WEBVTT 00:00:00.040 --> 00:00:02.880 เคยสงสัยกันไหมคะว่า แป๊บนึงเนี่ยนานขนาดไหน 00:00:03.400 --> 00:00:05.360 สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ 00:00:05.360 --> 00:00:08.120 กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการ วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด ค่ะ 00:00:08.120 --> 00:00:11.100 รายการที่วิวจะหยิบเอาคำถามที่น่าสนใจนะคะ 00:00:11.100 --> 00:00:15.320 ที่คนถามเข้ามาผ่าน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด มาตอบให้ทุกคนฟังค่ะ 00:00:15.320 --> 00:00:16.780 ซึ่งคำถามของเราในวันนี้นะคะ 00:00:16.780 --> 00:00:20.080 ต้องบอกว่ามาในช่องทางที่ค่อนข้างจะพิเศษนิดนึงค่ะ 00:00:20.080 --> 00:00:22.060 คือเขาไม่ได้พิมพ์มาในช่องคอมเมนต์ 00:00:22.060 --> 00:00:23.980 หรือว่าส่งมาเป็นข้อความอะไรนะคะ 00:00:24.200 --> 00:00:26.380 แต่เขาต่อมาเป็นสายตรงเลยค่ะ 00:00:26.500 --> 00:00:28.660 เดี๋ยวเราไปฟังคำถามพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า 00:00:28.840 --> 00:00:31.400 เคยสงสัยกันไหมครับว่าเวลาแป๊บนึงเนี่ย 00:00:31.600 --> 00:00:32.700 มันนานแค่ไหน 00:00:35.700 --> 00:00:36.760 สวัสดีครับ บอส กีรติครับ 00:00:36.760 --> 00:00:38.660 ตั้งแต่เราเกิดมา คนก็จะแบบ 00:00:38.660 --> 00:00:40.100 แป๊บนึงนะ เดี๋ยวเจอกัน 00:00:40.340 --> 00:00:41.260 แป๊บนึง เดี๋ยวโทรกลับ 00:00:41.480 --> 00:00:42.620 แป๊บนึง เดี๋ยวลงไป 00:00:42.620 --> 00:00:43.820 แป๊บนึง เดี๋ยวเอาของไปให้ 00:00:43.820 --> 00:00:44.880 แป๊บนึง เดี๋ยวกินข้าว 00:00:44.880 --> 00:00:46.400 แป๊บนึง 00:00:46.400 --> 00:00:48.100 เราก็เลยอดสงสัยไม่ได้ 00:00:48.100 --> 00:00:50.060 เพราะว่าทุกครั้งที่ได้ยินคำนี้ 00:00:50.060 --> 00:00:51.860 เวลามันไม่ค่อยจะเท่ากัน 00:00:51.860 --> 00:00:54.920 แป๊บนึงของบางคนก็สั้น แป๊บนึงของบางคนก็ยาว 00:00:55.180 --> 00:00:56.520 ก็เลยต้องมาถามเนี่ยครับว่า 00:00:56.880 --> 00:01:01.000 วิวเอ๋ยบอกข้าเถิดว่าแป๊บนึงเนี่ย มันยาวแค่ไหนอะครับ 00:01:01.000 --> 00:01:02.040 แหม่ะ เป็นไงบ้าง 00:01:02.040 --> 00:01:04.220 สมกับเป็นคนที่ขี้สงสัยมากจริง ๆ นะคะ 00:01:04.220 --> 00:01:07.460 คำถามที่ส่งมานี่ อื้ม ตอบยากพอสมควรเลย 00:01:07.460 --> 00:01:08.960 แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เพราะว่า 00:01:09.140 --> 00:01:10.720 ก่อนที่วิวจะเริ่มอัดวิดีโอนี้ 00:01:10.720 --> 00:01:14.020 วิวไปหาข้อมูลมาเพื่อจะตอบคำถามนี้แล้วโดยเฉพาะค่ะ 00:01:14.160 --> 00:01:15.820 ซึ่งต้องขอโทษไว้ล่วงหน้าเลยนะคะ 00:01:15.820 --> 00:01:17.960 สำหรับใครที่อ่านคำถามนี้แล้ว 00:01:18.100 --> 00:01:19.560 ตั้งใจจะมาหาคำตอบค่ะ 00:01:19.560 --> 00:01:21.260 คำตอบมันอาจจะไม่ใช่แบบที่ 00:01:21.500 --> 00:01:22.880 ทุกคนต้องการนะคะ 00:01:22.880 --> 00:01:25.440 อย่างไรก็ตามค่ะ พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง 00:01:25.440 --> 00:01:27.100 สนุกแล้วก็ได้สาระรึยังคะ 00:01:27.300 --> 00:01:29.120 ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ 00:01:33.240 --> 00:01:35.780 อะ ได้เวลาที่เราจะมาตอบคำถามกันแล้วค่ะ 00:01:35.880 --> 00:01:38.760 แต่ก่อนอื่น ขออนุญาตนอกเรื่องซักเล็กน้อยนะคะ 00:01:38.980 --> 00:01:42.740 หลายคนชอบถามวิวค่ะว่าเวลาที่วิวได้คำถามอะไรแบบนี้มาเนี่ย 00:01:42.940 --> 00:01:44.560 วิวไปหาคำตอบยังไงนะคะ 00:01:44.560 --> 00:01:48.080 ดังนั้นคลิปนี้ขออนุญาตค่อย ๆ เล่าให้ฟังซักเล็กน้อยแล้วกันค่ะ 00:01:48.080 --> 00:01:49.580 ตอนที่วิวได้โจทย์มาเนี่ยว่า 00:01:49.680 --> 00:01:52.180 เอ๊ะ คำว่าแป๊บนึงเนี่ย มันนานแค่ไหนนะคะ 00:01:52.180 --> 00:01:55.360 แน่นอนค่ะว่าโจทย์นี้มันคือการนิยามศัพท์ใช่ไหมว่า 00:01:55.480 --> 00:01:58.500 เออ แป๊บนึงมันแปลว่าอะไร มันหมายความว่ายังไง 00:01:58.760 --> 00:02:00.600 พอเราพูดถึงการนิยามศัพท์ค่ะ 00:02:00.780 --> 00:02:02.700 แหล่งแรกที่วิวจะไปหาข้อมูลเนี่ย 00:02:02.700 --> 00:02:03.720 แน่นอนว่าก็ต้องเป็น 00:02:03.720 --> 00:02:06.560 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช่ไหมคะ 00:02:06.560 --> 00:02:09.540 สิ่งที่จะให้ความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ 00:02:09.540 --> 00:02:11.220 ในภาษาไทยได้ดีที่สุดค่ะ 00:02:11.220 --> 00:02:12.560 ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า 00:02:12.560 --> 00:02:15.580 หลายคนจะไปเปิดพจนานุกรมตามวิวแต่ว่า 00:02:15.740 --> 00:02:17.560 อาจจะหาคำว่าแป๊บไม่เจอค่ะ 00:02:17.800 --> 00:02:19.020 รู้ไหมคะว่าเพราะอะไร 00:02:19.400 --> 00:02:22.480 เพราะว่าหลาย ๆ คนเนี่ยชอบสะกดคำว่าแป๊บผิดค่ะ 00:02:22.480 --> 00:02:24.200 คำว่าแป๊บนะคะสะกดแบบนี้ 00:02:24.700 --> 00:02:27.800 สระแอ ป. ปลา ไม้ตรี แล้วก็ บ.ใบไม้ นะคะ 00:02:27.900 --> 00:02:29.080 อ่านว่า แป๊บ ค่ะ 00:02:29.340 --> 00:02:32.820 ซึ่งคำว่าแป๊บตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเนี่ย 00:02:32.820 --> 00:02:35.840 ให้ความหมายไว้ถึง 3 ความหมายด้วยกันนะคะ 00:02:36.040 --> 00:02:38.480 ความหมายแรกก็คือช่วงระยะเวลาแป๊บนึง 00:02:38.480 --> 00:02:40.300 เหมือนที่เรากำลังจะคุยกันนี่แหละ 00:02:40.300 --> 00:02:41.620 ส่วนความหมายที่สองเนี่ย 00:02:41.620 --> 00:02:44.560 คำว่าแป๊บคำนี้ หมายถึง ท่อแป๊บ ด้วยนะคะ 00:02:44.560 --> 00:02:46.080 สะกดเหมือนกันเป๊ะเลย 00:02:46.360 --> 00:02:48.180 และความหมายที่สามก็คือ 00:02:48.400 --> 00:02:51.940 กระดุมแป๊บค่ะ คือกระดุมที่เป็นสองอันแล้วประกบติดกัน 00:02:51.940 --> 00:02:53.780 กดแล้วมีเสียงดังแป๊บนะคะ 00:02:53.900 --> 00:02:56.220 อันนั้นก็เรียกว่ากระดุมแป๊บเหมือนกันค่ะ 00:02:56.220 --> 00:02:59.500 ส่วนคำใกล้เคียงที่คนมักจะสะกดผิดนะคะก็คือ 00:02:59.500 --> 00:03:01.900 สระแอ ป. ปลา แล้วก็ บ. ใบไม้ ค่ะ 00:03:02.040 --> 00:03:04.980 คำนี้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเนี่ย 00:03:05.120 --> 00:03:07.120 ให้ความหมายไว้เป็นความหมายอื่นนะคะ 