ทำไมจอสี่เหลี่ยมถึงทำให้เรามีความสุขน้อยลง
-
0:01 - 0:04เมื่อหลายปีก่อนผมได้ฟัง
เรื่องตลกที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง -
0:04 - 0:07มีหัวหน้าบริษัทอาหารสัตว์แห่งหนึ่ง
-
0:07 - 0:09เขาเข้าที่ประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น
-
0:09 - 0:11พร้อมกับกระป๋องอาหารสุนัข
-
0:11 - 0:13แล้วเขาก็กินอาหารสุนัขนั้นจนหมดกระป๋อง
-
0:13 - 0:16นี่เป็นการโน้มน้าวใจให้เห็นว่า
ถ้าสินค้านี้ดีพอสำหรับเขาเอง -
0:16 - 0:18มันก็ดีพอสำหรับสัตว์เลี้ยง
ของพวกเขา -
0:18 - 0:20กลยุทธ์นี้รู้จักกันในชื่อ
"กินอาหารสุนัขตัวเอง" -
0:20 - 0:23และมันก็เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่เจอได้ทั่วไป
-
0:23 - 0:25ไม่ได้หมายความว่าทุกคน
ต้องไปกินอาหารสุนัขนะครับ -
0:25 - 0:28แต่นักธุรกิจจะใช้ผลิตภัณฑ์ตัวเอง
-
0:28 - 0:29เพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเขารู้สึก
-
0:29 - 0:31มั่นใจในสินค้าของตัวเอง
-
0:31 - 0:33ตอนนี้มันก็เป็นหลักปฏิบัติอย่างกว้างขวาง
-
0:33 - 0:36แต่ผมคิดว่าที่น่าสนจริง ๆ คือ
เมื่อคุณเจอข้อยกเว้น -
0:36 - 0:37ต่อกฎนี้
-
0:37 - 0:40เมื่อคุณเจอกรณีที่ธุรกิจหรือคนในวงธุรกิจ
-
0:40 - 0:41ที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
-
0:41 - 0:45ปรากฏว่ามีอุตสาหกรรมหนึ่ง
ที่เรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา -
0:45 - 0:46ปกติธรรมดามากจริง ๆ
-
0:46 - 0:48และนั่นก็คืออุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ที่ทำงานด้วยหน้าจอ -
0:48 - 0:53ในปี 2010 สตีฟ จ็อบส์
เปิดตัว iPad -
0:53 - 0:56เขาอธิบายว่ามันเป็นอุปกรณ์
ที่ "พิเศษเหนือธรรมดา" -
0:56 - 0:59"ประสบการณ์ดีที่สุดใน
การท่องอินเตอร์เน็ตที่คุณเคยมี -
0:59 - 1:02ทางเลือกที่ดีกว่าแล็ปท็อป
ทางเลือกที่ดีกว่าสมาร์ทโฟน -
1:02 - 1:03มันเป็นประสบการณ์อันเหลือเชื่อ"
-
1:03 - 1:06ไม่กี่เดือนต่อมา
เขาก็ถูกสัมภาษณ์โดยนักข่าว -
1:06 - 1:07จากนิวยอร์กไทมส์
-
1:07 - 1:09พวกเขาคุยโทรศัพท์กันอย่างยืดยาว
-
1:09 - 1:10ในช่วงท้ายของการสนทนา
-
1:10 - 1:13นักข่าวตั้งคำถามที่ดูเบา แต่หนักหน่วง
-
1:13 - 1:16เขาถามว่า
"ลูก ๆ ของคุณจะต้องรัก iPad แน่ ๆ เลย" -
1:17 - 1:18คำตอบมันน่าจะชัดอยู่แล้ว
-
1:18 - 1:21แต่สิ่งที่จ็อบส์ตอบมาทำให้
นักข่าวคนนั้นซวนเซไปเลย -
1:21 - 1:22เขาประหลาดใจมาก ๆ
-
1:22 - 1:25เพราะจ็อบส์ตอบว่า "พวกเขาไม่ได้ใช้มันเลย
-
1:25 - 1:28เราจำกัดว่าเด็ก ๆ จะใช้เทคโนโลยี
ได้มากแค่ไหนเมื่ออยู่บ้าน" -
