WEBVTT 00:00:08.480 --> 00:00:11.420 สิ่งที่เจ๋งที่สุดที่ฉันค้นพบเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าคือ 00:00:11.780 --> 00:00:18.440 วงจรไฟฟ้าเหมือนเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะ ถ้าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ฉันสามารถจะแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาด้วยวงจรไฟฟ้า 00:00:20.300 --> 00:00:24.700 ดังนั้น ถ้าคุณมีไอเดียบางอย่าง คุณสามารถใช้เทคโนโลยีทำให้ไอเดียเหล่านั้นเป็นจริง 00:00:26.860 --> 00:00:32.340 ในความเป็นจริงแล้วข้อมูลทั้งหมดที่ใส่เข้าไป หรือนำออกมาจากคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลประเภทหนึ่ง 00:00:32.340 --> 00:00:37.240 ที่สามารถแทนค่าด้วยสัญญาณไฟฟ้าเปิดหรือปิด 00:00:37.240 --> 00:00:39.060 หรือ 1 และ 0 00:00:39.400 --> 00:00:46.360 เพื่อประมวลผลข้อมูลที่เข้ามา และทำให้ข้อมูลเป็นผลลัพท์แสดงออกไป 00:00:46.360 --> 00:00:49.920 คอมพิวเตอร์ต้องปรับแต่งและรวมสัญญาณที่เข้ามา 00:00:50.540 --> 00:00:58.520 คอมพิวเตอร์ทำสิ่งเหล่านี้ได้ โดยใช้ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาดเล็กๆ เป็นล้านๆ ส่วน มาประกอบกันเป็นวงจรไฟฟ้า 00:01:03.040 --> 00:01:08.460 ลองเข้าไปดูใกล้ๆ ว่าวงจรไฟฟ้าเหล่านี้สามารถปรับแต่งและประมวลข้อมูล ที่ถูกแทนค่าแล้วด้วยเลข 1 และ 0 00:01:09.460 --> 00:01:12.280 มันเป็นวงจรที่ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ 00:01:12.280 --> 00:01:15.820 มันรับสัญญาณไฟฟ้า เปิด หรือ ปิด เข้าไป แล้วก็ทำให้ค่าเป็นตรงข้าม 00:01:15.820 --> 00:01:20.580 ดังนั้นถ้าคุณให้สัญญาณ 1 เข้าไป, วงจรจะให้ 0 กลับมา 00:01:20.580 --> 00:01:23.620 และถ้าคุณให้สัญญาณ 0 เข้าไปในวงจร, มันจะให้ 1 ออกมา 00:01:23.630 --> 00:01:29.680 สัญญาณที่เข้าไป "ไม่" เหมือนสัญญาณที่ออกมา เราเรียกมันว่า วงจร "ไม่" (NOT) 00:01:30.040 --> 00:01:36.580 วงจรที่ซับซ้อนขึ้นอีก สามารถที่จะรับสัญญาณหลายๆ สัญญาณ แล้วรวมมันเข้าด้วยกัน แล้วให้ผลลัพท์ที่ต่างออกไป 00:01:36.580 --> 00:01:43.480 ในตัวอย่างนี้ วงจรจะรับสัญญาณไฟฟ้าเข้าไป 2 อัน และแต่ละอัน อาจจะเป็น 1 หรือ 0 00:01:43.880 --> 00:01:49.580 หากสัญญาณอันใดอันนึงที่เข้ามาเป็น 0 สัญญาณที่ออกมาจะเป็น 0 00:01:49.580 --> 00:01:52.720 วงจรนี้จะให้ผลลัพท์เป็น 1 ก็ต่อเมื่อ.. 00:01:52.780 --> 00:02:00.760 สัญญาณแรก "และ" สัญญาณที่สองเป็น 1 ทั้งคู่, เราเลยเรียกว่า วงจร "และ" (AND) 00:02:01.220 --> 00:02:06.600 มันมีวงจรเล็กๆแบบนี้มากมายที่ทำหน้าที่คำนวณทางตรรกะอย่างง่าย 00:02:06.600 --> 00:02:13.400 ด้วยการเชื่อมโยงวงจรเหล่านี้เข้าด้วยกัน เราจะได้วงจรที่ซับซ้อนขึ้น และสามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนขึ้น 00:02:13.940 --> 00:02:19.760 ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำวงจรที่บวก 2 บิท เข้าด้วยกัน เรียกมันว่า ตัวบวก (adder) 00:02:19.840 --> 00:02:27.040 วงจรนี้รับ 2 ค่าของบิทเข้าไป แต่ละอันอาจจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ได้ แล้วบวกมันเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลรวม 00:02:27.350 --> 00:02:29.829 ผลรวมสามารถเป็นไปได้ทั้ง 0 บวก 0 ได้เท่ากับ 0 00:02:30.340 --> 00:02:34.340 0 บวก 1 ได้เท่ากับ 1 หรือ 1 บวก 1 ได้เท่ากับ 2 00:02:34.360 --> 00:02:39.440 คุณต้องการสายไฟ 2 เส้นเพื่อแสดงผลรวมที่เป็นเลข 2 หลัก 00:02:40.060 --> 00:02:44.500 เมื่อคุณมีตัวบวกสำหรับหาผลรวมข้อมูล 2 บิท 00:02:44.500 --> 00:02:50.340 คุณก็สามารถเอาวงจรตัวบวกหลายๆตัวต่อเข้าด้วยกัน เพื่อไว้หาผลรวมของเลขที่มากกว่านี้ 00:02:51.170 --> 00:02:56.229 ยกตัวอย่างเช่น นี่คือ การทำงานของ ตัวบวก 8 บิท ในการ บวกเลข 25 และ 50 00:02:57.260 --> 00:03:03.730 ตัวเลขแต่ละตัวถูกแทนค่าด้วย ตัวเลข 8 บิท ซึ่งทำให้มี สัญญาณไฟฟ้า 16 บิท (16 เส้น) ที่วิ่งเข้าไปในวงจร 00:03:04.920 --> 00:03:10.760 วงจรตัวบวก 8 บิท มีวงจรบวกเล็กๆ ข้างในที่ทำงานร่วมกันเพื่อหาผลรวม 00:03:12.500 --> 00:03:17.340 ยังมีวงจรอื่นๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป สามารถทำหน้าที่ในการคำนวณพื้นฐานอื่นๆ เช่นการลบ หรือการคูณ 00:03:17.340 --> 00:03:24.720 จริงๆแล้ว ตัวประมวลผลทั้งหลายในคอมพิวเตอร์ของคุณ แค่ประกอบขึ้นจากการทำงานง่ายๆ เล็กๆ แบบนี้จำนวนมาก มาทำงานร่วมกัน 00:03:24.720 --> 00:03:30.520 คำสั่งแต่ละคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ทำ เป็นสิ่งที่ง่ายมาก ๆ มนุษย์ก็สามารถทำได้ 00:03:30.520 --> 00:03:34.100 แต่วงจรที่อยู่ในคอมพิวเตอร์พวกนี้ทำงานได้เร็วกว่ามากๆ 00:03:34.820 --> 00:03:38.660 สมัยก่อน วงจรเหล่านี้มันใหญ่เทอะทะและทำงานช้าอืดอาดมาก 00:03:38.660 --> 00:03:44.780 และตัวบวก 8 บิท อาจจะใหญ่เท่าๆ กับตู้เย็นและมันอาจจะใช้เวลาหลายนาที สำหรับการคำนวณอย่างง่าย 00:03:45.100 --> 00:03:50.060 ทุกวันนี้ วงจรคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กมากแบบต้องส่องกล้องจุลทรรศน์ดู และทำงานเร็วกว่ามากๆ 00:03:50.580 --> 00:03:53.200 ทำไมคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงกลับทำงานเร็วขึ้น 00:03:53.200 --> 00:03:58.140 นั่นก็เพราะว่าวงจรที่เล็กลงนั้นทำให้ระยะทางในการส่งสัญญาณนั้นสั้นลง 00:03:58.360 --> 00:04:04.340 สัญญาณไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ไวพอๆ กับความเร็วของแสง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่วงจรสมัยใหม่สามารถทำการคำนวณพันๆล้านครั้งใน 1 วินาที 00:04:05.320 --> 00:04:10.720 นั่นทำให้ไม่ว่าคุณจะเล่นเกม, อัดวิดีโอ, หรือ สำรวจจักรวาล 00:04:11.860 --> 00:04:18.019 ทุก ๆ อย่างที่คุณสามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีต้องอาศัย การประมวลผลขข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็ว 00:04:18.860 --> 00:04:24.900 ภายใต้การคำนวณที่ซับซ้อนเหล่านี้ ก็แค่วงจรเล็กๆๆๆ จำนวนมากที่แปลงสัญญาณไฟฟ้า 00:04:24.900 --> 00:04:27.720 ให้เป็นเว็บไซต์, วิดีโอ, เพลง, และเกม 00:04:27.720 --> 00:04:31.960 วงจรพวกนี้ยังช่วยให้เราถอดรหัสพันธุกรรม (DNA) เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค 00:04:31.960 --> 00:04:34.920 แล้วคุณหล่ะ อยากจะทำอะไรกับพวกวงจรเหล่านี้