ผมขอเริ่มเลยนะครับ ถ้าเป็นไปได้ ด้วยเรื่องของหอยทากเพสลี (Paisley snail) ตอนค่ำของวันที่ 26 สิงหาคม 1928 เมย์ ดอเนอฮู (May Donaghue) ขึ้นรถไฟจากกลาสโกว์ ไปที่เมืองเพสลี่ ห่างไปเจ็ตไมล์ทางทิศตะวันออกของเมือง และที่ร้านอาหารเวลมีโด คาเฟ่ (Wellmeadow Cafe ) ที่นั่น เธอทานไอศกรีมโซดาสก๊อตส์ (Scots ice cream float) ซึ่งมีส่วนผสมเป็นไอศกรีมกับเบียร์ขิง ซึ่งเพื่อนของเธอซื้อให้ทาน เบียร์ขิงถูกนำมาเสริฟ ในขวดสีน้ำตาลทึบแสง ป้ายติดว่า "D. Stevenson, Glen Lane, Paisley" เธอดื่มมันไปบ้าง แต่ระหว่างที่เบียร์ขิงที่เหลือนั้นถูกเท ลงไปในแก้วของเธอ หอยทากที่เน่าเปื่อย ก็ลอยขึ้นมา สามวันต่อมา เธอเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาล กลาสโกว์ รอยัล อินเฟอร์มารี (Glasgow Royal Infirmary) และถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบรุนแรง พร้อมด้วยอาการช็อก คดีของดอเนอฮูกับสตีเวนสัน ที่ตามมาหลังจากนั้น กลายเป็นคดีตัวอย่างสำคัญมาก เท่าที่เคยมีมา สตีเวนสัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ขิงขวดนั้น ต้องถือปฏิบัติตาม หลักหน้าที่พึงระวัง (duty of care) ที่ชัดเจน ต่อ เมย์ ดอเนอฮู ถึงแม้ว่าจะไม่มีสัญญาใดๆ ระหว่างเขาทั้งสอง และก็ แน่นอนครับ เธอไม่ได้แม้แต่ซื้อเครื่องดื่มเอง ผู้พิพากษาท่านหนึ่งคือ ลอร์ด แอทกิน (Lord Atkin) อธิบายเรื่องนี้ว่า: คุณต้องระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำ หรือการละเลย ที่คุณพอจะคาดคะเนได้ ว่าน่าจะเป็นอันตราย ต่อคนรอบตัวของคุณ ใช่ครับ ผู้คนต่างสงสัยกันว่า ถ้าไม่มีหลักหน้าที่พึงระวังแล้วละก็ จะมีคนอีกสักกี่คน ที่จะต้องทนทุกข์ทรมาน จากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ก่อนที่สตีเวนสัน จะเลิกกิจการไปในที่สุด ตอนนี้ เรามาเกาะติดเรื่องของหอยทากเพสลีกัน เพราะว่า มันเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่ง ปีที่แล้ว สมาคมฮานซาร์ด (Hansard Society) ซึ่งเป็น องค์กรการกุศลที่เป็นกลาง ที่มุ่งสร้าง ความเข้มแข็งของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และส่งเสริม การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของสาธารณชน ได้พิมพ์เผยแพร่ รายงานการตรวจสอบประจำปี ว่าด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งมีหมวดเพิ่มเติมหมวดหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการเมืองและสื่อทั้งหมวด นี่เป็นข้อสังเกตที่ค่อนข้างน่าหดหู่ใจสองเรื่อง จากการสำรวจครั้งนั้น หนังสือพิมพ์ข่าวซุบซิบ (tabloids) ดูจะไม่ได้ ช่วยพัฒนา ความเป็นพลเมืองทางการเมือง (political citizenship) ของผู้อ่าน ซึ่งดูจะมีพอๆ กับผู้คน ที่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์อะไรเลย ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซุบซิบอย่างเดียว