เริ่มต้นอย่างนี้ละกันค่ะ
2-3 ปีก่อน มีผู้จัดงานคนนึงโทรมาหา
เพราะฉันกำลังจะไปพูดบรรยาย
เธอโทรมา แล้วบอกว่า
"ฉันกำลังคิดไม่ตก
ว่าจะเขียนแนะนำคุณยังไงในใบปลิวโฆษณา"
ฉันเลยถามไปว่า "มีปัญหาตรงไหนเหรอคะ"
เธอตอบว่า "คือ ฉันเคยฟังคุณพูด
และคิดว่าฉันน่าจะเรียกคุณว่า'นักวิจัย'
แต่ก็กลัวว่า ถ้าเรียกคุณว่า'นักวิจัย' แล้วจะไม่มีใครมาฟัง
เพราะคนเขาจะคิดว่าคุณน่าเบื่อและไม่มีประโยชน์ต่อชีวิตเขา"
(หัวเราะ)
โอเค
เธอบอกว่า"แต่ที่ฉันชอบเกี่ยวกับการบรรยายของคุณน่ะ
คือความที่คุณเป็นนักเล่าเรื่อง
ก็เลยคิดว่าเรียกคุณว่า'นักเล่าเรื่อง'แล้วกัน"
ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนความเป็นนักวิชาการและความไม่มั่นใจของฉัน
ถามว่า "จะเรียกฉันว่าอะไรนะ"
เธอบอกว่า "จะเรียกคุณว่า'นักเล่าเรื่อง'ค่ะ"
ฉันเลย แบบว่า "ไม่เรียกว่า'ภูตน้อยมหัศจรรย์'ไปซะเลยล่ะ"
(หัวเราะ)
ฉันก็บอกว่า "เดี๋ยวขอคิดแป๊บนึง"
ฉันพยายามจะควานหาความกล้าในตัวเอง
แล้วก็คิดว่า ฉันเป็นนักเล่าเรื่องจริงๆ
ฉันเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพ
ฉันรวบรวมเรื่องราว นั่นคือสิ่งที่ฉันทำ
แล้วบางที เรื่องราวเหล่านั้นก็คือข้อมูลที่มีจิตวิญญาณ
บางที ฉันอาจจะเป็นแค่นักเล่าเรื่องจริงๆ
ฉันเลยบอกเธอไปว่า "เอาอย่างนี้แล้วกันค่ะ
คุณเรียกฉันว่า'นักวิจัย-เล่าเรื่อง'แล้วกัน"
เธอตอบว่า "ฮาฮา คนแบบนั้นไม่มีในโลกหรอกค่ะ"
(หัวเราะ)
ค่ะ ฉันเป็นนักวิจัย-เล่าเรื่อง
ที่จะมาบรรยายในวันนี้
เพราะเราพูดถึงการเปิดกว้างทางการเรียนรู้กันบ่อยๆ
ฉันเลยอยากจะพูดกับพวกคุณ และเล่าเรื่องบางเรื่อง
เกี่ยวกับงานวิจัยของฉันชิ้นหนึ่ง
ที่เปลี่ยนพื้นฐานความเข้าใจของฉัน
มันยังได้เปลี่ยนวิธีที่ฉันใช้ชีวิต และรัก
และทำงาน และเลี้ยงลูก
นี่คือจุดเริ่มต้นของเรื่องค่ะ
ตอนที่ฉันยังเป็นนักวิจัยอายุน้อย เป็นนักศึกษาปริญญาเอก
ปีแรก มีศาสตราจารย์วิจัยคนนึง
ที่พูดกับพวกเราว่า
"มันเป็นอย่างนี้
ถ้าคุณวัดมันไม่ได้ มันไม่มีอยู่จริง"
ฉันคิดว่าเขาล้อเล่นกับฉันไปอย่างนั้น
ฉันว่า"จริงเหรอ" เขาก็ว่า"แน่นอน"
คุณต้องเข้าใจนะคะ
ว่าฉันจบป.ตรีสาขาสังคมสงเคราะห์ ป.โทสาขาสังคมสงเคราะห์
และตอนนั้นกำลังเรียนป.เอกสาขาสังคมสงเคราะห์
ตลอดเส้นทางการศึกษาของฉัน
ถูกล้อมรอบไปด้วยผู้คน
ที่เชื่อประมาณว่า
"ชีวิตมันยุ่งเหยิง ทำใจรักมันซะ"
