WEBVTT 00:00:07.051 --> 00:00:09.603 การค้นพบโครงสร้าง DNA 00:00:09.603 --> 00:00:14.170 เป็นหนึ่งในการค้นพบที่สำคัญที่สุด ทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ผ่านมา 00:00:14.170 --> 00:00:16.224 ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยก็ว่าได้ 00:00:16.224 --> 00:00:20.163 โครงสร้างเกลียวคู่ที่โด่งดัง แทบจะเป็นตัวแทนของวัตสันและคริก 00:00:20.163 --> 00:00:24.327 สองนักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล ในฐานะผู้ค้นพบสิ่งดังกล่าว 00:00:24.327 --> 00:00:26.442 แต่ยังมีอีกชื่อหนึ่งที่คุณอาจรู้จัก 00:00:26.442 --> 00:00:28.382 โรสริน แฟรงคลิน 00:00:28.382 --> 00:00:32.567 คุณอาจเคยได้ยินว่าข้อมูลของเธอ สนับสนุนแนวคิดที่ยอดเยี่ยมของวัตสันและคริก 00:00:32.567 --> 00:00:36.850 หรือนักวิทยาศาสตร์ที่แต่งตัวเรียบ ๆ จอมหาเรื่อง 00:00:36.850 --> 00:00:41.859 อย่างที่วัตสันบรรยายเอาไว้ในหนังสือ "เดอะ ดับเบิล ฮีลิกซ์" 00:00:41.859 --> 00:00:43.852 แต่ต้องขอบคุณผู้เขียนชีวประวัติของเธอ 00:00:43.852 --> 00:00:47.191 ที่สืบประวัติชีวิตของเธอ และสัมภาษณ์ผู้ใกล้ชิด 00:00:47.191 --> 00:00:50.917 เรารู้แล้วว่านั่นไม่ได้ใกล้เคียงกับเรื่องจริงเลย 00:00:50.917 --> 00:00:54.851 และการอุทิศเพื่อวิทยาศาสตร์ของเธอ ก็ไม่ได้ถูกตีแผ่ออกมาอย่างเต็มที่ 00:00:54.851 --> 00:00:56.721 ลองมาฟังเรื่องจริงกัน 00:00:56.721 --> 00:01:01.475 โรสริน เอลซี แฟรงคลิน เกิดที่กรุงลอนดอน ในค.ศ. 1920 00:01:01.475 --> 00:01:04.612 เธออยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น 00:01:04.612 --> 00:01:08.764 ซึ่งไม่ใช่เรื่องทั่วไปหรือเป็นเส้นทางอาชีพ ที่เหมือนกับเด็กผู้หญิงคนอื่น ๆ ในเวลานั้น 00:01:08.764 --> 00:01:11.039 แต่อย่างไรเสียเธอก็มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ 00:01:11.039 --> 00:01:14.325 เธอได้รับทุนการศึกษาที่เคมบริดจ์ เพื่อศึกษาด้านเคมี 00:01:14.325 --> 00:01:16.112 ที่ซึ่งเธอได้รับปริญญาเอก 00:01:16.112 --> 00:01:19.397 และต่อมาได้ทำการวิจัยเรื่องโครงสร้างของถ่าน 00:01:19.397 --> 00:01:23.700 ที่นำไปสู่การพัฒนาหน้ากากป้องกันก๊าซ ของอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 00:01:23.700 --> 00:01:26.256 ในปี ค.ศ. 1951 เธอไปที่คิงส์ คอลเลจ 00:01:26.256 --> 00:01:29.790 เพื่อใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์ เพื่อศึกษาโครงสร้างของดีเอ็นเอ 00:01:29.790 --> 00:01:32.414 ซึ่งต่อมาเป็นหัวข้อหนึ่งที่ร้อนแรงที่สุด ในวงการวิทยาศาสตร์ 00:01:32.414 --> 00:01:35.449 แฟรงคลินพัฒนาห้องทดลองเอ็กซ์เรย์ และทำการวิจัย 00:01:35.449 --> 00:01:40.120 โดยยิงเอ็กซ์เรย์ที่มีพลังงานสูง ลงบนผลึกเปียกที่มีขนาดเล็กของดีเอ็นเอ 00:01:40.120 --> 00:01:43.804 แต่วัฒนธรรมองค์กรในวงการศึกษาในเวลานั้น ไม่เป็นมิตรต่อผู้หญิงสักเท่าไรนัก 00:01:43.804 --> 00:01:46.286 และแฟรงคลินก็ถูกแยก ออกจากเพื่อนร่วมงานของเธอ 00:01:46.286 --> 00:01:48.609 เธอปะทะกับ มัวริส วิลคินส์ 00:01:48.609 --> 00:01:52.974 เพื่อนร่วมวิจัยที่ทึกทักเอาว่า แฟรงคลินถูกจ้างมาเป็นผู้ช่วยของเขา 00:01:52.974 --> 00:01:54.472 แต่แฟรงคลินก็ยังคงทำงานต่อไป 00:01:54.472 --> 00:02:01.193 และในปี ค.