00:03:07.120 --> 00:03:10.240 ก็คือคำนี้มันอ่านว่า แปบ ค่ะ ไม่ใช่ แป๊บ นะคะ 00:03:10.340 --> 00:03:12.860 ดังนั้นก็คือชื่อขนมถั่วแปบนะคะ 00:03:12.860 --> 00:03:15.300 หรืออีกความหมายนึงก็คือเป็นชื่อปลานะคะ 00:03:15.520 --> 00:03:17.920 และความหมายสุดท้ายค่ะ ก็คือความหมายที่ 00:03:18.100 --> 00:03:21.020 มันหมายถึงลักษณะที่มันแบน ประมาณนั้นค่ะ 00:03:21.220 --> 00:03:24.300 ส่วนถ้าใครสะกดคำว่าแป๊บแบบอื่นนอกเหนือจากนี้นะ 00:03:24.300 --> 00:03:26.440 ก็...เป็นคำที่ไม่มีความหมายนะคะ 00:03:26.440 --> 00:03:28.900 ดังนั้นคำว่าแป๊บที่ถูกต้องจะต้องสะกดว่า 00:03:28.900 --> 00:03:31.675 สระแอ ป. ปลา ไม้ตรี แล้วก็ บ. ใบไม้ ค่ะ 00:03:31.680 --> 00:03:33.940 ทีนี้ช่วงระยะเวลาแป๊บนึงเนี่ย 00:03:34.100 --> 00:03:35.460 เมื่อกี้เราเห็นไปแล้วใช่ไหมว่า 00:03:35.460 --> 00:03:37.640 ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่ายังไง 00:03:37.800 --> 00:03:40.620 คือเขาให้ความหมายแค่ว่า ชั่วเวลานิดเดียว 00:03:40.620 --> 00:03:44.340 ดังนั้นมันไม่ได้ระบุเลยว่าช่วงเวลานิดเดียวของแป๊บนึงเนี่ย 00:03:44.340 --> 00:03:46.420 มันสั้น มันยาว มันอะไรยังไง 00:03:46.420 --> 00:03:47.720 เทียบเคียงกับอะไรนะคะ 00:03:47.720 --> 00:03:51.380 จะแตกต่างจากการให้ความหมายเวลาอื่น ๆ ของไทย เช่น 00:03:51.660 --> 00:03:53.940 ชั่วพริบตาเดียว อันนี้ชัดเจนว่า 00:03:54.080 --> 00:03:56.380 ก็ชั่วกะพริบตาทีเดียวนะคะ 00:03:56.620 --> 00:04:00.680 หรือว่าชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็คือชั่วเวลาที่ดีดนิ้ว 00:04:01.260 --> 00:04:02.180 แค่นี้นะคะ 00:04:02.180 --> 00:04:04.040 ทีนี้ก็เลยต้องบอกว่า เอาจริง ๆ นะคะ 00:04:04.040 --> 00:04:05.940 สารภาพตรงนี้เลยว่าถ้าถามว่า 00:04:05.940 --> 00:04:08.960 แป๊บนึงเนี่ยนานแค่ไหน บอกเลยว่าตอบไม่ได้ค่ะ 00:04:09.200 --> 00:04:12.275 แต่เดี๋ยวก่อนนะคะ ก่อนที่หลายคนจะกดปิดวิดีโอ 00:04:12.480 --> 00:04:15.020 ต้องบอกว่าภาษาไทยของเราเนี่ยตอบไม่ได้ค่ะ 00:04:15.020 --> 00:04:18.140 แต่ถ้าเราลองไปเทียบเคียงกับภาษาอื่น ๆ 00:04:18.140 --> 00:04:21.240 เราอาจจะได้ความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจนะคะ 00:04:21.245 --> 00:04:23.200 ดังนั้นวิวก็เลยค้นต่อค่ะว่า 00:04:23.200 --> 00:04:24.640 เออ จริง ๆ คำว่า แป๊บ เนี่ย 00:04:24.640 --> 00:04:26.360 ถ้าเราแปลเป็นภาษาอังกฤษนะ 00:04:26.360 --> 00:04:28.540 มันน่าจะตรงกับคำศัพท์ไหนมากที่สุด 00:04:28.700 --> 00:04:30.580 คิดไปคิดมาค่ะก็คิดได้ว่า 00:04:30.700 --> 00:04:32.800 เออ มันน่าจะตรงกับคำนี้ที่สุดแหละ 00:04:33.080 --> 00:04:34.560 คำคำนั้นก็คือคำว่า 00:04:34.715 --> 00:04:35.980 a moment นะคะ 00:04:35.980 --> 00:04:36.740 เคยได้ยินไหม 00:04:36.880 --> 00:04:39.320 wait a moment แปลว่า รอแป๊บนึง 00:04:39.420 --> 00:04:40.940 ใกล้เคียงใช่ไหมคะ 00:04:41.220 --> 00:04:43.700 ทีนี้คำว่า แป๊บ เนี่ยอาจจะตอบไม่ได้ค่ะ 00:04:43.700 --> 00:04:45.740 