คุณเคยลองนึกภาพโลกในอุดมคติไหม โลกที่ไม่มีสงคราม ความหิวโหย หรืออาชญากรรม ถ้าเคย คุณก็ไม่ได้คิดเพียงคนเดียว เพลโต จินตนาการถึงรัฐที่รุ่งเรืองทางปัญญา ปกครองโดยราชานักปราชญ์ ศาสนามากมายให้คำมั่นเกี่ยวกับ ชีวิตที่ดีหลังความตาย ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หลายกลุ่มชนพยายามสร้างสวรรค์บนดิน หนังสือของโธมัส มอร์ ค.ศ.1516 ชื่อยูโธเปีย ให้แนวคิดเรื่องนี้ ยูโทเปีย ภาษากรีก คือ "ไม่มีที่ไหนเหมือน" ถึงแม้ว่าชื่อจะบอกเล่าถึงความเป็นไปไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และนักการเมืองหัวก้าวหน้า ก็ยังหวังที่จะทำให้ความฝันเหล่านั้น กลายมาเป็นความจริง แค่ความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า จบลงด้วยการกลายเป็นฝันร้าย นำมาซึ่งสงคราม ความอดอยาก และการกดขี่ การตั้งคำถามของศิลปิน ต่อแนวคิดยูโทเปีย นำมาซึ่งงานเขียนแบบดิสโทเปีย สถานที่ไม่น่าพึงปรารถนา งานเขียนแบบดิสโทเปียชิ้นแรก ๆ คือการเดินทางของกัลลิเวอร์ โดย โจนาธาน สวิฟต์ ตลอดการเดินทาง กัลลิเวอร์ ได้พบกับสังคมในจินตนาการ บางแห่งก็ดูน่าประทับใจในตอนแรก แต่กลับกลายเป็นสังคมที่มีข้อบกพร่องมากมาย บนเกาะลอยฟ้า ลาพุลต้า นักวิทยาศาสตร์และนักวางแผนสังคม พยายามวางแผนใหญ่โต แต่ก็ไร้ผล เพราะพวกเขาละเลยต่อความต้องการพื้นฐาน ของคนในสังคมด้านล่าง ส่วนชาว ฮูนืนีม ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างราบรื่อนในสังคมแห่งการใช้เหตุผล ก็ไม่สามารถอดทนต่อความบกพร่องต่าง ๆ ของมนุษย์ธรรมดาได้ จากนวนิยายเรื่องนี้ สวิฟต์ ได้วางแบบพิมพ์เขียวของนวนิยายดิสโธเปีย ให้เป็นโลกที่ซึ่งนำเอาแนวคิด ในสังคมร่วมสมัย มาขยายให้ถึงขีดสุด เพื่อเปิดเผยให้เห็นข้อบกพร่องที่อยู่ภายใน และในอีกไม่กี่ศตวรรณข้างหน้า ก็จะยิ่งเต็มไปด้วยวัตถุดิบสำหรับการเขียน เทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ให้คำสัญญา ว่าจะปลดปล่อยแรงงานให้เป็นอิสระ กลับกักขังพวกเขาให้อยู่ในโรงงาน และสลัม ในขณะที่เจ้าของกิจการร่ำรวยยิ่งกว่าพระราชา ในช่วงปลายปีค.ศ.1800 หลายคนกลัวว่า สถานการณ์นี้อาจจะนำไปสู่อนาคตแบบไหน ผลงานเรื่อง "The Time Machine" (จักรกลเวลา) ของ เฮช จี เวลล์ จินตนาการถึงโลกชนชั้นสูง และชนชั้นแรงงาน วิวัฒนาการไปเป็นมนุษย์คนละสายพันธุ์ ในขณะที่เรื่อง "The Iron Heel" (ท็อปบู๊ตทมิฬ) ของแจ็ค ลอนดอน เสนอภาพการกุมอำนาจของกลุ่มทรราช ที่ปกครองคนยากจนส่วนใหญ่ ศตวรรษใหม่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น และน่าหวาดหวั่น ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ก้าวข้าม ขีดจำกัดด้านชีวพันธุกรรม ในขณะที่การโทรคมนาคม ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันได้ในทันที ระหว่างผู้ปกครองและประชาชน ในนวนิยายเรื่อง "Brave New World" (โลกที่เราเชื่อ) ของ อัลดัส ฮักซ์เลย์ ประชากรถูกออกแบบพันธุกรรม และกำหนดสถานะ เพื่อให้แต่ละคนทำตาม บทบาททางสังคมของตนเอง ในขณะที่รัฐใช้การโฆษณาชวนเชื่อ กับยาเสพติด ทำให้สังคมมีความสุข เห็นได้ชัดว่า ลักษณะสำคัญของความเป็นมนุษย์ สูญหายไปจากสังคมนี้ แต่เรื่องดิสโทเปียที่เรารู้จักกันดี ไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ ขณะที่ยุโรปประสบกับสงครามอุตสาหกรรม