูกต้อง
  • 3:51 - 3:56
    สิ่งที่มันทำก็คือ ก่อนที่รูปเป้าหมายที่มันจะต้องแตะด้วยลูกศรซึ่ง
  • 3:56 - 3:58
    ควบคุมด้วยจอยสติ๊กจะปรากฏบนหน้าจอ
  • 3:58 - 4:02
    ออโรร่าพยายามจะค้นหาเป้าหมาย ไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหน
  • 4:02 - 4:04
    ทำไมมันทำอย่างนั้น...
  • 4:04 - 4:07
    เพราะว่าทุกครั้งที่มันแตะเป้าหมายด้วยลูกศรได้อย่างถูกต้อง
  • 4:07 - 4:10
    มันจะได้รับรางวัลเป็นน้ำส้มบราซิลหนึ่งหยด
  • 4:10 - 4:13
    ผมบอกคุณได้เลยครับว่า คุณจะให้ลิงตัวไหน ทำอะไรให้คุณก็ได้
  • 4:13 - 4:16
    ถ้าคุณให้รางวัลมันด้วยน้ำส้มบราซิล
  • 4:16 - 4:19
    จริง ๆ แล้ว มันใช้ได้กับไพรเมตทุกประเภทเลยนะ
  • 4:19 - 4:20
    ลองคิดดูครับ
  • 4:20 - 4:24
    ขณะที่ออโรร่ากำลังเล่นเกมส์นี้อยู่ อย่างที่คุณเห็น
  • 4:24 - 4:26
    มันพยายามเป็นพันๆ ครั้งต่อวัน
  • 4:26 - 4:30
    และมันทำได้ถูกต้อง 97 เปอร์เซ็นต์และได้รับน้ำส้ม 350 มิลลิลิตร
  • 4:30 - 4:33
    เราบันทึกพายุสมองที่ถูกสร้างขึ้นในศีรษะของมัน
  • 4:33 - 4:35
    และส่งข้อมูลนี้ไปยังแขนกล
  • 4:35 - 4:39
    ซึ่งพยายามเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่แบบที่ออโรร่าทำ
  • 4:39 - 4:43
    เนื่องจากแนวคิดของเราคือเปิดส่วนต่อเชื่อม
    ระหว่างสมอง-เครื่องจักรไว้
  • 4:43 - 4:47
    และให้ออโรร่าเล่นเกมส์ในความคิดเท่านั้น
  • 4:47 - 4:50
    โดยไม่ให้มันใช้ร่างกาย
  • 4:50 - 4:53
    พายุสมองของมันจะควบคุมแขนกล
  • 4:53 - 4:56
    ที่จะใช้เลื่อนลูกศรไปยังเป้าหมายและแตะเป้าหมาย
  • 4:56 - 4:59
    และสิ่งที่ทำให้เราประหลาดใจมากก็คือ
    ออโรร่าทำเหมือนกับที่เราสาธยายเมื่อกี้เป๊ะเลยครับ
  • 4:59 - 5:03
    มันเล่นเกมส์โดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  • 5:03 - 5:05
    ดังนั้น การเคลื่อนที่ของลูกศรที่คุณเห็นในขณะนี้
  • 5:05 - 5:08
    คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ที่มันเริ่มเรียนรู้
  • 5:08 - 5:10
    นี่คือช่วงแรกที่มันเริ่มเรียนรู้
  • 5:10 - 5:17
    ความต้องการในสมองถูกปลดปล่อยเป็นอิสระจากขอบเขตร่างกายของไพรเมต
  • 5:17 - 5:21
    และสมองสามารถตอบสนองต่อสิ่งภายนอกได้
  • 5:21 - 5:24
    ด้วยการควบคุมแขนกล
  • 5:24 - 5:29
    ออโรร่าก็ยังคงเล่นเกมส์ต่อไป มันยังคงค้นหาเป้าหมายต่อไป
  • 5:29 - 5:32
    และได้รับรางวัลเป็นน้ำส้มที่มันชื่นชอบต่อไป
  • 5:32 - 5:39
    มันทำเช่นนั้น เพราะว่า ณ ขณะนั้นมันได้รับแขนอันใหม่
  • 5:39 - 5:42
    ส่วนแขนกลที่คุณเห็นอยู่นี้ คือ 30 วันให้หลัง
  • 5:42 - 5:45
    จากวิดีโอแรกที่ผมได้เปิดให้ดู
  • 5:45 - 5:47
    มันอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองของออโรร่า
  • 5:47 - 5:51
    และมันสามารถเลื่อนลูกศรไปที่เป้าหมาย
  • 5:51 - 5:55
    และออโรร่ารู้แล้วว่ามันสามารถเล่นเกมส์ได้โดยใช้แขนกล
