1 00:00:07,595 --> 00:00:10,575 มันเริ่มต้นจากการไอ 2 00:00:10,575 --> 00:00:12,051 หรือเสียงหวีดระหว่างหายใจ 3 00:00:12,051 --> 00:00:14,374 ต่อมาคุณจะรู้สึกแน่นหน้าอก 4 00:00:14,374 --> 00:00:17,216 คุณหายใจถี่ขึ้น และหายใจตื้นขึ้นไปทุกขณะ 5 00:00:17,216 --> 00:00:19,594 ทำให้คุณรู้สึกหายใจไม่ทัน 6 00:00:19,594 --> 00:00:23,385 นี่คืออาการที่พบบ่อยของ การจับหืด (asthma attack) 7 00:00:23,385 --> 00:00:27,746 ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคหืดกว่า 300 ล้านคน 8 00:00:27,746 --> 00:00:32,423 และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 คนต่อปี 9 00:00:32,423 --> 00:00:37,627 ทว่า เหตุใดคนเราจึงป่วยด้วยโรคหืด แล้วโรคนี้อันตรายถึงตายได้อย่างไร 10 00:00:37,627 --> 00:00:39,904 โรคหืดเป็นโรคที่เกิดกับระบบหายใจ 11 00:00:39,904 --> 00:00:42,378 โดยเฉพาะในทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็ก 12 00:00:42,378 --> 00:00:45,415 เช่น หลอดลม (bronchus) และหลอดลมฝอย (bronchiole) 13 00:00:45,415 --> 00:00:48,816 ทางเดินหายใจส่วนนี้มีผิวชั้นใน เรียกว่าผิวเยื่อเมือก (mucosa) 14 00:00:48,816 --> 00:00:52,436 ซึ่งล้อมรอบด้วยชั้นของกล้ามเนื้อเรียบ 15 00:00:52,436 --> 00:00:56,366 ในผู้ป่วยโรคหืด ทางเดินหายใจเหล่านี้ มีการอักเสบเรื้อรังอยู่แต่เดิม 16 00:00:56,366 --> 00:01:00,097 ซึ่งทำให้พวกมันมีความไวผิดปกติ ต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่าง 17 00:01:00,097 --> 00:01:03,297 สิ่งกระตุ้นโรคหืดเหล่านี้ อาทิ ควันบุหรี่ 18 00:01:03,297 --> 00:01:04,425 ละอองเกสร 19 00:01:04,425 --> 00:01:05,212 ฝุ่น 20 00:01:05,212 --> 00:01:06,137 น้ำหอม 21 00:01:06,137 --> 00:01:07,066 การออกกำลังกาย 22 00:01:07,066 --> 00:01:08,096 อากาศเย็น 23 00:01:08,096 --> 00:01:09,698 ความเครียด 24 00:01:09,698 --> 00:01:11,476 หรือแม้กระทั่งไข้หวัด 25 00:01:11,476 --> 00:01:14,917 เมื่อผู้ป่วยโรคหืด สัมผัสสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ 26 00:01:14,917 --> 00:01:19,537 ก็อาจเกิดอาการจับหืด หรือโรคหืดกำเริบขึ้นได้ 27 00:01:19,537 --> 00:01:24,608 แต่ปัจจัยที่พบได้โดยทั่วไปเช่นนี้ ทำให้เกิดอาการจับหืดได้อย่างไร 28 00:01:24,608 --> 00:01:26,997 เมื่อผู้ป่วยโรคหืดสัมผัสสิ่งกระตุ้น 29 00:01:26,997 --> 00:01:30,967 ชั้นกล้ามเนื้อเรียบที่ห่อหุ้ม ทางเดินหายใจขนาดเล็กเหล่านี้ 30 00:01:30,967 --> 00:01:33,748 จะหดตัว ทำให้ช่องทางแคบลง 31 00:01:33,748 --> 00:01:36,928 ขณะเดียวกัน สิ่งกระตุ้นพวกนี้ ก็ทำให้การอักเสบทวีความรุนแรงขึ้น 32 00:01:36,928 --> 00:01:40,047 ทำให้ชั้นเยื่อเมือกบวมมากขึ้น 33 00:01:40,047 --> 00:01:42,697 และหลั่งเมือกออกมามากกว่าปกติ 34 00:01:42,697 --> 00:01:44,188 ในสภาวะปกติแล้ว 35 00:01:44,188 --> 00:01:49,498 ร่างกายจะใช้เมือกเหล่านี้ในการดักจับ และขับสิ่งแปลกปลอม เช่น เกสร หรือฝุ่น 