อินเทอร์เน็ต: ความปลอดภัยและอาชญากรรม ทางไซเบอร์ สวัสดีค่ะ ฉันเจนนี่ มาร์ติน ผู้จัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการสืบสวนที่ Symantic ปัจจุบัน อาชญากรรมทางไซเบอร์ก่อให้เกิด ปัญหาทางสังคม ส่วนตัว ทางการเงิน กระทั่งความมั่นคงของชาตินะคะ แค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการขโมย หมายเลขบัตรเครดิตหลายร้อยล้านใบ ประกันสังคมและบันทึกสาธารณสุข หลายสิบล้านเลขถูกโจมตี เครื่องหมุนเหวี่ยงนิวเคลียร์ยังถูกแฮ็ก โดรนที่ไม่มีคนบังคับหลายเครื่องก็ถูกปล้น ทั้งหมดนี้ทำได้โดยใช้ช่องโหว่ ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ค่ะ หรือมักอาศัยประโยชน์จากการตัดสินใจ ที่ไม่ตั้งใจของคนที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้น ๆ คนที่ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์แบบนี้ ไม่มีแรงจูงใจหรือลักษณะเฉพาะ อาจเป็นตั้งแต่ผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ ไปจนถึงเด็กวัยรุ่นที่แข่งกันอวดฝีมือ ปัจจุบัน ประเทศใหญ่ ๆ ไม่ได้มีเพียงกองทัพทั่วไป แต่ยังมีกองทัพไซเบอร์เก่ง ๆ อีกด้วย สงครามโลกครั้งต่อไป อาจไม่ใช้อาวุธทั่วไปมาสู้กันแล้ว อาจใช้คอมพิวเตอร์ตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดระบบขนส่งแทน สวัสดีค่ะ ฉันพาริสา องค์หญิงด้านความปลอดภัยของ Google ฉันใช้หลายวิธีทำงานกับผลิตภัณฑ์มากมาย เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์ของเราปลอดภัยที่สุด มาดูกันค่ะว่าอาญชากรรมไซเบอร์ ทำงานอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักไวรัสซอฟต์แวร์ การโจมตี โดยปฏิเสธการให้บริการ และฟิชชิงสแกม ทางชีววิทยา ไวรัสคือสิ่งมีชีวิต ที่แพร่พันธุ์ผ่านการไอ จาม และการสัมผัสทางร่างกาย ไวรัสทำให้เซลล์ติดเชื้อ จากการฉีดสารพันธุกรรม ก่อนใช้เซลล์นั้นในการแพร่พันธุ์ ทำให้คนป่วยมาก ๆ ก่อนแพร่เชื้อให้คนอื่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็คล้ายกัน ไวรัสคือโปรแกรมปฏิบัติการที่ถูกติดตั้ง โดยไม่ตั้งใจซะส่วนมาก และเป็นภัยต่อผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์ ไวรัสสามารถแพร่พันธุ์ ไปยังคอมพิวเตอร์อื่นได้ แล้วไวรัสมาอยู่ในคอมพิวเตอร์คุณ ตั้งแต่แรกได้ยังไง ผู้จู่โจมสามารถทำให้คอมพิวเตอร์คนอื่น ไฃติดไวรัสได้ค่ะ เช่นหลอกให้เหยื่อติดตั้งโปรแกรม ที่โกหกจุดประสงค์ของโปรแกรม เช่นไวรัสหลายตัว ปลอมตัวเป็นการอัปเดตความปลอดภัย หรือซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์คุณมีจุดอ่อน ไวรัสจึงมาติดตั้งตัวเองได้ โดยไม่ต้องให้คุณอนุญาต เมื่อคอมพิวเตอร์คุณติดไวรัส ไวรัสจะลบหรือขโมยไฟล์ของคุณได้หมด ควบคุมโปรแกรมอื่น หรือกระทั่งอนุญาตให้ คนอื่นควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณจากทางไกล ไวรัสคอมพิวเตอร์ช่วยให้แฮ็กเกอร์ ใช้คอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องได้ทั่วโลก ใช้เป็นกองทัพดิจิทัลที่เรียกว่าบ็อตเน็ต เพื่อจู่โจมเว็บไซต์ต่าง ๆ การจู่โจมนี้เรียกว่า จู่โจมแบบปฏิเสธบริการ (DDOS) DOS คือเมื่อแฮ็กเกอร์ทำให้เว็บไซต์ล่ม จากคำขอที่มากเกินไป แต่จะเรียก DDOS เมื่อการจู่โจม มาจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน เว็บไซต์ส่วนมากพร้อมตอบรับ หลายล้านคำขอต่อวัน แต่ถ้าส่งคำขอเป็นพันล้านหรือล้านล้าน จากแหล่งที่ต่างกัน คอมพิวเตอร์จะรับไม่ไหวและหยุดตอบรับไป อีกวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ทำ คือส่งสแปมอีเมลเยอะ ๆ เพื่อลวงให้คนแชร์ข้อมูลส่วนตัวค่ะ แบบนี้เรียกว่าฟิชชิง สแกม ฟิชชิงสแกมคือตอนเรา ได้รับอีเมลที่ดูน่าเชื่อถือ ขอให้เราล็อกอินบัญชี แต่พอคลิกไป กลับเป็นเว็บไซต์ปลอม ซึ่งถ้าคุณล็อกอิน เท่ากับว่าคุณบอกรหัสผ่านไปแล้ว แฮ็กเกอร์จึงสามารถใช้ข้อมูลล็อกอิน ในการล็อกอินบัญชีจริง เพื่อขโมยข้อมูลหรือขโมยเงินของคุณ โชคดีที่มีบริษัท กฎหมาย และหน่วยงานรัฐบาลมากมาย ที่ทำงานให้อินเทอรฺเน็ตปลอดภัยขึ้น แต่ความพยายามนี้ยังไม่พอ เวลาระบบคอมพิวเตอร์ถูกแฮ็ก คุณอาจคิดว่า ปัญหาคือการออกแบบความปลอดภัย หรือซอฟต์แวร์ แต่ 90% ของการถูกแฮ็ก ไม่ได้เกิดจากบั๊กความปลอดภัย แต่เกิดจากความผิดพลาดเดียวของมนุษย์ มีขั้นตอนที่เราใช้ป้องกันตัวได้นะคะ การกระทำของคุณไม่เพียงส่งผลต่อความปลอดภัย ของข้อมูลและคอมพิวเตอร์คุณเท่านั้น แต่เป็นความปลอดภัยของทุกคน ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือบ้านของคุณ ด้วยเดิมพันนับพันล้านหรือล้านล้านดอลลาร์ อาชญากรไซเบอร์ก็ฉลาดขึ้นทุกปี เราจึงต้องตามให้ทันค่ะ