ถ้ามีใครถามคุณว่าใครที่ร่ำรวยที่สุด
ในประวัติศาสตร์
คุณจะนึกถึงใคร
อาจจะเป็นนายธนาคารพันล้านหรือเจ้าพ่อบรรษัท
อย่างเช่น บิล เกตส์ หรือ จอห์น ดี รอคกีเฟลเลอร์
แล้วราชาอัฟริกัน มูซา คีตา ที่ 1 ?
ที่ปกครองจักรวรรดิมาลี ยุคศตวรรษที่ 14
มันซา มูซา หรือ ราชาเหนือราชา
ที่รวมโชคลาภทั้งหมดที่ทำให้พระองค์
กลายเป็นผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก
แต่ความมั่งคั่งของพระองค์ส่วนหนึ่งมาจาก
มรดกตกทอด
ตอนที่มันซา มูซา ขึ้นครองราชย์ในปี 1312
ขณะที่ชาติในยุโรปต่างหายนะจาก
ภาวะข้าวยากหมากแพงและสงครามกลางเมือง
แต่อาณาจักรราชาในแอฟริกันและโลกมุสลิม
ต่างกำลังเจริญรุ่งเรือง
และมันซา มูซา ได้สร้างราชอำนาจยิ่งใหญ่ด้วย
การเก็บเกี่ยวผลพวงจากความเจริญรุ่งเรือง
ให้แก่ราชอาณาจักรพระองค์
ด้วยกลยุทธ์รวมนครทิมบัคทู
และสร้างราชอำนาจเหนือ นครเก๊า
ควบคุมอำนาจเหนือเส้นทางทางการค้าที่สำคัญๆ
ระหว่างชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับ
แอฟริกันตะวันตก
นำไปสู่ยุคขยายดินแดน
ที่ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ราชอาณาจักรของจักรวรรดิ์มาลี ร่ำรวยจาก
ทรัพยากรธรรมชาติ
เช่น ทองคำกับเกลือ
ประจักษ์พยานยืนยันความร่ำรวยราชามันซา มูซา
ในปี 1324
เมื่อพระองค์เสด็จดำเนินพิธีฮัจย์ที่เมกกะ
ไม่ใช่เสด็จโดยลำพังในงบประมาณที่จำกัด
แต่มีกองคาราวานติดตามไกลสุดลูกหูลูกตา
จำนวนกองคาราวานตามคำร่ำลือตามตำนาน
และมีการบันทึกไว้แตกต่างกัน
จนยากจะตัดสินชี้ชัดว่าแค่ไหนเพียงใด
แต่ส่วนมากเห็นพ้องกันกับความมากมายมหาศาล
ของจำนวนกองคาราวานที่เดินทาง
ผู้บันทึกจดหมายเหตุได้จดไว้ว่ามีผู้ร่วม
เดินทางนับแสนคน มีทั้งทหาร
ข้าราชสำนัก
และทาส
ผู้นำสาส์น 500 คนต่างถือถาดทองคำ
และแต่งกายด้วยผ้าไหมชั้นดี
และอูฐกับม้าจำนวนมากที่มีสายรัดประดับทองคำ
ขณะหยุดพักที่นครไคโร
ราชามันซา มูซา มีผู้เล่าว่าได้ใช้จ่ายทองคำ
ไปจำนวนมหาศาล
ในการให้ทานคนจนและซื้อของที่ระลึก
รวมทั้งการสร้างสุเหร่าจำนวนมากในระหว่างทาง
ความจริงแล้ว การใช้จ่ายของพระองค์อาจทำลาย
เสถียรภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค
ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมหาศาล
การเสด็จครั้งนี้ใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี
ก่อนที่ราชามันซา มูซา เสด็จกลับ
คำเล่าลือความมั่งคั่งน่าพิศวงพระองค์
ได้กระจายไปทั่วเมืองท่าในเมดิเตอร์เรเนียน
มาลีกับราชาได้ยกระดับเกือบใกล้เคียงกับ
สถานะภาพตามนิทานปรับปรา
ตอกย้ำการผนวกเข้ากับคาตาลันแอตลาสในปี 1375
หนึ่งในแผนที่โลกสำคัญที่สุดของยุโรปยุคกลาง
มีภาพราชากำลังทรงคทาและทองคำที่ส่องแสง
เป็นประกาย
มันซา มูซา ได้บันทึกจักรวรรดิ์และพระองค์
ลงไว้ในแผนที่
แต่ความเจริญทางวัตถุไม่ใช่เรื่องที่พระองค์
ทรงกังวลพระทัย
ในฐานะมุสลิมที่เคร่งศาสนา พระองค์ได้ใส่พระทัย
เรื่องสำคัญที่สุดในทิมบักทู
ให้เป็นศูนย์กลางศาสนาและการเรียนรู้
ผนวกเข้าด้วยกันอย่างสำคัญยิ่ง
หลังจากเสด็จจากการทำพิธีฮัจย์
พระองค์ได้สร้างมหาสุเหร่าดีจินเกอร์รีเบอร์
ผลงานของสถาปนิก อันดาลูเซียน
ทั้งยังสร้างมหาวิทยาลัยที่สำคัญไปพร้อม ๆ
กับยกฐานะชื่อเสียงมหานคร
ดึงดูดความสนใจนักวิชาการและนักศึกษา
จากทั่วทุกมุมโลกอิสลาม
อาณาจักรราชามันซา มูซา กลายเป็นชุมชนเมือง
เต็มไปด้วยโรงเรียนกับสุเหร่าที่หนาแน่น
นับหลายร้อยแห่งในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่
ความร่ำรวยของพระองค์ตกทอดไปหลายรุ่น
ทุกวันนี้ ยังมีอนุสรณ์สุสานสถาน ห้องสมุด
และสุเหร่า จำนวนมาก
ที่เป็นประจักษ์พยานยุคทองประวัติศาสตร์มาลี