*มีศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับภาพยนตร์ สวัสดีครับ ผม Tony Zhou และนี่คือ Every Frame a Painting วันนี้ผมจะมาพูดถึง ยอดผู้กำกับคนนึงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เขาคือ "ซาโตชิ คง" เชื่อว่าแม้คุณจะไม่เคยรู้จักเขา ก็ต้องเคยผ่านตางานภาพของเขามาแล้ว เขาเป็นผู้กำกับที่เป็นแรงบันดลางใจของ Darren Aronovsky และ Christopher Nolan และมีกลุ่มแฟนเหนียวแน่น ซึ่งน่าจะรวมถึงทุกๆคน ที่ชอบงานอนิเมชั่น ในช่วงปี 1997 -2007 เขาสร้างหนังไป 4 เรื่องและทีวีซีรีส์ 1 เรื่อง และมัน เจ๋งมากทุกเรื่อง ทุกเรื่อง จะเกี่ยวกับการที่มนุษย์ยุคใหม่ทุกๆคน ต้องต่อสู้ในการใช้ชีวิตที่มีหลายบทบาท ชีวิตส่วนตัว - ชีวิตสาธารณะ, บนจอ - นอกจอ, ตอนตื่น - ตอนฝัน ถ้าเคยดูจะสังเกตเห็นการเบลอร์เส้นแบ่ง ระหว่างความจริงและจินตนาการเข้าด้วยกันอยู่เสมอ แต่วันนี้ ผมจะมาโฟกัสเรื่องสำคัญ ความยอดเยี่ยมในการตัดต่อหนังของเขา ในฐานะที่เป็นคนตัดต่อ ผมมักจะมองหาวิธีการใหม่ๆเสมอ โดยเฉพาะการเล่าจากมุมที่เล่าไม่ได้ในโลกการแสดงจริง คง คือหนึ่งในคนที่เชี่ยวชาญที่สุดในเรื่องนี้ อย่างนึงที่เป็นลายเซนต์คือวิธีเชื่อมต่อซีนของเขา ผมเคยเล่าไว้ว่า Edgar Wright ใช้วิธีนี้เพื่อความตลก --Scott! --What? ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยใน เดอะ ซิมป์สัน และงานของ บัสเตอร์ คีตัน แต่ คง ต่างออกไป แรงบันดาลใจของเขามาจากหนังอย่าง Slaughterhouse-Five ของ George Roy Hill --I can always tell, you know, when you've been time-tripping มันมักใช้ในหนังไซไฟ เช่น งานของ Philip K Dick และ Terry Gilliam แต่ คง ทำให้ไอเดียแบบนี้ไปไกลกว่าเดิม Slaughterhouse-Five ใช้การเชื่อมซีนหลักๆอยู่ 3 แบบ 1. การแมทช์คัท 2. การซ้อนภาพแบบที่เหมือนกัน 3. การตัดสลับระหว่างสองห้วงเวลาที่เราเรื่องเดียวกัน คง ใช้วิธีการเหล่านี้ทั้งหมด แต่เขายังใช้การรีไวด์หนัง, ข้ามเส้นไปสู่ซีนใหม่, ซูมเอาท์จากจอทีวี, แทรกเฟรมดำเพื่อจัมป์คัท, ใช้วัตถุในการไวป์เฟรม, หรือแบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าเรียกว่าอะไร ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น นี่คือ 4 นาทีแรกของ 'Paprika' หนังเปิดด้วย 5 ซีเควนซ์ความฝัน ที่ทุกอัน เชื่อมต่อกันด้วยการแมทช์คัท แต่ซีเควนซ์ที่ 6 ไม่ได้เชื่อมด้วยแมทช์คัท เขากลับใช้วิธีการซ้อนกราฟฟิคเพื่อเชื่อมมัน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดขึ้น ใน 15 นาทีแรกของ 'Inception' มีซีนความฝันที่เชื่อมต่อกัน 4 ซีน แต่ใช้การแมทช์คัทเชื่อมซีนแค่ครั้งเดียว --What is the most resilient parasite? การตัดต่อหนังแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องทั่วๆไปที่คนทำหนังจะทำ ปกติมันจะเป็นเอฟเฟคท์ที่ใช้ครั้งเดียวเท่านั้น 2 ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ ; อ้อ แล้วก็ตัวนี้อีกตัว เพราะมันเจ๋งมาก งานของ คง มักจะเกี่ยวกับความฝัน ความทรงจำ ฝันร้าย, หนัง, และชีวิต เขาใช้ภาพที่ล้อกันในการเชื่อมโลกเหล่านี้ บางครั้งเค้าก็ผสมทรานสิชั่นพวกนี้ต่อเนื่องกัน