Return to Video

แพทริเซีย คัห์ล: อัจฉริยะภาพทางภาษาของทารก

  • 0:00 - 0:03
    ดิฉันอยากให้พวกคุณลองมองเด็กคนนี้
  • 0:03 - 0:06
    สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ คือดวงตาของเธอ
  • 0:06 - 0:09
    และผิวพรรณที่คุณอยากสัมผัส
  • 0:09 - 0:12
    แต่วันนี้ ดิฉันจะพูดถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • 0:12 - 0:15
    นั่นคือสิ่งที่เกิดอะไรขึ้นในสมองน้อยๆของเธอ
  • 0:16 - 0:18
    เครื่องมือสมัยใหม่ทางประสาทวิทยาศาสตร์
  • 0:18 - 0:21
    จะแสดงให้พวกเราเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนนั้น
  • 0:21 - 0:24
    เป็นเรื่องที่เรายังจัดว่าค่อนข้างลี้ลับ
  • 0:24 - 0:26
    และสิ่งที่พวกเราศึกษาอยู่
  • 0:26 - 0:28
    กำลังจะเปิดเผยให้พวกเราเห็น
  • 0:28 - 0:31
    ในประเด็นที่นักประพันธ์บทกลอนโรแมนติก
  • 0:31 - 0:34
    ใช้คำบรรยายว่า "การเปิดรับจากสรวงสวรรค์"
  • 0:34 - 0:36
    ของสมองเด็กทารก
  • 0:36 - 0:38
    ที่เราเห็นในภาพนี้
  • 0:38 - 0:40
    เธอเป็นแม่คนหนึ่งในประเทศอินเดีย
  • 0:40 - 0:42
    เธอพูดภาษาโคโร่
  • 0:42 - 0:44
    ซึ่งเป็นภาษาที่เพิ่งค้นพบไม่นาน
  • 0:44 - 0:46
    เธอใช้ภาษานี้กับทายาทของเธอ
  • 0:46 - 0:48
    คุณแม่คนนี้
  • 0:48 - 0:51
    และผู้คนอีกกว่า 800 ชีวิตทั่วโลกที่ใช้ภาษานี้
  • 0:51 - 0:54
    ต่างเข้าใจในแนวทางเดียวกันว่า การที่จะอนุรักษ์ภาษานี้ไว้
  • 0:54 - 0:57
    พวกเขาจำเป็นต้องใช้ภาษาดังกล่าวพูดกับเด็กทารก
  • 0:57 - 1:00
    ทีนี้ ปัญหาที่น่าฉงนใจก็เกิดขึ้น
  • 1:00 - 1:02
    นั่นก็คือ "ทำไมคนเราถึงอนุรักษ์ภาษา
  • 1:02 - 1:05
    ด้วยการสื่อสารกับพวกเรากันเอง หรือผู้ใหญ่ไม่ได้?"
  • 1:05 - 1:08
    เอาล่ะค่ะ นั่นเป็นเพราะการทำงานของสมองคุณ
  • 1:08 - 1:10
    ที่เราเห็นนี้
  • 1:10 - 1:13
    คือ "ภาษา" มีช่วงเวลาเรียนรู้ที่จำกัด
  • 1:13 - 1:16
    สำหรับสไลด์นี้ แนวนอนหมายถึงอายุของพวกคุณ
  • 1:16 - 1:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:19 - 1:21
    และในแนวตั้ง คุุณจะเห็นถึง
  • 1:21 - 1:23
    ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาที่สองของคุณ
  • 1:23 - 1:25
    ทารกและเด็กถือเป็นอัจฉริยะ
  • 1:25 - 1:27
    จนถึงอายุเจ็ดขวบ
  • 1:27 - 1:30
    แล้วจะค่อยๆลดลงตามลำดับ
  • 1:30 - 1:32
    จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นได้หลุดออกจากกรอบนี้ไปแล้ว
  • 1:32 - 1:35
    ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนแย้งในจุดนี้
  • 1:35 - 1:37
    ห้องทดลองทั่วทุกมุมโลก
  • 1:37 - 1:40
    ต่างพยายามหาเหตุผลให้ได้ว่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นนี้
  • 1:40 - 1:42
    สำหรับในห้องทดลองดิฉัน
  • 1:42 - 1:44
    จะมุ่งเน้นในระยะพัฒนาการแรกๆของช่วงวิกฤต
  • 1:44 - 1:46
    ซึ่งเป็นช่วงที่
  • 1:46 - 1:49
    ทารกพยายามแยกแยะว่าเสียงไหนใช้ในภาษาแม่ของพวกเขา
