วันนี้ฝนตก 1 ห่าใหญ่ ว่าแต่ห่านึงนี่มันเท่าไหร่นะ? สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ บอกก่อนเลยนะคะว่า ในคลิปวิดีโอนี้จะเต็มไปด้วยคำว่า ห่า เยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ แต่ว่า มันไม่ใช่คำหยาบค่ะทุกคน เชื่อว่า ช่วงนี้หลายคนน่าจะเดินทางไปไหนลำบากนิดนึงนะคะ เพราะว่าฝนตกค่อนข้างมากค่ะ เรียกได้ว่า ตกแทบจะตลอดเวลาเลยนะ แล้วก็ตกทีก็ อือหือ กระหน่ำลงมามากมายค่ะ ทำให้เราน่าจะได้ยินคำนึงมากขึ้นเรื่อยๆ นะคะ นั่นก็คือ คำว่า ห่า นั่นเอง หลายคนเนี่ยอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้แล้ว แต่ว่า ถ้าไปคุยกับพ่อแม่หรือว่าปู่ย่าตายายต่างๆ อาจจะได้ยินว่า เอ้ย วันนี้ฝนตกห่าใหญ่เลย แต่รู้ไหมคะว่า 1 ห่าเนี่ยคือเท่าไหร่? เอ๊ แล้วเค้าวัดปริมาณปริมาตรน้ำฝนได้ยังไงในสมัยก่อน? ในสมัยนี้แตกต่างกันยังไงนะคะ? วันนี้วิวไปหาคำตอบมาตอบทุกคนเรียบร้อยแล้วค่ะ สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ? ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ แน่นอนนะคะว่า เรื่องฝนเนี่ยเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมานานแสนนานค่ะ ถ้าไม่มีฝน เราก็ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรต่างๆ ได้นะคะ ดังนั้นค่ะ ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบันเนี่ย มันก็จะต้องมีการวัดปริมาณน้ำฝนใช่ไหมคะว่า เอ๊ะ ช่วงนี้ฝนตกมากแค่ไหนอะไรยังไง? เหมาะกับการเพาะปลูกหรือว่า สามารถเล่าให้เพื่อนฟังได้ว่า เออ วันนี้ฝนตกเยอะฝนตกน้อยอะไรต่างๆ เอาเป็นว่า มันต้องมีการวัดปริมาณน้ำฝนค่ะ ว่าแต่ในสมัยก่อนเนี่ย ในสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีอะไรต่างๆ เนี่ย คิดว่า เค้าวัดปริมาณน้ำฝนด้วยอะไรกันคะ? แน่นอนนะคะว่า คนสมัยก่อนเนี่ย เค้าก็จะต้องมีมาตราการวัดปริมาณน้ำฝนของตัวเองค่ะ ซึ่งในสมัยก่อนเนี่ย มาตรานั้นเรียกว่า ห่า ค่ะ คือเค้าจะวัดว่า เออ วันนี้ฝนตก 1 ห่า วันนี้ฝนตก 2 ห่า หรือว่าปีนี้ฝนตก 500 ห่าอะไรต่างๆ นะคะ น่าจะเคยได้ยินกันจากตอนช่วงสงกรานต์ใช่ไหมที่มีการพยากรณ์กันต่างๆ ว่า ปีนี้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ฝนตก 500 ห่า อะไรประมาณอย่างนี้นะคะ ทีนี้อยากรู้กันไหมว่า เอ๊ แล้วเค้าวัดเป็นปริมาณห่ากันเนี่ย แล้วเค้าวัดยังไง? สมัยก่อน 1 ห่าคือเท่าไหร่นะคะ? ก็ต้องบอกว่า สมัยก่อนเนี่ยเค้าไม่รู้จะวัดปริมาณน้ำฝนด้วยวิธีไหนค่ะ คือเราไม่สามารถไปกวาดเอาน้ำทั้งหมดที่มันตกลงมาจากฟ้า ลงมาที่แผ่นดิน แล้วก็มาวัดปริมาตรได้ใช่ไหมคะ? ดังนั้นวิธีค่ะ เค้าก็เลยใช้วิธี เอาภาชนะอะไรบางอย่างเนี่ย วางแล้วก็รองน้ำฝนไปค่ะ แล้วก็ดูว่า เออ ใช้เวลานานเท่าไหร่ในการที่น้ำฝนเนี่ย จะเต็มภาชนะนั้นนะคะ แล้วก็นับเป็น 1 หน่วยค่ะ ซึ่งพอจะต้องเลือกภาชนะนี้มานะคะ คนสมัยก่อนก็ไม่รู้จะเลือกอะไรค่ะ ถ้าสมมติว่า ไปเลือกโอ่งหรือเลือกตุ่มนะคะ ก็จะมีขนาดใหญ่มากเกินไป สมมติว่า เลือกโอ่งมาเนี่ย โอโห้ กว่าฝนจะตกลงมา นึกสภาพโอ่งโล่งๆ นะ แล้วปล่อยให้ฝนตกลงมาๆ ตกๆๆๆ จะเต็มโอ่งเมื่อไหร่ก็ไม่รู้นะคะ จะวัดเป็น 1 หน่วยเนี่ย มันก็เยอะเกินไป ส่วนจะไปเอาพวกภาชนะเล็กๆ น้อยๆ อย่างพวกชามหม้อไห อะไรต่างๆ มาเนี่ย มันก็ เอ๊ แต่ละบ้านก็มีขนาดไม่เท่ากัน หม้อบ้านนี้กับหม้อบ้านนี้ อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ดังนั้นคนในสมัยโบราณนะคะ ก็เลยมีการตกลงร่วมกันค่ะ ที่จะใช้ภาชนะอย่างนึงนะคะ ในการวัดปริมาณน้ำฝนค่ะ ซึ่งภาชนะอย่างนั้นเนี่ย เป็นภาชนะที่มีขนาดค่อนข้างจะแน่นอน สิ่งนั้นก็คือ บาตรพระ นั่นเองค่ะ คือในพระวินัยเนี่ย มีการกำหนดขนาดบาตรพระไว้ค่อนข้างจะแน่นอนใช่ไหม? มีการกำหนดพระวินัยต่างๆ มากมายว่า พระจะต้องใช้บาตรอย่างนั้นอย่างนี้นะ ใช้ได้แค่บาตรที่ทำจากดินเผา หรือว่าบาตรที่ทำจากเหล็กนะ ทำจากวัสดุอื่นก็ไม่ได้ แล้วทีนี้ขนาดของบาตรเนี่ย ก็จะต้องเป็นขนาดที่ได้มาตรฐานค่ะ ซึ่งตามพระวินัยเนี่ย ขนาดบาตรแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ขนาดด้วยกันนะคะ มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง แล้วก็ขนาดใหญ่ค่ะ ขนาดเล็กเนี่ยนะคะ คือขนาดที่ใส่ข้าวสุกเต็มค่ะ เต็มปุ๊บ แล้วคนกินเนี่ย ประมาณ 2 คนอิ่มค่ะ ส่วนขนาดกลางเนี่ยนะคะ เมื่อใส่ข้าวสุกเต็มเนี่ย ก็กินกันประมาณ 5 คนอิ่มค่ะ ส่วนขนาดใหญ่สุดเนี่ยก็คือ 10 คนอิ่มอ่ะนะ ทีนี้เค้าก็เลือกหยิบเอาบาตรขนาดกลาง หรือว่าขนาด 5 คนอิ่มขึ้นมาค่ะ ซึ่งบาตรเนี่ย มันก็จะขนาดพอๆ กันหมดนะคะ เมื่อมีการกำหนดแบบนี้ แล้วก็เลือกใช้บาตรพระบาตรอันนี้แหละค่ะ ไปตั้งไว้กลางแจ้งเนอะ ทีนี้พอฝนตกลงมานะคะ เค้าก็จะคอยดูว่า ฝนตกเนี่ย เต็มบาตรหรือยังค่ะ เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตกเต็มบาตรนะคะ เค้าก็จะนับว่า นี่แหละคือ ฝนตก 1 ห่านะคะ ดังนั้นถ้าสมมติวางบาตรไว้ อ่ะ ตกเต็มไป 1 บาตรแล้วฝนหยุด ก็จะแปลว่า รอบนี้ฝนตก 1 ห่า สมมติว่าเต็มแล้วยังไม่หยุด อ่ะ เทน้ำทิ้ง รองอีกรอบ เต็มไปอีกรอบ ก็จะกลายเป็น ฝนตก 2 ห่า 3 ห่า 4 ห่า ไปเรื่อยๆ อย่างนี้นี่แหละค่ะ ดังนั้นนะคะ วิธีวัดน้ำฝนของคนสมัยโบราณก็คือ การใช้บาตรพระ นั่นเองค่ะ 1 บาตรก็เท่ากับ 1 ห่านะคะ ซึ่งหลายคนก็จะสงสัยนะว่า เอ๊ แล้วไอ้ 1 ห่าเนี่ย มันเกี่ยวข้องอะไรกับโรคห่าหรือเปล่า? มันเกี่ยวกับว่า อุ๊ย ฝนตกลงมาเยอะ เหมือนกับโรคห่าลง ซึ่งเป็นโรคระบาดในสมัยก่อนหรือเปล่านะคะ? ก็ต้องบอกว่า จริงๆ แล้วจากการที่วิวไปอ่านงานของอ.