เราทุกคนรู้จักไดโนเสาร์
ที่เคยครองโลกใบนี้
แต่หลังไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว
มีสัตว์ขนาดใหญ่หรือเมกะเฟานา
(megafauna)
อาศัยอยู่ทุกทวีป
ในทวีปอเมริกา
สลอธบกที่มีขนาดเท่าช้าง
โค่นต้นไม้ด้วยกรงเล็บของมัน
เสือเขี้ยวดาบขนาดเท่าหมีสีน้ำตาล
ออกล่าเป็นฝูง
แต่พวกมันก็ไม่อาจเทียบได้กับหมีหน้าสั้น
ที่เมื่อยืนสองขาแล้วจะมีความสูงสิบสามฟุต
และน่าจะสามารถไล่ตะเพิดเสือเขี้ยวดาบ
ให้ห่างจากเหยื่อของมัน
อีกยังมีตัวนิ่มที่มีขนาดเท่ากับรถคันย่อม ๆ
บีเวอร์ยาวแปดฟุต
และนกที่ปีกกว้าง 26 ฟุต
แทบทุกมุมโลก เมกะเฟานา
ถูกทำให้สูญพันธุ์
ส่วนใหญ่เป็นเพราะการล่าโดยมนุษย์
แต่ยังมีบางสายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตและ
อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
ในสถานที่อื่น ๆ เรายังเห็นมรดกที่
สัตว์เหล่านี้ทิ้งไว้
ต้นไม้ส่วนใหญ่งอกใหม่ได้
เมื่อลำต้นถูกโค่น
เพื่อเป็นการตอบสนอง
ต่อเปลือกไม้ที่สูญเสียไปมาก
และเพื่อให้รอดจากการถูกผ่า บิด
หรือเหยียบย่ำ
ส่วนหนึ่งก็เพราะพวกมันมีวิวัฒนาการ
เพื่อให้รอดจากเงื้อมมือของช้าง
พรองฮอร์นอเมริกันวิ่งได้เร็วมาก
เพราะมันวิวัฒนาการมาเพื่อหนีชีตาห์อเมริกัน
สัตว์ที่รอดชีวิต
อาศัยในระบบนิเวศโบราณ
พวกมันเคยปรับตัวให้พ้นภัย
จากสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ทุกวันนี้ มันอาจเป็นไปได้
ที่เราอาจปลุกผีเหล่านั้นให้ฟื้นคืนชีพ
นำสัตว์ที่สูญพันธุ์เหล่านี้กับมาโดยใช้ยีน
เช่น นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัย
การโคลนช้างแมมมอธจากซากแช่แข็ง
แต่ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้
เราก็ยังสามารถฟื้นระบบนิเวศหลาย ๆ แห่ง
ที่สูญหายไปแล้วได้
อย่างไรน่ะหรือ
ก็ด้วยการใช้ไร่นาที่ถูกทิ้งร้างไงล่ะ
เมื่อตลาดอาหารโยงใยทั่วโลก
พื้นที่แห้งแล้งไม่สามารถถูกใช้งาน
ได้ดีเท่ากับที่อื่น ๆ
ชาวนาในที่แล้งไม่อาจต่อกร
กับคนที่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่ที่ดินดีกว่าได้
ด้วยเหตุนี้ ไร่นาจึงเริ่มหดหายในหลายพื้นที่
และต้นไม้ก็เริ่มหวนคืนกลับมา
การประมาณการณ์หนึ่งกล่าวว่า
พื้นที่สองในสามของสหรัฐอเมริกา
ที่เคยเป็นป่าและถูกถางเพื่อทำไร่
จะกลับมาเป็นป่าอีกครั้ง
อีกการประมาณการณ์หนึ่งกล่าวว่า
ภายในปี ค.ศ. 2030
พื้นที่ในยุโรปขนาดเท่ากับประเทศโปแลนด์
จะถูกชาวนาทิ้งให้รกร้าง
ฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะใช้ดีเอ็นเอฟื้นคืนชีพ
สลอธบกและตัวนิ่มยักษ์ไม่ได้
แต่เราสามารถนำหมี หมาป่า สิงโตภูเขา
แมวลิงซ์ กวางมูส และควายไบสัน
กลับสู่ที่ที่มันเคยอาศัยได้
สัตว์บางสายพันธุ์เหล่านี้สามารถเปลี่ยน
สภาพแวดล้อมรอบ ๆ พวกมัน
ซึ่งเป็นการสร้างสภาวะ
ที่ทำให้สายพันธุ์อื่นเติบโตได้
เมื่อหมาป่าถูกนำกลับมา
สู่อุทยานแห่งชาติเยลโล่ว์สโตน
ในปี ค.ศ. 1995
พวกมันพลิกโฉมระบบนิเวศอย่างรวดเร็ว
