WEBVTT 00:00:18.708 --> 00:00:20.792 เมื่อต้นปี ค.ศ. 1905 00:00:20.792 --> 00:00:27.370 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวัยใกล้จะครบ 26 ปี ถูกมองว่าเป็นนักวิชาการตกอับ 00:00:27.370 --> 00:00:30.486 นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ในเวลานั้น คงหัวเราะเยาะถ้ามีใครบอกว่า 00:00:30.486 --> 00:00:35.015 ข้าราชการชั้นผู้น้อยคนนี้อาจทำประโยชน์ อย่างใหญ่หลวงให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ 00:00:35.015 --> 00:00:36.809 กระนั้น ในปีต่อมา 00:00:36.809 --> 00:00:38.933 ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงาน ไม่เพียงแค่ หนึ่ง 00:00:38.933 --> 00:00:40.251 ไม่ใช่ สอง 00:00:40.251 --> 00:00:41.420 ไม่ใช่ สาม 00:00:41.420 --> 00:00:45.577 แต่เป็นผลงานถึงสี่เรื่องที่ยอดเยี่ยม ในหัวข้อที่แตกต่างกันไป 00:00:45.577 --> 00:00:51.159 ที่จะพลิกโฉมความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเอกภพ NOTE Paragraph 00:00:51.159 --> 00:00:54.740 เรื่องเล่าที่ว่าไอน์สไตน์ตกเลขนั้น เป็นแค่ข่าวลือ 00:00:54.740 --> 00:00:58.097 เขาศึกษาแคลคูลัส (Calculus) ด้วยตนเอง จนเชี่ยวชาญ เมื่ออายุ 15 ปี 00:00:58.097 --> 00:01:00.672 และมีผลการเรียนดี ทั้งที่โรงเรียนมัธยมในมิวนิค 00:01:00.672 --> 00:01:02.881 และที่สถาบันเทคโนโลยีสวิสเซอร์แลนด์ 00:01:02.881 --> 00:01:06.309 ที่ซึ่งเขาได้ศึกษาเพื่อเป็น อาจารย์สาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ 00:01:06.309 --> 00:01:09.247 แต่เนื่องจากไม่ค่อยได้เข้าชั้นเรียน เพราะไปหมกตัวอยู่ในห้องทดลอง 00:01:09.247 --> 00:01:12.232 แถมยังไม่เคารพเชื่อฟังอาจารย์ของเขา 00:01:12.232 --> 00:01:15.643 ทำให้เส้นทางการเป็นอาจารย์ของเขา ไม่เป็นอย่างที่หวัง 00:01:15.643 --> 00:01:18.034 ถูกปฏิเสธแม้กระทั่ง ตำแหน่งผู้ช่วยในห้องแลป 00:01:18.034 --> 00:01:21.520 เขาจึงต้องไปทำงาน ที่สำนักงานสิทธิบัตรในสวิตเซอร์แลนด์ 00:01:21.520 --> 00:01:24.539 ด้วยความช่วยเหลือจาก เพื่อนของพ่อ NOTE Paragraph 00:01:24.539 --> 00:01:26.592 ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ในตำแหน่ง พนักงานตรวจสอบสิทธิบัตร 00:01:26.592 --> 00:01:29.832 เขายังคงแบ่งเวลาส่วนหนึ่งให้กับฟิสิกส์ 00:01:29.832 --> 00:01:33.074 อภิปรายถึงงานวิจัยใหม่ๆ ร่วมกับเพื่อนสนิทกลุ่มเล็กๆ 00:01:33.074 --> 00:01:35.638 และได้ตีพิมพ์ผลงานเล็กๆ 2-3 เรื่อง 00:01:35.638 --> 00:01:37.149 และแล้วเป็นที่น่าประหลาดใจ 00:01:37.149 --> 00:01:42.737 ที่ในเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1905 เขาก็ได้ตีพิมพ์ผลงาน เสนอทฤษฎีที่น่าตกตะลึง 00:01:42.737 --> 00:01:45.469 แม้จะมีหลักฐานยึนยันว่าแสงเป็นคลื่น มาหลายทศวรรษแล้ว 00:01:45.469 --> 00:01:49.132 ไอน์สไตน์กลับเสนอว่า แสงอาจเป็นอนุภาค 00:01:49.132 --> 00:01:53.049 