ว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานแค่ไหน 00:04:46.020 --> 00:04:48.540 แต่คำนึงที่ตอบได้แน่ ๆ นะคะก็คือ 00:04:48.760 --> 00:04:49.820 a moment ค่ะ 00:04:49.820 --> 00:04:53.400 เพราะว่าเรารู้นะคะว่า a moment เนี่ยยาวนานแค่ไหนค่ะ 00:04:53.520 --> 00:04:55.420 คือต้องบอกว่าในขณะที่วิวกำลัง 00:04:55.420 --> 00:04:57.860 หาข้อมูลเรื่องแป๊บนึงยาวแค่ไหนเนี่ยนะคะ 00:04:58.040 --> 00:04:59.700 วิวก็ไปเจอบทความนึงค่ะ 00:04:59.700 --> 00:05:01.120 เป็นบทความภาษาอังกฤษนะคะ 00:05:01.380 --> 00:05:02.960 ที่เขามาวิเคราะห์กันว่า 00:05:03.100 --> 00:05:05.100 a moment เนี่ยยาวแค่ไหนค่ะ 00:05:05.280 --> 00:05:08.200 ดังนั้นนะคะ เรามาฟังความเห็นของฝรั่งกันดีกว่าว่า 00:05:08.380 --> 00:05:10.620 a moment ของเขา หรือว่าแป๊บนึงของเขาเนี่ย 00:05:10.800 --> 00:05:12.360 มันยาวนานแค่ไหนค่ะ 00:05:12.580 --> 00:05:14.340 จากการค้นหาข้อมูลของวิวค่ะ 00:05:14.340 --> 00:05:16.600 ต้องบอกว่าถึงวิวจะบอกมาตลอดเลยนะว่า 00:05:16.600 --> 00:05:17.880 a moment แปลว่าแป๊บนึง 00:05:17.880 --> 00:05:20.540 แบบ เอ๊ย wait a moment แปลว่าเท่าไหร่ก็ไม่รู้ 00:05:20.680 --> 00:05:22.900 แต่จริง ๆ แล้วนะคะ สมัยก่อนค่ะ 00:05:23.080 --> 00:05:26.640 คำว่า a moment ไม่ได้หมายถึงช่วงเวลาที่วัดไม่ได้นะคะ 00:05:26.760 --> 00:05:28.180 แต่ว่าคำว่า moment เนี่ยนะคะ 00:05:28.180 --> 00:05:30.980 มันเป็นหน่วยวัดเวลาในยุคกลางของยุโรปค่ะ 00:05:31.180 --> 00:05:33.240 คือเราสามารถระบุได้ชัดเจนเลยว่า 00:05:33.240 --> 00:05:35.220 moment นึงมันยาวประมาณเท่านี้แหละ 00:05:35.580 --> 00:05:37.300 เพราะว่ามันเป็นหน่วยวัดเวลานะคะ 00:05:37.560 --> 00:05:39.180 ก่อนที่ชาวตะวันตกเนี่ยนะคะ 00:05:39.180 --> 00:05:41.840 เขาจะหันมานับเวลาแบบ minute แบบปัจจุบันค่ะ 00:05:41.840 --> 00:05:44.560 คือแบ่ง 1 ชั่วโมงเป็น 60 นาทีนะคะ 00:05:44.800 --> 00:05:47.620 สมัยก่อนเขามีการแบ่งเป็น moment มาก่อนค่ะ 00:05:47.640 --> 00:05:49.260 ถามว่าเพราะอะไร ก็ต้องบอกว่า 00:05:49.260 --> 00:05:52.420 เพราะว่าเวลาเนี่ยมันเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น ถูกต้องไหมคะ 00:05:52.600 --> 00:05:55.715 คือถ้าเราลองมาสมมติกันดูนะคะว่าถ้าเราไม่มีนาฬิกา 00:05:55.940 --> 00:05:58.000 เราไม่สามารถดูนาฬิกาได้เลยเนี่ย 00:05:58.160 --> 00:06:00.840 เราจะรู้ไหมว่าตอนนี้มันผ่านไปแล้ว 1 นาที 00:06:00.840 --> 00:06:02.580 ตอนนี้มันผ่านไปแล้ว 1 ชั่วโมง 00:06:02.700 --> 00:06:05.480 หรือถ้าสมมติว่าวิวลบทิ้งไปเลยว่า 00:06:05.480 --> 00:06:07.540 ยังไม่เคยมีใครแบ่งเวลาให้เราว่า 00:06:07.740 --> 00:06:09.420 1 ชั่วโมงคือระยะเวลาเท่านี้ 00:06:09.420 --> 00:06:11.040 1 นาทีคือระยะเวลาเท่านี้ 00:06:11.040 --> 00:06:13.980 เราก็ไม่มีอะไรในท้องฟงท้องฟ้าอะไรต่าง ๆ 00:06:13.980 --> 00:06:16.740 ที่เราจะสามารถมาวัดกันได้เลยใช่ไหมคะว่า 00:06:16.860 --> 00:06:19.800 เออนี่ เวลามันผ่านไปแล้วเป็นระยะเวลาเท่านี้เท่านั้น 00:06:20.080 --> 