  • 1:49 - 1:52
    เราเชื่อว่า ด้วยการศึกษาวิธีที่ทารกเหล่านี้ใช้เรียนรู้เรื่องเสียง
  • 1:52 - 1:54
    จะทำให้เรามีต้นแบบของส่วนที่เหลือของภาษา
  • 1:54 - 1:57
    และอาจได้ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาเรียนรู้จำกัดที่อาจมีอยู่ในวัยเด็ก
  • 1:57 - 1:59
    สำหรับการพัฒนาการทางด้านสังคม ด้านอารมณ์
  • 1:59 - 2:01
    และด้านการคิด
  • 2:01 - 2:03
    พวกเราจึงได้ศึกษาในตัวทารก
  • 2:03 - 2:05
    โดยใช้เทคนิคที่พวกเราใช้กันทั่วโลก
  • 2:05 - 2:07
    และเสียงในทุกๆภาษา
  • 2:07 - 2:09
    เด็กๆจะนั่งบนตักพ่อแม่
  • 2:09 - 2:11
    แล้วเราก็ฝึกให้พวกเขาหันหน้าหาเมื่อเสียงเปลี่ยน
  • 2:11 - 2:13
    เช่นจากเสียง "ah..." ไปเป็น "ee..."
  • 2:13 - 2:15
    เมื่อพวกเขาตอบสนองในเวลาที่เหมาะสม
  • 2:15 - 2:17
    กล่องสีดำจะเปล่งแสง
  • 2:17 - 2:19
    ตามด้วยหมีแพนด้าจะตีกลองรัว
  • 2:19 - 2:21
    เด็ก 6 ขวบชอบกิจกรรมนี้ทีเดียว
  • 2:21 - 2:23
    ว่าแต่...เราได้ข้อมูลอะไรบ้างล่ะ?
  • 2:23 - 2:25
    เอาล่ะค่ะ...ทารกทั่วทุกมุมโลก
  • 2:25 - 2:27
    เป็นสิ่งที่ดิฉันอยากจะเปรียบเป็น
  • 2:27 - 2:29
    "พลเมืองของโลก"
  • 2:29 - 2:32
    พวกเขาสามารถแบ่งแยกความแตกต่างของเสียงในทุกๆภาษา
  • 2:32 - 2:35
    จากการทดสอบในทุกๆประเทศและทุกๆภาษาที่เราใช้
  • 2:35 - 2:38
    นี่ถือเป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะดิฉันและพวกคุณทำไม่ได้
  • 2:38 - 2:40
    พวกเราเป็นผู้ฟังที่ผูกกับวัฒนธรรมไปแล้ว
  • 2:40 - 2:42
    จะสามารถแยกความต่างของเสียงได้เฉพาะในภาษาของพวกเราเอง
  • 2:42 - 2:44
    ไม่สามารถแยกในภาษาอื่นได้
  • 2:44 - 2:46
    ฉะนั้น คำถามก็ตามมาอีกว่า :
  • 2:46 - 2:48
    "แล้วเมื่อไหร่ล่ะ? ที่พลเมืองของโลกเหล่านี้
  • 2:48 - 2:51
    จะแปลงสถานะเป็นผู้ฟังที่ผูกกับภาษาเหมือนเราๆ?"
  • 2:51 - 2:54
    และคำตอบก็คือ "ก่อนครบรอบวันเกิดปีแรกของพวกเขา"
  • 2:54 - 2:57
    และนี่คือ ผลของสมรรธภาพใน "ภารกิจหันหน้า"
  • 2:57 - 2:59
    ของทารกที่เราทดสอบในโตเกียวและสหรัฐฯ
  • 2:59 - 3:01
    ณ ที่แห่งนี้ ซีแอตเทิล
  • 3:01 - 3:03
    เมื่อได้ลองให้พวกเขาฟังเสียง "ra" และ "la" --
  • 3:03 - 3:06
    ความต่างของสองเสียงมีผลในภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีผลในภาษาญี่ปุ่น
  • 3:06 - 3:09
    ณ ช่วงอายุ 6-8 เดือน ความสามารถของทารกเหล่านี้ไม่ต่างกันมาก
  • 3:09 - 3:12
    แต่สองเดือนถัดมาสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ก็ปรากฏ
  • 3:12 - 3:14
    ทารกในสหรัฐฯดีขึ้นกว่าเดิมมาก
  • 3:14 - 3:16
    แต่ทารกในญี่ปุ่นแย่ลงๆ
  • 3:16 - 3:18
    ทั้งที่ทารกทั้งสองกลุ่มต่างกำลัง
  • 3:18 - 3:21
    เตรียมตัวเพื่อเรียนรู้ภาษาแม่ของตัวเองเหมือนๆกัน
  • 3:21 - 3:24
    ทีนี้คำถามก็คือ "เกิดอะไรขึ้น
  • 3:24 - 3:26
    กับช่วงวิกฤตสองเดือนนี้?"
