หลังจากคริสต์มาสปีที่แล้ว เด็ก 132 คนในแคลิฟอร์เนียได้ติดโรคหัด จากใครคนหนึ่งที่ไปเที่ยวสวนสนุกดิสนี่แลนด์ หรือได้สัมผัสกับใครบางคนที่มีเชื้อโรคหัด ในที่แห่งนั้น เชื้อไวรัสได้กระโดดข้ามพรมแดนแคนาดา ทำให้เด็กมากกว่า 100 คนในควีเบก ติดโรคหัดไปด้วย หนึ่งในเรื่องที่น่าสลดใจเกี่ยวกับ การระบาดของโรคนี้ คือการติดโรคหัดที่อาจรุนแรงปางตาย กับเด็กที่ไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ วิธีการหนึ่งในการป้องกันที่ง่ายที่สุด กับเชื้อโรคในโลกนี้ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านมัน มีความสามารถมากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว แต่เด็กจำนวนมากที่ติดโรคระบาดไข้หัดนี้ ในสวนสนุกดิสนี่แลนด์ ต่างไม่เคยได้รับวัคซีน เพราะพ่อแม่พวกเขาต่างหวาดกลัว กับบางอย่างที่ถูกกล่าวหาว่าว่าเลวร้ายมาก คือโรคออทิซีม แต่เดี๋ยว แต่ไม่ใช่เอกสารนั่นหรือที่จุดไฟ การโต้เถียงอย่างรุนแรง เกี่ยวกับโรคออทิซิมและวัคซีน ถูกหักล้างความคิด ถูกถอนคำพูด ประทับตราการหลอกลวงอย่างไตร่ตรอง โดยวารสารการแพทย์ของอังกฤษ แล้วนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ รู้เรื่องทฤษฏีที่ว่าวัคซีนเป็นสาเหตุให้ เกิดโรคออทิซึมในอังกฤษหรือไม่ ผมคิดว่าหลายท่านรู้ แต่พ่อแม่นับล้านคนทั่วโลก ยังหวาดวิตกอย่างต่อเนื่องเรื่องวัคซีน ทำให้ลูก ๆ มีความเสี่ยงกับโรคออทิซีม ทำไม นี่คือเหตุผลว่าทำไม นี่คือกราฟแสดงความชุกของโรคออทิซึม ที่ประมาณการที่เพิ่มขึ้นจากเดิม มีจำนวนที่มากที่สุดในศตวรรษที่ 20 โรคออทิซึมคาดว่ามีเงื่อนไขที่เป็นยากมาก กลายเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ มีนักจิตวิทยาและกุมารแพทย์น้อยรายมาก ที่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้ แสดงอย่างชัดเจนว่าพวกเขาน่าจะเคยพบคนไข้บ้าง จากงานอาชีพประจำ น่าจะเคยเห็นไม่ต่ำกว่าเรื่องเดียว หลายสิบปีความชุกของโรคที่ประมาณการ ยังคงที่ มีเด็กเพียง 3-4 คนใน 10,000 คน ต่อเมื่อในปี ค.ศ. 1990 ตัวเลขกลับเริ่มถึบตัวขึ้นสูง องค์กรแสวงหารายได้จากโครงการต่าง ๆ เช่น ออทิซึมสปีคส์ อ้างอิงเสมอว่าโรคออทิซีมเหมือนโรคระบาด แต่ถ้าคุณสามารถจับโรคนี้ได้จากเด็ก อีกคนในสวนสนุกดิสนีแลนด์ แล้วอะไรที่จะตามมา ถ้าไม่ใช้วัคซีค แล้วจะใช้อะไร ถ้าคุณถามพนักงานที่พบเจอ ที่สำนักงานกลางเพื่อควบคุมโรคในแอตลันต้า อะไรที่จะเกิดขึ้น พวกเขามีแนวโน้มที่จะตอบด้วยวลีว่า "วิธีการวินิจฉัยโรคที่แพร่ขยายตัวขึ้น" และ " กำลังค้นกรณีตัวอย่างที่ดีขึ้น " ในการอธิบายจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ประเภทของวาทะกรรมนั้น ไม่ได้บรรเทาอาการหวาดผวา ของแม่วัยสาวแต่อย่างใด ที่พบว่าเด็กวัยสองขวบที่สัมผัสกับตาได้ ถ้าการวินิจฉัยโรคมีการแผร่กระจายแล้ว ทำไม่ถึงอยู่ใกล้กับสถานที่แห่งแรก ทำไมกรณีโรคออทิซึ่มจึงยากกับการค้นพบ ก่อนปี ค.