< Return to Video

อนุภาคเล็กกระจิ๊ดริดนี้อาจตระเวนไปในร่างกายคุณเพื่อค้นหาเนื้องอกได้

  • 0:01 - 0:04
    ที่ว่างที่เราเคยใช้สำหรับบรรจุ
    ทรานซิสเตอร์ 1 ตัว
  • 0:04 - 0:07
    ตอนนี้สามารถบรรจุมันได้
    เป็นพันล้านเครื่อง
  • 0:08 - 0:12
    นั่นทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์
    ซึ่งแต่ก่อนมีขนาดเท่ากับห้อง
  • 0:12 - 0:14
    ตอนนี้มีขนาดพอดีกับกระเป๋าของคุณ
  • 0:14 - 0:17
    อาจจะบอกได้ว่า
    อนาคตนั้นจะมีขนาดเล็ก
  • 0:18 - 0:19
    ในฐานะที่เป็นวิศวกร
  • 0:19 - 0:23
    ฉันได้แรงดลใจจากเรื่อง
    การปฏิวัติขนาดคอมพิวเตอร์ให้เล็กลง
  • 0:23 - 0:24
    ในฐานะที่เป็นแพทย์
  • 0:24 - 0:30
    ฉันสงสัยว่า เราจะสามารถใช้มัน
    เพื่อลดจำนวนการเสียชีวิต
  • 0:30 - 0:34
    อันเนื่องมาจากโรคหนึ่ง ที่เพิ่มขึ้น
    อย่างรวดเร็วบนโลกนี้ได้หรือไม่
  • 0:34 - 0:36
    มันคือ โรคมะเร็ง
  • 0:36 - 0:37
    ค่ะ เมื่อฉันพูดอย่างนั้น
  • 0:37 - 0:41
    สิ่งที่คนส่วนมากได้ยิน คือ
    เรากำลังพยายามหาทางรักษาโรคมะเร็ง
  • 0:41 - 0:42
    และเราก็กำลังทำอยู่จริง ๆ
  • 0:42 - 0:43
    แต่มันกลายเป็นว่า
  • 0:43 - 0:46
    มีโอกาสมากมายเหลือเกิน
    ที่จะรักษาชีวิตไว้ได้
  • 0:46 - 0:49
    โดยการตรวจพบ
    และการป้องกันมะเร็งแต่เนิ่น ๆ
  • 0:50 - 0:55
    กว่าสองในสามของการตายทั่วโลก
    จากโรคมะเร็งนั้นป้องกันได้อย่างเต็มที่
  • 0:55 - 0:58
    โดยใช้วิธีการ ที่เรามีอยู่แล้วในปัจจุบัน
  • 0:58 - 1:01
    อย่างเช่น วัคซีน
    การตรวจพบให้ทันเวลา
  • 1:01 - 1:04
    และแน่นอนค่ะ การเลิกสูบบุหรี่
  • 1:04 - 1:08
    แต่แม้จะมีเครื่องมือและเทคโนโลยี
    ที่ดีที่สุด ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
  • 1:08 - 1:10
    เนื้องอกบางอย่าง
    ก็ไม่สามารถถูกตรวจพบได้
  • 1:10 - 1:14
    จนล่วงเลยไป 10 ปีแล้ว
    หลังจากที่มันเริ่มโตขึ้นมา
  • 1:14 - 1:17
    จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
    จำนวนมากถึง 50 ล้านเซลล์
  • 1:18 - 1:20
    ถ้าหากว่าเรามีเทคโนโลยีที่ดีกว่า
  • 1:20 - 1:23
    เพื่อตรวจพบมะเร็งร้ายแรง
    บางชนิดเหล่านี้ ได้เร็วกว่านี้
  • 1:23 - 1:24
    ตอนที่เราสามารถกำจัดมันได้
  • 1:24 - 1:27
    ตอนที่มันกำลังเพิ่งจะเริ่มต้นล่ะ
    จะเป็นอย่างไร
  • 1:27 - 1:30
    ฉันขอเล่าถึงว่า การทำให้ขนาดเล็กลง