เพื่อให้เราคุ้นเคยกับภาพของซีนต่อไป ก่อนที่จะเข้าซีนนั้น ทั้งหมดนี่ทำให้หนังของเขาตื่นตาตื่นใจเสมอ เราอาจจะโดนโยนข้ามซีนแค่ชั่วกระพริบตา ต่อให้ไม่ได้เล่าเรื่องความฝัน คง ก็ไม่ได้ตัดต่อแบบธรรมดาๆ เขาชอบที่จะเล่นกับเรื่องที่ขนานกัน บ่อยครั้งที่เขาจะเล่าข้ามไปที่บางส่วนของซีนอื่น เช่น เราเห็นตัวละครมองไปที่กุญแจดอกนึง เราก็คาดหวังว่าเขาจะหยิบมันไป แต่เขาก็เล่าไปที่ซีนอื่นซะ ก่อนที่จะหยิบมันมาเล่าอีกที หรือ ในซีนที่ชายคนนึงโดดจากหน้าต่างแล้วเฟดออก ทันใด เราก็โดนตัดมาสู่ซีนที่เราไม่เข้าใจ เพื่อบอกเราว่า นี่คือความฝัน แล้วค่อยเล่าสรุปซีนก่อนหน้าให้เรา แม้แต่เรื่องฆาตกรรม เขาก็ยังคงเล่าด้วยการแทรกภาพแปลกๆ แล้วค่อยจบด้วยความรู้สึกสยอง ส่วนตัวแล้ว ผมชอบวิธีการตายของตัวละครของเขา อย่างอันนี้ คนแก่ตายลงแล้วกังหันลมก็หยุดหมุน แต่กลายเป็นว่าเขายังไม่ตาย กังหันก็กลับมาหมุนอีกครั้ง ในตอนท้ายของซีนนี้ ชอทกังหันไม่ได้ถูกใช้ซ้ำ แต่เมื่อเราสังเกตเห็นว่ามันไม่เคลื่อนไหว เราก็รู้ได้ทันทีว่า เขาตายไปแล้ว คง ชอบที่จะเริ่มซีนด้วยชอทโคลสอัพ ให้เราเดาเอาเองว่าอยู่ที่ไหน นานๆที เขาก็ใช้ establish shot แล้วค่อยบอกว่ามันแค่เป็นมุมมองของตัวละคร นั่นทำให้เราเข้าสู่โลกของตัวละครอย่างไม่รู้ตัว บ่อยครั้งที่เขาจะเล่าภาพนึงขึ้นมา เพื่อที่จะบอกว่ามันไม่ใช่อย่างที่เราคิด ความรู้สึกเรื่องสถานที่และเวลา กลับกลายเป็นสิ่งที่เรา แค่คิดไปเอง มีหลายสิ่งที่เขาทำในแบบที่คนถ่ายหนังจริงจะทำไม่ได้ คง เคยเล่าว่า เขาไม่อยากกำกับหนังคนเล่นจริง เพราะการตัดต่อของเขามันเร็วเกินกว่าคนจะเล่น เช่น ชอทนี้ใช้ภาพแค่ 6 เฟรม ในขณะที่การถ่ายจริงชอทนี้ต้องใช้ภาพ 10 เฟรม ลองดูอินเสิร์ทกระดาษโน้ตชอทนี้สิ เล่าได้ใน 10 เฟรม แต่หนังที่ถ่ายต้องใช้ 49 เฟรม ในการทำอนิเมชั่น คง รู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องวาดรายละเอียดมากมายในชอท เพราะคนดูจะเข้าใจชอทเร็วกว่า เราอาจจะเห็นสิ่งที่ Wes Anderson ทำในการถ่ายหนังของเขา เขาลดข้อมูลในภาพ insert ออก เพื่อให้เราเข้าใจได้ไวขึ้น เรื่องนี้น่าจำไว้ เราอาจจะตัดต่อซีนให้เร็วขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้จากจิตใต้สำนึกขึ้นมา บางชอทในซีนนี้มีแค่เฟรมเดียวเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เอฟเฟคท์เก๋ๆ คง เชื่อว่า เราสามารถรู้สึกถึงสถานที่ เวลา ความจริง และจินตนาการ ได้ทั้งในแบบของตัวเอง และความรู้สึกร่วมในสังคม สไตล์ภาพและเสียงของ คง มีเพื่อพรรณาถึงเรื่องนี้ ตลอด 10 ปีในการทำหนัง เขาพยายามที่จะผลักงาน อนิเมชั่นไปสู่สิ่งที่การถ่ายทำให้ไม่ได้ ไม่ใช่แค่ภาพที่เหนือจริง แต่ยังรวมถึงการตัดต่อที่โดดเด่น เขาทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความช่วยเหลือของ Studio Madhouse ที่ช่วยเขาสร้างสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในหนังขึ้นมาด้วยกัน และนี่ คือหนังที่จะทำให้เข้าถึงบทสรุปการทำงาน ที่สมบูรณ์ของ คง หนังเรื่องสุดท้ายในชีวิตของเขา หนังสั้น 1 นาที ที่เล่าความรู้สึก ของการตื่นขึ้นมาในทุกๆเช้า นี่คือ Ohayou (อรุณสวัสดิ์) หลับให้สบายนะครับ Satoshi Kon