  • 3:26 - 3:28
    นี่เป็นช่วงวิกฤตของการพัฒนาทางด้านเสียง
  • 3:28 - 3:30
    แล้วมันเกิดอะไรขึ้นล่ะ?
  • 3:30 - 3:32
    คำตอบคือ มีสองปัจจัย
  • 3:32 - 3:35
    อย่างแรก เนื่องจากทารกจะฟังเราอย่างตั้งใจ
  • 3:35 - 3:38
    และเก็บข้อมูลในขณะที่พวกเราพูดคุยกัน
  • 3:38 - 3:40
    พวกเขาเก็บสถิติในหัว
  • 3:40 - 3:43
    เราลองมาฟังคุณแม่สองคนพูดกับลูก
  • 3:43 - 3:46
    โดยใช้ภาษาเด็กๆที่เราใช้เหมือนๆกัน
  • 3:46 - 3:49
    อันแรกเป็นภาษาอังกฤษ ต่อด้วยญี่ปุ่น
  • 3:49 - 3:52
    (วีดีโอ) คุณแม่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ: "โอ๋...แม่ล่ะชอบตาสีฟ้าโตๆของลูกจังเลย
  • 3:52 - 3:55
    น่ารักน่าชังดีจริงๆ"
  • 3:56 - 4:02
    คุณแม่ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น: [ภาษาญี่ปุ่น]
  • 4:02 - 4:04
    แพทริเซีย คัห์ล: ตลอดการพูดเหล่านี้
  • 4:04 - 4:06
    เมื่อทารกเหล่านี้ได้ฟัง
  • 4:06 - 4:08
    พวกเขาจะเก็บสถิติ
  • 4:08 - 4:11
    จากภาษาที่พวกเขาได้ยิน
  • 4:11 - 4:14
    ความสามารถด้านการแยกแยะเสียงก็จะดีขึ้น
  • 4:14 - 4:16
    และสิ่งที่พวกเราเรียนรู้
  • 4:16 - 4:19
    ก็คือ ทารกจะอ่อนไหวกับสถิติมาก
  • 4:19 - 4:22
    และสถิติของภาษาญี่ปุ่นกับอังกฤษต่างกันมากทีเดียว
  • 4:22 - 4:25
    ในภาษาอังกฤษ จะมีเสียง R และ L เยอะมาก
  • 4:25 - 4:27
    สังเกตได้จากภาพนี้
  • 4:27 - 4:29
    และการแยกเสียงในภาษาญี่ปุ่นก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • 4:29 - 4:32
    ที่เห็นกันนี้ คือกลุ่มเสียงที่อยู่่กึ่งกลาง
  • 4:32 - 4:35
    ทั้งหมดนี้คือ "R" ในภาษาญี่ปุ่น
  • 4:35 - 4:37
    ฉะนั้นทารกจะค่อยๆซึมซับ
  • 4:37 - 4:39
    สถิติของภาษานั้นๆ
  • 4:39 - 4:41
    และมันสร้างความเปลี่ยนแปลงกับสมองพวกเขา
  • 4:41 - 4:43
    โดยผันจากพลเมืองของโลก
  • 4:43 - 4:46
    ไปเป็นผู้ฟังที่ผูกกับวัฒนธรรมเหมือนพวกเรา
  • 4:46 - 4:48
    แต่สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ
  • 4:48 - 4:50