    อาจพาเราไปยังจุดนั้นได้อย่างไร
  • 1:31 - 1:33
    นี่คือกล้องจุลทรรศน์
    ในห้องทดลองทั่ว ๆ ไป
  • 1:33 - 1:37
    ที่นักพยาธิวิทยาใช้กัน
    เพื่อดูตัวอย่างเนื้อเยื่อ
  • 1:37 - 1:39
    อย่างเช่น การตรวจชิ้นเนื้อ
    หรือ การตรวจแปปสเมียร์
  • 1:40 - 1:42
    กล้องจุลทรรศน์
    ราคา 7,000 ดอลลาร์ นี้
  • 1:42 - 1:45
    ถูกใช้โดยผู้ชำนาญการ
    ที่ถูกฝึกฝนเฉพาะทางมานานหลายปี
  • 1:45 - 1:47
    เพื่อจะมองหาเซลล์มะเร็ง
  • 1:48 - 1:51
    นี่เป็นภาพจากเพื่อนร่วมงานของฉัน
    ที่มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice University)
  • 1:51 - 1:53
    ชื่อ รีเบคกา ริชาร์ดส์-คอร์ทูม
  • 1:53 - 1:57
    สิ่งที่เธอและทีมงานได้ทำ คือ
    ทำให้กล้องจุลทรรศน์มีขนาดเล็กลง
  • 1:57 - 1:59
    เป็นชิ้นส่วนนี้ที่มีราคา 10 ดอลลาร์
  • 1:59 - 2:01
    และมันมีขนาดพอดี
    กับปลายของเส้นใยนำแสง
  • 2:02 - 2:06
    นั่นหมายความว่า
    แทนที่จะเอาตัวอย่างมาจากผู้ป่วย
  • 2:06 - 2:07
    และส่งมันไปยังกล้องจุลทรรศน์นั่น
  • 2:07 - 2:10
    คุณสามารถนำกล้องจุลทรรศน์
    ไปยังผู้ป่วยได้
  • 2:10 - 2:15
    จากนั้น แทนที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ
    เพื่อดูภาพทั้งหลาย
  • 2:15 - 2:20
    คุณสามารถฝึกคอมพิวเตอร์
    ให้เปรียบเทียบเซลล์ปกติกับเซลล์มะเร็ง
  • 2:20 - 2:21
    เอาล่ะ นี่สำคัญค่ะ
  • 2:21 - 2:24
    เพราะว่า สิ่งที่พวกเขาพบ
    ขณะที่ทำงานในชุมชนชนบทนั้น
  • 2:24 - 2:28
    คือ แม้ว่าเมื่อพวกเขามีรถตรวจเคลื่อนที่
  • 2:28 - 2:30
    ที่สามารถเข้าไปในชุมชนนั้น
    และทำการตรวจได้
  • 2:30 - 2:32
    และรวบรวมตัวอย่าง
  • 2:32 - 2:35
    และส่งมันไปยังโรงพยาบาลศูนย์กลาง
    เพื่อทำการวิเคราะห์
  • 2:35 - 2:36
    ที่หลายวันต่อมา
  • 2:36 - 2:39
    ผู้หญิงที่ได้รับโทรศัพท์
    แจ้งผลการตรวจที่ผิดปกติ
  • 2:39 - 2:41
    และถูกขอให้เข้ามาพบ
  • 2:41 - 2:45
    ครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นมาไม่ได้
    เพราะไม่มีเงินสำหรับการเดินทาง
  • 2:46 - 2:49
    เมื่อมีกล้องจุลทรรศ์และการวิเคราะห์
    ด้วยคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วยกัน
  • 2:49 - 2:52
    รีเบคกาและเพื่อนร่วมงานของเธอ
    ก็สร้างรถบรรทุก
  • 2:52 - 2:56
    ที่มีทั้งอุปกรณ์เพื่อการวินิจฉัย
    และการรักษา
  • 2:56 - 2:59