36 00:01:49,498 --> 00:01:51,233 แต่ในขณะที่เกิดการจับหืดอยู่นั้น 37 00:01:51,233 --> 00:01:57,528 เมือกจะไปอุดกั้นทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ทำให้ผู้ป่วยยิ่งหายใจลำบากขึ้นกว่าเดิม 38 00:01:57,528 --> 00:02:00,639 ผลดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรคหืด 39 00:02:00,639 --> 00:02:04,969 จากการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกแน่นหน้าอก 40 00:02:04,969 --> 00:02:08,639 เมือกที่มีปริมาณมากผิดปกติ และการอักเสบที่รุนแรงขึ้นทำให้เกิดอาการไอ 41 00:02:08,639 --> 00:02:10,050 ส่วนเสียงหวีดนั้นน่ะหรือ 42 00:02:10,050 --> 00:02:12,579 เสียงนั้นเกิดขึ้นเพราะ เมื่อทางเดินหายใจตีบแคบลง 43 00:02:12,579 --> 00:02:18,469 แล้วอากาศไหลผ่านช่องที่ตีบแคบ จึงเกิดเป็นเสียงหวีดขึ้น 44 00:02:18,469 --> 00:02:22,189 อาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วย รู้สึกราวกับว่าไม่มีอากาศจะหายใจ 45 00:02:22,189 --> 00:02:25,277 ถึงกระนั้น จริง ๆ แล้ว ขณะที่กำลังจับหืด 46 00:02:25,277 --> 00:02:29,459 การอักเสบทำให้การหายใจออก ยากกว่าการหายใจเข้า 47 00:02:29,459 --> 00:02:33,589 เมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้ในปอด มีอากาศคั่งอยู่มากเกิน 48 00:02:33,589 --> 00:02:36,339 เป็นปรากฏการณ์การขยายเกินของปอด (lung hyperinflation) 49 00:02:36,339 --> 00:02:40,531 การมีอากาศถูกขังไว้ภายในปอด ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนัก 50 00:02:40,531 --> 00:02:43,283 เพื่อที่จะหายใจเข้าและหายใจออก 51 00:02:43,283 --> 00:02:49,353 หากยังเป็นอยู่ จะทำให้ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายมีปริมาณลดลง 52 00:02:49,353 --> 00:02:52,670 บางครั้ง ในผู้ป่วยที่มีอาการจับหืดอย่างรุนแรง และไม่ได้รับการรักษา 53 00:02:52,670 --> 00:02:54,529 ร่างกายจะไม่สามารถทนไหว 54 00:02:54,529 --> 00:02:58,099 และนำไปสู่การเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน 55 00:02:58,099 --> 00:03:01,880 ถ้าเช่นนั้น เราจะป้องกันอาการหืดกำเริบ ที่ทั้งทรมานและอาจถึงตาย 56 00:03:01,880 --> 00:03:04,029 ในผู้ป่วยโรคหืดได้อย่างไร 57 00:03:04,029 --> 00:03:07,388 หนทางหนึ่งก็คือ การลดโอกาสสัมผัสสิ่งกระตุ้น 58 00:03:07,388 --> 00:03:10,353 โชคร้ายที่โลกแห่งความเป็นจริง เราไม่สามารถทำนายอะไรได้ 59 00:03:10,353 --> 00:03:13,893 และบางครั้ง การสัมผัสสิ่งกระตุ้น ก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา 60 00:03:13,893 --> 00:03:18,717 จุดนี้เองที่ยาพ่น (inhaler) ซึ่งเป็น การรักษาปฐมภูมิของโรคหืด เข้ามามีบทบาท 61 00:03:18,717 --> 00:03:23,690 ยาเหล่านี้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืด ได้ทั้งป้องกันและควบคุมอาการ 62 00:03:23,690 --> 00:03:27,419 ยาพ่นเหล่านี้สามารถส่งตัวยา เข้าไปยังทางเดินหายใจที่เป็นโรคได้ 63 00:03:27,419 --> 00:03:33,071 