00:06:23.780 ดังนั้นค่ะ คนสมัยโบราณเขาก็เลยต้องมีการพยายามคิดวิธี 00:06:23.780 --> 00:06:25.880 ที่จะแบ่งเวลากันออกมานะคะ 00:06:25.880 --> 00:06:28.680 ซึ่งหลายแบบเนี่ยมันก็อาจจะตรงกันในหลากหลายชาติ 00:06:28.680 --> 00:06:30.720 เพราะว่ามันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 00:06:30.720 --> 00:06:32.660 เช่น เขาสามารถดูได้ว่า 00:06:32.800 --> 00:06:36.440 อ๋อ วันนึงก็คือเมื่อตอนที่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก 00:06:36.440 --> 00:06:38.540 จนพระอาทิตย์กลับมาขึ้นอีกรอบนึง 00:06:38.540 --> 00:06:40.200 นี่ก็คือ 1 วันกับ 1 คืน 00:06:40.480 --> 00:06:43.440 คือ 1 วันกับ 1 คืนของทั่วโลกมันก็จะเป็นเวลาที่ 00:06:43.640 --> 00:06:45.900 ระยะเวลาใกล้เคียงกัน ถูกต้องไหมคะ 00:06:46.080 --> 00:06:46.700 ทีนี้ 00:06:46.980 --> 00:06:48.240 เขาก็อาจจะแบ่งได้ว่า 00:06:48.240 --> 00:06:51.660 อ๋อ งั้นเวลากลางวันก็คือพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก 00:06:51.840 --> 00:06:53.960 อะ เราแบ่งระยะเวลากลางวันเนี่ย 00:06:53.960 --> 00:06:55.340 เป็นครึ่งนึงของกลางวัน 00:06:55.460 --> 00:06:58.140 ก็ต้องเป็นตอนที่พระอาทิตย์อยู่บนหัวเราพอดี 00:06:58.320 --> 00:07:00.000 อะ ก็แบ่งเป็น 6 ชั่วโมงและ 00:07:00.160 --> 00:07:02.420 ทีนี้ เอ๊ ระหว่างครึ่งนึงของ 6 ชั่วโมง 00:07:02.580 --> 00:07:04.620 แบ่งครึ่งไปอีกที พระอาทิตย์อยู่เฉียง ๆ 00:07:04.860 --> 00:07:05.900 ก็เป็น 3 ชั่วโมง 00:07:05.900 --> 00:07:07.760 อะไรแบบนี้มันอาจจะเท่ากันค่ะ 00:07:07.760 --> 00:07:11.340 แต่ในหน่วยเวลาที่มันเล็กมาก ๆ ในระดับนาทีเนี่ยนะคะ 00:07:11.340 --> 00:07:12.660 ต้องบอกว่าสมัยก่อนเนี่ย 00:07:12.660 --> 00:07:15.020 แต่ละชาติก็แบ่งกันกระจัดกระจายไปหมด 00:07:15.020 --> 00:07:17.360 คนนั้นแบ่งแบบนี้ คนนี้แบ่งแบบนั้นนะคะ 00:07:17.360 --> 00:07:19.560 ยกตัวอย่างง่าย ๆ ภาษาไทยของเราเนี่ย 00:07:19.560 --> 00:07:23.275 สมัยก่อนเราก็ไม่ได้แบ่ง 1 ชั่วโมงเป็น 60 นาที ถูกต้องไหม 00:07:23.520 --> 00:07:25.920 สมัยก่อนค่ะ เขาแบ่ง 1 ชั่วโมงเป็นทั้งหมด 00:07:26.180 --> 00:07:27.660 10 บาทด้วยกันนะคะ 00:07:27.820 --> 00:07:30.280 อันนี้เป็นหน่วยนับเวลาแบบไทยโบราณนะคะ 00:07:30.280 --> 00:07:33.660 แบบที่ถ้าสมมติว่าใครเคยไปอ่านงานเก่า ๆ 00:07:33.660 --> 00:07:35.080 อาจจะได้เห็นที่เขาบอกว่า 00:07:35.260 --> 00:07:37.540 เอ๊ะ 1 ชั่วโมง เศษสังขยา 5 บาท 00:07:37.540 --> 00:07:39.660 ก็แปลว่า 1 ชั่วโมงมี 10 บาท 00:07:39.820 --> 00:07:42.180 5 บาทก็คือครึ่งชั่วโมงนะคะ 00:07:42.180 --> 00:07:44.860 ดังนั้น 1 ชั่วโมง เศษสังขยา 5 บาทก็คือ 00:07:45.280 --> 00:07:47.040 1 ชั่วโมงครึ่งนั่นเองค่ะ 00:07:47.280 --> 00:07:49.520 อันนี้ก็เป็นหน่วยวัดเวลาแบบไทยนะคะ 00:07:49.700 --> 00:07:51.660 เช่นเดียวกันเลยค่ะ ชาวตะวันตกเนี่ย 00:07:51.660 --> 00:07:54.240 เขาก็มีการแบ่งเวลาของเขาเหมือนกันนะคะ 00:07:54.360 --> 00:07:55.500 ซึ่งของไทยโบราณเนี่ย 00:07:55.500 --> 00:07:57.500 เขาอาจจะมีวิธีการวัดอะไรของเขา 00:07:57.500 --> 00:08:00.980 ด้วยการเอากะลามาเจาะรูเป็นนาฬิกาน้ำอะไรต่าง ๆ 00:08:01.200 --> 00:08:04.480 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากจีน อะไรก็ว่ากันไปนะคะ 00:08:04.480 --> 00:08:06.180 เราไม่ได้มาพูดถึงในที่นี้ 00:08:06.240 --> 00:08:08.580 แต่ถามว่ากลับมาที่ moment ของเราเนี่ย 00:08:08.860 --> 00:08:12.400 ชาวตะวันตกเขาวัดเวลากันยังไงนะคะ ในสมัยโบราณ 00:08:12.620 --> 00:08:16.180 ก็ต้องบอกว่าตอนนั้นยังไม่ได้มีนาฬิกาแบบปัจจุบันนี้ค่ะ 00:08:16.180 --> 00:08:17.740 ที่เป็นนาฬิกา mechanic นะคะ 00:08:17.740 --> 00:08:19.700 ที่มันเดินเครื่องด้วยอะไรต่าง ๆ 00:08:19.700 --> 00:08:22.040 ให้มันเดินติ๊ก ๆ ๆ ตรงเวลานะคะ 00:08:22.220 --> 00:08:24.920 สมัยก่อนค่ะ เขาวัดเวลากันโดยใช้ 00:08:25.120 --> 00:08:26.720 นาฬิกาแดดนะคะ 00:08:26.720 --> 00:08:30.200 ทีนี้พอใช้นาฬิกาแดดเนี่ย ก็โอเค เราน่าจะรู้กันดีว่า 00:08:30.200 --> 00:08:33.740 นาฬิกาแดดเขาก็แบ่งเวลากลางวันเป็น 12 ชั่วโมงนี่แหละค่ะ 00:08:33.760 --> 00:08:35.320 แต่ในแต่ละชั่วโมงเนี่ยนะคะ 00:08:35.320 --> 00:08:39.360 นาฬิกาแดดเขาไม่ได้แบ่งเหมือนกับนาฬิกาแบบปัจจุบันนี้ค่ะ 00:08:39.580 --> 00:08:41.760 ซึ่งหน่วยวัดที่ใช้นาฬิกาแดดแบบนี้นะคะ 00:08:41.760 --> 00:08:43.980 ต้องบอกว่าค่อนข้างจะเก่าแก่มาก ๆ เลย 00:08:43.980 --> 00:08:46.600 คือวิวเนี่ยไม่รู้หรอกค่ะว่าเขาเริ่มต้นเมื่อไหร่นะคะ 00:08:46.820 --> 00:08:49.960 แต่จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขาค้นพบกันเนี่ยว่า 00:08:50.120 --> 00:08:51.940 มีการใช้นาฬิกาแดดแบบนี้ 00:08:51.940 --> 00:08:54.180 แล้วมีการแบ่งชั่วโมงเป็น moment เนี่ยนะ 00:08:54.180 --> 00:08:57.380 มันเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8 ค่ะ 00:08:57.580 --> 00:09:00.075 แล้วก็ใช้กันมายาวจนถึง 00:09:00.080 --> 00:09:02.280 คริสต์ศตวรรษที่ 13 เลยทีเดียวนะคะ 00:09:02.280 --> 00:09:05.440 จนกระทั่งการคิดค้นนาฬิกาแบบปัจจุบันนี้เกิดขึ้นค่ะ 00:09:05.560 --> 00:09:08.180 การนับเวลาด้วยนาฬิกาแดดเนี่ยมันถึงจะค่อย ๆ 00:09:08.180 --> 00:09:09.920 หายจากไปนะคะ 00:09:10.280 --> 00:09:12.220 ทีนี้ถามว่าเขาแบ่งกันยังไงนะคะ 00:09:12.220 --> 00:09:15.900 ก็ต้องบอกว่าเขาก็แบ่งคล้าย ๆ กับปัจจุบันนี้นี่ล่ะค่ะ 00:09:15.920 --> 00:09:18.920 คือในเวลากลางวันเนี่ยก็แบ่งออกเป็น 12 ชั่วโมงเนอะ 00:09:19.180 --> 00:09:21.660 เวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนไปต่าง ๆ เนี่ย 00:09:21.960 --> 00:09:26.320 นาฬิกาแดดมันก็ค่อย ๆ ไป แบ่งเป็น 12 ช่องค่ะ 00:09:26.580 --> 00:09:28.640 แต่ทีนี้นะคะ แทนที่ใน 1 ชั่วโมงเนี่ย 00:09:28.640 --> 00:09:30.260 เขาจะแบ่งเป็น 60 นาที 00:09:30.480 --> 00:09:31.920 เขากลับแบ่งเป็นทั้งหมด 00:09:32.260 --> 00:09:34.020 40 moments ด้วยกันค่ะ 00:09:34.120 --> 00:09:35.940 ดังนั้นนะคะ ลองบวกลบคูณหาร 00:09:35.940 --> 00:09:38.140 