0:00:10.170,0:00:11.172 คุณเคยสังเกตไหม 0:00:11.172,0:00:12.570 ว่าดวงจันทร์นั้นดูใหญ่ขึ้น 0:00:12.570,0:00:14.042 เมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้า 0:00:14.042,0:00:15.976 ใหญ่กว่าตอนที่มันอยู่สูงเหนือหัว 0:00:15.976,0:00:17.530 คุณไม่ใช่แค่คนเดียวที่รู้สึกเช่นนั้น 0:00:17.530,0:00:19.730 ผู้คนต่างสงสัยเกี่ยวกับปรากฎการณ์ประหลาดนี้ 0:00:19.730,0:00:21.105 ตั้งแต่ยุคโบราณ 0:00:21.105,0:00:23.600 และที่น่าประหลาดใจ คือเรายังไม่มี 0:00:23.600,0:00:24.315 คำอธิบายดีๆ 0:00:24.315,0:00:26.358 แต่ไม่ใช่เพราะเราไม่พยายามอธิบายมัน 0:00:26.358,0:00:28.626 นักคิดผู้ยิ่งใหญ่หลายๆ คนในประวัติศาสตร์ 0:00:28.626,0:00:29.395 เช่น อริสโตเติล 0:00:29.395,0:00:30.084 พโตเลมี 0:00:30.084,0:00:30.816 ดาวินชี่ 0:00:30.816,0:00:31.560 เดคาร์ท 0:00:31.560,0:00:33.286 ล้วนต่างใคร่ครวญปัญหานี้มาแล้ว 0:00:33.286,0:00:36.645 แต่ก็ไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีพอ 0:00:36.645,0:00:38.317 แนวคิดแรกๆ เสนอว่า 0:00:38.317,0:00:40.426 ภาพของดวงจันทร์บนท้องฟ้า 0:00:40.426,0:00:42.797 นั้นใหญ่ขึ้นจริงๆ ตอนมันอยู่ที่ขอบฟ้า 0:00:42.797,0:00:45.728 บางทีชั้นบรรยากาศโลกอาจทำตัวเป็นเหมือนเลนส์ยักษ์ 0:00:45.728,0:00:48.343 ที่ขยายภาพดวงจันทร์ในขณะที่มันขึ้นหรือตก 0:00:48.343,0:00:50.680 แต่คำอธิบายนั้นเหลวไหล 0:00:50.680,0:00:52.816 ถ้าเป็นจริง การหักเหแสงของชั้นบรรยากาศโลก 0:00:52.816,0:00:55.100 จะทำให้ดวงจันทร์เล็กลงนิดหน่อยด้วยซ้ำ 0:00:55.100,0:00:56.561 อีกทั้ง ถ้าคุณวัดขนาด 0:00:56.561,0:00:57.926 ของดวงจันทร์ที่คุณเห็น 0:00:57.926,0:00:59.940 ที่ตำแหน่งต่างๆ 0:00:59.940,0:01:00.594 ขนาดนั้นจะเท่าเดิมตลอด 0:01:00.594,0:01:02.438 แต่กระนั้น ทำไมมันจึงดูเหมือนใหญ่กว่า 0:01:02.438,0:01:03.822 เมื่อตอนมันขึ้นมาหล่ะ? 0:01:03.822,0:01:06.141 นี่คงเป็นรูปแบบหนึ่งของภาพลวงตา 0:01:06.141,0:01:08.207 คำถามก็คือ ภาพลวงตาแบบไหน 0:01:08.207,0:01:11.113 คำอธิบายหนึ่งคือ[br]ปรากฎการณ์ เอ็บบิงเฮาล์ (Ebbinghaus Illusion) 0:01:11.113,0:01:13.327 คือเมื่อวัตุที่เหมือนกันสองชิ้นถูกมองว่าต่างกัน 0:01:13.327,0:01:14.796 เพราะขนาดเปรียบเทียบ 0:01:14.796,0:01:17.100 กับวัตถุที่ล้อมรอบ 0:01:17.100,0:01:21.295 วงกลมตรงกลางทั้งสองวงนั้น จริงๆ แล้วมีขนาดเท่ากัน 0:01:21.295,0:01:23.323 บางทีดวงจันทร์ดูใหญ่ขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้า 0:01:23.323,0:01:25.206 เพราะว่าใกล้ๆ มัน มีต้นไม้เล็กๆ, 0:01:25.206,0:01:25.843 บ้านเรือน, 0:01:25.843,0:01:27.680 และตึกระฟ้าไกลๆ. 