ศ. 1990 ห้าปีก่อน ผมตัดสินใจที่จะพยายาม ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้ ผมเรียนรู้ว่ามีอะไรที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว ผลความล่าช้าและการเตือนภัยที่ก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ทำให้มีข้อมูลน้อยกว่า พลังการเล่าเรื่องราว(ข่าวลือ)ที่หลอกลวง ที่สำคัญที่สุดในศตรวรรษที่ 20 แพทย์ที่รักษาโรคได้บอกเล่าเรื่องราวหนึ่ง เกี่ยวกับการเป็นโรคออทิซิมและมีวิธีการ ค้นพบได้อย่างไร แต่เรื่องราวนั้นกลับเป็นเรื่องที่ผิดพลาด และคุณลักษณะผลที่ได้ของโรคนี้ ได้สร้างผลกระทบสร้างความเสียหายอย่างมากมาย กับระบบสุขภาพสาธารณะทั่วโลก มีเรื่องราวลำดับที่ 2 เกี่ยวกับความจริง ของเรื่องโรคออทิซึม ที่สูญหายไปแล้วและมีการลืมเลือนไป ในแง่มุมต่าง ๆ ที่คลุมเครือเกี่ยวกับ สิ่งตีพิมพ์ทางการแพทย์ เรื่องราวที่ 2 นี้บอกเล่าทุกอย่างเกี่ยวกับ ว่าทำไมเราต้องมาที่นี่ และเราจะไปทางไหนกันต่อไป เรื่องแรกสุดเริ่มต้นด้วยนักจิตแพทย์เด็ก ที่โรงพยาบาลจอห์นส์ ฮ๊อปคินส์ ชื่อว่า ลีโอ เคนเนอร์ ในปี ค.ศ. 1943 เคนเนอร์ ได้ตีพิมพ์เอกสาร อธิบายว่ามีคนไข้วัยรุ่น 11 คน ที่ดูเหมือนว่ามีโลกส่วนตัวของตนเอง ไม่ยอมรับรู้ผู้คนที่อยู่รอบข้าง แม้แต่พ่อแม่ของตนเอง พวกเขาสามารถหัวเราะเองได้เป็นชั่วโมง ๆ ด้วยการกระพือมือขึ้นลงหน้าใบหน้าตนเอง แต่พวกเขาจะรู้สึกตื่นตกใจกับเรื่องจิ๊บ ๆ เช่นของเล่นชิ้นโปรดที่ถูกย้ายไปจากที่เดิม ที่วางไว้เป็นประจำ โดยพวกเขาไม่รู้เรื่อง เรื่องนี้ขึ้นกับพ่อแม่เด็กที่ถูกพามาที่ คลีนิคของเขา เคนเนอร์ได้พิจารณาว่าโรคออทิซึม ค่อนข้างหายากมาก ในปี ค.ศ. 1950 ในฐานะผู้นำระดับโลกในเรื่องนี้ เขาได้ประกาศว่าเขาได้เห็นกรณีตัวอย่าง ของจริงในกลุ่มอาการโรคถึง 150 เรื่อง ในระหว่างลงพื้นที่ภาคสนามในที่ห่างไกล ที่ประเทศอัฟริกาใต้ ที่นั่นแน่นอนไมน่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะบรรทัดฐานของเคนเนอร์คือ การวินิจฉัยโรคออทิซึม ที่มีการคัดเลือกคนไข้มาอย่างไม่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น เขาได้ทำลายขวัญด้วย การวินิจฉัยโรคเด็กที่เป็นโรคลมชัก