เทียบบัญญัติไตรยางศ์อะไรต่าง ๆ ออกมา 00:09:38.480 --> 00:09:41.420 เทียบอัตราส่วนอะไรด้วยความรู้ทางคณิตศาสตร์นะคะ 00:09:41.700 --> 00:09:42.640 คิดง่าย ๆ ค่ะ 00:09:42.740 --> 00:09:44.820 1 ชั่วโมง เท่ากับ 40 moments 00:09:45.060 --> 00:09:47.240 1 ชั่วโมง เท่ากับ 60 นาที 00:09:47.400 --> 00:09:49.420 60 นาที เท่ากับ 40 moments 00:09:49.700 --> 00:09:52.220 ดังนั้น 1 moment ก็เลยเท่ากับประมาณ 00:09:52.460 --> 00:09:54.380 1 นาทีครึ่งหรือว่า 00:09:54.620 --> 00:09:56.840 90 วินาทีนั่นเองค่ะ 00:09:57.080 --> 00:09:59.460 ดังนั้นถามว่าเราเรียนรู้อะไรจากอันนี้ 00:09:59.640 --> 00:10:00.900 เราก็เรียนรู้ว่า 00:10:01.100 --> 00:10:04.020 a moment ในภาษาอังกฤษเนี่ยนะคะ ก็คือเท่ากับ 00:10:04.280 --> 00:10:06.240 90 วินาทีนั่นเองค่ะ 00:10:06.440 --> 00:10:09.840 ดังนั้นนะคะ ถ้าสมมติว่าวิวจะสรุปแบบแถ ๆ นิดนึงเนี่ยก็ 00:10:09.840 --> 00:10:11.980 a moment เท่ากับ 90 วินาที 00:10:11.980 --> 00:10:13.660 a moment แปลว่า แป๊บนึง 00:10:13.660 --> 00:10:15.780 ดังนั้นแป๊บนึงที่ถูกต้องที่สุด 00:10:15.980 --> 00:10:17.440 อาจจะเป็นระยะเวลา 00:10:17.620 --> 00:10:19.800 90 วินาทีนั่นเองค่ะ 00:10:19.800 --> 00:10:22.120 อย่างไรก็ตามนะคะ อันนี้มันเป็นการแปลแบบ 00:10:22.120 --> 00:10:23.840 แถนิดนึงของวิวนะ เพราะว่า 00:10:24.040 --> 00:10:25.820 เราไม่มีคำตอบให้แน่ ๆ หรอกค่ะว่า 00:10:25.820 --> 00:10:27.400 แป๊บนึงคือระยะเวลาเท่าไหร่ 00:10:27.400 --> 00:10:30.420 เพราะว่าคนไทยเราไม่ได้คิดลึกอะไรกันขนาดนั้น 00:10:30.420 --> 00:10:33.100 แป๊บนึงก็คือแป๊บเดียว ประมาณนั้นนะคะ 00:10:33.300 --> 00:10:36.540 ขึ้นอยู่กับว่าใครจะแป๊บนึงสั้น แป๊บนึงยาว 00:10:36.540 --> 00:10:39.360 ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนคิดเห็นยังไงค่ะ 00:10:39.640 --> 00:10:43.860 แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ ถ้าสมมติว่าใครที่ฟังแล้วยังรู้สึกไม่สะใจนะคะ 00:10:44.080 --> 00:10:46.620 ต้องบอกว่าในบทความที่วิวไปอ่านมาเนี่ย 00:10:46.820 --> 00:10:49.880 เขาไม่ได้แปล a moment แค่เป็น 90 วินาที 00:10:49.880 --> 00:10:51.420 แบบที่วิวเพิ่งเล่าไปค่ะ 00:10:51.620 --> 00:10:55.420 แต่จริง ๆ แล้วเขาแปลออกเป็นถึง 9 แบบด้วยกันนะคะว่า 00:10:55.600 --> 00:10:57.700 เขามีการวิเคราะห์อะไรต่าง ๆ ว่า 00:10:57.820 --> 00:10:59.700 เออ a moment อาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้ 00:10:59.700 --> 00:11:01.860 อาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้ อาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้ 00:11:02.140 --> 00:11:03.520 เพราะว่าเขามองว่า 00:11:03.700 --> 00:11:06.520 โอเค a moment เนี่ยมันเป็น 90 วินาทีแน่ ๆ แหละ 00:11:06.700 --> 00:11:08.600 แต่คำศัพท์คำนึงเนี่ยนะคะ 00:11:08.760 --> 00:11:11.980 ผ่านระยะเวลามานาน บางทีความหมายมันก็เปลี่ยนค่ะ 00:11:12.200 --> 00:11:13.900 เช่นเดียวกับคำว่า a moment เนี่ย 00:11:13.900 --> 00:11:16.600 