WEBVTT 00:00:00.000 --> 00:00:09.999 ลักษณะที่โดดเด่นที่สุด ประการหนึ่งของสมองมนุษย์ 00:00:10.023 --> 00:00:13.651 คือความสามารถในการมองเห็น และอธิบายรูปแบบต่าง ๆ 00:00:13.675 --> 00:00:16.331 ในบรรดารูปแบบยากที่สุด ที่เราพยายามจะทำความเข้าใจ 00:00:16.355 --> 00:00:20.765 คือแนวคิดเรื่องการไหลปั่นป่วน ในพลศาสตร์ของไหล 00:00:20.789 --> 00:00:23.272 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก กล่าวว่า 00:00:23.296 --> 00:00:27.357 "หากได้พบพระเจ้าแล้ว ผมจะเอ่ยถามคำถามสองข้อ 00:00:27.381 --> 00:00:30.818 ว่าทำไมถึงสร้างสัมพัทธภาพ แล้วทำไมถึงสร้างความปั่นป่วน 00:00:30.842 --> 00:00:34.908 ผมเชื่อเหลือเกินว่า พระองค์จะทรงตอบข้อแรกได้" 00:00:34.932 --> 00:00:38.280 ความปั่นป่วนนั้นก็เข้าใจยาก ไม่แพ้ความเข้าใจในเชิงคณิตศาสตร์ 00:00:38.304 --> 00:00:42.170 เพียงแต่ว่าเราสามารถ ใช้ศิลปะมาอธิบายรูปร่างของมันได้ 00:00:42.194 --> 00:00:47.284 มิถุนายน ค.ศ. 1889 วินเซนต์ แวน โก๊ะ ได้วาดภาพทิวทัศน์ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 00:00:47.308 --> 00:00:51.635 จากหน้าต่างในห้องโรงพยาบาลจิตเวช แซ็งต์-ปอล-เดอ-โมโซล 00:00:51.659 --> 00:00:53.564 ในเมืองแซ็งต์-เรมี-เดอ-พรอว็องซ์ 00:00:53.588 --> 00:00:56.816 ซึ่งเขามาเข้ารับการรักษา ภายหลังตัดหูตนเอง 00:00:56.840 --> 00:00:58.415 ขณะอยู่ในภาวะวิกลจริต 00:00:59.312 --> 00:01:02.032 ในภาพ "ราตรีประดับดาว" (Starry Night) ฝีพู่กันเป็นวง 00:01:02.056 --> 00:01:07.803 รังสรรค์ภาพท้องฟ้ายามค่ำคืน ที่เต็มไปด้วยเกลียวเมฆและกลุ่มดาว 00:01:07.827 --> 00:01:11.724 แวน โก๊ะ และจิตรกรอิมเพรสชันนิสต์ ท่านอื่น ถ่ายทอดแสงแตกต่างไปจาก 00:01:11.748 --> 00:01:12.955 จิตรกรรุ่นก่อนหน้า 00:01:12.979 --> 00:01:15.749 ราวกับว่าจะสามารถบันทึก การเคลื่อนไหวของแสงได้ 00:01:15.773 --> 00:01:17.836 เช่น ลายผิวน้ำยามต้องแสงอาทิตย์ 00:01:17.860 --> 00:01:21.506 หรือแสงดาว ระยิบระยับและพร่างพราว 00:01:21.530 --> 00:01:23.919 แหวกว่ายไปตามคลื่นเมฆขาว ในท้องฟ้าครามยามราตรี 00:01:24.844 --> 00:01:27.391 ผลที่ได้นี้เกิดจากความส่องสว่าง 00:01:27.415 --> 00:01:30.916 ซึ่งหมายถึงความเข้มของแสง ในสีสันบนผืนผ้าใบ 00:01:30.940 --> 00:01:33.608 ที่เปลือกสมองส่วนการมองเห็น ส่วนดั้งเดิมของเรา 00:01:33.632 --> 00:01:37.554 สามารถเห็นความต่างของแสง และการเคลื่อนไหว แต่ไม่เห็นสี 00:01:37.578 --> 00:01:40.603 ซึ่งจะผสมสองเนื้อสี ที่คนละสีให้เข้ากัน 00:01:40.627 --> 00:01:42.949 หากมีความส่องสว่างเท่ากัน 00:01:42.973 --> 00:01:45.328 แต่เซลล์ประสาทแขนงย่อยที่มีใน สัตว์กลุ่มไพรเมทในสมองของเรา 00:01:45.352 --> 00:01:48.482 จะเห็นสีที่ตัดกันโดยไม่ผสมปนเป 00:01:48.506 --> 00:01:51.433 เมื่อเกิดการตีความ ทั้งสองอย่างพร้อมกัน 00:01:51.457 --> 00:01:57.005 แสงในหลายผลงานของจิตรกรเหล่านี้ จึงดูสั่นไหว เปล่งแสง วูบวาบอย่างประหลาด 00:01:57.898 --> 00:02:00.200 นี่คือวิธีการที่ผลงานของแวน โก๊ะ และจิตรกรอิมเพรสชันนิสต์คนอื่น ๆ 00:02:00.225 --> 00:02:03.042 ใช้การป้ายสีด้วยฝีแปรงอย่างรวดเร็ว 00:02:03.067 --> 00:02:06.733 เพื่อถ่ายทอดการเคลื่อนที่ของแสง ที่สมจริงอย่างน่าทึ่ง 00:02:07.702 --> 00:02:11.182 60 ปีต่อมา นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย อังเดรย์ คอลโมโกรอฟ 00:02:11.206 --> 00:02:13.763 ทำให้เราเข้าใจความปั่นปวน