แต่ตอนนี้เรารู้ว่าโรคลมชักเป็นอาการปรกติ ของโรคออทิซึม ครั้งหนึ่งเขาได้โวว่าเขาค้นพบเด็ก 9 ถึง 10 คน ที่ย้ายมาจากคลีนิคอื่นเพื่อมารักษา โรคออทิซีมที่คลีนิคของเขา โดยไม่มีการวินิจฉัยโรคออทิซึมแต่อย่างใด เคนเนอร์เป็นคนที่เฉลียวฉลาดคนหนึ่ง แต่จำนวนคนในทฤษฏีของเขา ไม่ได้จบลงด้วยดีเลย เขาจัดลำดับโรคออทิซึมเป็นรูปแบบ จากความผิดปรกติทางจิตตั้งแต่วัยเด็ก มาจากสาเหตุพ่อแม่เด็กที่เย็นชา และไม่แสดงออกถึงความรักเด็ก เด็กเหล่านี้ เขากล่าวว่า เหมือนกับถูกแช่ในตู้เย็นใบหนึ่ง ที่ไม่ได้ละลายน้ำแข็ง ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เคนเนอร์สังเกตเห็นว่าบางครั้งคนไข้วัยรุ่น ของเขาบางคน มีความสามารถพิเศษในบางเรื่องอย่าง เฉพาะเจาะจง เช่น ดนตรี คณิตศาตร์ และความจำ เด็กคนหนึ่งในคลีนิคของเขา สามารถจำแนกความแตกต่างเพลงซิมโฟนี 18 บทก่อนวัยสองขวบ เมื่อแม่ของเด็กเปิดหนึ่งในเพลงโปรด เพลงหนึ่งของเด็ก เขาจะร้องบอกเสียงดังว่า "เบโธเฟน" แต่เคนเนอร์ไม่สนใจสังเกตในเรื่อง ความสามารถพิเศษเหล่านี้ โดยอ้างว่าเด็กเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งของ ที่กำลังถูกย้อนคิดย้อนทำ เพราะพวกเขาได้ยินจากพ่อแม่ที่พูดเกินจริง เพราะสิ้นหวังกับการยอมรับในเรื่อง ที่ได้รับรู้ของพวกเขา โดยเหตุผลอีกอย่าง โรคออทิซึมเป็นเรื่องที่ น่าอับอายและอัปยศของหลายครอบครัว และคนสองรุ่นของเด็กที่เป็นโรคออทิซึ่ม ต่างหนีหายไปจากสถาบันต่าง ๆ เพื่อหนทาง ที่พวกเขาคิดว่าดี ด้วยการหายไปจากโลกจำนวนมาก เรื่องที่น่าแปลกใจต้องรอจนถึงปี ค.ศ. 1970 นักวิจัยหลายคนจึงเริ่มพิสูจน์ทฤษฏีเคนเนอร์ เรืองโรคออทิซึมที่ค่อนข้างหายาก ลอร์น่า วิง เป็นนักจิตวิทยาบำบัด การเรียนรู้ในลอนดอน ที่คิดว่าทฤษฏีเคนเนอร์เกี่ยวกับ ความเป็นพ่อแม่ที่เย็นชาไร้อารมณ์ เป็นเรื่อง "งี่เง่าเข้าไส้" ตามที่เธอบอกผม เธอกับจอห์น สามีของเธอต่างเป็นคนอบอุ่น และน่ารักใคร่ และพวกเขามีลูกสาวที่เป็นโรคออทิซึม อย่างเต็มที่ชื่อ ซูซี่ ลอร์น่ากับจอห์นต่างรู้ดีว่าเป็นงานหนักมาก ในการเลี้ยงดูเด็กอย่างซูซี่ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือในหลายด้าน การศึกษาพิเศษ และทรัพยากรอื่น ๆ ที่สุดเอื้อมถ้าไม่ได้รับ การวินิจฉัยโรคนี้ เพื่อทำให้เป็นกรณีกับบริการสุขภาพของชาติ ทั้งยังต้องมีทรัพยากรหลายอย่างที่จำเป็นกับ เด็กที่เป็นโรคออทิซึมกับครอบครัวของพวกเขา ลอร์น่ากับพื่อนร่วมงานของเธอ จูดิธ กูลด์ ได้ตัดสินใจที่จะทำบางอย่างที่ควรจะ มีการทำมาแล้วเมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ ทั้งสองคนทำการศึกษาโรคออทิซีมที่ชุก ในกลุ่มประชากรทั่วไป พวกเธอมุ่งเน้นในพื้นที่ของลอนดอน ในชุมชนที่เรียกว่า แคมเบอร์เวลล์ พยายามที่จะค้นหาเด็กออทิซึมในชุมชน แต่สิ่งที่พวกเธอเห็นทำให้รู้ชัดว่ารูปแบบ การศึกษาของเคนเนอร์มีวิธีการที่จำกัดมาก ขณะที่โรคออทิซึมที่แท้จริงมีมากกว่ามาก มีชีวิตชีวากับแตกต่างกันมาก เด็กบางคนไม่สามารถพูดได้เลย ขณะที่บางคนไปไกลกว่าด้วยการหลงใหล ในเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ไดโนเสาร์ หรือ ลำดับการสืบทอดราชวงศ์ ในอีกนัยหนึ่ง เด็กเหล่านี้ไม่ได้เรียนรู้ เรื่องความสุภาพ และการจัดกล่องให้เรียบร้อย หลังจากจูธิทวางไว้ทดสอบ และพวกเธอเห็นเด็กพวกนี้จำนวนมาก มีวิถีชีวิตที่มากกว่ารูปแบบเคนเนอร์ ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าที่เคยทำนายไว้ ในต้องแรกพวกเธอแทบจะสูญเสีย ความมั่นใจกับข้อมูลเหล่านี้ ทำไมไม่มีใครสังเกตเด็กเหล่านี้มาก่อน ต่อมาลอร์นาได้พบเอกสารอ้างอิง ที่เคยตีพิมพ์มาก่อนโดยบังเอิญ ในเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1944 หนึ่งปีหลังจากเอกสารของเคนเนอร์ และแล้วถูกลืมไป ถูกฝังไปกับเถ้าถ่านของช่วงเวลาที่เลวร้าย (สงครามโลกครั้งที่ 2) ไม่มีใครต้องการจดจำหรือคิดถึงมันอีก เคนเนอร์ก็รู้ดีเกี่ยวกับเอกสารของคู่แข่ง แต่ได้หลีกเลี่ยงอย่างไร้จริยธรรม ที่จะอ้างอิงไว้ในงานของเขา มันไม่เคยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ มาก่อนด้วยแต่อย่างใด แต่โชคดีที่สามีของลอร์น่าพูดภาษาเยอรมัน และเขาได้แปลเอกสารนี้ให้เธอ เอกสารนี้ได้เสนอเรื่องราวทางเลือกอีกทาง ให้กับโรคออทิซีม โดยนักเขียนชาย ฮันส์ แอสเปอร์เจอร์ ที่ทำงานที่คลีนิครวมแพทย์กับโรงเรียนประจำ ในเวียนนาในปี ค.ศ. 1930 แอสเปอร์เจอร์มีแนวคิดในการสอนเด็ก ด้วยการเรียนที่แตกต่างหลายอย่าง ที่ก้าวหน้ามากกว่ามาตรฐานต่าง ๆ ในยุคร่วมสมัย ทุกเช้าที่คลินิคของเขาจะเริ่มต้นด้วย การออกกำลังกายพร้อมเสียงดนตรี และเด็ก ๆ ต่างมีการละเล่นต่าง ๆ ใน วันอาทิตย์หลังเที่ยง แทนที่จะโทษพ่อแม่ที่เป็นสาเหตุของ โรคออทิซีม เอสเปอร์เจอร์วางเรื่องนี้ไว้ว่าเป็นเรื่อง ตลอดชีวิต พันธุกรรมที่บกพร่อง ที่ต้องการรูปแบบความเห็นอกเห็นใจ ด้วยการสนับสนุนและการปรับตัว มากกว่าแนวทางปฏิบัติแบบคนทั่วไปตลอดชีวิต แทนที่จะบำบัดรักษาเด็ก ๆ ในคลีนิค เหมือนกับพ่อแม่ แอสเปอร์เจอร์กับเรียกพวกเด็ก ๆ ว่า ศาตราจารย์ตัวน้อย ๆ แล้วระบุว่าต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขา เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา ที่เฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับพวกเขา ที่สำคัญมาก เอสเปอร์เจอร์สังเกตโรคออทิซีม เหมือนกับความหลากหลายอย่างต่อเนื่อง สะพานเชื่อมขอบเขตที่น่าประหลาดใจระหว่าง อัจฉริยะกับความโง่เขลา เขาเชื่อว่าโรคออทิซึมและการรักษาเป็น เรื่องธรรมดา และอย่างที่เป็นมาตลอด โดยการดูจากแง่มุมความต่อเนื่องในต้นแบบ ที่คุ้นเคยจากวัฒนธรรมที่นิยมกันทั่วไป คล้ายกับสังคมนักวิทยาศาสตร์ที่งุ่มง่าม และศาตราจารย์ที่ใจลอย เขาไปไกลมากจนพูดได้ว่า ดูเหมือนว่าเป็นความสำเร็จของด้าน วิทยาศาตร์กับด้านศิลปศาสตร์ คุณสมบัติของโรคออทิซึ่มที่จำเป็นอย่างยิ่ง ลอร์น่ากับจูดิธเชื่อว่าเคนเนอร์ได้ผิดพลาด ไปแล้วเรื่องโรคออทิซีมที่หายาก เหมือนกับพ่อแม่เด็กกำลังค้นพบมัน ในอีกเจ็ดปีต่อมา พวกเธอทำงานร่วมกับสมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา ทำให้บรรทัดฐานเรื่องนี้มีการวินิจฉัย เพื่อสะท้อนความหลากหลายของเรื่อง ที่เรียกว่าการคาดคะเนโรคออทิซีม ในช่วงหลังยุค 80 จนถึงต้นยุค 90 การเปลี่ยนแปลงของพวกเธอสร้างผลกระทบ ลบล้างรูปแบบความคิดคับแคบของเคนเนอร์ แทนที่ด้วยรูปแบบที่ครอบคลุมกว้างขวางกว่า ของเอสเปอร์เจอร์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นใน สุญญากาศ ด้วยการเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการที่ ลอร์น่ากับจูดิธที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ในการปรับปรุงการวินิจฉัยโรค ผู้คนทั่วโลกต่างรับรู้เรื่องโรคออทิซึ่ม ในวัยรุ่นเป็นครั้งแรก ก่อนหนังเรื่อง "มนุษย์ฝน" จะฉายในปี ค.ศ. 1988 มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในระบบจำนวนน้อยมาก ที่รู้เกี่ยวกับโรคออทิซึม แต่หลังจากดัสติน ฮอฟแมนต์ ลืมเรื่องศักยภาพ ของ เรย์มอนด์ แบพบิตต์ ทำให้ "มนุษย์ฝน" ได้รางวัลอเคเดมี่ กุมารแพทย์ แพทย์จิตวิทยา ครูและพ่อแม่ทั่วโลกต่างรู้จักโรคออทิซึ่ม ในเวลาเดียวกันโดยบังเอิญ เป็นครั้งแรกที่มีวิธีการง่าย ๆ ของคลีนิค นำมาใช้ในการทดสอบอาการโรคออทิซึม โดยไม่จำเป็นต้องไปพบกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวนน้อยอีกเลย เพื่อพัฒนาการลูกของคุณ พันธมิตรจากหนังเรื่อง "มนุษย์ฝน" คือการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่บรรทัดฐาน และการเริ่มต้นการทดสอบเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบกว้างขวาง