การค้นพบโครงสร้าง DNA
เป็นหนึ่งในการค้นพบที่สำคัญที่สุด
ทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ผ่านมา
ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยก็ว่าได้
โครงสร้างเกลียวคู่ที่โด่งดัง
แทบจะเป็นตัวแทนของวัตสันและคริก
สองนักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล
ในฐานะผู้ค้นพบสิ่งดังกล่าว
แต่ยังมีอีกชื่อหนึ่งที่คุณอาจรู้จัก
โรสริน แฟรงคลิน
คุณอาจเคยได้ยินว่าข้อมูลของเธอ
สนับสนุนแนวคิดที่ยอดเยี่ยมของวัตสันและคริก
หรือนักวิทยาศาสตร์ที่แต่งตัวเรียบ ๆ
จอมหาเรื่อง
อย่างที่วัตสันบรรยายเอาไว้ในหนังสือ
"เดอะ ดับเบิล ฮีลิกซ์"
แต่ต้องขอบคุณผู้เขียนชีวประวัติของเธอ
ที่สืบประวัติชีวิตของเธอ
และสัมภาษณ์ผู้ใกล้ชิด
เรารู้แล้วว่านั่นไม่ได้ใกล้เคียงกับเรื่องจริงเลย
และการอุทิศเพื่อวิทยาศาสตร์ของเธอ
ก็ไม่ได้ถูกตีแผ่ออกมาอย่างเต็มที่
ลองมาฟังเรื่องจริงกัน
โรสริน เอลซี แฟรงคลิน
เกิดที่กรุงลอนดอน ในค.ศ. 1920
เธออยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องทั่วไปหรือเป็นเส้นทางอาชีพ
ที่เหมือนกับเด็กผู้หญิงคนอื่น ๆ ในเวลานั้น
แต่อย่างไรเสียเธอก็มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์
เธอได้รับทุนการศึกษาที่เคมบริดจ์
เพื่อศึกษาด้านเคมี
ที่ซึ่งเธอได้รับปริญญาเอก
และต่อมาได้ทำการวิจัยเรื่องโครงสร้างของถ่าน
ที่นำไปสู่การพัฒนาหน้ากากป้องกันก๊าซ
ของอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปี ค.ศ. 1951 เธอไปที่คิงส์ คอลเลจ
เพื่อใช้เทคนิคเอ็กซ์เรย์
เพื่อศึกษาโครงสร้างของดีเอ็นเอ
ซึ่งต่อมาเป็นหัวข้อหนึ่งที่ร้อนแรงที่สุด
ในวงการวิทยาศาสตร์
แฟรงคลินพัฒนาห้องทดลองเอ็กซ์เรย์
และทำการวิจัย
โดยยิงเอ็กซ์เรย์ที่มีพลังงานสูง
ลงบนผลึกเปียกที่มีขนาดเล็กของดีเอ็นเอ
แต่วัฒนธรรมองค์กรในวงการศึกษาในเวลานั้น
ไม่เป็นมิตรต่อผู้หญิงสักเท่าไรนัก
และแฟรงคลินก็ถูกแยก
ออกจากเพื่อนร่วมงานของเธอ
เธอปะทะกับ มัวริส วิลคินส์
เพื่อนร่วมวิจัยที่ทึกทักเอาว่า
แฟรงคลินถูกจ้างมาเป็นผู้ช่วยของเขา
แต่แฟรงคลินก็ยังคงทำงานต่อไป
และในปี ค.ศ. 1952 เธอได้ภาพถ่ายที่ 51
ซึ่งเป็นภาพเอ็กเรย์ดีเอ็นเอที่โด่งดังที่สุด
แค่จะได้ภาพมาก็ต้องใช้เวลา 100 ชั่วโมงแล้ว
การคำนวณที่สำคัญต่อการวิเคราะห์นั้น
ต้องใช้เวลาเป็นปี
ในขณะนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา
เจมส์ วัตสัน
และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ฟราซิส คริก
กำลังศึกษาเพื่อค้นหาโครงสร้างดีเอ็นเออยู่
โดยที่แฟรงคลินไม่ได้ล่วงรู้
วิลคินส์นำเอาภาพ 51 ไป
และแสดงให้วัตสันกับคลิกดู
แทนที่จะคำนวณตำแหน่งของแต่ละอะตอม
พวกเขาทำการวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว
จากข้อมูลของเฟรงคลิน
และใช้สิ่งนั้น เพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆ
ที่น่าจะเป็นไปได้
ท้ายที่สุด พวกเขาก็ได้โครงสร้างที่ถูกต้อง
ดีเอ็นเอ ประกอบด้วยสองสายเกลียว
ตั้งอยู่ตรงข้ามกันโดยมีเบสอยู่ตรงกลาง
เหมือนกับขั้นของบันได
วัตสันและคริกตีพิมพ์แบบจำลองของพวกเขา
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1953
ในขณะนั้น แฟรงคลินทำการคำนวณสำเร็จ
และได้ข้อสรุปเดียวกัน
และส่งผลงานของเธอเองเพื่อตีพิมพ์
นิตยสารตีพิมพ์ผลงานทั้งสองนี้ด้วยกัน
แต่เอาผลงานของแฟรงคลินไว้สุดท้าย
ทำให้เหมือนกับว่าการทดลองของเธอ
เป็นแค่การยืนยันการค้นพบของวัตสันและคลิก
แทนที่จะเป็นการจุดประกายให้งานดังกล่าว
แต่แฟรงคลินได้หยุดงานวิจัย
เกี่ยวกับดีเอ็นเอไปแล้ว
และเสียชีวิตด้วยมะเร็งในปี ค.ศ. 1958
โดยไม่เคยรู้ว่าวัตสันและคลิกเห็นภาพของเธอ
วัตสัน คลิก และวิลคินส์
ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1962
สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของพวกเขา
บ่อยครั้งที่ว่ากันว่าเฟรงคลิน
น่าจะได้รับการยอมรับโดยผู้ให้รางวัลโนเบล
ถ้าพวกเขาสามารถให้รางวัล
หลังจากผู้นั้นเสียชีวิตไปแล้วได้
และ อันที่จริง มันเป็นไปได้ว่า
เธออาจได้รางวัลถึงสองครั้ง
งานของเธอเกี่ยวกับโครงสร้างของไวรัส ทำให้
เพื่อนร่วมงานของเธอได้รางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1982
มันถึงเวลาแล้วที่จะเล่าเรื่องราวอันกล้าหาญ
ของผู้หญิงที่ต่อสู้กับการเหยียดเพศในวงการวิทยาศาสตร์
และผู้ที่งานวิจัยของเขาได้ปฏิวัติวงการแพทย์
ชีววิทยา และการเกษตร
มันถึงเวลาแล้วที่จะยกย่อง
โรสริน เอลซี่ แฟรงคลิน
มารดาของโครงสร้างเกลียวคู่ที่โลกลืม