นววรรณ พันธุเมธามาเนี่ย ท่านสันนิษฐานว่า ไม่เกี่ยวกันค่ะ เพราะว่า แม้ว่าจะเป็นคำว่า ห่า เหมือนกัน แล้วมันดูเป็นคำไท๊ไทยเหมือนกัน ดูเป็นอะไรที่มันเยอะๆ เหมือนกัน แต่ถ้าสมมติว่า เราไปดูที่ภาษาถิ่นนะคะ พวกภาษาไทยใหญ่ ไทยนู้น ไทยนี้เนี่ย จะเห็นว่า เค้าใช้คนละคำกันค่ะ คือมันมีคำที่มันคล้ายๆ กันแหละ แต่ว่าในบางถิ่นเนี่ยนะคะ คำที่หมายถึงโรคระบาดเนี่ย เค้าก็จะใช้แบบ หา เห้อ อะไรอย่างนี้ ในขณะที่ฝนตกเนี่ย มันอาจจะเป็น หา ห่า ห้า อะไรอย่างนี้ คือวรรณยุกต์มันค่อนข้างจะแตกต่างกันค่ะ ดังนั้นนะคะ เค้าก็เลยสันนิษฐานว่า 2 คำนี้เป็นคนละคำกันค่ะ ทีนี้เราก็รู้กันแล้วนะคะว่า คนสมัยโบราณเนี่ย วัดปริมาณน้ำฝนยังไง แต่อยากรู้กันไหมว่า คนสมัยนี้ เค้าวัดปริมาณน้ำฝนยังไง? เราน่าจะเคยได้ยินกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศกันใช่ไหม? วันนี้ฝนตกน้อยเป็นบางแห่ง วันนี้ฝนตกปานกลาง วันนี้ฝนตกหนัก วันนี้ฝนตกหนักมาก อ้าว แล้วฝนตกน้อย ฝนตกปานกลาง ฝนตกหนัก ฝนตกหนักมากเนี่ย มันแตกต่างกันยังไง? เค้าก็แบบ ดูๆ แล้วก็แบบ เออ วันนี้ฝนน่าจะตกหนักนะ อะไรอย่างนี้หรือเปล่า? ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่เลยค่ะ แต่ว่ากรมอุตุฯ เนี่ย เค้ามีวิธีวัดปริมาณน้ำฝนของเค้านะคะ ซึ่งหน่วยที่เค้าใช้วัดเนี่ยก็คือ หน่วยมิลลิเมตร นั่นเองค่ะ อ่ะ พอฟังแล้ว หลายคนก็งงว่า อ้าว แล้วทำไมวัดปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรล่ะ? ในสมัยโบราณวัดเป็นห่า วัดเป็นขนาดบาตรก็ยังพอเข้าใจได้อยู่ว่า เออ มันก็น้ำเต็มอะไรอย่างนี้ แล้วเป็นมิลลิเมตร แล้วจะไปวัดน้ำฝนยังไงว่ามันยาวเท่าไหร่? อะไรยังไงนะคะ? ก็ต้องบอกว่า ไอ้ความยาวที่เค้าวัดเนี่ย มันไม่ใช่ความยาวของเม็ดน้ำฝน หรือว่าอะไรทั้งสิ้นค่ะ มันคือ ความสูงของน้ำฝนหลังจากตวงแล้วค่ะ โดยวิธีที่กรมอุตุนิยมวิทยาเค้าวัดปริมาณน้ำฝนเนี่ยนะคะ เค้าจะใช้อุปกรณ์นึงนะคะที่เรียกว่า Rain Gauge นั่นเอง ซึ่งไอ้ Rain Gauge เนี่ยนะคะ ก็จะเป็นหน้าตาแบบตามภาพนี่เลยนะ อ่ะ ลองมาผ่ามันดูว่า หน้าตามันเป็นยังไง? อย่างแรกนะคะ มันก็จะมีขาตั้งก่อนค่ะ ตั้งอยู่กลางแจ้ง แล้วก็มีถังทรงกระบอกนะคะ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางเนี่ยประมาณ 8 นิ้ววางอยู่ค่ะ เสร็จแล้วไอ้ถังใบล่างเนี่ย ก็จะมีถังใบบนอีกใบนึงนะคะ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วเหมือนกันเนี่ย วางครอบอยู่ประกอบกันค่ะ ซึ่งถังใบบนเนี่ยนะคะ ตรงก้นถังเค้าจะทำเป็นรูปกรวยค่ะ ออกเสียงชัดๆ นะทุกคน รูปกรวยค่ะ ซึ่งทำให้เวลาที่ฝนตกลงมาเนี่ยนะคะ ถังไม่มีฝาปิดใช่ไหม? น้ำฝนก็จะหยดๆๆ ลงมาในถังนะคะ ไหลผ่านกรวย แล้วก็ลงไปเก็บอยู่ที่ถังใบล่างเนี่ยแหละค่ะ ทีนี้เนื่องจากว่า ตรงบริเวณรอยต่อของถังเนี่ย มีลักษณะเป็นกรวยใช่ไหมคะ? ดังนั้นเวลาน้ำตกลงมาเนี่ย มันก็จะไหลลงไปในถังอย่างง่ายเลยค่ะ ก็ไหลลงไป ไหลๆๆ แต่เวลาที่สมมติว่า ฝนหยุดตกละแดดออกอะไรต่างๆ น้ำมันก็ระเหยกลับไปค่อนข้างยากค่ะ เพราะว่ามันเหมือนมีฝาปิดอยู่ใช่ไหม? ทีนี้ในทุกวันค่ะ เค้าก็จะรองน้ำฝนแบบนี้นะคะ รองไว้ๆ แล้วก็ทุกวันในเวลา 7 โมงเช้าค่ะ เจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยาเนี่ยก็จะมาเปิดถังนี้นะคะ แล้วเค้าก็จะเอาถ้วยตวงค่ะ ที่มีลักษณะเป็นแบบยาวๆ เนี่ยนะคะ มีสเกลขีดอยู่ว่าเป็นกี่มิลลิเมตรๆๆ เนี่ยมาค่ะ แล้วก็เทน้ำจากถังข้างล่างลงไปในถ้วยตวงนี้นะคะ แล้วเค้าก็จะวัดค่ะว่า อ่อ วันนี้มีปริมาณน้ำฝนเนี่ยกี่มิลลิเมตรๆๆ นะคะ ทีนี้เค้าก็จะมาดูค่ะว่า ถ้าสมมติว่าตวงออกมาแล้วนะคะ ขีดน้ำฝนมันขึ้นมาไม่ถึง 10 มิลลิเมตร ก็จะแปลว่า วันนั้นมีฝนตกน้อยค่ะ ส่วนถ้าสมมติว่ามันขึ้นมาตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตรถึง 35 มิลลิเมตรเนี่ยนะ ก็จะถือว่า ฝนตกปานกลางนะคะ ส่วนถ้าขึ้นไป 35.1 มิลลิเมตรถึง 90 มิลลิเมตรเนี่ย ก็จะกลายเป็นฝนตกหนักค่ะ แล้วถ้าสมมติว่าวันไหนเนี่ยที่มันทะลุปรอดเลยนะคะ เกิน 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไปเนี่ย ก็จะกลายเป็นวันที่ฝนตกหนักมากนั่นเอง นี่ก็คือวิธีที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้วัดปริมาณน้ำฝนของแต่ละวันนะคะ โดยเค้าจะวัดแบบนี้ทุกวันในเวลา 7 โมงเช้านั่นเองค่ะ คลิปนี้ก็น่าจะตอบคำถามของหลายๆ คนที่อยากรู้นะว่า เอ๊ ฝนมันตกจากฟ้า แล้วเราจะวัดปริมาณน้ำฝนอะไรยังไงค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะคลิปนี้? ถ้าใครฟังแล้วรู้สึกว่า ชอบ อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันนะคะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ ก็จบไปกับอีกคลิปนึงที่สั้นๆ นะคะ แต่ว่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่หลายคนอยากรู้แหละ คือหลายคนอยากรู้ไหม? ไม่อยากรู้ แต่ว่า วิวเนี่ย อยากรู้นะคะ เพราะว่าช่วงนี้ก็นั่งมองฝนทุกวัน แล้วก็รู้สึกว่า เออ ฝนตกอีกแล้ว ตกเยอะ แล้วก็เคยได้ยินคำว่า ฝนตก 1 ห่า 2 ห่า 500 ห่ามาตั้งแต่เด็ก ก็เลยไปหาคำตอบนี้มาตอบตัวเองเนี่ยแหละค่ะ แล้วก็ไหนๆ หาคำตอบมาได้แล้ว ก็เลยเอามาทำเป็นคลิปวิดีโอให้ทุกคนได้ดูไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ หวังว่า จะชอบคลิปนี้กันนะคะทุกคน วันนี้ลาไปก่อนละกันค่ะ บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