    ไม่ได้ซึมซับสถิติเหล่านั้นอีกแล้ว
  • 4:50 - 4:53
    พวกเราถูกควบคุมโดยความจำ
  • 4:53 - 4:56
    ที่ถูกสร้างมาในช่วงพัฒนาแรกๆ
  • 4:56 - 4:58
    สิ่งที่เห็นในนี้
  • 4:58 - 5:01
    คือการเปลี่ยนแปลงแม่แบบว่าช่วงวิกฤตการเรียนรู้มีผลอย่างไร
  • 5:01 - 5:04
    พวกเราถกเถียงจากมุมมองทางคณิตศาสตร์
  • 5:04 - 5:07
    ว่าความไวในการเรียนรู้ภาษาจะค่อยๆลดลง
  • 5:07 - 5:09
    เมื่อการกระจายของข้อมูลคงที่
  • 5:09 - 5:12
    ซึ่งก็สร้างความคาใจกับหลายคนที่ใช้สองภาษา
  • 5:12 - 5:16
    เพราะคนเหล่านี้ต้องเก็บข้อมูลสองชุดในเวลาเดียวกัน
  • 5:16 - 5:19
    และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างสองภาษานั้นๆ
  • 5:19 - 5:21
    ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาพูดกับใคร
  • 5:21 - 5:23
    เราเลยเกิดข้อสงสัยว่า
  • 5:23 - 5:26
    เด็กทารกจะเก็บสถิติจากภาษาที่ไม่เคยได้ยินได้หรือเปล่า?
  • 5:26 - 5:28
    เราได้ลองทดสอบกับเด็กอเมริกัน
  • 5:28 - 5:30
    ที่ไม่เคยได้ยินภาษาที่สองเลย
  • 5:30 - 5:33
    มาฟังจีนแมนดารินเป็นครั้งแรกในช่วงวิกฤต
  • 5:33 - 5:35
    เราได้ข้อมูลว่า เมื่อทดสอบเด็กที่ใช้ภาษาเดียว
  • 5:35 - 5:38
    กับจีนแมนดารินที่ไทเปและซีแอตเทิล
  • 5:38 - 5:40
    ผลที่ออกมาก็เหมือนกัน
  • 5:40 - 5:42
    ในช่วง 6-8 เดือน พวกเขาได้พอๆกัน
  • 5:42 - 5:45
    แต่สองเดือนถัดไป สิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น
  • 5:45 - 5:48
    แต่คราวนี้เด็กไต้หวันจะดีกว่า ไม่ใช่อเมริกัน
  • 5:48 - 5:51
    และในช่วงวิกฤตนี้ เราก็ได้ลองให้ทารกอเมริกัน
  • 5:51 - 5:53
    ลองฟังจีนแมนดาริน
  • 5:53 - 5:56
    ประหนึ่งว่ามีญาติคนจีนมาเยี่ยมประมาณหนึ่งเดือน
  • 5:56 - 5:58
    แล้วย้ายมาอยู่ในบ้านเดียวกัน
  • 5:58 - 6:00
    แล้วพูดกับทารกช่วงหนึ่ง เป็นเวลา 12 ครั้ง
  • 6:00 - 6:02
    นี่คือหน้าตาห้องทดลอง
  • 6:02 - 6:24
    (วีดีโอ) : [ภาษาจีนแมนดาริน]
  • 6:24 - 6:26
    แล้วเกิดอะไรขึ้นในสมองน้อยๆของพวกเขาล่ะ?
