สำหรับบางคนนี่เป็นกีฬาที่จริงจัง บ้างก็ว่าเป็นการผ่อนคลาย แม้จะเป็นการละเล่นทั่ว ๆ ไป ที่ทั้งสนุกและโต้แดด การโต้คลื่นมีประวัติความเป็นมา ที่ซับซ้อนและลึกซึ้งกว่าที่ใครหลายคนคิด การโต้คลื่นในทุกวันนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก แถบเกาะโพลินีเชีย ในมหาสมุทรแปซิฟิก เรารู้ได้จากหลายเรื่องราว ว่ามีการโต้คลื่น ทั่วทั้งแถบโพลินีเซียแปซิฟิก รวมถึงในแอฟริกาตะวันตกและเปรู แต่ในหมู่เกาะฮาวายเป็นที่เฉพาะ ซึ่งการโต้คลื่นก้าวไกลที่สุด มีการบันทึกเป็นอักษรไว้อย่างดี และไม่มีที่ไหนเหมือนกับโพลินีเชีย อย่างแน่นอน และสำหรับชาวฮาวายแล้ว การโต้คลื่นไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรม เพื่อการผ่อนคลาย แต่มีความสำคัญในด้านความเชื่อและสังคม เช่นเดียวกับสังคมส่วนใหญ่ในฮาวาย การโต้คลื่นในเกือบทุกรูปแบบ ต่างก็มีกฎและข้อห้ามที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเรียกว่า คาปู (kapu) ชาวฮาวายจะทำเครื่องบูชา โดยแกะสลักต้นไม้ สวดอธิษฐานให้แก่คลื่นลมผ่านคาฮูนา (kahuna) ซึ่งคือนักบวชผู้เชี่ยวชาญ และขอบคุณหลังรอดพ้นจากภยันตราย การโต้คลื่นสงวนไว้สำหรับเฉพาะชนชั้นสูง แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องชนชั้นเท่านั้น นักโต้คลื่นที่ชนะการเดิมพัน ที่ต้องโต้ไปได้ไกลที่สุด เร็วที่สุด หรือโต้คลื่นใหญ่ที่สุด ด้วยทักษะที่เหนือกว่า จะได้รับการเทิดทูน ได้สถานะทางสังคม และได้รับความสำเร็จที่หอมหวาน ถึงแม้ต่อมาจะถือว่าเป็นกีฬาของราชา ชาวฮาวายทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้นก็ยังคงเล่น โต้ไปบนแผ่นกระดานที่สร้างจากไม้สัก ต้นสาเก หรือต้นวิลลีวิลลี ชาวฮาวายหลายคนใช้กระดานอะไลอะ (alaia) ซึ่งบาง มีขนาดกลาง และบางส่วนคล้ายกระดานทุกวันนี้ บางคนใช้กระดานไพโพ (paipo) เป็นกระดานที่สั้นและหัวมน ซึ่งผู้เล่นส่วนใหญ่ มักนอนลงไปให้ท้องแนบกับกระดาน แต่เฉพาะหัวหน้าเผ่าเท่านั้นที่จะได้ ใช้กระดานโอโล่ (olo) ขนาดใหญ่ ซึ่งยาวกว่าลองบอร์ดในทุกวันนี้ถึงสองเท่า ไม่เหมือนกับกระดานโต้คลื่นสมัยใหม่ กระดานทั้งหมดนั้นไม่มีครีบ ผู้เล่นต้องใช้มือเเละเท้าเพื่อหมุนตัว เราไม่ทราบแน่ชัดว่า การโต้คลื่นนี้ถูกคิดขึ้นเมื่อใด แต่เรารู้ว่ามีการละเล่นเช่นนี้ ในโพลินีเซียมาหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งมีการอธิบายไว้ในปี ค.ศ. 1777 โดยวิลเลียม แอนเดอร์สัน ศัลยแพทย์บนเรือ ของกัปตันคุก "เรโซลูชัน" ถึงอย่างนั้น แอนเดอร์สันเอง ก็หวั่นใจอยู่ไม่น้อย เพราะส่วนมากมิชชันนารีคริสเตียนชาวอเมริกัน ที่มาถึงฮาวาย ในหลายทศวรรษต่อมา มองว่าการเล่นโต้คลื่นเป็นสิ่งชั่วร้าย และกีดกันการโต้คลื่น รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุด ของการโต้คลื่น คือภัยต่อตัวชาวพื้นเมืองเอง ในปี ค.