    และนั่นก็หมายความว่า
    พวกเขาสามารถวินิจฉัย
  • 2:59 - 3:01
    และทำการรักษาได้ ณ จุดนั้น
  • 3:01 - 3:03
    ดังนั้น จึงไม่มีใครที่ไม่ได้ถูกติดตามผล
  • 3:04 - 3:08
    นั่นเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งว่า การทำให้
    ขนาดเล็กลงสามารถรักษาชีวิตไว้ได้อย่างไร
  • 3:08 - 3:09
    ค่ะ ในฐานะที่เป็นวิศวกร
  • 3:09 - 3:12
    เรามีแนวคิดว่านี่เป็นการทำขนาดให้
    เล็กลง แบบตรงไปตรงมา
  • 3:12 - 3:15
    คุณเอาของใหญ่ๆมา
    และก็ทำให้มันเล็ก
  • 3:15 - 3:17
    แต่สิ่งที่ฉันบอกคุณไป
    เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  • 3:17 - 3:19
    ก็คือมันได้เปลี่ยนชีวิตเรา
  • 3:19 - 3:23
    เมื่อมันเล็กลงจนให้เรา
    เอามันไปได้ในทุก ๆ ที่
  • 3:24 - 3:28
    แล้วอะไรที่เป็นการเปลี่ยนที่ทัดเทียมกัน
    ในทางการแพทย์
  • 3:28 - 3:32
    ค่ะ ถ้าหากเรามีเครื่องตรวจจับ
  • 3:32 - 3:36
    ที่เล็กมากจนสามารถหมุนเวียน
    อยู่ในร่างกายของคุณได้
  • 3:36 - 3:38
    ค้นหาเนื้องอกได้ด้วยตัวของมันเอง
  • 3:38 - 3:41
    และส่งสัญญาณออกไปยังโลกภายนอก
  • 3:41 - 3:43
    มันฟังดูคล้าย ๆ กับนิยายวิทยาศาสตร์
  • 3:43 - 3:47
    แต่แท้จริงแล้ว นาโนเทคโนโลยี
    ทำให้เราทำอย่างนั้นได้จริง
  • 3:47 - 3:52
    นาโนเทคโนโลยีทำให้เราลดขนาด
    ส่วนที่ประกอบกันเป็นเครื่องตรวจจับ
  • 3:52 - 3:54
    จากความขนาดกว้างของเส้นผม
  • 3:54 - 3:56
    คือ 100 ไมครอน
  • 3:56 - 3:58
    ให้เล็กลงไปได้อีกถึงหนึ่งพันเท่า
  • 3:58 - 4:00
    ซึ่งก็คือ 100 นาโนเมตร
  • 4:00 - 4:03
    และนั่นก็มีความสำคัญยิ่ง
  • 4:04 - 4:07
    กลายเป็นว่าวัสดุมี
    คุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 4:07 - 4:09
    ที่ระดับนาโน
  • 4:09 - 4:12
    คุณเอาวัสดุธรรมดา ๆ อย่างเช่น ทองคำ
  • 4:12 - 4:15
    และคุณบดมันให้เป็นผง
    จนเป็นอนุภาคนาโนทองคำ
  • 4:15 - 4:18
    และมันก็จะเปลี่ยนจากที่ดูเป็นสีทอง
    กลับดูเป็นสีแดง
  • 4:19 - 4:23
    ถ้าคุณเอาวัตถุที่แปลกกว่านั้น
    อย่างเช่น แคดเมี่ยม ซีลีไนด์ --
  • 4:23 - 4:25
    ตกผลึกใหญ่สีดำ --
  • 4:25 - 4:28
    ถ้าคุณทำผลึกนาโนจากวัตถุนี้
  • 4:28 - 4:29
    และเอาไปใส่ในของเหลว
  • 4:29 - 4:31
    และเอาไฟส่องไปที่มัน
  • 4:31 - 4:32
    มันก็จะเรืองแสงออกมา
  • 4:32 - 4:38
    และพวกมันเรืองแสงออกมาเป็นสีนำ้เงิน