  • 5:55 - 6:00
    แต่มันก็ไม่ได้สูญเสียความสามารถในการใช้แขนจริงของมันทำตามใจชอบ
  • 6:00 - 6:04
    มันสามารถเกาหลังของมัน เกาพวกเรา และเล่นเกมส์อื่นได้
  • 6:04 - 6:06
    ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ
  • 6:06 - 6:10
    สมองของออโรร่าสามารถรวมเอาแขนกลนี้
  • 6:10 - 6:13
    เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของมันได้
  • 6:13 - 6:16
    ภาพตัวเองในสมองของออโรร่า ณ ขณะนี้
  • 6:16 - 6:20
    ได้ถูกขยายออกให้มีแขนเพิ่มขึ้นมาอีก 1 อัน
  • 6:20 - 6:23
    นี่คือสิ่งที่เราได้ทำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • 6:23 - 6:26
    อีก 10 ปีต่อมา
  • 6:26 - 6:31
    เมื่อปีก่อน เราค้นพบว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้แขนกลแต่อย่างใด
  • 6:31 - 6:36
    คุณสามารถสร้างร่างกายเสมือน ตัวอวตาร ตัวแทนของลิง
  • 6:36 - 6:40
    และใช้มันโต้ตอบกับลิงของเรา
  • 6:40 - 6:45
    หรือคุณสามารถฝึกลิงเพื่อให้
  • 6:45 - 6:48
    มันคิดว่านั้นเป็นตัวแทนของมันในโลกเสมือน
  • 6:48 - 6:53
    และใช้สมองของมันควบคุมการเคลื่อนที่ของแขนขาของอวตาร
  • 6:53 - 6:56
    และสิ่งที่เราได้ทำนั้นแท้จริงแล้วก็คือการฝึกหัดสัตว์
  • 6:56 - 6:59
    ให้เรียนรู้วิธีในการควบคุมตัวอวตาร
  • 6:59 - 7:03
    และสำรวจตรวจสอบวัตถุที่ปรากฏอยู่ในโลกเสมือน
  • 7:03 - 7:05
    และวัตถุเหล่านี้มีรูปร่างเหมือนกัน
  • 7:05 - 7:09
    แต่เมื่ออวตารสัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุเหล่านี้
  • 7:09 - 7:16
    วัตถุนั้นก็จะส่งสัญญาณไฟฟ้าที่บ่งบอกลักษณะพื้นผิวของวัตถุนั้น
  • 7:16 - 7:20
    กลับไปยังสมองของลิงโดยตรง
  • 7:20 - 7:25
    เป็นการบอกสมองให้รู้ว่าอวตารกำลังสัมผัสอะไรอยู่
  • 7:25 - 7:30
    และภายใน 4 สัปดาห์ สมองจะเรียนรู้การจัดการกับความรู้สึกใหม่นี้
  • 7:30 - 7:36
    และผนวกเอาวิธีการรับรู้แบบใหม่นี้เข้าไว้ เหมือนเป็นประสาทสัมผัสอันใหม่
  • 7:36 - 7:38
    และเมื่อถึงจุดนี้ คุณก็ได้ให้อิสรภาพแก่สมองอย่างแท้จริง
  • 7:38 - 7:43
    เพราะว่าคุณสามารถใช้สมองส่งคำสั่งไปควบคุมการเคลือนที่ของอวตารได้
  • 7:43 - 7:48
    และการตอบสนองที่ได้รับมาจากอวตารก็จะถูกประมวลผลในสมอง
  • 7:48 - 7:50
    โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผิวหนังแต่อย่างใด
  • 7:50 - 7:53
    และสิ่งที่คุณเห็นอยู่นี้ คือ โครงร่างของภาระกิจของเรา
  • 7:53 - 7:57
    คุณจะเห็นสัตว์สัมผัสเป้าหมายสามอันนี้
  • 7:57 - 8:01
    และมันจะต้องเลือกอันใดอันหนึ่งเพราะมีแค่อันเดียวเท่านั้นที่มีรางวัล
  • 8:01 - 8:03
    น้ำส้มที่มันต้องการ
  • 8:03 - 8:09
    และมันจะต้องเลือกโดยการสัมผัสด้วยแขนเสมือน
    ซึ่งเป็นแขนที่ไม่มีอยู่จริงบนตัวมัน
  • 8:09 - 8:11
    และนั่นคือสิ่งที่พวกมันทำ
  • 8:11 - 8:14