0:01:27.680,0:01:29.143 แต่เมื่อดวงจันทร์ลอยสูงขึ้น 0:01:29.143,0:01:31.648 มันถูกห้อมล้อมด้วยความมืดอันกว้างใหญ่ของท้องฟ้า 0:01:31.648,0:01:34.128 จึงทำให้มันดูเล็กลง 0:01:34.128,0:01:37.096 ความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือ[br]ปรากฎการณ์ พอนโซ (Ponzo Illusion) ที่โด่งดัง 0:01:37.096,0:01:39.515 ถ้าคุณเคยพยายามวาดภาพทิวทัศน์ 0:01:39.515,0:01:41.864 คุณจะรู้ว่าถ้าบางอย่างอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้ามากเท่าไร 0:01:41.864,0:01:43.818 คุณควรเขียนให้มันมีขนาดเล็กลงมากเท่านั้น 0:01:43.818,0:01:46.593 สมองของเราชดเชยโดยอัตโนมัติ 0:01:46.593,0:01:48.706 โดยการรับรู้สิ่งที่อยู่ใกล้ขอบฟ้า 0:01:48.706,0:01:50.876 ว่ามันใหญ่กว่าที่มันปรากฎ 0:01:50.876,0:01:52.787 เส้นสีเหลือง 2 เส้นในรูปวาดนี้ 0:01:52.787,0:01:53.904 มีขนาดเท่ากัน 0:01:53.904,0:01:55.572 แต่อันบนนั้นดูใหญ่กว่า 0:01:55.572,0:01:57.412 เพราะเราตีความมันว่ามันถอยห่าง 0:01:57.412,0:01:59.042 ออกไปในเส้นขอบฟ้า 0:01:59.042,0:02:01.379 ดังนั้น ระหว่างพอนโซ และเอ็บบิงเฮาส์ 0:02:01.379,0:02:02.911 ดูราวกับว่าเราได้ไขปริศนา 0:02:02.911,0:02:03.995 แห่งภาพลวงตาของดวงจันทร์แล้ว 0:02:03.995,0:02:06.375 แต่โชคร้าย ที่ยังมีรายละเอียดอีกสองสามอย่าง 0:02:06.375,0:02:08.354 ที่ยังเป็นเรื่องซับซ้อนอยู่ 0:02:08.384,0:02:11.352 อย่างแรก ถ้านี่เป็นแค่ปรากฎการณ์เอบบิงเฮาส์ 0:02:11.352,0:02:12.884 เราก็ควรคาดว่า ภาพลวงตาของดวงจันทร์ 0:02:12.884,0:02:16.112 จะหายไปสำหรับเหล่านักบินที่บินสูงเหนือเมฆ 0:02:16.112,0:02:18.066 เพราะคงไม่มีสิ่งเล็กๆ อื่นๆ 0:02:18.066,0:02:19.599 ใกล้เส้นขอบฟ้า 0:02:19.599,0:02:22.603 แต่ในความเป็นจริง นักบิน กะลาสีเรือ ที่อยู่กลางทะเล 0:02:22.603,0:02:24.825 ก็ยังอ้างว่าเห็นภาพลวงตาของดวงจันทร์ 0:02:24.825,0:02:27.525 ในอีกแง่หนึ่ง ถ้านั่นเป็นแค่การ[br]ที่สมองของเราปรับแก้ขนาดโดยอัตโนมัติ 0:02:27.525,0:02:29.663 สำหรับวัตถุที่อยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า 0:02:29.663,0:02:31.196 เราน่าจะต้องเห็นภาพลวงของดวงจันทร์ 0:02:31.196,0:02:33.488 ในท้องฟ้าจำลองด้วยเช่นกัน 0:02:33.488,0:02:34.449 ที่ซึ่งทั้งท้องฟ้า 0:02:34.449,0:02:35.619 รวมถึงเส้นขอบฟ้า 0:02:35.619,0:02:38.789 ถูกแสดงในโดมทรงกลมเหนือหัวของเรา 0:02:38.789,0:02:40.430 กระนั้น