WEBVTT 00:00:13.601 --> 00:00:17.101 ตารางธาตุเป็นอะไรที่เรารู้กันดี 00:00:17.101 --> 00:00:19.699 ไม่เพียงพบมันในห้องแล็ปเคมีทั่วโลก 00:00:19.699 --> 00:00:23.499 ยังพบมันได้บน เสื้อยืด ถ้วยกาแฟ และ ม่านห้องน้ำ 00:00:23.499 --> 00:00:26.316 ตารางธาตุไม่ได้เป็นแค่พวกของล้ำสมัย ตามกระแสเท่านั้น 00:00:26.316 --> 00:00:29.383 แต่มันยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงอัจฉริยภาพของมนุษย์ 00:00:29.383 --> 00:00:34.566 ในระดับเดียวกับ ทัชมาฮาล ภาพโมนาลิซ่า และไอศกรีมแซนวิช -- 00:00:34.566 --> 00:00:40.249 ผู้ที่สร้างมันขึ้นมา คือ ดมิทรี เมนเดเลฟ (Dmitri Mendeleev) นักวิทยาศาสตร์ระดับตำนาน 00:00:40.249 --> 00:00:42.934 แต่ทำไมล่ะ? เขากับตารางธาตุของเขา มันเจ๋งขนาดนั้นเลยหรือ? 00:00:42.934 --> 00:00:46.050 เพราะเขาได้จัดเรียงรายชื่อของธาตุ ที่มีอยู่แล้วหรือ? 00:00:46.050 --> 00:00:50.267 ไม่หรอก แค่จัดเรียงชื่อธาตุไม่มีทางทำให้คุณ กลายเป็นตำนานของวงการวิทยาศาสตร์ได้หรอก 00:00:50.267 --> 00:00:54.518 ยิ่งไปกว่านั้น เขาก็ไม่ใช่คนแรกที่ทำสิ่งนี้ 00:00:54.518 --> 00:00:58.583 หรือเป็นเพราะเขาจัดเรียงธาตุ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน? 00:00:58.583 --> 00:01:01.416 ก็ยังไม่ใช่ มีคนเคยทำมันมาก่อนแล้วเช่นกัน 00:01:01.416 --> 00:01:03.999 ตกลงว่า อะไรกันแน่ที่แสดงถึงอัจฉริยะภาพ ของเมนเดเลฟ? 00:01:03.999 --> 00:01:08.034 ลองมาดูตารางธาตุเวอร์ชันแรกๆ ในราวๆ ปี 1870 00:01:08.034 --> 00:01:12.317 เราจะเห็นว่าธาตุต่างๆ ในตาราง ถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์เป็นอักษร 2 ตัว 00:01:12.317 --> 00:01:15.483 ลองมาดูที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 3 แถวที่ 5 กัน 00:01:15.483 --> 00:01:17.316 มันมีเครื่องหมายขีดอยู่ตรงนั้น 00:01:17.316 --> 00:01:22.100 ธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น จะเผยให้เห็นถึงความหลักแหลมของเมนเดเลฟ 00:01:22.100 --> 00:01:25.583 เครื่องหมายขีดนั้น เป็น วิทยาศาสตร์ 00:01:25.583 --> 00:01:28.600 ที่ตรงเครื่องหมายนั่น ดมิทรีกล่าวอย่างมั่นใจ 00:01:28.600 --> 00:01:31.100 เขาพูดว่า --ประโยคตามที่เขาพูดในตอนนั้น -- 00:01:31.100 --> 00:01:35.735 ถึงเราจะยังไม่พบธาตุตัวนี้จริงๆ แต่ผมจะขอตั้งชื่อให้มันสักหน่อย 00:01:35.735 --> 00:01:39.749 มันอยู่ถัดจากธาตุอะลูมิเนียมไปหนึ่งช่องดังนั้น เราจะเรียกมันว่า เอกา-อะลูมิเนียม (eka-aluminum) 00:01:39.749 --> 00:01:41.816 "เอกา" (eka) ในภาษาสันสกฤตแปลว่า หนึ่ง 00:01:41.816 --> 00:01:45.815 ยังไม่เคยมีใครค้นพบธาตุเอกา-อะลูมิเนียม ดังนั้นเราจึงยังไม่ทราบคุณสมบัติของมัน ใช่ไหม? 00:01:45.815 --> 00:01:51.066 ไม่จริงหรอก! จากตำแหน่งในตารางธาตุ ผมสามารถบอกคุณสมบัติต่างๆ ของมันได้ 00:01:51.066 --> 00:01:55.716 ก่อนอื่นเลย เอกา-อะลูมิเนียม 1 อะตอม จะมีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 68 00:01:55.716 --> 00:01:58.366 หนักกว่าไฮโดรเจนอะตอม ประมาณ 68 เท่า 00:01:58.366 --> 00:02:02.966 เมื่อเอกา-อะลูมิเนียมอยู่โดดๆ คุณจะพบมันเป็นโลหะแข็งที่อุณหภูมิห้อง 00:02:02.966 --> 00:02:04.967 มันมีลักษณะมันเงา และนำความร้อนได้ดี 00:02:04.967 --> 00:02:07.358 มันสามารถนำมาตีให้เป็นแผ่น หรือนำมายืดให้เป็นเส้นลวดได้ 00:02:07.404 --> 00:02:11.616 แต่จุดหลอมเหลวของมันต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ 00:02:11.616 --> 00:02:15.566 ธาตุนี้ที่ปริมาตรขนาด 1 ลบ.