แต่ฉันออกจะเป็นแบบ "ชีวิตมันยุ่งเหยิง
ก็สะสางเสียสิ จัดการให้เรียบร้อย
แล้วก็จัดลงไปในกล่องข้าวแบบญี่ปุ่น"
(หัวเราะ)
ฉันเลยคิดว่าหาพรหมลิขิตของตัวเองเจอแล้ว
พบกับอาชีพที่เหมาะกับฉัน
จริงๆนะคะ มีประโยคที่พูดกันบ่อยในวงการสังคมสงเคราะห์
"ใช้ความลำบากของงานมาเป็นกำลัง"
แต่ฉันเป็นพวก "ต่อยความลำบากให้หน้าหงาย
ผลักออกไปให้พ้นทาง แล้วก็ได้เกรดAทุกตัว"
นั่นเป็นคาถาของฉันค่ะ
ฉันก็เลยตื่นเต้นกับเรื่องนี้มาก
แล้วฉันก็คิดว่า รู้อะไรมั้ย เนี่ยแหละอาชีพของฉัน
เพราะฉันสนใจในหัวข้อที่ยุ่งเหยิง
แต่ฉันอยากทำให้มันไม่ยุ่ง
ฉันอยากเข้าใจมัน
ฉันอยากจะเจาะลึกลงไปในเรื่องเหล่านั้น
ที่ฉันรู้ว่าสำคัญ
เพื่อจะถอดรหัสมาแสดงให้ทุกคนได้เห็น
ที่ที่ฉันเริ่มคือเรื่อง'ความสัมพันธ์'
เพราะเมื่อคุณเป็นนักสังคมสงเคราะห์มา 10 ปี
สิ่งที่คุณตระหนักได้คือ
ความสัมพันธ์เป็นเหตุผลที่เรามานั่งอยู่ตรงนี้
มันเป็นสิ่งที่สร้างจุดประสงค์และความหมายให้ชีวิตเรา
นี่แหละคือคำตอบ
ไม่ว่าคุณจะพูดกับใคร
คนที่ทำงานเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ สุขภาพจิต ทารุณกรรม หรือการถูกทอดทิ้ง
สิ่งที่พวกเรารู้คือว่า ความสัมพันธ์
ความสามารถที่จะรู้สึกถึงความสัมพันธ์
ตามหลักชีวะและประสาทวิทยา คือปัจจัยของสิ่งมีชีวิต
มันคือสิ่งที่ทำให้เรามาอยู่ตรงนี้
ฉันเลยคิดว่า รู้อะไรมั้ย ฉันจะเริ่มที่ความสัมพันธ์นี่แหละ
คุณรู้จักสถานการณ์นั้นดี
เวลาที่คุณได้รับการประเมินจากหัวหน้า
แล้วหัวหน้าบอกว่าคุณทำ37อย่างได้เยี่ยมมาก
และมีอย่างนึงที่เป็น'สิ่งที่ควรปรับปรุง'
(หัวเราะ)
แต่คุณก็เอาแต่คิดซ้ำๆถึงไอ้เจ้า'สิ่งที่ควรปรับปรุง'นี่
งานวิจัยของฉันก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
เพราะเวลาที่คุณถามใครๆเกี่ยวกับความรัก
เขาจะตอบคุณด้วยเรื่องอกหัก
เวลาคุณถามเรื่องความผูกพัน
เขาจะเล่าถึงประสบการณ์ที่ปวดร้าวที่สุด
ของการถูกแบ่งแยก
และเวลาที่คุณถามเรื่องความสัมพันธ์
เรื่องที่เขาเล่ากลับเป็นเรื่องการตัดขาด
แค่เพียงไม่นาน ประมาณ6สัปดาห์หลังจากเริ่มงานวิจัย
ที่ฉันได้พบกับสิ่งไร้นิยามสิ่งนี้
ซึ่งช่วยเผยความลับของความสัมพันธ์
ในแบบที่ฉันไม่เข้าใจและไม่เคยเห็นมาก่อน
ฉันเลยถอยออกมาจากงานวิจัย
เพราะคิดว่าจะต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่าสิ่งนี้คืออะไร
ปรากฏว่าสิ่งนี้คือความละอาย
