2,300 ปีก่อน ผู้ปกครองแห่งอเล็กซานเดรียทำตามแผนการ ที่จะเติมเต็มเป้าหมาย ที่แสนจะทะเยอทะยานที่สุด ซึ่งก็คือการรวบรวมความรู้ในโลกของเรา ให้อยู่ภายใต้หลังคาเดียว ในช่วงแรก ห้องสมุดอเล็กซานเดรียเป็นคลังม้วนเอกสาร จำนวนมากมายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และดึงดูดผู้นำทางความคิดชาวกรีกมากมาย แต่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสกาล ห้องสมุดยักษ์นั้นก็หายสาปสูญไป หลายคนเชื่อว่า มันถูกทำลายด้วยอัคคีภัย ข้อเท็จจริงของกำเนิดและการล่มสลาย ของห้องสมุดนี้ซับซ้อนกว่านั้น แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดมาจาก อเล็กซานเดอร์มหาราช หลังจากที่เขาสถาปนาตัวเองเป็นผู้พิชิต ศิษย์เก่าของอริสโตเติลคนนี้ ก็ได้เบนความสนใจ ไปยังการสร้างจักรวรรดิ์แห่งปัญญา ณ เมืองที่ถูกตั้งชื่อตามเขา เขาตายก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้น แต่ผู้สืบตำแหน่งจากเขา ปโตเลมี ที่ 1 ทำตามแผนสำหรับพิพิธภัณฑ์ และห้องสมุดของอเล็กซานเดอร์ ณ เขตเมืองหลวงของนคร ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย อาจถูกสร้างด้วยเสาแบบแกรนด์เฮเลนิสติก ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์ หรือการผสมผสานของทั้งสองอย่าง เราไม่มีหลักฐานทางสถาปัตยกรรม แต่เรารู้ว่ามันมีห้องบรรยาย ห้องเรียน และแน่นอน หิ้ง เมื่อการสร้างสำเร็จเสร็จสิ้น ปโตเลมี ที่ 1 ก็เริ่มจัดเก็บเอกสารกรีกและอียิปต์ เขาสนับสนุนทุนทรัพย์ ให้บัณฑิตมาอยู่และศึกษาในอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดนี้เติบโตขึ้นเมื่อคนเหล่านี้ ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แต่ผู้ปกครองแห่งอเล็กซานเดรีย ยังต้องการสำเนาหนังสือทุกเล่มในโลก โชคดี อเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลาง ของเรือที่เดินทางผ่านเมนิเตอเรเนียน ปโตเลมี ที่ 3 ออกนโยบายสั่งให้เรือทุกลำ ที่เทียบท่าที่อเล็กซานเดรีย ต้องมอบหนังสือมาให้คัดลอก เมื่อห้องสมุดได้ทำการคัดลอกหนังสือแล้ว พวกเขาก็เก็บต้นฉบับไว้ และส่งสำเนาคืนให้กับเรือไป นักล่าหนังสือที่ถูกว่าจ้าง ยังท่องไปทั่วเมนิเตอเรเนียน เพื่อค้นหาหนังสืออื่น ๆ และผู้ปกครองแห่งอเล็กซานเดรีย ก็พยายามที่จะกำจัดคู่แข่ง โดยยกเลิกการส่งออกปาปิรุสอียิปต์ทั้งหมด ที่ใช้ในการทำม้วนเอกสาร ความพยายามเหล่านี้ทำให้หนังสือนับแสน หลั่งไหลสู่อเล็กซานเดรีย ห้องสมุดก็เติบโตขึ้น มันกลายเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล ได้หลากหลายสาขาวิชากว่าแต่ก่อน แต่ก็ยังยากที่จะหาข้อมูล ได้สำหรับทุกศาสตร์จำเพาะ โชคดีที่ปราชญ์นามว่า คาลิมาคัส แห่งซิเรเน ได้พยายามหาทางออก โดยการสร้างพินาเคส รายการบรรณานุกรมห้องสมุด 120 เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นบรรณานุกรมแรก เมื่อใช้พินาเคส ก็สามารถจัดการกับรายการหนังสือ ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ได้ พวกเขาค้นพบสิ่งที่น่าทึ่งบางอย่าง 1,600 ปีก่อนที่โคลัมบัสจะออกเดินทาง เอราทอสเทนีส ไม่ได้เพียงตระหนักว่า โลกของเราเป็นทางกลม แต่ยังคำนวนเส้นรอบวงของโลก และเส้นผ่านศูนย์กลาง ที่คลาดเคลื่อนไปเพียงไม่กี่ไมล์ เฮรอนแห่งอเล็กซานเดรีย สร้างเครื่องจักรไอน้ำแรกของโลก มากกว่าพันปี ก่อนที่มันจะถูกประดิษฐ์ขึ้นอีกครั้ง ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม มันถูกสร้างขึ้น 283 ปีก่อนคริสตกาล และเฟื่องฟูอยู่เป็นเวลาประมาณ 300 ปี แต่แล้ว 48 ปีก่อนคริสกาล จูเลียส ซีซาร์ ก็ล้อมเมืองอเล็กซานเดรีย และเผาเรือที่ท่าน้ำ นักวิชาการเชื่อกันมานานว่า ห้องสมุดถูกเผาเพราะไฟที่ลามจากท่าเรือ มันเป็นไปได้ว่าอัคคีภัยนั้น ได้ทำลายเอกสารบางส่วน แต่เราทราบจากบันทึกโบราณ ว่าบรรดาปราชญ์ก็ยังคงไปเยือนห้องสมุด เป็นเวลาอีกหลายศตวรรษหลังเหตุการณ์นั้น ในที่สุด ห้องสมุดค่อย ๆ เลือนหายไป ขณะที่เมืองที่ถูกเปลี่ยนมือจากกรีก ตกไปเป็นของโรมัน คริสเตียน และท้ายที่สุด มุสลิม ผู้ปกครองแต่ละรายมองว่าเป็นภัย มากกว่าที่จะสิ่งที่น่าภูมิใจ ในคริสศักราช 415 ผู้ปกครองชาวคริสต์เคยแม้กระทั่งสังหาร นักคณิตศาสตร์นามว่า ไฮพาเทีย ที่ศึกษาหนังสือกรีกโบราณจากห้องสมุดนี้ ซึ่งพบเขามองว่าเป็นสิ่งที่ดูหมิ่นศาสนา แม้ว่าห้องสมุดอเล็กซานเดรีย และหนังสือมหาศาลในนั้นจะสูญสิ้นไปแล้ว เราก็ยังคงได้รู้จักวิธีการจัดเก็บ การค้นหาข้อมูล และการถนอมรักษาความรู้ ในปัจจุบันนี้ เรามีข้อมูลมากมายยิ่งกว่า และมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งกว่า ในการเก็บรักษาความรู้ แม้เราจะไม่อาจแน่ใจ ว่าหน่วยเก็บถาวรแบบดิจิทัล จะทนทานต่อการทำลาย มากกว่าหมึกบนม้วนกระดาษ ของอเล็กซานเดรียหรือไม่ หรือแม้ว่าแหล่งความรู้ของเรา จะปลอดภัยในทางกายภาพ พวกมันจะต้องทนทาน ต่อภัยแฝงที่อันตรายยิ่งกว่า ที่สามารถทลายห้องสมุดจนพินาศได้ นั่นก็คืออวิชา และความเชื่อจองหองที่ว่าอดีตนั้นคร่ำครึ ความแตกต่างก็คือ ในครั้งนี้ เรารู้ว่าต้องเตรียมตัวเช่นไร