    เขียว เหลือง ส้ม แดง
  • 4:38 - 4:40
    ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน
  • 4:41 - 4:45
    มันแปลกมาก ๆ ลองนึกถึงวัตถุแบบนั้น
    ในโลกขนาดจิ๋วสิคะ
  • 4:45 - 4:51
    มันคงจะเหมือนกับกางเกงยีนส์ทุกตัว
    ในตู้เสื้อผ้าคุณ ทำมาจากผ้าฝ้าย
  • 4:52 - 4:56
    แต่มันมีสีต่าง ๆ กันออกไป
    ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน
  • 4:56 - 4:58
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:59 - 5:01
    ดังนั้น ในฐานะที่เป็นแพทย์
  • 5:01 - 5:03
    สำหรับฉันแล้วสิ่งที่น่าสนใจพอ ๆ กัน
  • 5:03 - 5:05
    คือ ไม่เฉพาะแค่สีของวัตถุ
  • 5:05 - 5:07
    ที่เปลี่ยนไปในระดับนาโน
  • 5:07 - 5:11
    แต่เป็นวิธีการเดินทางของมัน
    ในร่างกายของคุณ ก็เปลี่ยนไปด้วย
  • 5:11 - 5:14
    และนี่เป็นผลจากการสังเกต
    ที่เรากำลังจะใช้
  • 5:14 - 5:16
    เพื่อสร้างเครื่องตรวจจับมะเร็งที่ดีขึ้น
  • 5:16 - 5:18
    ให้ฉันแสดงให้คุณเห็นว่า
    มันหมายความว่าอย่างไร
  • 5:19 - 5:21
    นี่เป็นหลอดเลือดในร่างกาย
  • 5:21 - 5:23
    ที่อยู่รอบหลอดเลือดเป็นเนื้องอก
  • 5:24 - 5:27
    เราจะฉีดอนุภาคนาโน
    เข้าไปในหลอดเลือด
  • 5:27 - 5:31
    และดูว่าพวกมันจะเดินทางจาก
    หลอดเลือดเข้าไปในเนื้องอกได้อย่างไร
  • 5:31 - 5:36
    ปรากฎว่า หลอดเลือดของ
    เนื้องอกหลายชนิดมีจุดที่รั่วซึม
  • 5:36 - 5:40
    ดังนั้น อนุภาคนาโนจึงสามารถซึม
    ออกจากกระแสเลือดไปยังเนื้องอกได้
  • 5:41 - 5:44
    ซึ่งมันจะซึมออกไปหรือไม่นั้น
    อยู่กับขนาดของมัน
  • 5:44 - 5:45
    ดังนั้น ในภาพนี้
  • 5:45 - 5:50
    อนุภาคนาโนสีนํ้าเงินหนึ่งร้อยนาโนมิเตอร์
    ที่มีขนาดเล็กกว่า กำลังซึมออกมา
  • 5:50 - 5:53
    และ อนุภาคนาโนสีแดง
    ห้าร้อยนาโนมิเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า
  • 5:53 - 5:55
    ติดอยู่ในกระแสเลือด
  • 5:55 - 5:57
    ในฐานะที่เป็นวิศวกรนั่นจึงหมายความว่า
  • 5:57 - 6:01
    มันขึ้นอยู่กับว่า ฉันจะทำวัตถุ
    ให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหน
  • 6:01 - 6:04
    ฉันก็จะสามารถเปลี่ยนว่า
    จะให้มันไปยังส่วนไหนในร่างกายคุณ
  • 6:05 - 6:10
    ในห้องทดลองของฉัน เมื่อไม่นานมานี้
    เราได้ทำเครื่องตรวจจับมะเร็งนาโน
  • 6:10 - 6:15
    ที่มีขนาดเล็กมาก จนมันสามารถเดินทาง
    เข้าไปอยู่ในร่างกายและค้นหาเนื้องอกได้
  • 6:15 - 6:20
    เราออกแบบให้มันฟังสัญญาณ
    การลุกลามของเนื้องอก กล่าวคือ
  • 6:20 - 6:24
    กลุ่มสัญญาณทางเคมี ที่เนื้องอก
    จำเป็นต้องสร้างเพื่อการแพร่กระจาย
  • 6:25 - 6:28
    การที่เนื้องอกจะกระจายออกจากเนื้อเยื่อ
    ที่เป็นต้นกำเนิดมันนั้น
  • 6:28 - 6:31
    มันต้องสร้างสารเคมีที่เรียกว่า เอนไซม์
  • 6:31 - 6:33
    เพื่อกัดแทะให้ทะลุผ่าน
    โครงสร้างของเนื้อเยื่อ
  • 6:34 - 6:38
    เราได้ออกแบบอนุภาคนาโนเหล่านี้
    ให้ถูกกระตุ้นได้ด้วยเอ็นไซม์
  • 6:39 - 6:45
    เอ็นไซม์ตัวหนึ่ง สามารถกระตุ้น
    ปฏิกริยาเคมีเป็นพัน ๆ ครั้งใน 1 ชั่วโมง
  • 6:45 - 6:49
    ในเชิงวิศวกรรม เราเรียกมันว่า
    อัตราส่วนหนึ่งต่อพัน
  • 6:49 - 6:51
    ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการขยาย
  • 6:51 - 6:53
    และมันทำให้บางสิ่งมีความไวสูง
  • 6:53 - 6:57
    เราจึงได้ทำเครื่องตรวจจับมะเร็ง
    ที่มีความไวสูงขึ้นมา
  • 6:57 - 7:02
    แต่ฉันจะส่งสัญญาณนี้
    ออกไปนอกร่างกาย
  • 7:02 - 7:04
    ซึ่งเป็นที่ที่ฉันจะจัดการกับมัน
    ได้อย่างไร
  • 7:04 - 7:07
    เพื่อที่จะทำสิ่งนั้น เรากำลังจะใช้
    ชีววิทยาระดับนาโนกันอีกชิ้นหนึ่ง
  • 7:07 - 7:09
    และนั่นเกี่ยวข้องกับไต
  • 7:10 - 7:12
    ไตเป็นตัวกรอง
  • 7:12 - 7:17
    หน้าที่ของมันคือ กรองของเสีย
    ออกจากเลือดลงไปในปัสสาวะ
  • 7:17 - 7:20
    ปรากฎว่าสิ่งที่ไตกรองออกมา
  • 7:20 - 7:22
    ก็ขึ้นอยู่กับขนาดเช่นกัน
  • 7:23 - 7:25
    ดังนั้นในภาพนี้ สิ่งที่คุณเห็น
  • 7:25 - 7:28
    ทั้งหมดมีขนาดเล็กกว่า 5 นาโนเมตร
  • 7:28 - 7:32
    เดินทางออกจากเลือด ผ่านไต
    เข้าไปในปัสสาวะ
  • 7:32 - 7:35
    และทุกอย่างนอกเหนือจากนั้น
    ที่ใหญ่กว่านั้นยังคงถูกเก็บกักไว้
  • 7:35 - 7:40
    เอาล่ะ ถ้าฉันสร้างเครื่องตรวจจับมะเร็ง
    100 นาโนมิเตอร์ขึ้นมา
  • 7:40 - 7:43
    ฉีดมันเข้าไปในกระแสเลือด
  • 7:43 - 7:48
    มันจะซึมเข้าไปในเนื้องอก และถูกกระตุ้น
    ได้ด้วยเอนไซม์ของเนื้องอก
  • 7:48 - 7:50
    เพื่อปล่อยสัญญาณเล็ก ๆ ออกมา
  • 7:50 - 7:54
    ซึ่งเล็กพอที่จะถูกกรองออกไปจากไต
  • 7:54 - 7:56
    และเข้าไปในปัสสาวะ
  • 7:56 - 8:00
    ฉันก็จะมีสัญญาณในโลกข้างนอก
    ที่ฉันสามารถตรวจจับได้
  • 8:01 - 8:03
    แต่ก็ยังมีอยู่อีกหนึ่งปัญหา
  • 8:03 - 8:04