ในเชิงคณิตศาสตร์มากขึ้น 00:02:13.787 --> 00:02:18.133 เมื่อเขาเสนอสมมติฐานว่า พลังงานในของไหลปั่นป่วนที่ระยะ อาร์ 00:02:18.157 --> 00:02:22.467 แปรผันตรงกับระยะอาร์ยกกำลัง 5 ส่วน 3 00:02:22.491 --> 00:02:24.444 การทดลองการวัดพบว่าคอลโมโกรอฟ 00:02:24.469 --> 00:02:27.632 คำนวณได้ใกล้เคียงการไหลปั่นป่วนอย่างมาก 00:02:27.656 --> 00:02:29.788 แม้ว่าคำอธิบายที่สมบูรณ์ของ ความปั่นป่วน 00:02:29.811 --> 00:02:32.576 จะยังคงเป็นหนึ่งในโจทย์ปัญหา ที่ยังแก้ได้ไม่หมดของฟิสิกส์ 00:02:33.181 --> 00:02:37.491 การไหลปั่นป่วนมีลักษณะคล้ายตนเอง หากมีระดับขั้นพลังงาน 00:02:37.515 --> 00:02:41.099 พูดอีกอย่างคือ กระแสวนขนาดใหญ่ ถ่ายทอดพลังงานให้กระแสวนที่เล็กกว่า 00:02:41.123 --> 00:02:43.174 ซึ่งจะถ่ายทอดในระดับต่อไปเรื่อย ๆ 00:02:43.921 --> 00:02:47.204 ตัวอย่างเช่น จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัส 00:02:47.228 --> 00:02:50.568 การก่อตัวของเมฆ และอนุภาคฝุ่นระหว่างดวงดาว 00:02:51.671 --> 00:02:54.885 ในปี ค.ศ. 2004 นักวิทยาศาสตร์ ส่องกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 00:02:54.909 --> 00:02:59.907 พบกระแสวนของฝุ่นและแก๊ส รอบดาวดวงหนึ่งที่ห่างไกล 00:02:59.931 --> 00:03:02.857 และชวนให้พวกเขานึกถึง ภาพ "ราตรีประดับดาว" ของแวน โก๊ะ 00:03:03.961 --> 00:03:07.169 การค้นพบนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ นักวิทยาศาสตร์จากเม็กซิโก สเปน และอังกฤษ 00:03:07.193 --> 00:03:10.570 สนใจศึกษาความส่องสว่าง ในภาพเขียนของแวะ โก๊ะอย่างละเอียด 00:03:11.421 --> 00:03:15.676 พวกเขาค้นพบว่า มีรูปแบบโครงสร้างการไหลปั่นป่วนที่ชัดเจน 00:03:15.700 --> 00:03:20.014 คล้ายสมการของคอลโมโกรอฟ ที่ซ่อนอยู่ในหลาย ๆ ภาพของแวน โก๊ะ 00:03:20.998 --> 00:03:23.200 นักวิจัยจึงแปลงภาพเป็นไฟล์ดิจิทัล 00:03:23.224 --> 00:03:26.946 และวัดเทียบความสว่างที่แปรผัน ในระหว่างทุก ๆ สองพิกเซล 00:03:26.970 --> 00:03:29.665 เมื่อพิจารณาจากส่วนโค้ง ที่วัดการแยกพิกเซลแล้ว 00:03:29.689 --> 00:03:34.431 นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าภาพที่แวน โก๊ะวาด ในช่วงที่มีอาการกระวนกระวายทางจิต 00:03:34.455 --> 00:03:37.137 มีลักษณะคล้ายการไหลปั่นป่วนอย่างน่าทึ่ง 00:03:37.987 --> 00:03:41.974 ในขณะที่ภาพตนเองสูบกล้องยาเส้น ที่วาดในช่วงที่ชีวิตของแวน โก๊ะ สุขสงบนั้น 00:03:41.999 --> 00:03:43.860 กลับไม่มีความคล้ายคลึงเช่นนี้อยู่ 00:03:44.313 --> 00:03:46.787 รวมไปถึงผลงานของจิตรกรท่านอื่น 00:03:46.811 --> 00:03:49.337 ที่ดูเผิน ๆ แล้วปั่นป่วนพอกัน 00:03:49.362 --> 00:03:50.977 เช่นภาพ "หวีดสยอง" ของมุงค์ 00:03:51.418 --> 00:03:54.672 แม้จะสรุปง่ายไปหน่อยหากกล่าวว่า อัจฉริยภาพในช่วงปั่นป่วนของแวน โก๊ะ 00:03:54.696 --> 00:03:57.068 ทำให้เขาวาดภาพความปั่นป่วนได้ 00:03:57.092 --> 00:04:02.002 แต่สิ่งที่ยากเกินบรรยายคือแสดงออกถึง ความงดงามที่ถูกปลุกเร้าแห่งข้อเท็จจริง 00:04:02.026 --> 00:04:04.453 ในห้วงความทรมานแสนสาหัส 00:04:04.477 --> 00:04:07.907 แวน โก๊ะสามารถรับรู้และแสดง 00:04:07.931 --> 00:04:10.336 แนวคิดหนึ่งที่ยากอย่างยิ่งยวด 00:04:10.360 --> 00:04:13.597 ที่ธรรมชาติมอบให้มวลมนุษยชาติ 00:04:13.621 --> 00:04:15.736 และผสานมโนภาพ ที่ไม่เหมือนใครของเขา 00:04:15.760 --> 00:04:19.926 เข้ากับความลี้ลับ ของการเคลื่อนที่ ของไหล และแสง