ศ. 1952 เธอได้ภาพถ่ายที่ 51 ซึ่งเป็นภาพเอ็กเรย์ดีเอ็นเอที่โด่งดังที่สุด 00:02:01.193 --> 00:02:03.630 แค่จะได้ภาพมาก็ต้องใช้เวลา 100 ชั่วโมงแล้ว 00:02:03.630 --> 00:02:07.485 การคำนวณที่สำคัญต่อการวิเคราะห์นั้น ต้องใช้เวลาเป็นปี 00:02:07.485 --> 00:02:10.448 ในขณะนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา เจมส์ วัตสัน 00:02:10.448 --> 00:02:12.787 และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ฟราซิส คริก 00:02:12.787 --> 00:02:15.730 กำลังศึกษาเพื่อค้นหาโครงสร้างดีเอ็นเออยู่ 00:02:15.730 --> 00:02:17.252 โดยที่แฟรงคลินไม่ได้ล่วงรู้ 00:02:17.252 --> 00:02:21.667 วิลคินส์นำเอาภาพ 51 ไป และแสดงให้วัตสันกับคลิกดู 00:02:21.667 --> 00:02:25.078 แทนที่จะคำนวณตำแหน่งของแต่ละอะตอม 00:02:25.078 --> 00:02:27.942 พวกเขาทำการวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของเฟรงคลิน 00:02:27.942 --> 00:02:31.442 และใช้สิ่งนั้น เพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นไปได้ 00:02:31.442 --> 00:02:34.220 ท้ายที่สุด พวกเขาก็ได้โครงสร้างที่ถูกต้อง 00:02:34.220 --> 00:02:37.169 ดีเอ็นเอ ประกอบด้วยสองสายเกลียว 00:02:37.169 --> 00:02:42.416 ตั้งอยู่ตรงข้ามกันโดยมีเบสอยู่ตรงกลาง เหมือนกับขั้นของบันได 00:02:42.416 --> 00:02:46.670 วัตสันและคริกตีพิมพ์แบบจำลองของพวกเขา ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1953 00:02:46.670 --> 00:02:50.215 ในขณะนั้น แฟรงคลินทำการคำนวณสำเร็จ 00:02:50.215 --> 00:02:51.664 และได้ข้อสรุปเดียวกัน 00:02:51.664 --> 00:02:54.398 และส่งผลงานของเธอเองเพื่อตีพิมพ์ 00:02:54.398 --> 00:02:56.721 นิตยสารตีพิมพ์ผลงานทั้งสองนี้ด้วยกัน 00:02:56.721 --> 00:02:58.883 แต่เอาผลงานของแฟรงคลินไว้สุดท้าย 00:02:58.883 --> 00:03:02.882 ทำให้เหมือนกับว่าการทดลองของเธอ เป็นแค่การยืนยันการค้นพบของวัตสันและคลิก 00:03:02.882 --> 00:03:05.381 แทนที่จะเป็นการจุดประกายให้งานดังกล่าว 00:03:05.381 --> 00:03:07.920 แต่แฟรงคลินได้หยุดงานวิจัย เกี่ยวกับดีเอ็นเอไปแล้ว 00:03:07.920 --> 00:03:11.018 และเสียชีวิตด้วยมะเร็งในปี ค.ศ. 1958 00:03:11.018 --> 00:03:15.107 โดยไม่เคยรู้ว่าวัตสันและคลิกเห็นภาพของเธอ 00:03:15.107 --> 00:03:19.326 วัตสัน คลิก และวิลคินส์ ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1962 00:03:19.326 --> 00:03:21.421 สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของพวกเขา 00:03:21.421 --> 00:03:25.006 บ่อยครั้งที่ว่ากันว่าเฟรงคลิน น่าจะได้รับการยอมรับโดยผู้ให้รางวัลโนเบล 00:03:25.006 --> 00:03:28.288 ถ้าพวกเขาสามารถให้รางวัล หลังจากผู้นั้นเสียชีวิตไปแล้วได้ 00:03:28.288 --> 00:03:31.638 และ อันที่จริง มันเป็นไปได้ว่า เธออาจได้รางวัลถึงสองครั้ง 00:03:31.638 --> 00:03:37.302 งานของเธอเกี่ยวกับโครงสร้างของไวรัส ทำให้ เพื่อนร่วมงานของเธอได้รางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1982 00:03:37.302 --> 00:03:42.636 มันถึงเวลาแล้วที่จะเล่าเรื่องราวอันกล้าหาญ ของผู้หญิงที่ต่อสู้กับการเหยียดเพศในวงการวิทยาศาสตร์ 00:03:42.636 --> 00:03:47.514 และผู้ที่งานวิจัยของเขาได้ปฏิวัติวงการแพทย์ ชีววิทยา และการเกษตร 00:03:47.514 --> 00:03:51.039 มันถึงเวลาแล้วที่จะยกย่อง โรสริน เอลซี่ แฟรงคลิน 00:03:51.039 --> 00:03:53.534 มารดาของโครงสร้างเกลียวคู่ที่โลกลืม