    นี่คือการปลดปล่อยสมองอย่างสมบูรณ์
  • 8:14 - 8:19
    จากข้อจำกัดทางร่างกายและการเคลื่อนไหวในภาระกิจแบบนี้
  • 8:19 - 8:23
    สัตว์สามารถควบคุมอวตารให้สัมผัสกับเป้าหมายได้
  • 8:23 - 8:28
    และมันยังสามารถรับรู้ลักษณะของผิวสัมผัสได้จากสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งกลับไปยังสมองโดยตรง
  • 8:28 - 8:32
    และสมองสามารถแยกแยะได้ว่าผิวสัมผัสอันไหนที่มีรางวัลซ่อนอยู่
  • 8:32 - 8:36
    คำอธิบายที่คุณเห็นในคลิปนี้ไม่ได้ถูกแสดงให้ลิงเห็น
  • 8:36 - 8:39
    และถึงยังไง มันก็อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกอยู่แล้ว
  • 8:39 - 8:44
    คำอธิบายเหล่านี้ เราใส่เข้าไปเพื่อบอกให้คุณรู้ว่า
    เป้าหมายที่ถูกต้องจะถูกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • 8:44 - 8:48
    และลิงก็สามารถหามันเจอได้จากความรู้สึกที่แตกต่างขณะสัมผัส
  • 8:48 - 8:51
    และพวกมันก็สามารถกดลงไปและเลือก
  • 8:51 - 8:54
    เมื่อเรามองดูที่สมองของสัตว์เหล่านี้
  • 8:54 - 8:57
    คุณจะเห็นการเรียงตัวของเซลล์ 125 เซลล์ในภาพด้านบน
  • 8:57 - 9:02
    แสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับกิจกรรมของสมอง หรือพายุสมอง
  • 9:02 - 9:04
    ของเซลล์ประสาทเหล่านี้ในสมอง
  • 9:04 - 9:06
    เมื่อสัตว์ใช้จอยสติ๊ก
  • 9:06 - 9:08
    และนั่นเป็นภาพที่นักประสาทวิทยาทุกคนรู้
  • 9:08 - 9:13
    การเรียงตัวแบบพื้นฐานแสดงให้เห็นว่าเซลล์เหล่านี้กำลังสร้างรหัส
    สำหรับการเคลื่อนที่ทุกๆ ทิศทางที่เป็นไปได้
  • 9:13 - 9:19
    ภาพด้านล่างคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายหยุดเคลื่อนที่
  • 9:19 - 9:25
    และสัตว์เริ่มควบคุมแขนกลหรืออวตารในคอมพิวเตอร์
  • 9:25 - 9:28
    ด้วยความเร็วพอๆ กับการรีเซ็ตเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
  • 9:28 - 9:34
    กิจกรรมของสมองย้ายมาเริ่มตอบสนองต่อเครื่องมือใหม่นี้
  • 9:34 - 9:39
    ราวกับว่ามันคือส่วนหนึ่งของร่างกายของลิงตัวนั้น
  • 9:39 - 9:44
    สมองก็มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน
    ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่เราสามารถจะวัดได้
  • 9:44 - 9:48
    สิ่งที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกของตัวตนเรา
  • 9:48 - 9:52
    ไม่ได้สิ้นสุดลงที่เซลล์ผิวหนังชั้นนอกของร่างกายเราเท่านั้น
  • 9:52 - 9:58
    แต่มันจบลงที่ปลายทางของอิเล็คตรอนในอุปกรณ์
    ที่เราควบคุมได้ด้วยสมองของเรา
  • 9:58 - 10:02
    ไวโอลินของเรา รถยนต์ของเรา จักรยานของเรา
    ลูกฟุตบอลของเรา เสื้อผ้าของเรา
  • 10:02 - 10:09
    สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดถูกรวมเข้ากับร่างกาย
    ด้วยระบบอันทรงพลัง น่าทึ่งและปรับเปลี่ยนได้ที่เรียกว่าสมอง
  • 10:09 - 10:11
    แล้วเราจะขยายมันออกไปได้ไกลแค่ไหน?