  • 6:26 - 6:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:29 - 6:31
    พวกดิฉันต้องกำหนดกลุ่มทดลอง
  • 6:31 - 6:33
    เพื่อให้แน่ใจว่า เพียงแค่เข้ามาเยี่ยมห้องทดลองของเรานั้น
  • 6:33 - 6:35
    ไม่ได้ช่วยให้ภาษาจีนของคุณให้ดีขึ้นเลย
  • 6:35 - 6:37
    ดังนั้นจึงมีทารกอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาและฟังภาษาอังกฤษ
  • 6:37 - 6:39
    ในกราฟนี้แสดงให้เห็นว่า
  • 6:39 - 6:41
    การเปิดรับภาษาอังกฤษไม่ได้ทำให้ภาษาจีนของพวกเขาดีขึ้นเลย
  • 6:41 - 6:43
    แต่เราลองมาดูว่าทารกที่
  • 6:43 - 6:45
    ได้ฟังจีนแมนดารินเป็น 12 ครั้ง
  • 6:45 - 6:47
    ปรากฏว่าพวกเขาทำได้ดีพอๆกับทารกที่อยู่ในไต้หวัน
  • 6:47 - 6:50
    ที่ได้ฟังมา 10 เดือนครึ่ง
  • 6:50 - 6:52
    ผลที่ออกมา
  • 6:52 - 6:54
    คือ ทารกจะเก็บสถิติในภาษาใหม่ๆ
  • 6:54 - 6:58
    อะไรก็ตามที่คุณป้อนเข้าไป พวกเขาก็จะนับทั้งหมด
  • 6:58 - 7:00
    แต่พวกเราสงสัยว่า
  • 7:00 - 7:02
    มนุษย์เราสวมบทบาทอะไร
  • 7:02 - 7:04
    ในเรื่องฝึกฝนการเรียนรู้
  • 7:04 - 7:06
    พวกเราก็เลยทดลองกับทารกอีกกลุ่มหนึ่ง
  • 7:06 - 7:09
    ในจำนวนรอบที่เท่ากันคือ 12 ครั้ง
  • 7:09 - 7:11
    แต่ทำผ่านทางโทรทัศน์
  • 7:11 - 7:14
    ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีเพียงได้ฟังเพียงเสียง
  • 7:14 - 7:16
    และดูหมีเท็ดดี้บนจอ
  • 7:16 - 7:19
    แล้ว เราได้ทำอะไรกับสมองพวกเขา
  • 7:19 - 7:22
    ที่เห็นนี้คือ ผลจากการทดสอบฟังเสียงออดิโอ
  • 7:22 - 7:24
    ไม่มีการเรียนรู้ใดๆเกิดขึ้น
  • 7:24 - 7:27
    ผลของวีดีโอ
  • 7:27 - 7:29
    ไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นเช่นกัน
  • 7:29 - 7:31
    ฉะนั้นทารกจะเก็บข้อมูลได้จาก
  • 7:31 - 7:33
    การฟังจากคนจริงๆเท่านั้น
  • 7:33 - 7:35
    เพราะตอนที่เก็บข้อมูลเหล่านั้น
  • 7:35 - 7:37
    ทารกจะใช้สมองส่วนปฏิสัมพันธ์มาควบคุม
  • 7:37 - 7:39
    พวกเราต้องการเข้าถึงสมอง
  • 7:39 - 7:41
    เพื่อศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นในนั้น
  • 7:41 - 7:43
    และมีอะไรที่ไม่เหมือนกันระหว่างที่ทารกอยู่หน้าโทรทัศน์
  • 7:43 - 7:45
    กับตอนที่อยู่หน้าผู้คน
  • 7:45 - 7:47
    โชคดี ที่เรามีเครื่องมือตัวใหม่
  • 7:47 - 7:49
    ชื่อเครื่องสแกน "MEG"
  • 7:49 - 7:51
    ที่ช่วยให้ความหวังกลายเป็นจริง
  • 7:51 - 7:53
    หน้าตามันเหมือนไดร์เป่าผมที่มาจากดาวอังคาร
  • 7:53 - 7:55
    แต่มันปลอดภัยทีเดียวเลยล่ะค่ะ
  • 7:55 - 7:58
    ไม่อันตราย แล้วก็ไม่ส่งเสียงรบกวน
  • 7:58 - 8:00
    พวกเราใช้หน่วยมิลลิเมตร
  • 8:00 - 8:02
    และมิลลิวินาที
  • 8:02 - 8:04
    เพื่อให้ผลที่ได้ออกมาแม่นยำ
  • 8:04 - 8:06
    โดยใช้เครื่อง 306 SQUIDs
  • 8:06 - 8:08
    หรือ Superconducting Quantum Interference Devices--
  • 8:08 - 8:10
    เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคลื่นสนามแม่เหล็ก
  • 8:10 - 8:12
    ที่แผ่ออกมาในสมอง
  • 8:12 - 8:14
    เครื่่องจะจับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอนเราคิด
  • 8:14 - 8:16
    พวกเราถือเป็นกลุ่มแรกในโลกนี้
  • 8:16 - 8:18
    ที่ใช้เครื่องแสกน MEG
  • 8:18 - 8:20
    บันทึกข้อมูลของทารก
  • 8:20 - 8:22
    ขณะที่พวกเขาเรียนรู้
  • 8:22 - 8:24
    และนี่คือ น้องเอ็มม่า
  • 8:24 - 8:26
    อายุหกเดือน
  • 8:26 - 8:28
    และเธอฟังเสียงของหลายภาษามาแล้ว
  • 8:28 - 8:31
    โดยผ่านหูฟังที่ใส่อยู่
  • 8:31 - 8:33
    พวกคุณจะเห็นว่า เธอเคลื่อนไหวไปมาได้
  • 8:33 - 8:35
    พวกเรากำลังตามรอยสมองเธอ
  • 8:35 - 8:37
    ด้วยเครื่องมือที่ครอบอยู่บนหัว
  • 8:37 - 8:40
    ฉะนั้นเธอจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
  • 8:40 - 8:42
    นี่เป็นผลงานที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อมากพอควร
  • 8:42 - 8:44
    แล้วพวกเราเห็นอะไรบ้าง?