โดยแสดงว่าปรากฎการณ์ที่ยังไม่มีคำอธิบาย เช่น ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก 00:01:53.049 --> 00:01:56.097 สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของเขา 00:01:56.097 --> 00:01:58.341 แนวคิดของเขาเป็นเรื่องน่าหัวร่อไปอีกหลายปี 00:01:58.341 --> 00:02:01.997 แต่ไอน์สไตน์ก็แค่ล้ำหน้ากว่าคนอื่นๆ ไปยี่สิบปี 00:02:01.997 --> 00:02:07.811 ทวิภาคของคลื่นและอนุภาคได้กลายเป็นหลักสำคัญ ของศาสตร์แขนงใหม่เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม NOTE Paragraph 00:02:07.811 --> 00:02:11.051 สองเดือนต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นที่ 2 00:02:11.051 --> 00:02:16.528 บทความนี้เกี่ยวกับคำถามเก่าแก่ที่ว่า อะตอมมีจริงหรือไม่ 00:02:16.528 --> 00:02:19.866 แม้ว่าหลายทฤษฎีจะถูกสร้างขึ้นโดยอาศัย แนวคิดที่ว่ามีอะตอมที่มองไม่เห็นอยู่ 00:02:19.866 --> 00:02:24.393 นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังบางคนยังคงเชื่อว่า มันเป็นสิ่งที่จินตนาการขึ้นมา 00:02:24.393 --> 00:02:26.901 มากกว่าจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนอยู่จริงๆ 00:02:26.901 --> 00:02:29.028 แต่ไอน์สไตน์ได้ใช้ข้อพิสูจน์อันหลักแหลม 00:02:29.028 --> 00:02:31.270 แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของอนุภาคขนาดเล็ก 00:02:31.270 --> 00:02:35.372 ที่เคลื่อนที่ในของเหลวอย่างไม่เป็นระเบียบ ที่เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน 00:02:35.372 --> 00:02:37.085 นั้นสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ 00:02:37.085 --> 00:02:40.424 โดยเกิดจากการชนกันของอะตอม ที่มองไม่เห็นนับไม่ถ้วน 00:02:40.424 --> 00:02:43.331 การทดลองในภายหลังได้พิสูจน์ยืนยัน แบบจำลองของไอน์สไตน์ 00:02:43.331 --> 00:02:47.009 และข้อกังขาเกี่ยวกับการมีอยู่ของอะตอม ก็สิ้นสุดลง NOTE Paragraph 00:02:47.009 --> 00:02:49.942 ผลงานชิ้นที่สามออกมาในเดือนมิถุนายน 00:02:49.942 --> 00:02:51.012 นานมาแล้ว 00:02:51.012 --> 00:02:53.461 ที่ไอน์สไตน์มีปัญหาเรื่อง ความไม่สอดคล้องกัน 00:02:53.461 --> 00:02:56.299 ของหลักฟิสิกส์พื้นฐานสองเรื่อง 00:02:56.299 --> 00:02:58.637 หนึ่งคือ หลักสัมพันธภาพ (Principle of relativity) 00:02:58.637 --> 00:03:00.655 ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมา ตั้งแต่ยุคกาลิเลโอ 00:03:00.655 --> 00:03:04.178 ที่กล่าวว่า การเคลื่อนที่สัมบูรณ์ ไม่สามารถนิยามได้ 00:03:04.178 --> 00:03:07.357 และแต่ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน 00:03:07.357 --> 00:03:10.181 กลับยืนยันว่า การเคลื่อนที่สัมบูรณ์มีอยู่จริง 00:03:10.181 --> 00:03:13.322 ความขัดแย้งที่ว่านี้ และการที่เขาไม่สามารถที่จะไขความกระจ่าง 00:03:13.322 --> 00:03:17.635 ทำให้ไอน์สไตน์ตกอยู่ในภาวะที่เขาเรียกว่า ภาวะความตึงเครียดทางจิตใจ 