  • 10:11 - 10:15
    ในการทดลองเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เราทำการทดลองแบบสุดโต่ง
  • 10:15 - 10:18
    เราให้สัตว์วิ่งบนเครื่องลู่วิ่งออกกำลังกาย
  • 10:18 - 10:20
    ที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 10:20 - 10:23
    ให้มันสร้างพายุสมองที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนที่
  • 10:23 - 10:27
    และเรามีหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์
  • 10:27 - 10:29
    อยู่ที่ห้องทดลอง ATR เมื่องเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
  • 10:29 - 10:35
    ที่ซึ่งไฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งมันจะถูกควบคุมด้วยสมอง
  • 10:35 - 10:38
    สมองมนุษย์ หรือ สมองของไพรเมต
  • 10:38 - 10:43
    สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือกิจกรรมสมองที่สร้างการเคลื่อนที่ในลิง
  • 10:43 - 10:47
    ถูกส่งไปยังญี่ปุ่นและทำให้หุ่นยนต์ก้าวเดิน
  • 10:47 - 10:51
    ขณะเดียวกันแต่ละก้าวของหุ่นยนต์นี้ก็ถูกส่งกลับไปยังมหาลัยดุ๊ก
  • 10:51 - 10:56
    เพื่อให้เจ้าลิงเห็นขาของหุ่นยนต์ที่กำลังก้าวเดินอยู่ตรงหน้ามัน
  • 10:56 - 11:00
    เพื่อที่ว่าเจ้าลิงจะได้รับรางวัล
    ไม่ใช่สำหรับสิ่งที่ร่างกายของมันกำลังทำ
  • 11:00 - 11:05
    แต่สำหรับทุกๆ ก้าวเดินที่ถูกต้องของหุ่นยนต์ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง
  • 11:05 - 11:07
    ซึ่งถูกควบคุมโดยสมองของมัน
  • 11:07 - 11:15
    ที่ตลกก็คือสัญญาณเดินทางไปกลับรอบโลกใช้เวลา 20 มิลลิวินาที
  • 11:15 - 11:19
    ซึ่งสั้นกว่าระยะเวลาที่พายุสมองเดินทางออกจากหัวของลิง
  • 11:19 - 11:23
    ไปยังกล้ามเนื้อของมันเอง
  • 11:23 - 11:29
    เจ้าลิงตัวนี้ได้ขับเคลื่อนหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันถึง 6 เท่า
    จากคนละซีกโลก
  • 11:29 - 11:35
    นี่คือการทดลองอันหนึ่งที่หุ่นยนต์สามารถเดินได้เอง
  • 11:35 - 11:40
    นี่คือฝันที่เป็นจริงของ CB1 ในญี่ปุ่น
  • 11:40 - 11:44
    ภายใต้การควบคุมของสมองของไพรเมต
  • 11:44 - 11:46
    แล้ว...เราทำทั้งหมดนี้ไปเพื่ออะไร?
  • 11:46 - 11:48
    เราสามารถจะทำอะไรได้จากผลงานวิจัยทั้งหมดนี้
  • 11:48 - 11:54
    นอกจากความใคร่รู้เกี่ยวกับอาณาจักรอันทรงพลัง
    ที่อยู่ระหว่างหูของเรา?
  • 11:54 - 11:59
    ไอเดียก็คือเราต้องการนำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้
  • 11:59 - 12:04
    มาใช้แก้ไขปัญหาทางประสาทวิทยาสำคัญอันหนึ่งที่โลกเผชิญอยู่
  • 12:04 - 12:09
    ผู้คนหลายล้านได้สูญเสียความสามารถในการเปลี่ยนพายุสมอง
  • 12:09 - 12:11
    ให้เกิดเป็นการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนที่
  • 12:11 - 12:16
    แม้ว่าสมองของพวกเขาจะยังสามารถสร้างพายุ
    และรหัสสำหรับการเคลื่อนที่
  • 12:16 - 12:21
    แต่สัญญาณเหล่านั้นไม่สามารถวิ่งข้ามกำแพง
    ที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
  • 12:21 - 12:24
    ดังนั้น แนวคิดของเราก็คือการสร้างเส้นทางลัด
  • 12:24 - 12:28
    ด้วยการใช้ส่วนต่อเชื่อมสมอง-เครื่องจักรเพื่ออ่านสัญญาณ
  • 12:28 - 12:32
    พายุสมองที่แสดงถึงความต้องการจะเคลื่อนที่อีกครั้ง
  • 12:32 - 12:36
    วิ่งข้ามรอยแผลบาดเจ็บ โดยเทคนิคไมโครเอ็นจิเนียริ่ง
  • 12:36 - 12:43
    และส่งสัญญาณไปยังร่างกายใหม่ที่เรียกว่า
    เอ็กโซสเกลเลตัน (exoskeleton)
  • 12:43 - 12:49
    ซึ่งเป็นชุดหุ่นยนต์ที่จะทำหน้าที่เป็นร่างกายใหม่สำหรับคนไข้กลุ่มนี้
