ในวินาทีแห่งวิสัยทัศน์ มันเป็นช่วงยุค 1940 ช่วงสูงสุดของ สงครามโลกครั้งที่สอง ที่โรเชสเตอร์ นิวยอร์ค นักเคมีนามว่า แฮรี่ คูเวอร์ ทำงานวิจัยให้กับอีสแมนโกดัก เขาและกลุ่มของเขากำลังมองหา พลาสติกใส เพื่อผลิตช่องเล็งปืนที่แม่นยำ สำหรับการทหาร พวกเขาเริ่มวิจัยกลุ่มของสารเคมี ที่เรียกว่า ไซยาโนอะไครเลต แต่กลับพบสิ่งที่กวนใจพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือมันเป็นสารเคมี ที่ติดกับทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างถาวร สารไซยาโนอะไครเลตนั้นจึงละทิ้งไป หลังสงคราม ขณะที่คูเวอร์ทำงานอยู่ที่ โรงงานเคมีของโกดัก ในเทนเนสซี ครั้งนี้ เขาและกลุ่มของเขาทำวิจัย ศึกษาโพลิเมอร์ที่ทนความร้อน สำหรับส่วนบนของเครื่องบินเจ็ท พวกเขาลองใช้ไซยาโนอะไครเลต แต่กลับพบสิ่งที่ทำให้พวกเขาหงุดหงิดกันมาก สารเคมีตัวนั้น ติดกับทุกสิ่งทุกอย่างอย่างถาวร อีกครั้ง ที่ไซยาโนอะไครเลต ถูกละทิ้ง อย่างไรก็ดี ในวินาทีแห่งวิสัยทัศน์ คูเวอร์ตระหนักว่าคุณสมบัติ ที่แสนจะทำให้น่าหงุดหงิดของสารเคมีเหล่านี้ อันที่จริงแล้วคือสิ่งที่ทำให้พวกมันมีค่า เขาจดสิทธิบัตร และเริ่มขายกาวสุดแกร่ง หลายปีต่อมา ในช่วงสงครามเวียดนาม แพทย์สนามพบประโยชน์ ของการใช้กาวสุดแกร่งนี้ในการปิดแผล ซึ่งห้ามเลือดได้ในทันที และช่วยชีวิตคนเอาไว้ได้มากมาย ทุกวันนี้ กาวสุดแกร่งที่ใช้ทางการแพทย์ ก็ยังคงถูกใช้อยู่ในการผ่าตัด แต่มันยังเป็นของใช้ประจำบ้าน ที่แทบจะขาดไม่ได้อีกด้วย