1:28 - 1:32นี่เป็นเรื่องปกติธรรมดามาก
ในโลกเทคโนโลยี -
1:32 - 1:34ในความเป็นจริงคือมีโรงเรียน
ใกล้ ๆ ซิลิคอนวัลเลย์ -
1:34 - 1:36ชื่อว่า โรงเรียนวอลดอร์ฟ
แห่งเพนินซูลา -
1:37 - 1:40พวกเขาไม่ให้เด็ก ๆ ใช้
อุปกรณ์ที่มีหน้าจอจนกว่าจะเกรดแปด -
1:40 - 1:42เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับโรงเรียนนั้นก็คือ
-
1:42 - 1:44กว่า 75% ของเด็กที่เรียนที่นั่น
-
1:44 - 1:47มีพ่อแม่เป็นผู้บริหารระดับสูง
ของซิลิคอน วัลเลย์ -
1:47 - 1:51เมื่อผมได้ฟังเรื่องนี้
ผมก็คิดว่ามันทั้งน่าสนและน่าประหลาดใจ -
1:51 - 1:54และก็ทำให้ผมคิดทบทวนว่า
หน้าจอสี่เหลี่ยมนี่กำลังทำอะไรกับผม -
1:54 - 1:56กับครอบครัวและคนที่ผมรัก
-
1:56 - 1:57และต่อคนอื่นทั่วไป
-
1:57 - 1:59ดังนั้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
-
1:59 - 2:01ในฐานะอาจารย์ด้านธุรกิจและจิตวิทยา
-
2:01 - 2:04ผมจึงศึกษาถึงผลกระทบของ
หน้าจอที่มีต่อชีวิตเรา -
2:05 - 2:09ผมจะเริ่มที่ว่ามันพรากเวลาจากเราไปเท่าไร
-
2:09 - 2:12และเราค่อยมาคุยกันว่า
ช่วงเวลานั้นมันเป็นอะไรยังไง -
2:12 - 2:14ที่ผมให้ทุกคนดูอยู่คือ
24 ชั่วโมงของวันธรรมดาโดยเฉลี่ย -
2:14 - 2:17ในสามช่วงเวลาของประวัติศาสตร์
-
2:17 - 2:19ปี 2007 เมื่อสิบปีที่แล้ว
-
2:19 - 2:20ปี 2015
-
2:20 - 2:23และข้อมูลที่จริง ๆ แล้วผมเพิ่งเก็บ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เอง -
2:23 - 2:25หลาย ๆ อย่างไม่ได้เปลี่ยนไป
-
2:25 - 2:26มากเท่าไรนัก
-
2:27 - 2:30เราหลับประมาณเจ็ดชั่วโมงครึ่งถึง
แปดชั่วโมงต่อวัน -
2:30 - 2:33บางคนบอกว่ามันลดลงนิดหน่อย
แต่ก็นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมากนัก -
2:33 - 2:37เราทำงานแปดชั่วโมงครึ่งถึง
เก้าชั่วโมงต่อวัน -
2:37 - 2:38เราทำกิจการเพื่อการดำรงชีพ
-
2:38 - 2:42อย่างเช่น กินข้าว อาบน้ำ เลี้ยงลูก
-
2:42 - 2:43ประมาณสามชั่วโมงต่อวัน
-
2:43 - 2:44มีพื้นที่สีขาวเหลืออยู่ตรงนี้
-
2:44 - 2:46นั่นคือเวลาส่วนตัว
-
2:46 - 2:49พื้นที่ตรงนั้นสำคัญกับเราอย่างยิ่ง
-
2:49 - 2:52พื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ที่ทำให้เรา
เป็นตัวของตัวเอง -
2:52 - 2:55เป็นเวลาของงานอดิเรก การสานสัมพันธ์
-
2:55 - 2:58ไว้ใช้ขบคิดเกี่ยวชีวิต
หรือไว้ใช้คิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ -
2:58 - 3:00ที่ใช้ย้อนกลับมามองตัวเอง
-
3:00 - 3:02ว่าชีวิตนี้มีความหมายแล้วหรือยัง
-
3:02 - 3:04เราได้บางสิ่งนี้จากการทำงานได้เช่นกัน
-