การจู่โจมสมบูรณ์แบบกับการรับรู้โรคออทิซึม จำนวนครั้งในการวินิจฉัยโรคได้พุ่งทะยานขึ้น เหมือนกับที่ลอร์น่ากับจูดิธได้พยากรณ์ไว้ และได้คาดหวังไว้อย่างแท้จริง ว่าจะเป็นเช่นนั้น ทำให้คนที่เป็นออทิซีม และครอบครัวยอมเปิดเผยตัวตน ทำให้ในที่สุดได้รับการสนับสนุนและบริการ ในด้านต่าง ๆตามที่พวกเธอเรียกร้อง แล้ว แอนดริว เวคฟิลด์ ก็ตามมา การประนามว่าเข็มฉีดยาใช้ใน การตรวจโรคจากวัคซีนต่าง ๆ ง่ายแต่ทรงพลัง และเรื่องราวที่น่าเชื่อถือแต่ชักชวน ไปในทางผิด ๆ เหมือนที่ผิดพลาดเหมือนกับทฤษฏีเคนเนอร์ ว่าโรคออทิซีมหายากมาก ถ้าจากการประมาณการในตอนนี้ของ ซีดีซี มีเด็ก 1 คนในจำนวน 68 คนในอเมริกา ที่อยู่ในข่าย ถ้าถูกต้อง โรคออทิซึมเป็นหนึ่งในจำนวน คนกลุ่มน้อยที่มากที่สุดในโลก เมื่อไม่กี่ปีมานี้ คนที่เป็นโรคออทิซึม ต่างได้มาพบกันในอินเทอร์เน็ต เพื่อปฏิเสธความเชื่อที่ว่าพวกเขาเป็น ปริศนาที่รอการแก้ไข ด้วยการฝ่าฝันอุปสรรคทางการแพทย์ในภายหน้า สร้างคำนิยามว่า ระบบประสาทที่หลากหลาย เพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลาย ในการรับรู้ของผู้คน หนึ่งในวิธีการที่จะเข้าใจ ระบบประสาทที่หลากหลาย คือให้คิดถึงรูปแบบระบบในร่างกายของมนุษย์ เหมือนอย่างว่า พีซีที่ไม่ได้ใช้วินโดส์ ไม่ได้หมายความว่ามันใช้งานไม่ได้ โดยมาตรฐานโรคออทิซีม กับมันสมองของคนทั่วไป ที่สับสนวุ่นวายอย่างง่าย ๆ สังคมที่ถูกครอบงำ และความทุกข์จากการขาดความสนใจ ในเรื่องรายละเอียด ให้แน่ใจว่า คนที่เป็นออทิซีม มีช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในการอยู่บนโลกใบนี้ ที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพวกเขา [เจ็ดสิบ] หลายปีต่อมา เรายังชื่นชมกับเอสเปอร์เจอร์ ผู้ที่เชื่อมั่น การบำบัดรักษา โรคออทิซึม ที่คาดหวังว่าไร้ความสามารถมากทีสุด แต่ถูกค้นพบโดยครูหลายท่านที่เข้าใจ นายจ้างหลายคนที่จัดที่จัดทางให้ การช่วยเหลือของชุมชนต่าง ๆ และพ่อแม่ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของลูก ๆ ชายที่เป็นออทิซึม ชื่อว่าโซเซีย แซกส์ ครั้งหนึ่งพูดว่า "เราต้องการทุกคนอย่างเร่งด่วน เพื่อนำทางเรือมนุษย์ชาติ" ขณะที่เรากำลังแล่นผ่านอนาคตที่ไม่แน่นอน เราต้องการความเฉลียวฉลาดทุกรูปแบบ ของมนุษยชาติบนโลกใบนี้ ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา กับความท้าทายหลายเรื่องที่พวกเราเจอในสังคม เราไม่สามารถสูญเสียมันสมองอีกต่อไปแล้ว ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)