ที่ไม่เคยประสบมาก่อน การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ ได้เข้ามามีอำนาจ บ้างก็ให้คำสัญญาว่า จะลบล้างความแตกต่าง ระหว่างชนชั้นทางสังคม ในขณะที่บางแนวคิดก็พยายามหล่อหลอมประชาชน ด้วยมรดกภูมิปัญญา ผลลัพธ์คือโลกในความเป็นจริง ที่ประสบกับภาวะดิสโทเปีย ภาวะที่ชีวิตอยู่ภายใต้สายตาจับผิดของรัฐ และโทษประหารคือผลลัพท์ ของการไม่เข้าพวก นักเขียนหลายคนในยุคนี้ ไม่เพียงสังเกตเห็นความน่ากลัวเหล่านั้น แต่พวกเขาใช้ชีวิตในช่วงเวลาเช่นนั้น หนังสือนวนิยายโซเวียตเรื่อง "We" (พวกเรา) ของ เยฟกีนี่ แซมยาติน ได้อธิบายถึงอนาคต ที่ซึ่งเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเอง จะถูกกำจัดทิ้งไป หนังสือเล่มนี้ห้ามเผยแพร่ในโซเวียต และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเขียนจอรจ์ ออร์เวล ผู้ซึ่งอยู่แนวหน้าในการต่อสู้กับแนวคิด แบบ ฟาสต์ซิส และ คอมมิวนิสต์ นิยายของเขาเรื่อง "Animal Farm" (ฟาร์มสัตว์) จงใจล้อเลียนการปกครองของโซเวียต ผลงานอมตะ "1984" วิพากย์วิจารณ์ภาพรวม ของการรวบอำนาจ ควบคุมสื่อมวลชน และการใช้ภาษา และในสหรัฐอเมริกา นวนิยายของซินแคลร์ ลูอิส เรื่อง "It Can't Happen Here" (มันไม่ควรเกิดขึ้นที่นี่) วาดภาพให้เห็นว่าแนวคิดแบบประชาธิปไตย เปลี่ยนเป็นฟาสต์ซิสได้ง่ายดายเพียงใด ในช่วงหลายสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักเขียนจินตนาการว่า เทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น พลังงานนิวเคลียร์ ปัญญาประดิษฐ์ และการเดินทางไปในอวกาศ จะมีความหมายอย่างไรต่ออนาคตของมนุษยชาติ ซึ่งความคิดแบบนี้ขัดแย้งยิ่งกับจินตนาการ เรื่องความก้าวหน้าที่สวยงาม ซึ่งมักปรากฏในสื่อทั่วไป นวนิยายวิทยาศาสตร์แนวดิสโทเปีย กลายเป็นภาพยนตร์ การ์ตูน และเกมส์ หุ่นยนต์ที่ต่อต้านผู้สร้าง ในขณะที่ทีวีถ่ายทอดรายการบันเทิงที่มีคนฆ่ากัน เพื่อเอาใจคนส่วนใหญ่ของสังคม คนงานทำงานหนักในอาณานิคมในอวกาศ นอกโลกที่ทรัพยากรกำลังจะหมดไป โลกที่มีประชากรมากเกินไป เมืองที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม และถึงสังคมจะเป็นเช่นนั้น เรื่องการเมืองก็ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราเลย เพราะผลงานเรื่อง " Dr. Strangelove" และ "Watchmen" เปิดเผยความน่ากลัวของระเบิดปรมาณู ขณะที่เรื่อง "V for Vendetta" และ "The Handmaid's Tale" เตือนให้ทราบว่าสิทธิของเรา หมดสิ้นไปได้ง่ายดายในเวลาคับขัน ผลงานนวนิยายแนวดิสโทเปียในทุกวันนี้ สะท้อนความกังวลสังคมยุคใหม่ เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน ภาวะโลกร้อน อำนาจของรัฐบาล และโรคระบาดระดับโลก แล้วทำไมเราต้องสนใจวิธีคิด ที่มองโลกในแง่ร้ายทั้งหมดนี้ เพราะว่า แก่นแท้ของดิสโทเปีย คือเรื่องเล่าที่เตือนให้เราระมัดระวัง ถึงจะไม่เกี่ยวกับรัฐบาลหรือเทคโนโลยีใด อย่างเฉพาะเจาะจง แต่แนวคิดที่ว่ามนุษย์สามารถถูกหล่อหลอม ให้เป็นไปตามอุดมคติได้ ก็ควรทำให้เราฉุกคิด ลองคิดดูว่า ในสังคมที่สมบูรณ์แบบ ที่คุณจินตนาการไว้นั้น คุณได้จินตนาการด้วยไหมว่า จะต้องแลกด้วยอะไร จึงจะประสบความสำเร็จ คุณจะทำให้ผู้คนร่วมมือกันได้อย่างไร และคุณจะทำให้มันยั่งยืนได้อย่างไร ลองมองดูอีกครั้งว่า โลกในจินตนาการนั้นยังดูสมบูรณ์แบบอยู่จริงหรือ