  • 12:49 - 12:53
    และภาพที่คุณเห็นนี้เป็นผลงานขององค์กรหนึ่ง
  • 12:53 - 12:57
    เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ชื่อ
    วอล์ค อะเกน โปรเจค (Walk Again Project)
  • 12:57 - 13:00
    ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์จากยุโรป
  • 13:00 - 13:01
    อเมริกาและบราซิล
  • 13:01 - 13:06
    ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาร่างกายใหม่นี้ขึ้นมา
  • 13:06 - 13:09
    ร่างกายที่เราเชื่อว่าด้วยกลไกเดียวกันกับ
  • 13:09 - 13:15
    ที่ทำให้ออโรร่าและเจ้าลิงตัวอื่นๆ สามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
    ผ่านส่วนต่อเชื่อมสมอง-เครื่องจักรได้
  • 13:15 - 13:21
    กลไกที่ซึ่งทำให้เราสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
    ที่เราประดิษฐ์ขึ้นในชีวิตประจำวันของเราได้
  • 13:21 - 13:24
    เราหวังว่า กลไกเดียวกันนี้จะช่วยให้คนไข้กลุ่มนี้
  • 13:24 - 13:28
    ไม่เพียงแต่จะสามารถจินตนาการการเคลื่อนที่ที่พวกเขาต้องการ
  • 13:28 - 13:31
    เปลี่ยนมันเป็นการเคลื่อนที่ของร่างกายใหม่จริงๆ
  • 13:31 - 13:38
    แต่สมองจะสามารถผนวกเอาร่างกายใหม่นี้เข้ามา
    อยู่ภายใต้การควบคุมได้เหมือนกับร่างกายเดิม
  • 13:38 - 13:42
    เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีคนบอกผมว่า
  • 13:42 - 13:47
    สิ่งที่ว่านี้จะไม่มีทางเกิดขึ้น มันไม่มีทางเป็นไปได้
  • 13:47 - 13:49
    และในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผมบอกคุณได้เลยว่า
  • 13:49 - 13:52
    ผมเติบโตขึ้นมาในพื้นที่ทางตอนใต้ของบราซิลในยุค 60
  • 13:52 - 13:58
    ได้นั่งดูคนบ้ากลุ่มหนึ่งบอกพวกเราว่า
    พวกเขาจะเดินทางไปดวงจันทร์
  • 13:58 - 13:59
    ตอนนั้นผมอายุ 5 ขวบ
  • 13:59 - 14:03
    ผมไม่เข้าใจว่าทำไมนาซ่าไม่จ้างกัปตันเคิร์กกับสป๊อคมาทำงานนี้
  • 14:03 - 14:06
    เพราะพวกเขาน่าจะถนัดมากๆ
  • 14:06 - 14:09
    แต่เพราะว่าการได้เห็นสิ่งเหล่านั้นเมื่อยังเด็ก
  • 14:09 - 14:12
    ทำให้ผมเชื่อในสิ่งที่คุณย่าของผมบอกกับผม
  • 14:12 - 14:14
    ว่า "สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือ สิ่งที่เป็นไปได้
  • 14:14 - 14:18
    ซึ่งคนบางคนไม่ได้ทุ่มเทความพยายามลงไปอย่างเพียงพอ
    ที่จะทำให้มันเกิดขึ้น"
  • 14:18 - 14:22
    พวกเขาบอกผมว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้คนบางคน
    กลับมาเดินอีกครั้ง
  • 14:22 - 14:25
    ผมกำลังจะทำตามคำแนะนำของคุณย่าของผม
  • 14:25 - 14:26
    ขอบคุณครับ
  • 14:26 - 14:34
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เจ้าลิงผู้ควบคุมหุ่นยนต์...จริงๆนะ!
Speaker:
มิเกล นิโคเลลิส (Miguel Nicolelis)
Description:

เราจะสามารถใช้สมองของเราควบคุมเครื่องจักรโดยตรง โดยไม่ต้องใช้ร่างกายได้ไหม? มิเกล นิโคเลลิส พูดถึงการทดลองอันน่าทึ่งที่ทำให้เจ้าลิงในสหรัฐสามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวอวตารของลิง และมันยังสามารถควบคุมหุ่นยนต์ที่อยู่อีกซีกโลกในญี่ปุ่นด้วยพลังความคิดของมัน งานวิจัยนี้มีความหมายยิ่งใหญ่ต่อกลุ่มคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และมนุษยชาติทุกคน
(Filmed at TEDMED 2012.)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:55
  • A perfect translation! I did enjoy the read-through review krab. Thank you.

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 11 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut