WEBVTT 00:00:00.020 --> 00:00:03.760 วันนี้ฝนตก 1 ห่าใหญ่ ว่าแต่ห่านึงนี่มันเท่าไหร่นะ? 00:00:03.760 --> 00:00:05.500 สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ 00:00:05.500 --> 00:00:06.740 บอกก่อนเลยนะคะว่า 00:00:06.740 --> 00:00:09.960 ในคลิปวิดีโอนี้จะเต็มไปด้วยคำว่า ห่า เยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ 00:00:09.960 --> 00:00:11.600 แต่ว่า มันไม่ใช่คำหยาบค่ะทุกคน 00:00:11.600 --> 00:00:14.920 เชื่อว่า ช่วงนี้หลายคนน่าจะเดินทางไปไหนลำบากนิดนึงนะคะ 00:00:14.920 --> 00:00:16.520 เพราะว่าฝนตกค่อนข้างมากค่ะ 00:00:16.520 --> 00:00:18.460 เรียกได้ว่า ตกแทบจะตลอดเวลาเลยนะ 00:00:18.460 --> 00:00:21.840 แล้วก็ตกทีก็ อือหือ กระหน่ำลงมามากมายค่ะ 00:00:21.840 --> 00:00:24.580 ทำให้เราน่าจะได้ยินคำนึงมากขึ้นเรื่อยๆ นะคะ 00:00:24.580 --> 00:00:26.600 นั่นก็คือ คำว่า ห่า นั่นเอง 00:00:26.600 --> 00:00:28.280 หลายคนเนี่ยอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้แล้ว 00:00:28.280 --> 00:00:31.600 แต่ว่า ถ้าไปคุยกับพ่อแม่หรือว่าปู่ย่าตายายต่างๆ 00:00:31.600 --> 00:00:34.020 อาจจะได้ยินว่า เอ้ย วันนี้ฝนตกห่าใหญ่เลย 00:00:34.020 --> 00:00:36.160 แต่รู้ไหมคะว่า 1 ห่าเนี่ยคือเท่าไหร่? 00:00:36.160 --> 00:00:39.500 เอ๊ แล้วเค้าวัดปริมาณปริมาตรน้ำฝนได้ยังไงในสมัยก่อน? 00:00:39.500 --> 00:00:41.380 ในสมัยนี้แตกต่างกันยังไงนะคะ? 00:00:41.380 --> 00:00:44.120 วันนี้วิวไปหาคำตอบมาตอบทุกคนเรียบร้อยแล้วค่ะ 00:00:44.120 --> 00:00:47.900 สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ? 00:00:47.900 --> 00:00:49.860 ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ 00:00:53.140 --> 00:00:57.120 แน่นอนนะคะว่า เรื่องฝนเนี่ยเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมานานแสนนานค่ะ 00:00:57.120 --> 00:01:00.620 ถ้าไม่มีฝน เราก็ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรต่างๆ ได้นะคะ 00:01:00.620 --> 00:01:03.720 ดังนั้นค่ะ ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบันเนี่ย 00:01:03.720 --> 00:01:06.520 มันก็จะต้องมีการวัดปริมาณน้ำฝนใช่ไหมคะว่า 00:01:06.520 --> 00:01:09.120 เอ๊ะ ช่วงนี้ฝนตกมากแค่ไหนอะไรยังไง? 00:01:09.120 --> 00:01:12.640 เหมาะกับการเพาะปลูกหรือว่า สามารถเล่าให้เพื่อนฟังได้ว่า 00:01:12.640 --> 00:01:14.880 เออ วันนี้ฝนตกเยอะฝนตกน้อยอะไรต่างๆ 00:01:14.880 --> 00:01:17.340 เอาเป็นว่า มันต้องมีการวัดปริมาณน้ำฝนค่ะ 00:01:17.340 --> 00:01:18.700 ว่าแต่ในสมัยก่อนเนี่ย 00:01:18.700 --> 00:01:20.940 ในสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีอะไรต่างๆ เนี่ย 00:01:20.940 --> 00:01:23.520 คิดว่า เค้าวัดปริมาณน้ำฝนด้วยอะไรกันคะ? 00:01:23.520 --> 00:01:28.440 แน่นอนนะคะว่า คนสมัยก่อนเนี่ย เค้าก็จะต้องมีมาตราการวัดปริมาณน้ำฝนของตัวเองค่ะ 00:01:28.440 --> 00:01:31.280 ซึ่งในสมัยก่อนเนี่ย มาตรานั้นเรียกว่า ห่า ค่ะ 00:01:31.280 --> 00:01:32.280 คือเค้าจะวัดว่า 00:01:32.280 --> 00:01:34.940 เออ วันนี้ฝนตก 1 ห่า วันนี้ฝนตก 2 ห่า 00:01:34.940 --> 00:01:38.000 หรือว่าปีนี้ฝนตก 500 ห่าอะไรต่างๆ นะคะ 00:01:38.000 --> 00:01:42.720 น่าจะเคยได้ยินกันจากตอนช่วงสงกรานต์ใช่ไหมที่มีการพยากรณ์กันต่างๆ ว่า 00:01:42.720 --> 00:01:47.540 ปีนี้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ฝนตก 500 ห่า อะไรประมาณอย่างนี้นะคะ 00:01:47.540 --> 00:01:48.900 ทีนี้อยากรู้กันไหมว่า 00:01:48.900 --> 00:01:50.620 เอ๊ แล้วเค้าวัดเป็นปริมาณห่ากันเนี่ย 00:01:50.620 --> 00:01:51.480 แล้วเค้าวัดยังไง? 00:01:51.480 --> 00:01:53.420 สมัยก่อน 1 ห่าคือเท่าไหร่นะคะ? 00:01:53.420 --> 00:01:57.060 ก็ต้องบอกว่า สมัยก่อนเนี่ยเค้าไม่รู้จะวัดปริมาณน้ำฝนด้วยวิธีไหนค่ะ 00:01:57.060 --> 00:02:01.200 คือเราไม่สามารถไปกวาดเอาน้ำทั้งหมดที่มันตกลงมาจากฟ้า ลงมาที่แผ่นดิน 00:02:01.200 --> 00:02:03.220 แล้วก็มาวัดปริมาตรได้ใช่ไหมคะ? 00:02:03.220 --> 00:02:06.960 ดังนั้นวิธีค่ะ เค้าก็เลยใช้วิธี เอาภาชนะอะไรบางอย่างเนี่ย 00:02:06.960 --> 00:02:08.860 วางแล้วก็รองน้ำฝนไปค่ะ 00:02:08.860 --> 00:02:12.020 แล้วก็ดูว่า เออ ใช้เวลานานเท่าไหร่ในการที่น้ำฝนเนี่ย 00:02:12.020 --> 00:02:13.400 จะเต็มภาชนะนั้นนะคะ 00:02:13.400 --> 00:02:14.760 แล้วก็นับเป็น 1 หน่วยค่ะ 00:02:14.760 --> 00:02:16.780 ซึ่งพอจะต้องเลือกภาชนะนี้มานะคะ 00:02:16.780 --> 00:02:18.780 คนสมัยก่อนก็ไม่รู้จะเลือกอะไรค่ะ 00:02:18.780 --> 00:02:20.900 ถ้าสมมติว่า ไปเลือกโอ่งหรือเลือกตุ่มนะคะ 00:02:20.900 --> 00:02:22.760 ก็จะมีขนาดใหญ่มากเกินไป 00:02:22.760 --> 00:02:24.060 สมมติว่า เลือกโอ่งมาเนี่ย 00:02:24.060 --> 00:02:25.460 โอโห้ กว่าฝนจะตกลงมา 00:02:25.460 --> 00:02:28.960 นึกสภาพโอ่งโล่งๆ นะ แล้วปล่อยให้ฝนตกลงมาๆ ตกๆๆๆ 00:02:28.960 --> 00:02:30.720 จะเต็มโอ่งเมื่อไหร่ก็ไม่รู้นะคะ 00:02:30.720 --> 00:02:32.840 จะวัดเป็น 1 หน่วยเนี่ย มันก็เยอะเกินไป 00:02:32.840 --> 00:02:36.180 ส่วนจะไปเอาพวกภาชนะเล็กๆ น้อยๆ อย่างพวกชามหม้อไห 00:02:36.180 --> 00:02:37.500 อะไรต่างๆ มาเนี่ย 00:02:37.500 --> 00:02:39.980 มันก็ เอ๊ แต่ละบ้านก็มีขนาดไม่เท่ากัน 00:02:40.000 --> 00:02:42.760 หม้อบ้านนี้กับหม้อบ้านนี้ อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ 00:02:42.760 --> 00:02:45.720 ดังนั้นคนในสมัยโบราณนะคะ ก็เลยมีการตกลงร่วมกันค่ะ 00:02:45.720 --> 00:02:49.240 ที่จะใช้ภาชนะอย่างนึงนะคะ ในการวัดปริมาณน้ำฝนค่ะ 00:02:49.240 --> 00:02:52.880 ซึ่งภาชนะอย่างนั้นเนี่ย เป็นภาชนะที่มีขนาดค่อนข้างจะแน่นอน 00:02:52.880 --> 00:02:55.520 สิ่งนั้นก็คือ บาตรพระ นั่นเองค่ะ 00:02:55.520 --> 00:02:59.740 คือในพระวินัยเนี่ย มีการกำหนดขนาดบาตรพระไว้ค่อนข้างจะแน่นอนใช่ไหม? 00:02:59.740 --> 00:03:01.800 มีการกำหนดพระวินัยต่างๆ มากมายว่า 00:03:01.800 --> 00:03:03.640 พระจะต้องใช้บาตรอย่างนั้นอย่างนี้นะ 00:03:03.640 --> 00:03:07.340 ใช้ได้แค่บาตรที่ทำจากดินเผา หรือว่าบาตรที่ทำจากเหล็กนะ 00:03:07.340 --> 00:03:08.980 ทำจากวัสดุอื่นก็ไม่ได้ 00:03:08.980 --> 00:03:12.700 แล้วทีนี้ขนาดของบาตรเนี่ย ก็จะต้องเป็นขนาดที่ได้มาตรฐานค่ะ 00:03:12.700 --> 00:03:16.660 ซึ่งตามพระวินัยเนี่ย ขนาดบาตรแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ขนาดด้วยกันนะคะ 00:03:16.660 --> 00:03:18.980 มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง แล้วก็ขนาดใหญ่ค่ะ 00:03:18.980 --> 00:03:22.060 ขนาดเล็กเนี่ยนะคะ คือขนาดที่ใส่ข้าวสุกเต็มค่ะ เต็มปุ๊บ 00:03:22.060 --> 00:03:24.380 แล้วคนกินเนี่ย ประมาณ 2 คนอิ่มค่ะ 00:03:24.380 --> 00:03:25.580 ส่วนขนาดกลางเนี่ยนะคะ 00:03:25.580 --> 00:03:28.800 เมื่อใส่ข้าวสุกเต็มเนี่ย ก็กินกันประมาณ 5 คนอิ่มค่ะ 00:03:28.800 --> 00:03:31.640 ส่วนขนาดใหญ่สุดเนี่ยก็คือ 10 คนอิ่มอ่ะนะ 00:03:31.640 --> 00:03:35.700 ทีนี้เค้าก็เลือกหยิบเอาบาตรขนาดกลาง หรือว่าขนาด 5 คนอิ่มขึ้นมาค่ะ 00:03:35.700 --> 00:03:39.520 ซึ่งบาตรเนี่ย มันก็จะขนาดพอๆ กันหมดนะคะ เมื่อมีการกำหนดแบบนี้ 00:03:39.520 --> 00:03:43.040 แล้วก็เลือกใช้บาตรพระบาตรอันนี้แหละค่ะ ไปตั้งไว้กลางแจ้งเนอะ 00:03:43.040 --> 00:03:45.660 ทีนี้พอฝนตกลงมานะคะ เค้าก็จะคอยดูว่า 00:03:45.660 --> 00:03:47.500 ฝนตกเนี่ย เต็มบาตรหรือยังค่ะ 00:03:47.500 --> 00:03:49.620 เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตกเต็มบาตรนะคะ 00:03:49.620 --> 00:03:52.340 เค้าก็จะนับว่า นี่แหละคือ ฝนตก 1 ห่านะคะ 00:03:52.340 --> 00:03:54.160 ดังนั้นถ้าสมมติวางบาตรไว้ 00:03:54.160 --> 00:03:56.120 อ่ะ ตกเต็มไป 1 บาตรแล้วฝนหยุด 00:03:56.120 --> 00:03:58.500 ก็จะแปลว่า รอบนี้ฝนตก 1 ห่า 00:03:58.500 --> 00:04:00.280 สมมติว่าเต็มแล้วยังไม่หยุด 00:04:00.280 --> 00:04:01.740 อ่ะ เทน้ำทิ้ง รองอีกรอบ 00:04:01.740 --> 00:04:02.520 เต็มไปอีกรอบ 00:04:02.520 --> 00:04:06.900 ก็จะกลายเป็น ฝนตก 2 ห่า 3 ห่า 4 ห่า ไปเรื่อยๆ อย่างนี้นี่แหละค่ะ 00:04:06.900 --> 00:04:10.320 ดังนั้นนะคะ วิธีวัดน้ำฝนของคนสมัยโบราณก็คือ 00:04:10.320 --> 00:04:11.960 การใช้บาตรพระ นั่นเองค่ะ 00:04:11.960 --> 00:04:14.140 1 บาตรก็เท่ากับ 1 ห่านะคะ 00:04:14.140 --> 00:04:15.740 ซึ่งหลายคนก็จะสงสัยนะว่า 00:04:15.740 --> 00:04:19.440 เอ๊ แล้วไอ้ 1 ห่าเนี่ย มันเกี่ยวข้องอะไรกับโรคห่าหรือเปล่า? 00:04:19.440 --> 00:04:21.780 มันเกี่ยวกับว่า อุ๊ย ฝนตกลงมาเยอะ 00:04:21.780 --> 00:04:23.020 เหมือนกับโรคห่าลง 00:04:23.020 --> 00:04:24.940 ซึ่งเป็นโรคระบาดในสมัยก่อนหรือเปล่านะคะ? 00:04:24.940 --> 00:04:29.960 ก็ต้องบอกว่า จริงๆ แล้วจากการที่วิวไปอ่านงานของอ.นววรรณ พันธุเมธามาเนี่ย 00:04:29.960 --> 00:04:32.080 ท่านสันนิษฐานว่า ไม่เกี่ยวกันค่ะ 00:04:32.080 --> 00:04:34.140 เพราะว่า แม้ว่าจะเป็นคำว่า ห่า เหมือนกัน 00:04:34.140 --> 00:04:36.120 แล้วมันดูเป็นคำไท๊ไทยเหมือนกัน 00:04:36.120 --> 00:04:38.360 ดูเป็นอะไรที่มันเยอะๆ เหมือนกัน 00:04:38.360 --> 00:04:40.520 แต่ถ้าสมมติว่า เราไปดูที่ภาษาถิ่นนะคะ 00:04:40.520 --> 00:04:42.680 พวกภาษาไทยใหญ่ ไทยนู้น ไทยนี้เนี่ย 00:04:42.680 --> 00:04:44.920 จะเห็นว่า เค้าใช้คนละคำกันค่ะ 00:04:44.920 --> 00:04:46.440 คือมันมีคำที่มันคล้ายๆ กันแหละ 00:04:46.440 --> 00:04:47.760 แต่ว่าในบางถิ่นเนี่ยนะคะ 00:04:47.760 --> 00:04:48.940 คำที่หมายถึงโรคระบาดเนี่ย 00:04:48.940 --> 00:04:51.780 เค้าก็จะใช้แบบ หา เห้อ อะไรอย่างนี้ 00:04:51.780 --> 00:04:55.780 ในขณะที่ฝนตกเนี่ย มันอาจจะเป็น หา ห่า ห้า อะไรอย่างนี้ 00:04:55.780 --> 00:04:58.140 คือวรรณยุกต์มันค่อนข้างจะแตกต่างกันค่ะ 00:04:58.140 --> 00:04:59.900 ดังนั้นนะคะ เค้าก็เลยสันนิษฐานว่า 00:04:59.900 --> 00:05:01.920 2 คำนี้เป็นคนละคำกันค่ะ 00:05:01.920 --> 00:05:05.400 ทีนี้เราก็รู้กันแล้วนะคะว่า คนสมัยโบราณเนี่ย วัดปริมาณน้ำฝนยังไง 00:05:05.400 --> 00:05:08.500 แต่อยากรู้กันไหมว่า คนสมัยนี้ เค้าวัดปริมาณน้ำฝนยังไง? 00:05:08.500 --> 00:05:11.740 เราน่าจะเคยได้ยินกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศกันใช่ไหม? 00:05:11.740 --> 00:05:13.420 วันนี้ฝนตกน้อยเป็นบางแห่ง 00:05:13.420 --> 00:05:15.340 วันนี้ฝนตกปานกลาง 00:05:15.340 --> 00:05:16.440 วันนี้ฝนตกหนัก 00:05:16.440 --> 00:05:17.720 วันนี้ฝนตกหนักมาก 00:05:17.720 --> 00:05:22.440 อ้าว แล้วฝนตกน้อย ฝนตกปานกลาง ฝนตกหนัก ฝนตกหนักมากเนี่ย มันแตกต่างกันยังไง? 00:05:22.440 --> 00:05:26.320 เค้าก็แบบ ดูๆ แล้วก็แบบ เออ วันนี้ฝนน่าจะตกหนักนะ อะไรอย่างนี้หรือเปล่า? 00:05:26.320 --> 00:05:28.080 ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่เลยค่ะ 00:05:28.080 --> 00:05:31.780 แต่ว่ากรมอุตุฯ เนี่ย เค้ามีวิธีวัดปริมาณน้ำฝนของเค้านะคะ 00:05:31.780 --> 00:05:35.500 ซึ่งหน่วยที่เค้าใช้วัดเนี่ยก็คือ หน่วยมิลลิเมตร นั่นเองค่ะ 00:05:35.500 --> 00:05:37.340 อ่ะ พอฟังแล้ว หลายคนก็งงว่า 00:05:37.340 --> 00:05:39.380 อ้าว แล้วทำไมวัดปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรล่ะ? 00:05:39.380 --> 00:05:43.360 ในสมัยโบราณวัดเป็นห่า วัดเป็นขนาดบาตรก็ยังพอเข้าใจได้อยู่ว่า 00:05:43.360 --> 00:05:45.040 เออ มันก็น้ำเต็มอะไรอย่างนี้ 00:05:45.040 --> 00:05:48.740 แล้วเป็นมิลลิเมตร แล้วจะไปวัดน้ำฝนยังไงว่ามันยาวเท่าไหร่? อะไรยังไงนะคะ? 00:05:48.740 --> 00:05:50.960 ก็ต้องบอกว่า ไอ้ความยาวที่เค้าวัดเนี่ย 00:05:50.960 --> 00:05:53.940 มันไม่ใช่ความยาวของเม็ดน้ำฝน หรือว่าอะไรทั้งสิ้นค่ะ 00:05:53.940 --> 00:05:56.560 มันคือ ความสูงของน้ำฝนหลังจากตวงแล้วค่ะ 00:05:56.560 --> 00:05:59.520 โดยวิธีที่กรมอุตุนิยมวิทยาเค้าวัดปริมาณน้ำฝนเนี่ยนะคะ 00:05:59.520 --> 00:06:02.620 เค้าจะใช้อุปกรณ์นึงนะคะที่เรียกว่า Rain Gauge นั่นเอง 00:06:02.620 --> 00:06:05.780 ซึ่งไอ้ Rain Gauge เนี่ยนะคะ ก็จะเป็นหน้าตาแบบตามภาพนี่เลยนะ 00:06:05.780 --> 00:06:08.140 อ่ะ ลองมาผ่ามันดูว่า หน้าตามันเป็นยังไง? 00:06:08.140 --> 00:06:10.280 อย่างแรกนะคะ มันก็จะมีขาตั้งก่อนค่ะ 00:06:10.280 --> 00:06:11.440 ตั้งอยู่กลางแจ้ง 00:06:11.440 --> 00:06:12.960 แล้วก็มีถังทรงกระบอกนะคะ 00:06:12.960 --> 00:06:15.940 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเนี่ยประมาณ 8 นิ้ววางอยู่ค่ะ 00:06:15.940 --> 00:06:19.300 เสร็จแล้วไอ้ถังใบล่างเนี่ย ก็จะมีถังใบบนอีกใบนึงนะคะ 00:06:19.300 --> 00:06:21.320 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วเหมือนกันเนี่ย 00:06:21.320 --> 00:06:23.340 วางครอบอยู่ประกอบกันค่ะ 00:06:23.340 --> 00:06:26.620 ซึ่งถังใบบนเนี่ยนะคะ ตรงก้นถังเค้าจะทำเป็นรูปกรวยค่ะ 00:06:26.620 --> 00:06:27.880 ออกเสียงชัดๆ นะทุกคน 00:06:27.880 --> 00:06:29.040 รูปกรวยค่ะ 00:06:29.040 --> 00:06:31.340 ซึ่งทำให้เวลาที่ฝนตกลงมาเนี่ยนะคะ 00:06:31.340 --> 00:06:32.640 ถังไม่มีฝาปิดใช่ไหม? 00:06:32.640 --> 00:06:35.360 น้ำฝนก็จะหยดๆๆ ลงมาในถังนะคะ 00:06:35.360 --> 00:06:38.960 ไหลผ่านกรวย แล้วก็ลงไปเก็บอยู่ที่ถังใบล่างเนี่ยแหละค่ะ 00:06:38.960 --> 00:06:43.400 ทีนี้เนื่องจากว่า ตรงบริเวณรอยต่อของถังเนี่ย มีลักษณะเป็นกรวยใช่ไหมคะ? 00:06:43.400 --> 00:06:46.780 ดังนั้นเวลาน้ำตกลงมาเนี่ย มันก็จะไหลลงไปในถังอย่างง่ายเลยค่ะ 00:06:46.780 --> 00:06:48.280 ก็ไหลลงไป ไหลๆๆ 00:06:48.280 --> 00:06:51.960 แต่เวลาที่สมมติว่า ฝนหยุดตกละแดดออกอะไรต่างๆ 00:06:51.960 --> 00:06:54.040 น้ำมันก็ระเหยกลับไปค่อนข้างยากค่ะ 00:06:54.040 --> 00:06:55.860 เพราะว่ามันเหมือนมีฝาปิดอยู่ใช่ไหม? 00:06:55.860 --> 00:06:58.720 ทีนี้ในทุกวันค่ะ เค้าก็จะรองน้ำฝนแบบนี้นะคะ 00:06:58.720 --> 00:06:59.660 รองไว้ๆ 00:06:59.660 --> 00:07:01.980 แล้วก็ทุกวันในเวลา 7 โมงเช้าค่ะ 00:07:01.980 --> 00:07:04.760 เจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยาเนี่ยก็จะมาเปิดถังนี้นะคะ 00:07:04.760 --> 00:07:08.120 แล้วเค้าก็จะเอาถ้วยตวงค่ะ ที่มีลักษณะเป็นแบบยาวๆ เนี่ยนะคะ 00:07:08.120 --> 00:07:11.800 มีสเกลขีดอยู่ว่าเป็นกี่มิลลิเมตรๆๆ เนี่ยมาค่ะ 00:07:11.800 --> 00:07:15.260 แล้วก็เทน้ำจากถังข้างล่างลงไปในถ้วยตวงนี้นะคะ 00:07:15.260 --> 00:07:20.800 แล้วเค้าก็จะวัดค่ะว่า อ่อ วันนี้มีปริมาณน้ำฝนเนี่ยกี่มิลลิเมตรๆๆ นะคะ 00:07:20.800 --> 00:07:22.280 ทีนี้เค้าก็จะมาดูค่ะว่า 00:07:22.280 --> 00:07:23.720 ถ้าสมมติว่าตวงออกมาแล้วนะคะ 00:07:23.720 --> 00:07:25.640 ขีดน้ำฝนมันขึ้นมาไม่ถึง 10 มิลลิเมตร 00:07:25.640 --> 00:07:28.140 ก็จะแปลว่า วันนั้นมีฝนตกน้อยค่ะ 00:07:28.140 --> 00:07:32.480 ส่วนถ้าสมมติว่ามันขึ้นมาตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตรถึง 35 มิลลิเมตรเนี่ยนะ 00:07:32.480 --> 00:07:34.360 ก็จะถือว่า ฝนตกปานกลางนะคะ 00:07:34.360 --> 00:07:38.060 ส่วนถ้าขึ้นไป 35.1 มิลลิเมตรถึง 90 มิลลิเมตรเนี่ย 00:07:38.060 --> 00:07:40.200 ก็จะกลายเป็นฝนตกหนักค่ะ 00:07:40.200 --> 00:07:42.680 แล้วถ้าสมมติว่าวันไหนเนี่ยที่มันทะลุปรอดเลยนะคะ 00:07:42.680 --> 00:07:44.460 เกิน 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไปเนี่ย 00:07:44.460 --> 00:07:47.640 ก็จะกลายเป็นวันที่ฝนตกหนักมากนั่นเอง 00:07:47.640 --> 00:07:51.520 นี่ก็คือวิธีที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้วัดปริมาณน้ำฝนของแต่ละวันนะคะ 00:07:51.520 --> 00:07:55.000 โดยเค้าจะวัดแบบนี้ทุกวันในเวลา 7 โมงเช้านั่นเองค่ะ 00:07:55.000 --> 00:07:57.980 คลิปนี้ก็น่าจะตอบคำถามของหลายๆ คนที่อยากรู้นะว่า 00:07:57.980 --> 00:08:01.780 เอ๊ ฝนมันตกจากฟ้า แล้วเราจะวัดปริมาณน้ำฝนอะไรยังไงค่ะ 00:08:01.780 --> 00:08:02.920 เป็นยังไงกันบ้างคะคลิปนี้? 00:08:02.920 --> 00:08:04.400 ถ้าใครฟังแล้วรู้สึกว่า ชอบ 00:08:04.400 --> 00:08:08.180 อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันนะคะ 00:08:08.180 --> 00:08:10.180 แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ 00:08:10.180 --> 00:08:11.240 บ๊าย บาย 00:08:11.240 --> 00:08:11.740 สวัสดีค่ะ 00:08:11.740 --> 00:08:13.840 ก็จบไปกับอีกคลิปนึงที่สั้นๆ นะคะ 00:08:13.840 --> 00:08:16.600 แต่ว่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่หลายคนอยากรู้แหละ 00:08:16.600 --> 00:08:18.140 คือหลายคนอยากรู้ไหม? ไม่อยากรู้ 00:08:18.140 --> 00:08:19.600 แต่ว่า วิวเนี่ย อยากรู้นะคะ 00:08:19.600 --> 00:08:21.420 เพราะว่าช่วงนี้ก็นั่งมองฝนทุกวัน 00:08:21.420 --> 00:08:23.640 แล้วก็รู้สึกว่า เออ ฝนตกอีกแล้ว ตกเยอะ 00:08:23.640 --> 00:08:27.360 แล้วก็เคยได้ยินคำว่า ฝนตก 1 ห่า 2 ห่า 500 ห่ามาตั้งแต่เด็ก 00:08:27.360 --> 00:08:29.720 ก็เลยไปหาคำตอบนี้มาตอบตัวเองเนี่ยแหละค่ะ 00:08:29.720 --> 00:08:31.240 แล้วก็ไหนๆ หาคำตอบมาได้แล้ว 00:08:31.240 --> 00:08:34.660 ก็เลยเอามาทำเป็นคลิปวิดีโอให้ทุกคนได้ดูไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ 00:08:34.660 --> 00:08:36.440 หวังว่า จะชอบคลิปนี้กันนะคะทุกคน 00:08:36.440 --> 00:08:37.920 วันนี้ลาไปก่อนละกันค่ะ 00:08:37.920 --> 00:08:39.800 บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