3:04 - 3:06แต่เมื่อคนเรามองย้อนกลับไปดูชีวิต
-
3:06 - 3:08และสงสัยขึ้นมาว่าชีวิตของเรานั้น
-
3:08 - 3:09จะเป็นยังไงในตอนสุดท้าย
-
3:09 - 3:11ลองดูสิ่งสุดท้ายที่พวกเขากล่าว
-
3:11 - 3:15พวกเขากำลังคุยถึงช่วงเวลาตรงนั้น
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัวสีขาวนั่น -
3:15 - 3:17มันจึงศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญต่อเรา
-
3:17 - 3:19คราวนี้สิ่งที่ผมจะให้ทุกคนดู คือ
-
3:19 - 3:22เราหมดเวลาตรงนั้นไปกับ
หน้าจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ไปเท่าไร -
3:22 - 3:23ปี 2007
-
3:23 - 3:24หมดไปเท่านี้ครับ
-
3:24 - 3:27นั่นคือปีที่ Apple
เปิดตัว iPhone เครื่องแรก -
3:27 - 3:29แปดปีต่อมา
-
3:29 - 3:30เป็นเท่านี้ครับ
-
3:31 - 3:33และมากเท่านี้ในปัจจุบัน
-
3:33 - 3:37ที่เห็นกันคือระยะเวลาที่
เวลาว่างของเราหมดไปกับหน้าจอ -
3:37 - 3:40พื้นที่สีเหลืองนี้ ตรงเส้นบางๆ นี้
คือจุดที่สิ่งพิเศษเกิดขึ้นครับ -
3:40 - 3:42นั่นคือที่ของความเป็นมนุษย์ของคุณ
-
3:42 - 3:44และตอนนี้มันเหลือน้อยแค่นี้เอง
-
3:44 - 3:46แล้วเราจะทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง
-
3:46 - 3:47คำถามแรกเลยก็คือ
-
3:47 - 3:49พื้นที่สีแดงนั้นเป็นยังไง
-
3:49 - 3:51แน่นนอนว่าตอนนี้หน้าจอเป็นสิ่งมหัศจรรย์
-
3:51 - 3:53สำหรับหลาย ๆ อย่าง
-
3:53 - 3:54ผมอยู่ที่นิวยอร์ก
-
3:54 - 3:56แต่ครอบครัวผมอยู่ที่ออสเตรเลีย
-
3:56 - 3:57และผมมีลูกชายวัยหนึ่งขวบคนนึง
-
3:57 - 3:58ผมคุยกับเขาได้ผ่านจอ
-
4:01 - 4:04ผมทำแบบนี้ไม่ได้แน่ ๆ
15 หรือ 20 ปีก่อน -
4:04 - 4:05ด้วยวิธีการแบบนี้
-
4:05 - 4:07นั่นคือเรื่องดีมาก ๆ ที่มากับมัน
-
4:07 - 4:09อีกสิ่งหนึ่งที่คุณทำได้คือถามตัวเองว่า
-
4:09 - 4:11เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น
-
4:11 - 4:13แล้วแอพฯ ที่เราใช้ล่ะให้ประโยชน์
มากน้อยแค่ไหน -
4:13 - 4:15บางอย่างใช้แล้วดีจริง ๆ
-
4:15 - 4:17ถ้าคุณลองไปขัดจังหวะคนกำลังเล่นแอพฯ
แล้วถามว่า -
4:17 - 4:19บอกเราหน่อยสิ
ตอนนี้รู้สึกยังไง -
4:19 - 4:21เขาก็จะตอบว่าก็รู้สึกดีกับแอพฯ พวกนี้
-
4:21 - 4:24นี่คือกลุ่มที่เน้นการผ่อนคลาย การออกกำลัง
อากาศ การอ่านหนังสือ -
4:25 - 4:26การศึกษา และสุขภาพ
-
4:26 - 4:29พวกเขาใช้แอพฯ กลุ่มนี้เฉลี่ย 9 นาที ต่อวัน
-
4:29 - 4:32แอพฯ พวกนี้ทำให้เรามีความสุขน้อยลง
-
4:32 - 4:36เกือบครึ่งของทุกคน เมื่อคุณไปขัดจังหวะ
และถามว่า คุณรู้สึกไงบ้าง -
4:36 - 4:38เขาจะบอกว่าแอพฯ นี้
เล่นแล้วรู้สึกไม่ค่อยดี -