    นี่เป็นเพียงสัญญาณเล็ก ๆ
  • 8:04 - 8:06
    แล้วฉันจะตรวจจับมันได้อย่างไร
  • 8:07 - 8:09
    ค่ะ สัญญาณนั้นเป็นเพียงแค่โมเลกุล
  • 8:09 - 8:12
    พวกมันเป็นโมเลกุลที่เราออกแบบมัน
    ในฐานะที่เราเป็นวิศวกร
  • 8:12 - 8:15
    มันเป็นสารสังเคราะห์ล้วน ๆ
    และเราสามารถออกแบบมันได้
  • 8:15 - 8:18
    มันจึงเหมาะสมกับเครื่องมือที่เราเลือก
  • 8:18 - 8:22
    หากเราต้องการใช้เครื่องมือที่ไว
    ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ซับซ้อน
  • 8:22 - 8:24
    ที่เรียกว่า แมส สเปกโทรมีเตอร์
  • 8:24 - 8:26
    เราก็สร้างโมเลกุลที่มีมวลจำเพาะ
  • 8:27 - 8:30
    หรือเราอาจต้องการสร้างบางสิ่ง
    ที่ราคาไม่แพงและพกพาได้
  • 8:30 - 8:34
    เราก็สร้างโมเลกุล
    ที่เราสามารถกักไว้บนกระดาษได้
  • 8:34 - 8:36
    ดังเช่น การทดสอบการตั้งครรภ์
  • 8:36 - 8:39
    จริง ๆ แล้ว
    มีการทดสอบบนกระดาษอยู่มากมาย
  • 8:39 - 8:43
    ที่นำมาใช้ได้ ในสาขาวิชาที่เรียกว่า
    การวินิจฉัยโดยกระดาษ
  • 8:44 - 8:46
    เอาล่ะค่ะ สิ่งนี้
    จะนำเราไปทางไหนหรือ
  • 8:47 - 8:48
    สิ่งที่ฉันกำลังจะบอกคุณต่อจากนี้
  • 8:48 - 8:50
    ในฐานะที่เป็นนักวิจัยมาตลอดชีวิต
  • 8:50 - 8:52
    เป็นตัวแทนความฝันของฉัน
  • 8:52 - 8:54
    ฉันบอกไม่ได้ว่ามันเป็นคำมั่นสัญญา
  • 8:55 - 8:56
    มันเป็นความฝัน
  • 8:56 - 9:00
    แต่ฉันก็คิดว่า เราต้องมีความฝันกันทุกคน
    เพื่อผลักดันให้เราไปข้างหน้า
  • 9:00 - 9:04
    แม้ว่า -- และบางที
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง -- นักวิจัยมะเร็ง
  • 9:04 - 9:07
    ฉันจะบอกว่าถึงสิ่งที่ฉันหวังไว้
    ว่าจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีของฉัน
  • 9:07 - 9:11
    ก็คือฉันและทีมงานจะทุ่มเททั้งกายใจ
  • 9:11 - 9:13
    เพื่อทำให้มันเป็นจริง
  • 9:13 - 9:15
    เอาล่ะค่ะ
  • 9:15 - 9:18
    ฉันฝันว่าวันหนึ่ง
  • 9:18 - 9:22
    แทนที่จะต้องใช้
    เครื่องมือตรวจราคาแพง
  • 9:22 - 9:23
    เพื่อการส่องตรวจลำไส้ใหญ่
  • 9:23 - 9:25
    หรือตรวจเต้านม
  • 9:25 - 9:26
    หรือตรวจภายในแปปสเมียร์
  • 9:27 - 9:28
    ซึ่งคุณอาจต้องถูกฉีดยา
  • 9:28 - 9:30
    คอยเป็นชั่วโมง
  • 9:30 - 9:33
    และทดสอบปัสสาวะบนแถบกระดาษ
  • 9:34 - 9:36
    ฉันจินตนาการไว้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้