มีแนวโน้มจะเห็นด้วย กับความคิดเห็นเชิงลบ ต่อการเมือง มากกว่าผู้ที่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์เลย เป็นสองเท่า พวกเขาไม่ได้เพียงผูกพันทางการเมือง น้อยกว่าเท่านั้น พวกเขาบริโภคสื่อที่ส่งเสริม การประเมินการเมืองในเชิงลบ ของพวกเขาด้วย จึงส่งผลต่อทัศนคติ แบบปล่อยไปตามยถากรรม และดูแคลน ต่อระบอบประชาธิปไตย และบทบาทของพวกเขาเอง ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ประหลาดใจนัก ที่รายงานนั้นได้สรุปว่า ในเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะ หนังสือพิมพ์ซุบซิบนั่น ดูจะไม่ได้ทำงาน โดยตระหนักถึงความสำคัญ ของบทบาทของพวกเขา ในระบอบประชาธิปไตยของเรา ตอนนี้ ผมจึงสงสัยว่า จะมีใครสักคนหรือไม่ในห้องนี้ ที่จะท้าทายความเห็นนั้น อย่างจริงจัง แต่ถ้าแฮนซาร์ดพูดถูก และโดยปกติพวกเขาก็ถูกนะครับ เราก็จะมีปัญหาที่รุนแรงมาก ที่เราต้องรับผิดชอบ และมันเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ผมอยากใช้เวลา 10 นาทีต่อจากนี้ไป มุ่งไปที่เรื่องนี้ นับตั้งแต่ เรื่องหอยโข่งเพสลี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มากกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ประมาณนั้น ความคิดมากมาย ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เกี่ยวเนื่องกับ หลักหน้าที่พึงระวัง เพราะมันสัมพันธ์ กับหลายๆด้านของสังคมพลเมือง โดยทั่วไป หลักหน้าที่พึงระวังจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลคนหนึ่ง หรือ กลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีศักยภาพ ที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อคนอื่น ไม่ว่าจะทางกาย ทางจิตใจ หรือ ทางเศรษฐกิจ เรื่องนี้ถูกเน้นอย่างมาก ในเรื่องที่ชัดเจน เช่น การแสดงความเห็นอกเห็นใจของเรา ต่อเด็กๆ และเยาวชน ต่อบุคคลากรด้านบริการของเรา และ ต่อผู้สูงอายุ และผู้พิการ หายาก ถ้าจะมีนะ ที่จะขยายไปจนถึง ข้อโต้แย้งที่สำคัญเท่าๆกัน เกี่ยวกับความเปราะบาง ของระบบรัฐบาลปัจจุบันของเรา จนถึงแนวคิดที่ว่า ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงตรง และความยุติธรรมนั้น เป็นรากฐาน ของกระบวนการเพื่อสร้าง และปลูกฝังประชาธิปไตย แบบรอบรู้ และมีส่วนร่วม และถ้าคุณยิ่งคิดถึงมัน มากขึ้นเท่าไหร่ เรื่องก็ยิ่งแปลก มากขึ้นเท่านั้น เมื่อสองปีที่แล้ว ผมยินดีได้รับเชิญ ให้ไปเปิดโรงเรียน ใหม่เอี่ยมอ่อง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของอังกฤษ นักเรียนของโรงเรียน ตั้งชื่อใหม่ให้โรงเรียนว่า Academy 360 ขณะที่ผมเดินทะลุผ่าน ห้องโถงหลังคากระจก ที่น่าประทับใจนั้น ข้างหน้าของผม มีตัวอักษรไฟ ตกแต่งไว้บนผนัง เป็น คำสั่งห้ามที่โด่งดังของ มาร์คัส ออรียัส (Marcus Aurelius) ที่ว่า: ถ้ามันไม่จริง ก็อย่าพูดมัน ถ้ามันไม่ถูกต้อง ก็อย่าทำมัน ครูใหญ่เห็นผมจ้องอ่านอยู่ ก็พูดว่า "โอ้ นั่นเป็นคติพจน์ของโรงเรียนเราครับ" ขณะอยู่บนรถไฟ กลับลอนดอน ผมไม่สามารถกำจัดมันออกไป จากความคิดได้ ผมเฝ้าคิดว่า จริงหรือที่เราได้ใช้เวลา ไปมากกว่า 2000 ปี มาการลงเอย ที่ความคิดง่ายๆนั่น ว่าเป็นความคาดหวังขั้นต่ำของเรา ที่มีต่อกันและกัน มันไม่ถึงเวลาแล้วหรือ ที่เราจะพัฒนาหลักความคิดนี้ เรื่อง หลักหน้าที่พึงระวัง และขยายมันไป ให้รวมถึงการดูแลปกป้อง ค่านิยมประชาธิปไตยร่วมกันของเรา ซึ่งอยู่ในภาวะอันตรายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม การขาดหายไป ของหลักหน้าที่พึงระวัง ในหลายๆ สาขาอาชีพ ทั้งหมดรวมกันแล้ว สามารถนำไปสู่ การกล่าวหา เรื่องการละเลย ได้โดยง่าย และถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะสบายใจ อย่างแท้จริงได้หรือ กับความคิดที่ว่า ที่จริงแล้ว เรากำลังละเลย ด้านสุขภาพของสังคมของเราเอง รวมทั้งค่านิยม ที่จำเป็นต่อการค้ำจุนสังคมนั้น จะมีใครบ้างหรือไม่ ที่จะชี้แนะได้อย่างสุจริตใจ ด้วยหลักฐาน ว่า สื่อตัวเดียวกันกับที่ฮานซาร์ด ได้ประณามอย่างรุนแรงนั้น ได้เอาใจใส่เพียงพอแล้ว ที่จะหลีกเลี่ยงความประพฤติ ในแบบที่พวกเขามีเหตุผล พอจะคาดได้ว่า น่าจะทำให้รากฐานประชาธิปไตย ซึ่งเปราะบางโดยธรรมชาติของเรานั้น อ่อนแอลง หรือแม้กระทั่งเสียหายได้ ครับ จะมีผู้คนที่จะโต้แย้ง ว่าทั้งหมดนี้ ง่ายดายเหลือเกิน อาจจะนำไปสู่รูปแบบ ของการเซ็นเซอร์ แม้ว่าเซ็นเซอร์ตัวเองก็ตาม แต่ผมไม่เชื่อข้อโต้แย้งนั้น มันต้องเป็นไปได้ ที่จะทำให้เกิด ความสมดุลกันระหว่าง อิสรภาพในการแสดงออก กับความรับผิดชอบทางจริยธรรมและทางสังคม ที่กว้างขวางขึ้น ให้ผมอธิบายว่าทำไม ด้วยการยกตัวอย่าง จากการทำงานของผมเอง ในฐานะคนสร้างภาพยนต์ ตลอดเส้นทางอาชีพนั้น ผมไม่เคยยอมรับ ว่า คนสร้างภาพยนต์ ควรจะสร้างงาน ของตัวเองนอกเขตหรือเหนือออก ไปจากสิ่งที่เขาหรือเธอ เชื่อว่า เป็นชุดของค่านิยมที่ดีงาม ต่อชีวิตของพวกเขาเอง ครอบครัวของพวกเขาเอง และอนาคตของสังคม ที่พวกเราทั้งหมดอาศัยอยู่ ผมจะไปไกลกว่านั้น นักสร้างภาพยนตร์ที่มีความรับผิดชอบ ไม่ควรจะลดคุณค่างานของพวกเขา จนถึงจุดที่น้อยกว่า ความเป็นจริง ของโลกที่พวกเขาเอง อยากจะอาศัยอยู่ ผมคิดว่า นักสร้างภาพยนตร์ นักหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ผู้เขียนบล็อก ทั้งหมดนั้นต้องเผชิญกับความคาดหมายของสังคม ซึ่งมาพร้อมกับการรวมเอาพลังภายในสื่อของพวกเขา เข้ากับทักษะอาชีพ ที่พัฒนามาอย่างดีแล้ว ชัดเจนว่า นี่ไม่ใช่หน้าที่ซึ่งถูกบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่สำหรับนักสร้างภาพยนตร์ที่มีพรสวรรค์ และนักหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบ หรือแม้แต่ผู้เขียนบล็อก มันกระทบใจผม ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเด็ดขาด เราควรจะรำลึกไว้เสมอว่า ความเข้าใจของเรา ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล และคู่หูของมัน คือเสรีภาพที่สร้างสรรค์นั้น ค่อนข้างจะใหม่ ในประวัติศาสตร์ของแนวคิด ของโลกตะวันตก และด้วยเหตุผลนั้น บ่อยครั้งจึงถูกประเมินค่าต่ำไป และอาจถูกทำลายไปได้อย่างรวดเร็วมาก มันเป็นรางวัล ที่จะเสียไปได้โดยง่าย และทันทีที่เสียไป ทันทีที่ยอมแพ้ พิสูจน์ได้ว่า ยากมากๆที่จะเรียกคืน และแนวทางปกป้องมันอย่างแรก ต้องเป็นมาตรฐานของตัวเราเอง ไม่ใช่ที่เราถูกบังคับ โดยการเซ็นเซอร์ หรือโดยกฎหมาย แต่เป็นมาตรฐานของเราเอง และหลักคุณธรรมของตัวเราเอง หลักคุณธรรมของเรา ขณะที่เรารับมือกับผู้ที่ เราทำงานด้วย และมาตรฐานของตัวเราเอง เมื่อเราปฏิบัติงานอยู่ในสังคม และมาตรฐานเหล่านี้ของเรา จำเป็นต้องเป็นเนื้อเดียวกันกับ ระเบียบวาระทางสังคมที่ยั่งยืน เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง ของความรับผิดชอบร่วมกัน ความรับผิดชอบของศิลปิน หรือนักหนังสือพิมพ์ ที่จะรับมือกับโลก ตามที่มันเป็นจริง และในทางกลับกัน สิ่งนี้ต้องไปด้วยกันกับ ความรับผิดชอบ ของผู้ที่ปกครองสังคม ที่จะเผชิญหน้ากับโลกนั้นด้วย และจะไม่ถูกล่อลวง ให้เอาสาเหตุการป่วยไข้ของมัน ไปใช้ในทางที่ผิด ทว่า ตามที่ปรากฏอย่างเด่นชัด กว่าสองปีที่ผ่านมา ความรับผิดชอบแบบนั้น ได้ถูกเพิกถอนไปอย่างมาก โดยภาคส่วนต่างๆของสื่อส่วนใหญ่ และผลที่ได้ก็คือ ทั่วทั้งโลกตะวันตก หลักการง่ายๆ ของกลุ่มประท้วงต่างๆ และคำร้องขอของพวกเขา ต่อประชากรสูงวัยกว่า ที่ไม่ได้งมงายนัก พร้อมกับการเฉยเมยและการหมกมุ่น กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ซึ่งนั่น อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นแบบฉบับของคนหนุ่มสาวบางคน เมื่อนำมันมารวมกันกัน สิ่งเหล่านี้และความผิดปกติ ร่วมสมัยอื่นๆ ที่คล้ายๆ กัน กำลังคุกคามที่จะขัดขวางชีวิต ให้ขาดความกระฉับกระเฉง การโต้เถียงที่รอบรู้ และความผูกพัน และผมขอย้ำ เรื่องความกระฉับกระเฉง นักเสรีนิยมหัวรุนแรงที่สุด อาจจะโต้แย้ง ว่า ดอเนอฮู วี สตีเวนสัน ควรจะถูกจับโยน ออกมาจากศาล และว่า สตีเวนสันนั้นในที่สุดแล้ว ก็จะเลิกกิจการไป ถ้าหากเขายังคงขายเบียร์ขิง ที่มีหอยทากอยู่ในนั้นต่อไปอีก แต่ผมคิดว่า พวกเราส่วนมาก ยอมรับบทบาทเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้รัฐบังคับใช้ หลักหน้าที่พึงระวัง และคำสำคัญตรงนี้คือ สมเหตุผล (reasonable) ผู้พิพากษาต้องถามว่า พวกเขาได้เอาใจใส่ อย่างสมเหตุผลหรือไม่ และพวกเขาได้คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ อย่างสมเหตุผลหรือไม่ ถึงผลของการกระทำของพวกเขา ห่างไกลจากการชี้บ่ง ถึงอำนาจครอบงำของรัฐ มันคือ การทดสอบโดยใช้สามัญสำนึกเล็กน้อย ว่าด้วยเรื่องของความสมเหตุผล ซึ่งผมอยากจะให้พวกเรา นำไปประยุกต์ใช้กับผู้ ที่อยู่ในสื่อมวลชน ผู้ซึ่ง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เป็นผู้กำหนดทิศทางและเนื้อหา