การศึกษาได้เผยให้เห็นว่า 0:02:40.430,0:02:42.141 มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น 0:02:42.141,0:02:43.257 ที่แย่กว่านั้น 0:02:43.257,0:02:45.929 ภาพลวงตาของดวงจันทร์จะหายไปโดยสิ้นเชิง 0:02:45.929,0:02:47.011 ถ้าคุณแค่ก้มลง 0:02:47.011,0:02:49.071 และมองดวงจันทร์ลอดใต้หว่างขา 0:02:49.071,0:02:51.379 นี่มันตลกสิ้นดี 0:02:52.470,0:02:54.551 หนึ่งในคำอธิบายที่ดีที่สุดตอนนี้ 0:02:54.551,0:02:57.384 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ [br]คอนเวอร์ชัน ไมครอปเซีย (Convergence Micropsia) 0:02:57.384,0:02:59.568 สมองของเรา ตัดสินระยะถึงวัตถุต่างๆ 0:02:59.568,0:03:01.108 และขนาดที่เห็นได้ของมัน 0:03:01.108,0:03:03.064 โดยการปรับโฟกัสของดวงตา 0:03:03.064,0:03:04.528 เมื่อดูที่เส้นขอบฟ้า 0:03:04.528,0:03:06.861 ตาของคุณต้องปรับโฟกัสไปไกลๆ 0:03:06.861,0:03:09.200 ดังนั้นสมองคุณจึงรู้ว่าคุณกำลังมองไปที่ไกลๆ 0:03:09.200,0:03:11.178 ดวงจันทร์จึงถูกเห็นว่ามีขนาดหนึ่ง 0:03:11.178,0:03:12.860 สองคุณคิดว่ามันไกล 0:03:12.860,0:03:13.705 ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเช่นนั้น 0:03:13.705,0:03:16.585 ดังนั้น โดยสัญชาติญาณ คุณจึงสรุปว่าดวงจันทร์จะต้องใหญ่ 0:03:16.585,0:03:18.619 แต่เมื่อมองขึ้นไปในท้องฟ้าสูงขึ้น 0:03:18.619,0:03:20.505 ไม่มีอะไรให้ตาของคุณโฟกัส 0:03:20.505,0:03:22.344 ดังนั้น ตาเราจึงปรับไปที่ค่าโฟกัสปกติเวลาพัก 0:03:22.344,0:03:25.261 ซึ่งเป็นระยะทางไม่กี่เมตร 0:03:25.261,0:03:27.185 ทีนี้สมองของคุณก็คิดว่าดวงจันทร์นั้นอยู่ใกล้มาก 0:03:27.185,0:03:28.343 กว่าในความเป็นจริง 0:03:28.343,0:03:29.430 ดังนั้น คุณจึงสรุปเอา 0:03:29.430,0:03:32.169 ว่าดวงจันทร์นั้นไม่ได้ใหญ่อย่างที่คุณคิด 0:03:32.169,0:03:33.811 มากกว่าที่จะอธิบายว่าทำไมดวงจันทร์ 0:03:33.811,0:03:35.639 จึงดูใหญ่มากเมื่ออยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า 0:03:35.639,0:03:37.432 คอนเวอร์เจนซ์ ไมครอปเซีย อธิบายว่า 0:03:37.432,0:03:40.312 ทำไมดวงจันทร์จึงดูเล็กมากเมื่ออยู่สูง 0:03:40.312,0:03:42.125 ยังไม่พอใจหรือ? 0:03:42.125,0:03:44.851 จริงๆ แล้ว นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนก็ไม่พอใจเช่นกัน 0:03:44.851,0:03:47.841 ดังนั้นการโต้แย่งเกี่ยวกับภาพลวงตาของดวงจันทร์ก็ยังดำเนินต่อ 0:03:47.841,0:03:50.346 และต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังมองเห็นมัน 0:03:50.346,0:03:51.440 อยู่บนท้องฟ้ายามค่ำคืน