00:03:17.635 --> 00:03:18.715 แต่วันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม 00:03:18.715 --> 00:03:21.838 หลังจากที่เขาขบคิดถึงปัญหานี้ กับเพื่อนชื่อ มิเชล เบส์โซ 00:03:21.838 --> 00:03:24.016 เมฆหมอกบังตาก็หายไป 00:03:24.016 --> 00:03:26.871 ไอน์สไตน์ตระหนักว่า ความขัดแย้งกันนี้สามารถจัดการได้ 00:03:26.871 --> 00:03:29.861 ถ้าความเร็วแสงนั้นคงที่ตลอดเวลา 00:03:29.861 --> 00:03:32.110 ไม่ว่าจะอยู่ในกรอบอ้างอิงใด 00:03:32.110 --> 00:03:36.381 ขณะที่เวลาและพื้นที่นั้นสัมพัทธ์กับผู้สังเกต 00:03:36.381 --> 00:03:39.434 ไอน์สไตน์ใช้เวลาเพียงไม่กีสัปดาห์จากนั้น แต่งเติมรายละเอียด 00:03:39.434 --> 00:03:43.614 และคิดค้นสิ่งที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special relativity) 00:03:43.614 --> 00:03:46.821 ทฤษฎีนี้ไม่เพียงเปลี่ยนความเข้าใจของเรา ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความเป็นจริง 00:03:46.821 --> 00:03:49.189 แต่ยังนำไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 00:03:49.189 --> 00:03:51.186 ตั้งแต่เครื่องเร่งอนุภาค 00:03:51.186 --> 00:03:53.752 ไปจนถึง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global positioning system) NOTE Paragraph 00:03:53.752 --> 00:03:55.587 บางคนอาจคิดว่าผลงานเท่านี้น่าจะเพียงพอแล้ว 00:03:55.587 --> 00:03:56.593 แต่ในเดือนกันยายน 00:03:56.593 --> 00:04:02.071 งานตีพิมพ์ชิ้นที่ 4 ได้ออกมา ในฐานะภาคต่อของทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ 00:04:02.071 --> 00:04:04.931 ไอน์สไตน์ได้คิดต่อยอดจากทฤษฎีของเขา 00:04:04.931 --> 00:04:08.694 และได้ตระหนักว่า มันยังบ่งบอกถึงสสารและพลังงาน 00:04:08.694 --> 00:04:12.479 ซึ่งอันหนึ่งมีตัวตน และอีกอันไม่มีตัวตน 00:04:12.479 --> 00:04:15.059 ว่าจริงๆ แล้วเป็นอันเดียวกัน 00:04:15.059 --> 00:04:18.928 ความสัมพันธ์ของมันสามารถแสดงออกมาได้เป็น 00:04:18.928 --> 00:04:21.831 สมการอันโด่งดังในตำนาน 00:04:21.831 --> 00:04:25.304 E=mc^2 NOTE Paragraph 00:04:25.304 --> 00:04:29.947 ไอน์สไตน์ยังคงไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งอีก 15 ปีถัดมา 00:04:29.947 --> 00:04:34.795 ในตอนที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ได้รับการพิสูจน์ในปีค.ศ. 1919 00:04:34.795 --> 00:04:38.515 โดยการวัดว่าแสงมีการโค้งเบน ขณะเกิดสุริยุปราคา 00:04:38.515 --> 00:04:41.441 ซึ่งสื่อได้ทำให้เขากลายเป็นคนดัง 00:04:41.441 --> 00:04:44.590 แต่ต่อให้เขากลับไปหมกตัวทำงาน ที่สำนักงานสิทธิบัตร 00:04:44.590 --> 00:04:47.745 และไม่ได้สร้างผลงานอะไรออกมาอีกเลย นับจากปีค.ศ. 1905 เป็นต้นมา 00:04:47.745 --> 00:04:50.046 งานตีพิมพ์ทั้งสี่ในปีมหัศจรรย์ของเขา 00:04:50.046 --> 00:04:55.697 ก็ยังคงเป็นสิ่งที่แสดงถึง อัจฉริยภาพที่น่าทึ่งของเขาอยู่ดี