ซม. จะหนัก 6 กรัม 00:02:15.566 --> 00:02:20.133 เมนเดเลฟสามารถทำนายคุณสมบัติเหล่านี้ได้ จากตำแหน่งของมันในตารางธาตุ 00:02:20.133 --> 00:02:23.799 ร่วมกับความรู้เกี่ยวกับธาตุอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ตำแหน่งนั้น 00:02:23.799 --> 00:02:25.533 ไม่กีปีหลังจากที่เขาทำนาย 00:02:25.533 --> 00:02:29.082 ชาวฝรั่งเศสชื่อ พอล อะมีล เลอคอก เด บวสโบดราน (Paul Emile Lecoq de Boisbaudran) 00:02:29.082 --> 00:02:31.316 ค้นพบธาตุชนิดใหม่จากในตัวอย่างแร่เหล็ก 00:02:31.316 --> 00:02:35.100 และตั้งชื่อมันว่า แกลเลียม (gallium) จากคำว่า กอล (Gaul) ที่เป็นชื่อดั้งเดิมของประเทศฝรั่งเศส 00:02:35.100 --> 00:02:38.883 ธาตุแกลเลียมอยู่ถัดจากธาตุอะลูมิเนียมไป 1 ช่อง ตามตารางธาตุ 00:02:38.883 --> 00:02:43.449 มันคือ เอกา-อะลูมิเนียม แล้วที่เมนเดเลฟเคยทำนายเอาไว้ถูกต้องหรือเปล่า? 00:02:43.449 --> 00:02:46.915 น้ำหนักอะตอมของธาตุแกลเลียม คือ 69.72 00:02:46.915 --> 00:02:50.750 ที่ปริมาตร 1 ลบ.ซม. มีน้ำหนัก 5.9 กรัม 00:02:50.750 --> 00:02:52.966 เป็นโลหะแข็งที่อุณหภูมิห้อง 00:02:52.966 --> 00:02:56.132 และหลอมเหลวที่อุณหภูมิต่ำแค่ 30 องศาเซลเซียส 00:02:56.132 --> 00:02:58.517 หรือที่ 85 องศาฟาเรนไฮต์ 00:02:58.517 --> 00:03:01.049 แค่เพียงคุณอมไว้ในปากหรือกำมันไว้ในมือ 00:03:01.049 --> 00:03:03.966 เมนเดเลฟไม่เพียงถูกเผงเกี่ยวกับธาตุแกลเลียมเท่านั้น 00:03:03.966 --> 00:03:06.716 เขายังได้ทำนายถึงธาตุอื่นอีก หลายตัว ที่ยังไม่มีการค้นพบในตอนนั้น 00:03:06.716 --> 00:03:09.749 เช่น ธาตุสแกนเดียม (scandium) เจอร์เมเนียม (germanium) เรเนียม (rhenium) 00:03:09.749 --> 00:03:13.899 ธาตุที่เขาตั้งชื่อมันว่า เอกา-แมงกานีส(eka-manganese) ตอนนี้ถูกเรียกว่า เทคเนเดียม(technetium) 00:03:13.899 --> 00:03:21.748 ธาตุเทคเนเดียมพบได้น้อยมากทั้งยังไม่สามารถสกัดออก มาได้จนมันถูกสังเคราะห์จากเครื่องเร่งอนุภาคในปี 1937 00:03:21.748 --> 00:03:26.198 เกือบ 70 ปี หลังจากที่เมนเดเลฟได้ทำนายไว้ 00:03:26.198 --> 00:03:28.749 30 ปี หลังจากเขาเสียชีวิต 00:03:28.749 --> 00:03:34.883 ดมิทรีตายในปี 1907 โดยไม่เคยได้รับรางวัลโนเบล แต่ต่อมาเขากลับได้รับเกียรติที่สูงส่งกว่า 00:03:34.883 --> 00:03:39.333 ในปี 1955 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) สร้างธาตุใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน จำนวน 17 อะตอม 00:03:43.783 --> 00:03:48.235 ธาตุนี้ตรงกับตำแหน่งที่ยังว่างในตารางธาตุ ที่มีเลขอะตอม 101 00:03:48.235 --> 00:03:52.616 และตั้งชื่อมันว่า เมนเดลีเวียม (Mendelevium) ในปี 1963 00:03:52.616 --> 00:03:55.816 นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลมีมากกว่า 800 คน 00:03:55.816 --> 00:03:59.551 แต่มีนักวิทยาศาสตร์เพียง 15 คนเท่านั้น ที่ได้รับเกียรติเอาชื่อไปใช้เป็นชื่อธาตุ 00:03:59.551 --> 00:04:02.215 คราวหน้าถ้าคุณจ้องมองไปที่ตารางธาตุ 00:04:02.215 --> 00:04:06.782 ไม่ว่าจะจากบนผนังห้องเรียนที่มหาวิทยาลัย หรือจากบนถ้วยกาแฟ 00:04:06.782 --> 00:04:10.549 จำไว้ว่า ดมิทรี เมนเดเลฟ คนที่ประดิษฐ์ตารางธาตุขึ้นมา 00:04:10.549 --> 00:04:12.799 ก็จ้องมองคุณอยู่เช่นกัน