ที่ใดที่หมาป่าลดประชากรกวาง
ที่หนาแน่นเกินไป
พืชพรรณก็เริ่มฟื้นฟูกลับมา
ต้นไม้บางต้นสูงขึ้นห้าเท่าในเวลาแค่หกปี
เมื่อป่าฟื้นคืนกลับมา
นกร้องเพลงก็กลับมาเช่นกัน
บีเวอร์ที่กินต้นไม้ก็เพิ่มจำนวนขึ้นในแม่น้ำ
และเขื่อนที่มันสร้างก็เป็นบ้าน
ให้กับตัวนาก หนูมัสก์แรท เป็ด กบ และปลา
หมาป่ายังฆ่าไคโยตี ซึ่งทำให้กระต่าย
และหนูเพิ่มจำนวนขึ้น
เป็นอาหารแก่เหยี่ยว วีเซิล
จิ้งจอก และแบดเจอร์
ส่วนอินทรีหัวล้านและกากินซาก
ที่หมาป่าเหลือทิ้งไว้เป็นอาหาร
เช่นเดียวกับหมี ที่กินเบอร์รี่
จากพุ่มไม้ที่หวนกลับมา
จำนวนควายไบสันก็เพิ่มขึ้น
เมื่อพืชที่เป็นอาหารของพวกมัน
ถูกทำให้ฟื้นคืนกลับมา
หมาป่าพลิกโฉมแทบทุกสิ่ง
นี่คือตัวอย่างของลำดับการบริโภค
หรือการเปลี่ยนแปลงที่ยอดโซ่อาหาร
ที่ส่งผลกระทบตกทอดลงมา
ถึงส่วนล่างของห่วงโซ่อาหาร
และส่งผลต่อทุกระดับ
การค้นพบลำดับการบริโภคที่แผ่ขยายออกไป
อาจเป็นหนึ่งในการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
ที่น่าตื่นเต้นที่สุด
ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
เพราะมันทำให้เรารู้ว่า
ระบบนิเวศที่สูญเสีย
สิ่งมีชีวิตใหญ่
เพียงแค่หนึ่งหรือสองสายพันธุ์
อาจมีลักษณะที่ต่างไปโดยสิ้นเชิง
จากระบบนิเวศที่ยังมีพวกมันอยู่
ทั่วโลกจึงมีกระแสใหม่
เพื่อเร่งการฟื้นฟูธรรมชาติ
ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
การคืนสัตว์สู่ป่า
อันหมายถึงการแก้ไขความเสียหาย
ที่เราสร้างเอาไว้
ด้วยการคืนสายพันธุ์
ที่ถูกขับออกจากพื้นที่
แล้วถอยหลังออกมา
ไม่ใช่การพยายาม
สร้างระบบนิเวศในอุดมคติ
หรือสร้างท้องทุ่ง ป่าฝน หรือแนวปะการัง
การคืนสัตว์สู่ป่าคือการคืนสายพันธุ์
ที่ขับเคลื่อนกระบวนการพลวัต
แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
แต่ที่สำคัญคือต้องไม่ใช้การคืนสัตว์สู่ป่า
เป็นข้ออ้างในการขับไล่ผู้คนออกจากพื้นที่
และมันควรจะเกิดก็ต่อเมื่อคนในพื้นที่
เห็นชอบและเต็มใจเท่านั้น
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังยืน
อยู่บนหน้าผาในอังกฤษ
ดูวาฬสเปิร์มไล่ฝูงปลาแฮร์ริง
อย่างที่มันเคยทำในบริเวณ
ที่ไม่ไกลจากฝั่ง
จนถึงศตวรรษที่ 18
ด้วยการสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเล
ซึ่งห้ามการทำประมงเชิงพาณิชย์
ภาพแบบนี้ก็หวนคืนกลับมาอีกครั้ง
จินตนาการถึงทุ่งเซเรนเกติในยุโรป
ที่เต็มไปด้วยสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่
ทั้งฮิปโป แรด ช้าง ไฮยีนา และสิงโต
นอกจากสัตว์และพืชที่ถูกฟื้นฟูกลับมาแล้ว
การคืนสัตว์สู่ป่านำอีกสิ่งหนึ่งกลับมาด้วย
นั่นก็คือสายพันธุ์หายากนามว่า ความหวัง
มันบอกให้เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศ
ไม่จำเป็นต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน
ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบสงัดอาจตามมา
ด้วยฤดูร้อนอันโลดโผนก็เป็นได้