ความละอายจริงๆแล้วเข้าใจได้ง่ายๆว่า
เป็นความกลัวการถูกตัดขาด
มีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับฉันหรือเปล่า
ที่ถ้าคนอื่นได้รู้หรือได้เห็น
แล้วฉันจะไม่มีค่าพอสำหรับความสัมพันธ์อีกต่อไป
ความรู้สึกแบบนี้ ฉันบอกคุณได้เลยค่ะ
ว่ามันเป็นเรื่องปกติมาก เรามีกันทุกคน
คนที่ไม่รู้จักความละอาย
จะไม่สามารถรู้สึกเห็นใจเพื่อนมนุษย์หรือว่าเข้าใจความสัมพันธ์ได้
ไม่มีใครอยากจะพูดถึงเรื่องนี้
และยิ่งพูดถึงมันน้อยลงเท่าไหร่ คุณก็จะมีมันมากขึ้นเท่านั้น
สิ่งที่เป็นพื้นฐานของความละอาย
หรือความคิดที่ว่า"ฉันไม่ดีพอ"
ซึ่งเราทุกคนรู้จักดี
"ฉันไม่อะไรพอ ฉันไม่ผอมพอ
ไม่รวยพอ ไม่สวยพอ ไม่ฉลาดพอ
ไม่สำคัญพอ"
สิ่งที่เป็นต้นเหตุสำคัญ
คือความรู้สึกอ่อนแออย่างรุนแรง
ความคิดที่ว่า
เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์
เราต้องยอมให้คนอื่นเห็นตัวตนของเรา
ตัวตนที่แท้จริง
คุณก็รู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไรกับความอ่อนแอ ฉันเกลียดความอ่อนแอ
ฉันก็เลยคิดว่า นี่เป็นโอกาส
ที่ฉันจะใช้ไม้บรรทัดไล่ตีมันให้กระเจิง
เป็นไงเป็นกัน ฉันจะต้องเข้าใจมันให้ได้
ฉันจะใช้เวลาหนึ่งปี เพื่อวิเคราะห์ชำแหละความละอาย
จะทำความเข้าใจว่าความอ่อนแอทำงานอย่างไร
และฉันจะเอาชนะมัน
ค่ะ ตอนนั้นฉันรู้สึกพร้อม แล้วก็ตื่นเต้นมากๆ
แน่ล่ะ มันไม่จบลงด้วยดีหรอก
(หัวเราะ)
ดูก็รู้แล้ว
ถ้าให้ฉันพูดถึงเรื่องความละอาย
ฉันคงพูดได้ยาวจนกินเวลาของผู้บรรยายคนอื่นๆ
แต่นี่คือใจความสำคัญที่ฉันอยากจะบอกคุณ
สิ่งนี้อาจจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ฉันได้เรียนรู้
ตลอดทศวรรษที่ฉันทำวิจัยมา
เวลาหนึ่งปีของฉัน
กลายเป็นหกปี
เรื่องราวเป็นพันๆเรื่อง
การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อยเป็นร้อยๆ
ช่วงหนึ่ง บางคนถึงกับส่งบันทึกส่วนตัวมาให้
และส่งเรื่องราวของพวกเขาให้ฉัน
ข้อมูลเป็นพันๆในเวลาหกปี
ทำให้ฉันเข้าใจระดับนึง
ฉันเหมือนจะเข้าใจว่านี่แหละคือความละอาย
นี่แหละคือวิธีที่มันทำงาน
ฉันเขียนหนังสือ
ฉันตีพิมพ์ทฤษฎี
แต่ว่ามีบางอย่างที่มันไม่ใช่
และสิ่งที่ว่านั่นคือ
ถ้าฉันนำคนที่ฉันสัมภาษณ์
มาแบ่งคร่าวๆโดยใช้เกณฑ์ที่ว่า
ใครรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเอง
นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดค่ะ
ความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า
พวกเขารู้สึกถึงความรักและความผูกพัน
และอีกกลุ่มที่ต้องพยายามดิ้นรนหามัน
คนที่มักจะสงสัยว่าตัวเองดีพอมั้ย
มันมีแค่ตัวแปรเดียว
ที่แยกคนที่มี
ความรู้สึกรักและผูกพัน
ออกจากคนที่ต้องต่อสู้เพื่อความรู้สึกเหล่านั้น
และตัวแปรนั้นคือ คนที่รู้สึกถึง
ความรักและความผูกพัน
เชื่อว่าตัวเองมีค่าสำหรับความรักและความผูกพัน
แค่นั้นเอง
พวกเขาเชื่อว่าเขามีค่าพอ
และสำหรับฉัน ส่วนสำคัญที่สุด
ที่ทำให้เราขาดความสัมพันธ์
คือความกลัวว่าเราไม่มีค่าพอสำหรับความสัมพันธ์นั้นๆ
ทั้งในมุมมองส่วนตัวและทางวิชาการ
มันเป็นสิ่งที่ฉันต้องการเข้าใจมากขึ้น
ฉันก็เลย
เอาบทสัมภาษณ์ทั้งหมดมา
ตรงไหนที่ฉันเห็นความรู้สึกมีค่า ตรงไหนที่ฉันเห็นคนใช้ชีวิตอย่างนั้น
และดูเฉพาะตรงนั้น
คนเหล่านี้มีอะไรเหมือนกัน
ฉันเป็นโรคบ้าเครื่องใช้สำนักงานอยู่นิดๆค่ะ
แต่ว่านั่นเป็นอีกการบรรยายได้อีกเรื่อง
ฉันมีแฟ้มกระดาษมะนิลา แล้วก็มีปากกาสี
แล้วฉันก็แบบ จะเรียกงานวิจัยนี้ว่าอะไรดีนะ
แล้วคำแรกที่นึกออก
คือคำว่า เต็มใจ
คนพวกนี้เป็นคนเต็มใจ ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกมีค่า
ฉันเลยเขียนที่หัวแฟ้มกระดาษมะนิลา
และเริ่มดูข้อมูล
จริงๆแล้ว ฉันดูข้อมูลก่อน
ใช้เวลาสี่วัน
กับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเข้มข้น
ที่ฉันกลับไป หาข้อมูลสัมภาษณ์ หาเรื่องเล่า หาเหตุการณ์
อะไรคือใจความสำคัญ อะไรคือรูปแบบ
สามีของฉันออกจากเมืองไปกับลูกๆ
เพราะฉันมักจะเข้าสู่สภาวะบ้าคลั่งแบบแจ็กสัน โพลล็อก
เวลาที่ฉันเอาแต่เขียน
และอยู่ในอารมณ์นักวิจัย
และนี่คือสิ่งที่ฉันค้นพบค่ะ
สิ่งที่คนเหล่านี้มีเหมือนกัน
คือความกล้า(courage)
ฉันอยากจะแยกความกล้า(courage)กับความองอาจ(bravery)ก่อน
ความกล้า(courage)ในความหมายดั้งเดิม
เมื่อตอนที่คำนี้เข้ามาในภาษาอังกฤษตอนแรกๆ
มันมาจากภาษาละติน cor แปลว่า หัวใจ
และความหมายดั้งเดิม
คือการเล่าเรื่องราวของตัวเราด้วยหัวใจทั้งดวง
คนเหล่านี้
สรุปง่ายๆว่า มีความกล้า
ที่จะบกพร่อง
เขาเหล่านี้รู้จักรักตัวเองก่อน
แล้วจึงเอาใจใส่คนอื่น
เพราะความจริงที่ว่า เราไม่สามารถรักคนอื่นได้
ถ้าเราไม่มีความเมตตาต่อตัวเองก่อน
และสุดท้ายคือ พวกเขามีความสัมพันธ์
และนี่คือส่วนที่ยาก
เพราะความจริงใจ
