1 00:00:06,737 --> 00:00:11,297 ลึกลงไปในท้องใต้ซี่โครง หนึ่งในอวัยวะที่คุณจะพบก็คือ ตับอ่อน 2 00:00:11,297 --> 00:00:15,646 อวัยวะที่มีหน้าที่ประหนึ่ง เป็นโค้ชสุขภาพส่วนตัว 3 00:00:15,646 --> 00:00:20,232 อวัยวะนี้คอยควบคุมระดับน้ำตาล รวมทั้งผลิตน้ำย่อยเฉพาะ 4 00:00:20,232 --> 00:00:22,581 ที่ช่วยในการสกัดสารอาหารสำคัญ 5 00:00:22,581 --> 00:00:26,215 ซึ่งช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่แข็งแรงเป็นปกติ 6 00:00:26,215 --> 00:00:28,937 ตำแหน่งของตับอ่อนนั้น อยู่หลังกระเพาะอาหาร 7 00:00:28,937 --> 00:00:33,858 ซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารของมัน 8 00:00:33,858 --> 00:00:38,070 โดยมันจะผลิตน้ำย่อยที่ประกอบไปด้วยน้ำ 9 00:00:38,070 --> 00:00:39,518 โซเดียมไบคาร์บอเนต 10 00:00:39,518 --> 00:00:42,764 และเอนไซม์ย่อยอาหารต่างๆ 11 00:00:42,764 --> 00:00:46,715 โซเดียมไบคาร์บอเนต จะปรับสภาพความเป็นกรดจากกระเพาะอาหาร 12 00:00:46,715 --> 00:00:50,574 ทำให้เอ็นไซม์ย่อยอาหารต่างๆ สามารถทำงานได้ 13 00:00:50,574 --> 00:00:53,686 เอนไซม์ไลเปส (Lipase) จะย่อยสลายไขมัน 14 00:00:53,686 --> 00:00:56,134 เอนไซม์โปรตีเอส (protease) จะย่อยสลายโปรตีน 15 00:00:56,134 --> 00:01:00,661 เอนไซม์อะไมเลส (amylase) จะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาล 16 00:01:00,661 --> 00:01:03,867 ซึ่งสารอาหารเหล่านั้นจะถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสเลือด 17 00:01:03,867 --> 00:01:06,693 ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่างกาย 18 00:01:06,693 --> 00:01:11,136 นอกจากนี้ ตับอ่อนยังมีหน้าที่สำคัญอีกอย่าง 19 00:01:11,136 --> 00:01:13,901 คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 20 00:01:13,901 --> 00:01:17,611 โดยอาศัยฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) และกลูคากอน (glucagon) 21 00:01:17,611 --> 00:01:22,212 ซึ่งผลิตโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อว่า ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) 22 00:01:22,212 --> 00:01:25,974 ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงหรือต่ำเกินไป อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 23 00:01:25,974 --> 00:01:28,959 ดังนั้นตับอ่อนจึงต้องคอยดูอยู่ตลอดเวลา 24 00:01:28,959 --> 00:01:32,719 หลังมื้ออาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น 25 00:01:32,719 --> 00:01:36,770 ตับอ่อนจะปล่อยอินซูลินออกมา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ 26 00:01:36,770 --> 00:01:39,659 โดยทำให้เซลล์ต่างๆ รับน้ำตาลส่วนเกินเข้าไป 27 00:01:39,659 --> 00:01:44,186 ซึ่งเซลล์อาจจะใช้ในทันที หรือเก็บไว้ใช้ในภายหลังก็ได้ 28 00:01:44,186 --> 00:01:47,916 อินซูลินยังส่งสัญญาณไปยังตับ เพื่อให้หยุดการผลิตน้ำตาล 29 00:01:47,916 --> 00:01:50,552 ในทางกลับกัน ถ้าน้ำตาลในเลือด อยู่ในระดับต่ำ 30 00:01:50,552 --> 00:01:53,953 ตับอ่อนจะปล่อยฮอร์โมน ชื่อ กลูคากอน (glucagon) 31 00:01:53,953 --> 00:01:57,204 ที่จะทำให้เซลล์ร่างกายต่างๆและตับ ปล่อยน้ำตาลที่กักตุนไว้ออกมา 32 00:01:57,204 --> 00:01:59,353 เข้าสู่กระแสเลือด 33 00:01:59,353 --> 00:02:04,782 การทำงานอินซูลินและกลูคากอนที่ตรงข้ามกัน จะคอยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด 34 00:02:04,782 --> 00:02:08,739 แต่ตับอ่อนที่มีปัญหา จะไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ 35 00:02:08,739 --> 00:02:11,593 สมดุลของระดับน้ำตาลก็จะเสียไป 36 00:02:11,593 --> 00:02:13,235 ถ้ามีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ตับอ่อน 37 00:02:13,235 --> 00:02:17,477 ความสามารถในการสร้างอินซูลินก็จะลดลง หรือแม้กระทั่งเสียไปโดยสิ้นเชิง 38 00:02:17,477 --> 00:02:21,361 ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน (diabetes) 39 00:02:21,361 --> 00:02:25,906 เมื่อไม่มีอินซูลินคอยควบคุม น้ำตาลในเลือดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 40 00:02:25,906 --> 00:02:29,389 ทำให้ผนังหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น และเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 41 00:02:29,389 --> 00:02:30,680 ไตวาย 42 00:02:30,680 --> 00:02:32,125 และโรคหลอดเลือดสมอง 43 00:02:32,125 --> 00:02:35,561 การขาดอินซูลิน ยังทำให้เซลล์ต่างๆ ขาดน้ำตาล 44 00:02:35,561 --> 00:02:37,907 ซึ่งจำเป็นในการเติบโตและการทำงานของเซลล์ 45 00:02:37,907 --> 00:02:41,413 ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมี ระดับฮอร์โมนกลูคากอนในเลือดที่สูง 46 00:02:41,413 --> 00:02:44,274 ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นไปอีก 47 00:02:44,274 --> 00:02:48,323 ถ้าไม่มีตับอ่อน ระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะเสียสมดุล 48 00:02:48,323 --> 00:02:51,883 รวมถึงการไม่สามารถย่อยสารอาหาร ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย 49 00:02:51,883 --> 00:02:53,362 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 50 00:02:53,362 --> 00:02:56,259 เราจะโยนภาระเรื่องสุขภาพ ให้ตับอ่อนเพียงฝ่ายเดียวคงไม่ได้ 51 00:02:56,259 --> 00:02:59,851 เราเองก็ต้องตระหนักถึงหน้าที่ ที่ต้องทำด้วยเช่นกัน