ศ. 1890 เกิดโรคระบาดใหม่ มาจากชาวยุโรปและอเมริกัน ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวฮาวาย ซึ่งทำให้เหลือรอดชีวิตไม่ถึง 40,000 คน จากช่วงก่อนเกิดโรค ที่อาจมีคนถึง 800,000 คน ขณะเดียวกันอิทธิพลจากต่างชาติ ก็เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคนผิวขาวยังล้มล้างระบบการปกครอง ของชาวเมืองในปี ค.ศ. 1893 และการที่สหรัฐอเมริกา รวมเกาะต่าง ๆ เป็นของตนใน 5 ปีต่อมา จุดจบอิสรภาพของชาวฮาวายเกิดขึ้นพร้อมกับ การฟื้นตัวการเล่นโต้คลื่นของชาวพื้นเมือง ไม่นานชาวอเมริกันก็เริ่มหาผลประโยชน์ หลังจากการรื้อฟื้นการละเล่นนี้ แต่เริ่มแรกชาวฮาวายบางคน ใช้การโต้คลื่นเดินทางข้ามประเทศ ในปี ค.ศ. 1907 จอร์จ ฟรีท ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นชาวฮาวายมหัศจรรย์ เดินทางไปชายฝั่งตะวันตก และสาธิตการโต้คลื่น ในตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย ต่อมาปี ค.ศ. 1914 นักว่ายน้ำโอลิมปิก ดุก คาฮานาโมกุ เดินทางไปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โต้คลื่นไปเรื่อย ๆ ข้ามแปซิฟิกตอนใต้ และเป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น ในทุก ๆ ที่ที่เขาไป ไม่นานก่อนที่ฟรีทจะไปแคลิฟอร์เนีย ชาวแคลิฟอร์เนียใต้ชื่อ อะเล็กซานเดอร์ ฮูม ฟอร์ด ได้ย้ายไปฮาวาย หลังจากเรียนการโต้คลื่น เขากลายเป็นแชมป์ในเวลานั้น แต่ฟอร์ดอาจมีเหตุผลที่ไม่ดีนัก ในความพยายามที่แรงกล้า ที่จะปลุกกระแสกีฬานี้ เช่นเดียวกับคนอื่นที่อาศัยอยู่ที่นี่ เขาต้องการให้ฮาวายกลายเป็นรัฐของสหรัฐ แต่ก็กังวลว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ที่นี่ ไม่ใช่คนขาวเเละเป็นคนงานชาวเอเชีย ดังนั้นฟอร์ดจึงสนับสนุนการโต้คลื่น เพื่อดึงดูดให้ชาวอเมริกันมาฮาวาย แรก ๆ เป็นนักท่องเที่ยว ต่อมาเป็นคนอยู่อาศัย มีนักเขียนและคนทำหนังมากมาย คอยช่วยเหลือเขา แผนประชากรของฟอร์ดล้มเหลวอย่างน่าอนาถ ฮาวายกลายเป็นรัฐในปี ค.ศ. 1959 และคงความเป็นรัฐที่มีความหลากหลาย มากที่สุดในประเทศ แต่กระเเสการเล่นโต้คลื่น ประสบความสำเร็จยิ่งกว่า ทุกวันนี้การเล่นโต้คลื่นเป็นอุตสาหกรรม ที่ทั่วโลกทำเงินได้กว่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทั้งยังมีผู้เล่นมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก และแม้จะมีไม่กี่คนที่ตระหนักถึง การสวดอธิษฐานต่อคลื่นที่เคยมีความสำคัญ หรือพิธีการแกะสลักกระดานโต้คลื่น ชาวฮาวายยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ ซึ่งเกือบจะเลือนหายไปกับคลื่นกระแสในอดีต