พวกเขายอมทิ้งตัวตนที่เขาคิดว่าเขาควรจะเป็น
เพื่อจะเป็นตัวเอง
ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ
ในการสร้างความสัมพันธ์
อีกสิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกัน
คือสิ่งนี้
พวกเขาเต็มใจยอมรับความอ่อนแอ
พวกเขาเชื่อว่า
สิ่งที่ทำให้เขาอ่อนแอ
ทำให้เขางดงาม
พวกเขาไม่ได้พูดถึงความอ่อนแอ
ว่าเป็นสิ่งที่ง่ายดาย
แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่ามันเจ็บปวด
เหมือนจากในการสัมภาษณ์เรื่องความละอายก่อนหน้านี้
พวกเขาแค่บอกว่ามันจำเป็น
พวกเขาพูดถึงความสมัครใจ
ที่จะบอกว่า"ฉันรักคุณ"ก่อน
ความสมัครใจ
ที่จะทำอะไร
ที่ไม่มีการประกันผล
ความสมัครใจ
ที่จะรอโทรศัพท์จากคุณหมอ
หลังจากที่ไปตรวจมะเร็งเต้านม
พวกเขาสมัครใจที่จะลงทุนในความสัมพันธ์
ที่ไม่แน่ว่าจะงอกงาม
พวกเขาคิดว่านี่เป็นเรื่องพื้นฐาน
ส่วนตัวแล้ว ฉันคิดว่ามันเป็นการหักหลัง
ฉันไม่อยากเชื่อว่าฉันสาบานจะอุทิศตน
ให้กับการวิจัยไปแล้ว
เพราะคำนิยามของการวิจัย
คือการควบคุมและพยากรณ์ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ควบคุมและพยากรณ์ต่อไป
แล้วตอนนี้ภารกิจของฉัน
ที่จะควบคุมและพยากรณ์
ให้คำตอบมาว่า วิธีใช้ชีวิตคือการยอมรับความอ่อนแอ
หยุดควบคุม หยุดพยากรณ์
สิ่งนี้นำไปสู่อาการประสาทเสียเล็กๆ
(หัวเราะ)
ซึ่งที่จริงดูเหมือนอย่างนี้มากกว่า
(หัวเราะ)
มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ฉันเรียกมันว่าอาการป่วยทางจิต นักจิตบำบัดของฉันเรียกมันว่าการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ
การตื่นรู้ทางจิตวิญญาณฟังดูดีกว่าอาการป่วยทางจิต
แต่ฉันยืนยันได้ค่ะ ว่ามันคืออาการป่วยทางจิต
ฉันต้องเลิกดูข้อมูล แล้วก็หานักจิตบำบัด
จะบอกอะไรให้ค่ะ คุณรู้ว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร
เมื่อโทรหาเพื่อนๆ แล้วบอกว่า "ฉันคิดว่าฉันต้องไปหานักจิตบำบัด
มีใครแนะนำมั้ย"
เพราะว่าเพื่อนของฉันประมาณห้าคนบอกว่า
"อู่ย ฉันไม่อยากเป็นนักจิตบำบัดของเธอหรอก"
(หัวเราะ)
ฉันว่า"หมายความว่ายังไง"
แล้วพวกเขาก็บอกว่า"เปล่า ก็นะ
อย่าพกไม้บรรทัดไปด้วยแล้วกัน"
ฉันก็เลย"โอเค"
หลังจากฉันก็หานักจิตบำบัดเจอ
ตอนที่ฉันเจอเธอครั้งแรก ไดอะน่า
ฉันเอารายการ
ของวิธีใช้ชีวิตของคนเต็มใจไปด้วย แล้วฉันก็นั่งลง
เธอถามว่า"เป็นยังไงบ้างคะ"
ฉันบอกว่า"สบายดีค่ะ โอเคค่ะ"