4:38 - 4:39ที่น่าสนใจของแอพฯ กลุ่มนี้ก็คือ
-
4:40 - 4:41แอพฯ นัดเดท โซเชียลเน็ตเวิร์ค เกม
-
4:41 - 4:44ความบันเทิง ข่าว ส่องเว็บ
-
4:44 - 4:47ผู้คนใช้เวลากับแอพพวกนี้ถึง 27 นาทีต่อวัน
-
4:47 - 4:50เราใช้เวลามากกว่าถึง 3 เท่า
กับแอพที่ทำให้เราไม่มีความสุข -
4:50 - 4:52นั่นดูไม่ฉลาดเท่าไรเลย
-
4:53 - 4:55เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราหมดเวลาไปเยอะ
กับแอพฯ พวกนั้น -
4:55 - 4:57ที่ทำให้เราไม่มีความสุข
-
4:57 - 4:58ก็คือมันขโมยจุดเตือนให้หยุดไป
-
4:58 - 5:01จุดเตือนให้หยุดมีอยู่ทุกหนแห่ง
ในศตวรรษที่ 20 -
5:01 - 5:02มันซ่อนอยู่ในทุกเรื่องที่เราทำ
-
5:02 - 5:06จุดเตือนให้หยุดเป็นสัญญาณเตือนกับเรา
ว่าได้เวลาไปทำอย่างอื่นแล้ว -
5:06 - 5:09ไปทำอะไรใหม่ ๆ ทำอะไรที่ต่างจากที่ทำอยู่
-
5:09 - 5:12ลองนึกถึงหนังสือพิมพ์
ที่สุดท้ายแล้วเราก็จะอ่านถึงหน้าสุดท้าย -
5:12 - 5:14และเราก็จะพับ และโยนมันไปไว้ข้าง ๆ
-
5:14 - 5:17เหมือนกันกับนิตยสาร หนังสือ
ที่คุณก็จะอ่านไปถึงตอนจบของบท -
5:17 - 5:20ทำให้คุณได้หยุดคิดว่าจะทำอะไรต่อไป
-
5:21 - 5:23หรือถ้าดูรายการทีวี
เดี๋ยวรายการมันก็จบ -
5:23 - 5:26และคุณต้องรอไปอีกหนึ่งสัปดาห์
จนกว่าตอนใหม่จะมา -
5:26 - 5:27มีจุดเตือนให้หยุดทุกที่เลย
-
5:27 - 5:31แต่วิธีการเสพสื่อทุกวันนี้เป็นแบบที่
ไม่มีจุดเตือนให้หยุด -
5:32 - 5:33ฝีดข่าวมันเลื่อนไปได้เรื่อย ๆ
-
5:34 - 5:37และทุกสิ่งไม่มีตอนจบ ทั้ง twitter
Facebook instagram -
5:37 - 5:40อีเมล์ ข้อความสั้น หรือข่าว
-
5:40 - 5:43พอคุณเช็คจากทุกแหล่งข่าวแล้ว
-
5:43 - 5:46คุณก็ยังไปต่อได้อีกเรื่อย ๆ
-
5:46 - 5:50เราอาจจะไปขอยืมจุดหยุดแบบที่
ทำกันในยุโรปตะวันตก -
5:50 - 5:54ที่นั่นดูเหมือนจะมีไอเดียดี ๆ พวกนี้เยอะ
ในที่ทำงาน -
5:54 - 5:56นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง
บริษัทออกแบบจากเนเธอแลนด์ -
5:56 - 5:59ที่พวกเขาทำคือโยงโต๊ะทำงานเข้ากับเพดาน
-
5:59 - 6:01และทุกวันตอน 6 โมงเย็น
-
6:01 - 6:03ไม่ว่าคุณกำลังตอบอีเมล์หรือทำอะไรก็ตาม
-
6:03 - 6:05โต๊ะทำงานจะถูกยกขึ้นไปติดเพดาน
-
6:05 - 6:06(เสียงหัวเราะ)
-
6:06 - 6:07(เสียงปรบมือ)
-
6:07 - 6:124 วันในสัปดาห์ พื้นที่ตรงนี้จะเปลี่ยนเป็น
สตูดิโอโยคะ -
6:12 - 6:131 วันจะเปลี่ยนเป็นคลับเต้นรำ
-
6:13 - 6:16ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นคุณกำลังชอบอะไรกัน
-
6:16 - 6:18นี่เป็นกฎการหยุดที่เยี่ยมไปเลย
-
6:18 - 6:19เพราะหมายความว่า เมื่อหมดวัน
-
6:19 - 6:21ทุกอย่างต้องหยุด ห้ามทำงานอีกต่อไป