โดยใช้ละอองยาหรือผงยาละเอียด เข้าไปแก้ปัญหาที่ตำแหน่งต้นเหตุ 64 00:03:33,071 --> 00:03:35,018 ยาชนิดนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม 65 00:03:35,018 --> 00:03:36,754 กลุ่มแรกคือยาบรรเทาอาการ (reliever) 66 00:03:36,754 --> 00:03:40,802 ซึ่งรักษาอาการได้ทันที โดยมียากระตุ้นตัวรับเบต้า (beta-agonist) 67 00:03:40,802 --> 00:03:43,911 ยากระตุ้นตัวรับเบต้า จะไปคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง 68 00:03:43,911 --> 00:03:50,132 ทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งขึ้น อากาศผ่านเข้าออกปอดได้สะดวกขึ้น 69 00:03:50,132 --> 00:03:53,609 อีกกลุ่มหนึ่งใช้เป็นยาป้องกันการเกิดอาการ 70 00:03:53,609 --> 00:03:56,363 ช่วยรักษาอาการของโรคหืด ได้ในระยะยาว 71 00:03:56,363 --> 00:03:58,572 มีตัวยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) 72 00:03:58,572 --> 00:04:02,943 ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะลดการอักเสบ และความไวเกินของทางเดินหายใจ 73 00:04:02,943 --> 00:04:05,763 ทำให้สามารถควบคุมโรคหืดเอาไว้ได้ 74 00:04:05,763 --> 00:04:08,544 นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญ ในการป้องกันความเสียหายในระยะยาว 75 00:04:08,544 --> 00:04:10,090 จากการอักเสบเรื้อรังอีกด้วย 76 00:04:10,090 --> 00:04:12,272 ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นในทางเดินหายใจได้ 77 00:04:12,272 --> 00:04:15,044 ยาพ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง 78 00:04:15,044 --> 00:04:17,873 และได้ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยจำนวนมาก มีชีวิตที่ดีขึ้น 79 00:04:17,873 --> 00:04:20,581 ถึงแม้เราจะมีการพัฒนาวิธีในการรักษา 80 00:04:20,581 --> 00:04:22,563 และการวินิจฉัยโรคหืดที่ก้าวหน้าก็ตาม 81 00:04:22,563 --> 00:04:24,770 แต่เราก็ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ 82 00:04:24,770 --> 00:04:29,402 ปัจจุบันเราเชื่อว่าโรคหืดเกิดจาก หลายปัจจัย ทั้งจากพันธุกรรม 83 00:04:29,402 --> 00:04:30,681 และสิ่งแวดล้อม 84 00:04:30,681 --> 00:04:33,715 และอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก 85 00:04:33,715 --> 00:04:37,734 งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถึงกับเชื่อมโยง ความยากจนเข้ากับการเป็นโรคหืด 86 00:04:37,734 --> 00:04:39,465 ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ 87 00:04:39,465 --> 00:04:43,139 นับตั้งแต่การได้สัมผัสมลพิษ และสิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมมากกว่า 88 00:04:43,139 --> 00:04:46,975 ไปจนถึงความยากลำบาก ในการเข้าถึงการบริการสุขภาพหรือการรักษา 89 00:04:46,975 --> 00:04:49,135 หากเรามีความรู้เรื่องโรคหืดมากขึ้นในวันหน้า 90 00:04:49,135 --> 00:04:53,973 เราก็จะพบหนทางใหม่ในการทะนุถนอมทางเดินหายใจ ของผู้คนให้ปกติสุขและสุขภาพดีได้