เธอถาม"มีเรื่องอะไรเหรอคะ"
เธอเป็นนักจิตบำบัดสำหรับนักจิตบำบัด
เพราะพวกเราก็ต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญ
เพราะเขาจับความตอแหลได้เก่ง
(หัวเราะ)
ฉันเลยบอกว่า
"คืออย่างนี้ค่ะ ฉันมีปัญหาใหญ่"
เธอพูดว่า"ปัญหาอะไรคะ"
ฉันตอบว่า "คือ ปัญหากับความอ่อนแอค่ะ
และฉันรู้ว่าความอ่อนแอเป็นแก่น
ของความละอายและความกลัว
และของการดิ้นรนเพื่อความมีค่า
แต่ปรากฏว่ามันก็เป็นจุดกำเนิด
ของความสุข และความสร้างสรรค์
ของความผูกพัน ของความรัก
และฉันคิดว่า ฉันมีปัญหา
และฉันต้องการความช่วยเหลือค่ะ"
และฉันบอกว่า "แต่ขออย่างนึง
ไม่เอาเรื่องครอบครัว
หรือเรื่องน้ำเน่าวัยเด็ก"
(หัวเราะ)
"ฉันแค่ต้องการแผน"
(หัวเราะ)
(ปรบมือ)
ขอบคุณค่ะ
เธอก็ทำท่านี้
(หัวเราะ)
ฉันเลยบอกว่า"แย่มาก ใช่มั้ยคะ"
เธอบอกว่า"ไม่ดีหรือไม่ร้ายหรอกค่ะ"
(หัวเราะ)
"มันก็เป็นอย่างที่มันเป็นค่ะ"
ฉันเลยว่า"โอ้พระเจ้า ซวยแน่คราวนี้"
(หัวเราะ)
แล้วมันก็แย่ และก็ไม่แย่
ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี
มีคนบางคน
ที่เมื่อเข้าใจว่าความอ่อนแอและความอะเอียดอ่อนเป็นสิ่งสำคัญ
พวกเขายอมรับมันด้วยความเต็มใจ
หนึ่ง นั่นไม่ใช่ฉันค่ะ
และ สอง ฉันไม่สุงสิงกับคนแบบนั้น
(หัวเราะ)
สำหรับฉัน มันเป็นหนึ่งปีของการต่อสู้อย่างนักเลงข้างถนน
ชกกันจนน่วม
ความอ่อนแอผลักมา ฉันก็ผลักตอบ
ฉันแพ้การต่อสู้นั้น
แต่ก็ได้ชีวิตกลับคืนมา
แล้วฉันถึงได้กลับไปทำงานวิจัยอีก
และใช้เวลาปีสองสามปีถัดมา
พยายามที่ทำความเข้าใจจริงๆว่า พวกคนเต็มใจนั้น
เขาตัดสินใจอย่างไร
แล้วเรากำลังทำอะไร
กับความอ่อนแอ
ทำไมการต่อสู้กับมันถึงได้ยากลำบากนัก
มีฉันคนเดียวหรือเปล่าที่ต้องต่อสู้กับความอ่อนแอ
ไม่
แล้วนี่ก็คือสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้
เราเมินเฉยต่อความอ่อนแอ
เวลาที่เรารอโทรศัพท์แจ้งผล
ตลกดีค่ะ ฉันโพสบนTwitterกับFacebook
ถามว่า"คุณนิยามคำว่า'ความอ่อนแอ'อย่างไร
อะไรทำให้คุณรู้สึกอ่อนแอ"
และภายในเวลาชั่วโมงครึ่ง มีคนตอบกลับมา150คำตอบ
เพราะฉันอยากรู้ว่า
คนเขาคิดอะไรกัน
การขอให้สามีช่วย
เพราะฉันป่วย และเราเพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ
การชวนสามีให้มีเซ็กส์
การชวนภรรยาให้มีเซ็กส์
การถูกปฏิเสธ เมื่อขอเป็นแฟน
การรอโทรศัพท์จากโรงพยาบาล
การโดนไล่ออก การไล่คนออก
นี่คือโลกที่เราอาศัยอยู่ค่ะ
เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความอ่อนแอ
และวิธีหนึ่งที่เราใช้จัดการกับมัน
คือเมินเฉยต่อความอ่อนแอ
และฉันคิดว่ามีหลักฐานค่ะ
แม้ว่ามันจะไม่ใช่เหตุผลเดียว
แต่ฉันเชื่อว่ามันเป็นสาเหตุหลัก
ที่พวกเราเป็นหนี้
น้ำหนักเกิน
เสพสารและใช้ยา
มากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา
ฉันได้เรียนรู้จากงานวิจัยว่าปัญหาคือ
คุณไม่สามารถเลือกเมินเฉยต่ออารมณ์เป็นอย่างๆได้
คุณไม่สามารถบอกว่า นี่เป็นสิ่งไม่ดี
นี่คือความอ่อนแอ นี่คือความเศร้า นี่คือความละอาย
นี่คือความกลัว นี่คือความผิดหวัง
ฉันไม่อยากรู้สึกสิ่งพวกนี้
ฉันจะกินเบียร์สักสองสามแก้วกับมัฟฟินกล้วยหอมกับถั่ว
(หัวเราะ)
ฉันไม่อยากรู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้
ฉันรู้นะคะว่านั่นเป็นเสียงหัวเราะอย่างเข้าใจ
ฉันเลี้ยงชีพด้วยการวิเคราะห์ชีวิตพวกคุณ
พระเจ้า
(หัวเราะ)
คุณไม่สามารถเมินเฉยต่อความรู้สึกแย่ๆเหล่านั้นได้
โดยไม่เฉยชาต่ออารมณ์อื่นๆของเราไปด้วย
คุณไม่สามารถเลือกเฉยชาเป็นอย่างๆได้
ดังนั้น เวลาที่เราเฉยชาต่อสิ่งเหล่านั้น
เราเฉยชาต่อความปิติ
เราเฉยชาต่อความตื้นตันใจ
เราเฉยชาต่อความสุข
แล้วเราก็เลยทุกข์
เมื่อเรามองหาจุดมุ่งหมายและความหมายของชีวิต
เราจึงรู้สึกอ่อนแอ
แล้วเราก็ดื่มเบียร์ กินมัฟฟินกล้วยกับถั่ว
แล้วมันก็กลายเป็นวัฏจักรอันตราย
สิ่งหนึ่งที่เราต้องคิดถึง
คือเราเฉยชาทำไมและอย่างไร
และมันไม่จำเป็นต้องเป็นการเสพติด
อีกอย่างหนึ่งที่เราทำ
คือเราทำให้สิ่งที่ไม่แน่นอน เป็นสิ่งแน่นอน
ศาสนาเปลี่ยนจากความเชื่อเกี่ยวกับความศรัทธาและความลึกลับ
เป็นความแน่นอน
ฉันถูก คุณผิด หุบปาก
แค่นั้น
แค่ความแน่นอน
ยิ่งกลัวมาก เรายิ่งรู้สึกอ่อนแอมาก
แล้วเราก็จะยิ่งกลัวมากขึ้น
การเมืองทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนั้น
ไม่มีการอภิปราย
ไม่มีการคุยกัน
มีแต่การกล่าวโทษ
คุณรู้ไหมคะว่าการกล่าวโทษถูกอธิบายว่าอย่างไรในงานวิจัย
วิธีปลดปล่อยความเจ็บปวดและความลำบาก
เราอยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ
ตัวอย่างคนที่อยากมีชีวิตแบบนี้ ก็คือฉันเนี่ยแหละ
แต่มันเป็นไปไม่ได้ค่ะ
เพราะสิ่งที่เราทำคือ เราตัดเอาไขมันจากก้น
ไปแปะไว้ที่แก้ม
(หัวเราะ)
ฉันหวังว่าอีกร้อยปีในอนาคต
คนจะหันกลับมามองแล้วคิดว่า"โห"