-
6:22 - 6:25บริษัท Diamler ผู้ผลิตรถยนต์ที่เยอรมนี
พวกเขามีกลยุทธ์ที่เยี่ยมพอ ๆ กัน -
6:25 - 6:27เมื่อคุณพักผ่อนวันหยุด
-
6:27 - 6:29แทนที่จะบอกว่า
"คนนี้อยู่ระหว่างลาพักผ่อน -
6:29 - 6:30พวกเขาจะกลับมาพบคุณในภายหลัง"
-
6:31 - 6:34พวกเขากลับพูดว่า "บุคคลนี้กำลังลาพัก
ดังนั้นเราจะลบอีเมล์ของคุณทิ้ง" -
6:34 - 6:36"เขาจะไม่เห็นอีเมล์ที่คุณส่งมา"
-
6:36 - 6:37(เสียงหัวเราะ)
-
6:37 - 6:40"คุณจะตอบอีเมล์กลับในอีกสองสามสัปดาห์
-
6:40 - 6:42หรือจะเมล์ไปหาคนอื่นแทนก็ได้"
-
6:42 - 6:43(เสียงหัวเราะ)
-
6:43 - 6:44ดังนั้นแล้ว
-
6:44 - 6:48(เสียงปรบมือ)
-
6:49 - 6:51คุณนึกออกเลยล่ะสิว่ามันเป็นยังไง
-
6:51 - 6:53ได้หยุดพักผ่อนที่เป็นการหยุดจริงๆ
-
6:53 - 6:55คนทำงานที่บริษัทนี้รู้สึกว่า
-
6:55 - 6:57พวกเขาได้พักจากงานอย่างแท้จริง
-
6:57 - 6:59แน่นอนว่า นี่ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
-
6:59 - 7:02เรื่องที่ว่าเราจะทำตัวอย่างไรเมื่ออยู่บ้าน
-
7:02 - 7:03ดังนั้นผมจะให้คำแนะนำคร่าว ๆ
-
7:03 - 7:08การพูดว่าช่วง 5 ถึง 6 โมงเย็น
ผมจะไม่ใช้โทรศัพท์ เป็นเรื่องง่าย -
7:08 - 7:11ปัญหาคือ 5-6โมงเย็น แต่ละวันไม่เหมือนกัน
-
7:11 - 7:14ผมว่าทางที่ดีกว่าควรจะเป็นว่า
-
7:14 - 7:15ทุก ๆ วันผมทำหลายอย่างเลยครับ
-
7:15 - 7:17มีหลายเรื่องที่เกิดขึ้น
-
7:17 - 7:19เช่น ทานอาหารเย็น
-
7:19 - 7:20บางครั้งก็อยู่คนเดียว
-
7:20 - 7:22บางครั้งก็กับคนอื่น
-
7:22 - 7:23บางทีก็ที่ร้านอาหาร
-
7:23 - 7:24บ้างก็ที่บ้าน
-
7:24 - 7:28แต่กฎที่ผมตั้งขึ้นมาคือ
ผมจะไม่ใช้มือถือบนโต๊ะอาหาร -
7:28 - 7:30เอาไปไว้ให้ไกล
-
7:30 - 7:31ไกลเท่าที่จะไกลได้
-
7:31 - 7:33เพราะเราต้านทานความอยากได้ไม่ดีเท่าไร
-
7:33 - 7:36แต่เมื่อมีจุดเตือนให้หยุด
เช่นตอนเริ่มมื้อเย็น -
7:36 - 7:38มือถือผมจะไปอยู่ไกลตัว
-
7:38 - 7:39ทำให้ลดความปรารถนาไว้ได้
-
7:39 - 7:41แรก ๆ ก็ทำใจลำบากหน่อย
-
7:41 - 7:43ผมนี่กังวลสุด ๆ ไปเลย
-
7:43 - 7:44(เสียงหัวเราะ)
-
7:44 - 7:45ถึงขั้นต้องดิ้นรน
-
7:45 - 7:47แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะชินไปเอง
-
7:47 - 7:50เราเอาชนะอาการลงแดงได้
แบบเดียวกับการหยุดใช้ยา -
7:50 - 7:53และสิ่งที่เกิดขึ้นอีกคือ
ชีวิตมีสีสัน รุ่มรวย -
7:53 - 7:54และน่าสนใจมากขึ้น
-
7:54 - 7:56คุณมีบทสนทนาที่ดีกว่าเดิม
-
7:56 - 7:59คุณเชื่อมต่อกับผู้คนที่อยู่รอบตัวคุณ
-
7:59 - 8:01ผมว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่น่าอัศจรรย์
-