  • 9:36 - 9:39
    โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าที่คงที่
  • 9:39 - 9:42
    หรือผู้มีความชำนาญทางด้านการแพทย์
    ประจำอยู่ในห้อง
  • 9:42 - 9:43
    พวกเขาอาจอยู่ห่างไกลออกไปก็ได้
  • 9:43 - 9:46
    และติดต่อถึงกันได้ โดยใช้แค่
    ภาพบนสมาร์ทโฟน
  • 9:47 - 9:49
    ค่ะ ฉันรู้ว่าฟังดูราวกับเป็นความฝัน
  • 9:49 - 9:52
    แต่ในห้องทดลอง
    เราทำสิ่งนี้สำเร็จแล้วในหนู
  • 9:52 - 9:54
    ซึ่งมันได้ผลดีกว่าวิธีการที่มีอยู่ในขณะนี้
  • 9:54 - 9:58
    สำหรับการตรวจมะเร็งปอด
    มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งรังไข่
  • 9:59 - 10:01
    ฉันหวังว่าสิ่งนี้จะหมายถึงว่า
  • 10:01 - 10:06
    ในวันหนึ่ง เราจะสามารถ
    ตรวจพบเนื้องอกในผู้ป่วย
  • 10:06 - 10:09
    ได้เร็วขึ้น 10 ปี
    หลังจากที่มันเริ่มเกิดขึ้นมา
  • 10:09 - 10:11
    ในคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น
  • 10:11 - 10:13
    ทั่วโลก
  • 10:13 - 10:16
    และหวังว่า สิ่งนี้
    จะนำไปสู่การรักษาแต่เนิ่น ๆ
  • 10:16 - 10:20
    และเราอาจช่วยรักษาชีวิตคนได้
    มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • 10:20 - 10:21
    ด้วยการตรวจพบเสียแต่เนิ่น ๆ
  • 10:22 - 10:23
    ของคุณค่ะ
  • 10:23 - 10:30
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อนุภาคเล็กกระจิ๊ดริดนี้อาจตระเวนไปในร่างกายคุณเพื่อค้นหาเนื้องอกได้
Speaker:
แซนกีทา บฮ์าเทีย (Sangeeta Bhatia)
Description:

จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถพบเนื้องอกมะเร็งได้หลายปีก่อนที่มันจะทำอันตรายเราได้ - โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง หรือแม้แต่กระแสไฟฟ้าที่คงที่ แซนกีทา บฮ์าเทีย แพทย์ นักพันธุวิศวกรรม และนักลงทุน ผู้เป็นหัวหน้าห้องทดลองที่รวมศาสตร์หลากหลายวิชาเขาไว้ดวยกัน ซึ่งค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อทำความเข้าใจ วินิจฉัย และรักษาโรคของมนุษย์ เป้าหมายของเธอคือ สองในสามของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งซึ่งเธอบอกว่าป้องกันได้อย่างเต็มที่ เธออธิบายรายละเอียดของศาสตร์ของอนุภาคนาโนที่ซับซ้อน และเล่าถึงความฝันของเธอในเรื่องการทดสอบมะเร็งแบบใหม่ที่จะรักษาชีวิตคนไว้ได้หลายล้านคน ด้วยความชัดเจนอย่างยิ่ง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:43

Thai subtitles

Revisions