(หัวเราะ)
และเราสร้างความสมบูรณ์แบบ อย่างอันตรายที่สุด
กับเด็กๆ
ฉันจะบอกให้ค่ะ ว่าเราคิดถึงเด็กๆยังไง
พวกเขาถูกสร้างให้พร้อมที่จะดิ้นรนตั้งแต่เกิด
และเมื่อเราอุ้มลูกที่ดูสมบูรณ์แบบไว้ในอ้อมแขน
หน้าที่ของเราไม่ใช่การพูดว่า "ดูสิ เธอช่างสมบูรณ์แบบ
หน้าที่ของฉันคือต้องรักษาความสมบูรณ์แบบเอาไว้
ต้องให้เธอเข้าทีมเทนนิสได้ภายในป.5 แล้วก็เข้าม.Yaleได้ภายในม.1"
นั่นไม่ใช่งานของเราค่ะ
หน้าที่ของเราคือมองดูแล้วก็พูดว่า
"รู้มั้ย เธอไม่ได้สมบูรณ์แบบ และเธอถูกสร้างมาเพื่อสู้
แต่ว่าเธอมีค่าพอสำหรับความรัก และความผูกพัน"
นั่นคืองานของเรา
ถ้าเรามีเด็กๆทั้งรุ่นที่ถูกเลี้ยงแบบนั้น
เราจะกำจัดปัญหาที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ได้หมด
เราแสร้งคิดว่าสิ่งที่เราทำ
ไม่ได้ส่งผลต่อคนอื่น
เราทำอย่างนั้นในชีวิตส่วนตัว
เราทำอย่างนั้นในธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นการอุดหนุนธุรกิจล้มละลาย หรือกรณีน้ำมันรั่ว
การเรียกคืนสินค้า
เราแสร้งทำเป็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่
ไม่ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อคนอื่น
อยากจะบอกพวกบริษัทใหญ่ว่า เราไม่ใช่เด็กอมมือแล้ว เรารู้
เราแค่อยากให้คุณจริงใจ
แล้วบอกว่า"เราขอโทษ
เราจะแก้ไขมัน"
แต่ว่ามันมีอีกวิธีหนึ่ง สิ่งสุดท้ายที่ฉันอยากจะฝากไว้
ฉันค้นพบว่า
การเปิดเผยตัวตนของเรา
ให้ถูกมองเห็นอย่างลึกซึ้ง
ยอมเปราะบางให้ได้มองเห็น
การรักทั้งสุดจิตสุดใจ
ถึงแม้ว่าจะไม่มีอะไรมารับประกัน
มันยากมาก
ฉันบอกคุณได้เลยในฐานะพ่อแม่ ว่ามันยากเจ็บปวดและมากๆ
ในการรู้สึกถึงความตื้นตันและความปิติ
ในเวลาที่น่าหวาดกลัว
ที่เราสงสัยว่า"ฉันรักเธอได้มากขนาดนี้จริงเหรอ
ฉันเชื่อในสิ่งนี้ทั้งใจจริงๆรึเปล่า
ฉันดุได้ขนาดนี้เลยเหรอ"
ในการหยุดยั้งตัวเอง แทนการกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้น
แล้วพูดว่า "ฉันน่ะโชคดีมาก
เพราะการที่ฉันรู้สึกอ่อนแอ แปลว่าฉันยังมีชีวิต"
และสุดท้าย ที่อาจจะสำคัญที่สุด
คือการเชื่อว่าเราเพียงพอ
เพราะเมื่อเราเริ่มต้นจาก
ความเชื่อที่ว่า"เราเพียงพอแล้ว"
เราจะหยุดร้องตะโกน และเริ่มรับฟัง
เราจะอ่อนโยนและมีเมตตาต่อคนรอบข้างมากขึ้น
และเราก็จะอ่อนโยนและมีเมตตาต่อตัวเองด้วย
นั่นคือทั้งหมดที่ฉันมี ขอบคุณค่ะ
(เสียงปรบมือ)