สำหรับวาทกรรมประชาธิปไตยของเรา อย่างมาก ประชาธิปไตยนั้น เพื่อที่จะให้มันใช้ได้แล้วละก็ ต้องให้ ชายและหญิงที่มีเหตุผล ใช้เวลา เพื่อที่จะเข้าใจ และโต้เถียงกัน เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ยาก ซึ่งบางครั้งก็ซับซ้อน และพวกเขาต้องทำอย่างนั้น ในบรรยากาศ ที่พยายามฟันฝ่า ให้เกิดแบบของความเข้าใจ ที่จะนำไปสู่ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็อย่างน้อยที่สุดก็เป็น การรอมชอม ที่ก่อให้เกิดผลดีและใช้การได้ การเมืองเป็นเรื่องของทางเลือก และระหว่างตัวเลือกเหล่านั้น การเมืองก็เป็นเรื่องของ ความสำคัญก่อนหลัง เป็นเรื่องของการประนีประนอม ความต้องการที่ขัดแย้งกัน ในที่ใดๆและเมื่อใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง แต่ถ้าข้อเท็จจริงนั้น ถูกทำให้บิดเบี้ยวไป การแก้ปัญหานั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียง การสร้างความขัดแย้งต่อไปอีก พร้อมกับความตึงเครียดทั้งมวลต่อสังคม ซึ่งจะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สื่อต้องตกลงใจในเรื่องต่อไปนี้ว่า พวกเขานั้น เห็นบทบาทของตนว่า เพื่อยั่วยุ หรือเพื่อให้ข้อมูล เพราะว่าในที่สุดแล้ว มันก็จะมาลงเอยที่การรวมกัน ของความเชื่อมั่นและความเป็นผู้นำ ห้าสิบปีที่แล้ว ในสัปดาห์นี้ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี ได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญ ที่เปิดศักราชใหม่สองเรื่อง เรื่องแรกในเรื่องการลดอาวุธ และ เรื่องที่สองในเรื่องสิทธิพลเมือง เรื่องแรก ในทันที เกือบจะนำไปสู่ สนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ และเรื่องที่สอง ได้นำไปสู่กฏหมาย สิทธิที่เท่าเทียมกันของพลเมืองปี 1964 ทั้งสองเรื่องนั้น เป็นสัญลักษณ์ ของการก้าวกระโดดไปข้างหน้า ประชาธิปไตย ที่ถูกนำและให้ความรู้เป็นอย่างดี สามารถบรรลุผลสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างมากได้ แต่มีเงื่อนไข ที่ต้องมาก่อน เราต้องเชื่อใจว่า คนที่ตัดสินใจนั้น กำลังทำผลประโยชน์ที่ดีที่สุด ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อประชาชนทั้งหมด เราจำเป็นต้องมีตัวเลือก ที่อยู่บนข้อเท็จจริง และวางไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ใช่ตัวเลือก ที่เป็นบรรษัทสองสามแห่ง ที่มีอำนาจมากและมีศักยภาพในการบงการ เพื่อที่จะมุ่งสู่ วาระของตัวเองที่มักจะคับแคบ แต่เราต้องการข้อมูล ที่เที่ยงตรงไม่ลำเอียง ที่จะเอามาใช้ ในการตัดสินด้วยตัวเราเอง ถ้าเราต้องการ จัดเตรียมชีวิตที่ดีงามและสมบูรณ์ ให้กับลูกๆ ของเรา และลูกๆ ของลูกของเรา เราจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ว่าด้วยหลักของหน้าที่พึงระวัง เพื่อประชาธิปไตยที่มีชีวิตชีวา และหวังว่าจะยั่งยืน ขอบคุณมากครับ ที่รับฟังผม (เสียงปรบมือ)