8:01 - 8:03และเรารู้ว่ามันได้ผล เพราะคนที่ทำเช่นนี้
-
8:03 - 8:06ผมตามเก็บข้อมูลคนที่ทดลองจำนวนมาก
-
8:06 - 8:07มันขยายไปสู่เวลาอื่น
-
8:07 - 8:08พวกเขารู้สึกดีต่อเรื่องนี้
-
8:08 - 8:12พวกเขาเริ่มมันตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังตื่นนอน
-
8:12 - 8:15พวกเขาเริ่มเปิดโหมดเครื่องบิน
ในช่วงสุดสัปดาห์ -
8:15 - 8:18ทำแบบนี้ทำให้มือถือคุณยังใช้เป็นกล้องได้
แต่มันจะโทรเข้าโทรออกไม่ได้ -
8:19 - 8:20นี่เป็นความคิดที่มีพลังมาก
-
8:20 - 8:23และรู้ว่าผู้คนรู้สึกดีขึ้นกับชีวิต
เมื่อทำแบบนี้ -
8:24 - 8:26งั้นสิ่งที่จะได้ไปวันนี้คืออะไร
-
8:26 - 8:28หน้าจอมันมหัศจรรย์ ผมบอกเรื่องนี้ไปแล้ว
-
8:28 - 8:29ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องจริง
-
8:29 - 8:34แต่วิธีที่เราใช้มันนั้นเหมือนกับ
ขับรถไปอย่างรวดเร็วบนถนนที่ยาวไกล -
8:34 - 8:37และคุณอยู่บนรถที่คันเร่งเหยียบมิดติดพื้น
-
8:37 - 8:39มันก็เลยยากที่จะไปแตะเบรก
-
8:39 - 8:41คุณมีทางเลือก
-
8:42 - 8:46คุณทำได้ทั้งร่อนถลาผ่านวิวทะเลอันสวยงาม
-
8:46 - 8:49แล้วถ่ายรูปผ่านหน้าต่าง มันง่ายจะตายไป
-
8:49 - 8:52หรือคุณจะไปบนทางของตัวเอง เพื่อจะ
-
8:52 - 8:54แตะเบรก
-
8:54 - 8:55เพื่อออกไปข้างนอก
-
8:55 - 8:57ถอดรองเท้า ถุงเท้า
-
8:57 - 8:59ลองเดินไปบนเม็ดทราย
-
8:59 - 9:01สัมผัสความรู้สึกของทรายใต้ฝ่าเท้า
-
9:02 - 9:03เดินไปสู่น้ำทะเล
-
9:03 - 9:05ให้น้ำทะเลได้สาดซัดมาโดนคุณ
-
9:05 - 9:08ชีวิตจะรุ่มรวยและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
-
9:08 - 9:10เพราะคุณมีประสบการณ์นั้นด้วยตนเอง
-
9:10 - 9:13และเพราะคุณทิ้งโทรศัพท์ไว้ในรถด้วย
-
9:13 - 9:14ขอบคุณครับ
-
9:14 - 9:16(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ทำไมจอสี่เหลี่ยมถึงทำให้เรามีความสุขน้อยลง
- Speaker:
- อดัม อัลเทอร์ (Adam Alter)
- Description:
-
หน้าจอและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำอะไรกับเรา อดัม อัลเทอร์ เป็นนักจิตวิทยาผู้ศึกษาว่าหน้าจอต่าง ๆ ขโมยเวลาเราไปมากเท่าไร และเราเสียเวลาทำอะไรไปบ้าง เขามาเล่าให้ฟังว่าทำไมเวลาหลายชั่วโมงที่หมดไปกับการจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ถึงทำให้คุณรู้สึกทุกข์ใจ และคุณจะทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 09:29
TED Translators admin approved Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy | ||
Patipat Sathaporn edited Thai subtitles for Why our screens make us less happy |