มันเป็นการนับเวลาแบบสมัยยุคกลางใช่ไหม 00:11:16.860 --> 00:11:18.600 ดังนั้นในสมัยปัจจุบัน 00:11:18.600 --> 00:11:22.120 a moment มันอาจจะไม่ได้แปลเหมือนกับสมัยยุคกลางแล้ว 00:11:22.320 --> 00:11:24.820 เขาก็เลยวิเคราะห์ออกมาอีกทั้งหมด 8 แบบนะคะ 00:11:24.820 --> 00:11:27.180 ด้วยทฤษฎีในรูปแบบต่าง ๆ 00:11:27.180 --> 00:11:30.380 ไม่ว่าจะเป็น a moment คือช่วงระยะเวลานึงที่เราฝัน 00:11:30.640 --> 00:11:35.080 a moment คือช่วงระยะเวลาที่ความคิดส่งไปถึงสมองเรา 00:11:35.220 --> 00:11:38.080 a moment คือโอ๊ย เยอะแยะอีกมากมายเลยค่ะ 00:11:38.300 --> 00:11:41.260 ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครสนใจอ่านเพิ่มเติมนะคะก็ 00:11:41.500 --> 00:11:44.480 วิวลง link ไว้ให้ใน description box ข้างล่างแล้วนะคะ 00:11:44.480 --> 00:11:46.640 เป็นอ้างอิงเหมือนกับทุกคลิปเลย 00:11:46.640 --> 00:11:48.760 สามารถไปหาอ่านกันเพิ่มเติมได้ค่ะ 00:11:49.000 --> 00:11:50.460 แต่วันนี้วิวขออนุญาต 00:11:50.460 --> 00:11:52.980 หยุดความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองไว้ที่ 00:11:53.100 --> 00:11:56.920 a moment เท่ากับ 90 วินาทีตามแบบยุคกลางค่ะ 00:11:56.920 --> 00:11:58.600 หวังว่าจะตอบคำถามของทุกคน 00:11:58.600 --> 00:12:02.075 และตอบคำถามของคุณบอส กีรติให้หายสงสัยได้นะคะ 00:12:02.080 --> 00:12:04.080 ส่วนใครที่เชื่อหรือไม่เชื่อยังไง 00:12:04.080 --> 00:12:06.140 คิดว่าแป๊บนึงคือระยะเวลาเท่าไหร่ 00:12:06.140 --> 00:12:08.820 สามารถคอมเมนต์มาคุยกันด้านล่างได้นะคะ 00:12:08.980 --> 00:12:12.540 หรือจะฝากคำถามอื่น ๆ ไว้เพื่อให้วิวตอบในคลิปถัด ๆ ไป 00:12:12.620 --> 00:12:14.520 สำหรับวันนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะ 00:12:14.520 --> 00:12:16.420 อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็ 00:12:16.420 --> 00:12:18.260 กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ 00:12:18.520 --> 00:12:20.100 แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ 00:12:20.100 --> 00:12:20.940 บ๊ายบาย 00:12:21.280 --> 00:12:22.040 สวัสดีค่ะ 00:12:22.160 --> 00:12:23.220 เป็นไงบ้างคะทุกคน 00:12:23.220 --> 00:12:25.840 รู้สึกว่าตัวเองโดน clickbait รึเปล่าหรือว่าอะไรยังไง 00:12:26.060 --> 00:12:28.040 แต่เอาเป็นว่าจริง ๆ เรื่อง moment เนี่ย 00:12:28.040 --> 00:12:30.180 มันก็เป็นอะไรที่วิวอยากเล่าให้ทุกคนฟัง 00:12:30.180 --> 00:12:31.420 มาค่อนข้างจะนานแล้วค่ะ 00:12:31.420 --> 00:12:33.540 แต่ว่าหาโอกาสไม่ได้นะคะ 00:12:33.720 --> 00:12:36.560 ประจวบเหมาะกับได้คำถามจากคุณบอส กีรติมา 00:12:36.560 --> 00:12:38.340 ตรงกับที่วิวอยากเล่าพอดีเลย 00:12:38.340 --> 00:12:41.000 ก็เลยอ่ะ ไหน ๆ ก็ไหน ๆ หยิบคำถามนี้ขึ้นมา 00:12:41.220 --> 00:12:42.940 ตอบให้ทุกคนฟังแล้วกันค่ะ 00:12:43.100 --> 00:12:45.300 เอาเป็นว่าวันนี้ลาไปก่อนแล้วกันนะคะทุกคน 00:12:45.300 --> 00:12:46.140 บ๊ายบาย 00:12:46.400 --> 00:12:47.400 สวัสดีค่ะ