เมื่อเราพูดถึงภาษาอังกฤษ เรามักจะคิดถึงมันเป็นเพียงภาษาหนึ่ง แต่ว่าภาษาถิ่นที่ใช้พูดกัน ในหลากหลายประเทศทั่วโลก มีอะไรที่เหมือนกัน หรือเหมือนกับงานประพันธ์ของเชาเซอร์ และมีสักเท่าไรที่เกี่ยวข้องกับคำแปลกๆ ในบทกวีมหากาพย์เบวูล์ฟ คำตอบก็คือเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ภาษาอังกฤษมีวิวัฒนาการผ่านผู้ใช้ภาษา จากรุ่นสู่รุ่น ผ่านการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่างๆ ตามกาลเวลา เมื่อปลดเปลื้องการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เราสามารถย้อนรอยภาษาจากในปัจจุบัน กลับไปยังรากเหง้าโบราณของมันได้ ขณะที่ภาษาอังกฤษยุคใหม่ มีคำคล้ายมากมายร่วมกับ ภาษาโรมานซ์ที่ถูกดัดแปลงมาจากภาษาละติน เช่น ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปน คำส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งของภาษามาตั้งแต่ต้น แต่ทว่า พวกมันเริ่มที่จะเข้ามาในภาษานี้ พร้อมกับการบุกรุกอังกฤษของชาวนอร์มัน ในปี ค.ศ. 1066 เมื่อชาวนอร์มันผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ยึดครองอังกฤษ และกลายเป็นชนชั้นปกครอง พวกเขานำภาษาของพวกเขาเข้ามาด้วย เป็นการเพิ่มคำศัพท์ฝรั่งเศสและละตินจำนวนมาก ให้กับภาษาอังกฤษที่ที่นั่นใช้กันอยู่ก่อนหน้านี้ ทุกวันนี้เราเรียกภาษานั้นว่า ภาษาอังกฤษโบราณ (Old English) มันเป็นภาษาของเบวูล์ฟ มันอาจดูไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนัก แต่มันเป็นที่คุ้นตามากขึ้น ถ้าคุณรู้ภาษาเยอรมัน นั่นเป็นเพราะว่า ภาษาอังกฤษโบราณ เป็นภาษาในตระกูลเยอรมันนิก ที่ถูกนำเข้ามายังหมู่เกาะบริติชเป็นครั้งแรก ในศตวรรษที่ 5 และ 6 โดยชาวแองเกล แซกซอน และจูท ภาษาถิ่นเยอรมันนิกที่พวกเขาใช้กัน อาจเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แองโกล-แซกซอน ผู้บุกรุกชาวไวกิ้งในศตวรรษที่ 8 ถึง 11 เพิ่มคำยืมจากภาษาเยอรมันโบราณ (Old Norse) เข้าไปอีก มันอาจจะไม่ง่ายนัก ที่จะเห็นรากของภาษาอังกฤษยุคใหม่ ภายใต้คำทั้งหมดนี้ที่ยืมมา จากภาษาฝรั่งเศส ละติน เยอรมันโบราณ และภาษาอื่นๆ แต่ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบสามารถช่วยเรา ให้จดจ่อไปที่โครงสร้างทางไวยกรณ์ รูปแบบของการเปลี่ยนเสียง และคำศัพท์หลักบางคำ ยกตัวอย่างเช่น หลังจากศตวรรษที่ 6 คำเยอรมันที่ขึ้นต้นด้วย "p" เปลี่ยนไปเป็นเสียง "pf" อย่างเป็นระบบ ในขณะที่ภาษาอังกฤษโบราณคู่ของมัน ยังคงเสียง "p" ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง อีกความแตกต่างหนึ่งคือ คำที่มีเสียง "sk" จากภาษาสวีดิช พัฒนาไปเป็นเสียง "sh" ในภาษาอังกฤษ ยังคงมีคำภาษาอังกฤษบางคำที่มี "sk" เช่น "skirt" และ "skull" แต่พวกมัน ถูกยืมมาจากภาษาเยอรมันโบราณโดยตรง ที่มาหลังจากการเปลี่ยน "sk" เป็น "sh" ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่า เช่นเดียวกับภาษาโรมานซ์ต่างๆ ที่มีรากมาจากภาษาละติน ภาษาอังกฤษ, สวีดิช, เยอรมัน และอีกหลายภาษา มีรากมาจากภาษาต้นตระกูลร่วมของพวกมัน ที่รู้จักกันในชื่อ โปรโต-เยอรมันนิค ที่ใช้กันในช่วง 500 ก่อนคริสกาล เพราะว่าภาษาโบราณนี้ไม่เคยถูกจารึก เราได้แต่บูรณะโครงสร้างมันขึ้นใหม่ โดยการเปรียบเทียบกับภาษาที่พัฒนามาจากมัน ซึ่งบางทีอาจต้องขอบคุณการเปลี่ยนแปลง ที่สม่ำเสมอ เราสามารถใช้กระบวนการเดียวกัน ย้อนขั้นตอนกลับขึ้นไป และย้อนจากภาษาโปรโต-เยอรมันนิค ไปยังภาษาที่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน ที่ใช้กันราวๆ 6000 ปีก่อน ในพอนทิค สเตปป์ (Pontic steppe) ที่ตั้งในปัจจุบันของยูเครนและรัสเซีย นี่เป็นภาษาโบราณในตระกูล อินโด-ยูโรเปียนที่ได้รับการบูรณะ ที่รวมเอาเกือบทุกภาษา ที่ใช้กันในประวัติศาสตร์ยุโรป เช่นเดียวกับในส่วนใหญ่ของเอเชียใต้ และตะวันตก และแม้ว่าจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นอีกนิด เราก็สามารถพบความคล้ายเชิงระบบ ที่เหมือนๆ กันหรือเกี่ยวข้องกัน ระหว่างคำที่เกี่ยวข้องกันในภาษาต่างๆ ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เมื่อเปรียบเทียบภาษาอังกฤษกับละติน เราจะเห็นว่าภาษาอังกฤษมี "t" ในขณะที่ภาษาละตินมี "d" และ "f" ในขณะที่ภาษาละตินมี "p" ที่ต้นคำ สำหรับภาษาที่ห่างจากภาษาอังกฤษไปมากกว่านั้น เช่น ฮินดี, เปอร์เซียน และเซลติก พวกมันถูกนำไปใช้ ในบริเวณที่ตอนนี้คืออังกฤษ โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน เองนั้นมีรากมาจาก ภาษาที่โบราณไปมากกว่านั้น แต่เสียดาย ที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี พาเราย้อนเวลากลับไปได้ไกลสุดเท่านั้น ปริศนาอีกมากมายยังคงไกลเกินเอื้อม เช่น จริงหรือไม่ ที่มันอาจมีตัวเชื่อมระหว่าง อินโด-ยูโรเปียน และตระกูลภาษาหลักอื่นๆ และธรรมชาติของภาษาที่ใช้กันในยุโรป ก่อนที่ภาษานี้จะเข้ามาคืออะไร แต่ความจริงอันน่าอัศจรรย์คือ การที่คนเกือบสามพันล้านคนทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาของอีกฝ่าย ยังพูดคำเดียวกันที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมา ด้วยประวัติศาสตร์ 6000 ปี