  • 8:44 - 8:46
    พวกเราเห็นสมองของเด็ก เช่น
  • 8:46 - 8:49
    ถ้าเธอได้ยินคำในภาษาของตัวเอง
  • 8:49 - 8:51
    ส่วนการฟังจะเปล่งแสงขึ้น
  • 8:51 - 8:53
    และส่วนอื่นๆใกล้เคียงก็เปล่งตามกันมา
  • 8:53 - 8:56
    ซึ่งพวกเราเชื่อว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน
  • 8:56 - 8:58
    ทำให้สมองเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ
  • 8:58 - 9:00
    ตามที่ควรจะเป็น
  • 9:00 - 9:03
    สมองส่วนหนึ่งปลุกให้อีกส่วนหนึ่งทำงาน
  • 9:03 - 9:05
    พวกเราเป็นผู้บุกเบิก
  • 9:05 - 9:08
    ในยุคทองของ
  • 9:08 - 9:11
    ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมองของทารก
  • 9:11 - 9:13
    และเราก็จะเห็นสมองของเด็ก
  • 9:13 - 9:15
    ขณะที่พวกเขาเกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น
  • 9:15 - 9:17
    ขณะที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะพูดและอ่าน
  • 9:17 - 9:19
    ขณะที่พวกเขาไขโจทย์คณิตศาสตร์
  • 9:19 - 9:21
    ขณะที่พวกเขามีความคิดใหม่ๆ
  • 9:21 - 9:24
    และด้วยสิ่งนี้ พวกเราก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่
  • 9:24 - 9:27
    เพื่อช่วยเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้
  • 9:27 - 9:30
    เหมือนอย่างที่นักประพันธ์กลอนและนักเขียนได้อธิบายไว้
  • 9:30 - 9:32
    พวกเรากำลังจะมองเห็น
  • 9:32 - 9:34
    การเปิดรับที่มหัศจรรย์
  • 9:34 - 9:36
    การเปิดรับที่เต็มเปี่ยม
  • 9:36 - 9:39
    ในความนึกคิดของเด็ก
  • 9:39 - 9:41
    ด้วยการศึกษาสมองของทารกเหล่านี้
  • 9:41 - 9:43
    พวกเราจะค้นพบความจริง
  • 9:43 - 9:45
    ว่าสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างไร
  • 9:45 - 9:47
    อีกทั้งในกระบวนการนี้
  • 9:47 - 9:49
    อาจสามารถช่วยให้สมองของพวกเรา
  • 9:49 - 9:51
    เปิดรับการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตไปเลยก็ได้
  • 9:51 - 9:53
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:53 - 9:56
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แพทริเซีย คัห์ล: อัจฉริยะภาพทางภาษาของทารก
Speaker:
Patricia Kuhl
Description:

ณ TEDxRainier "แพทริเซีย คัห์ล" ได้มาแบ่งปันการค้นพบอันน่าอัศจรรย์ว่าเด็กทารกเรียนรู้ภาษาได้โดยการฟังจากบทสนทนาของคนรอบข้างและในขณะเดียวกันก็เก็บสถิติเสียงในภาษานั้นๆไปด้วย นอกจากนี้การทดลองอันชาญฉลาดและผลสแกนสมองจะเผยให้เห็นว่าทารก 6 เดือนใช้การให้เหตุผลซับซ้อนเพื่อเข้าใจความเป็นไปต่างๆอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:57
Phatra Sae-ting added a translation

Thai subtitles

Revisions