ทั่วโลก
มีคนราว ๆ 60 ล้านคนที่ถูกบีบบังคับ
ให้ต้องทิ้งบ้านตนเอง
เพื่อหนีสงคราม ความรุนแรง และการฆาตกรรม
พวกเขาส่วนใหญ่
กลายเป็นคนพลัดถิ่นภายในประเทศ
ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาอพยพจากบ้านตนเอง
แต่ยังคงอยู่ภายในประเทศของตนเอง
บางคนข้ามพรมแดนเพื่อหาที่อาศัยนอกประเทศ
พวกเขามักจะถูกเรียกว่าผู้ลี้ภัย
แล้วนิยามจริง ๆ ของคำนี้คืออะไร
โลกรู้จักกับผู้ลี้ภัยมานานนับพันปีแล้ว
แต่นิยามสมัยใหม่ถูกกำหนดขึ้นโดย
การประชุมใหญ่สหประชาชาติปี ค.ศ.1951
เกี่ยวกับสถานะภาพของผู้ลี้ภัย
เพื่อสนองตอบต่อการฆาตกรรมครั้งใหญ่
และการอพยพช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
มันให้นิยามว่า ผู้ลี้ภัยคือใครก็ตาม
ที่อยู่นอกประเทศที่ตนเองมีสัญชาติอยู่
และไม่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นกำเนิด
ของพวกเขาได้
เพราะรู้ตัวดีว่าจะต้องถูกทำร้าย
สาเหตุการสังหารและทำร้ายนั้น
อาจเป็นเพราะเชื้อชาติ ศาสนา ชาติพันธุ์
การเป็นสมาชิกของบางกลุ่ม
หรือด้วยเหตุผลทางการเมือง
และมันมักจะเกี่ยวข้องกับสงครามและความรุนแรง
ทุกวันนี้ ประมาณครึ่งหนึ่ง
ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกคือเด็ก
บางคนไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พวกเขา
เสี่ยงต่อการเป็นแรงงานเด็ก
หรือการค้าทางเพศ
เรื่องราวของผู้ลี้ภัยแต่ละคนต่างแตกต่างกัน
และหลายคนอาจมีประสบการณ์การเดินทางไกล
ที่อันตรายและมีจุดหมายที่ไม่อาจคาดเดาได้
แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงว่าการเดินทางไกล
ของพวกเขาไปข้องเกี่ยวกับอะไรบ้าง
มาทำความเข้าใจกับเรื่องหนึ่งเสียก่อน
มีความสับสนอย่างมากเกี่ยวกับความแตกต่าง
ระหว่างคำว่า
"ผู้ย้ายถิ่น" กับ "ผู้ลี้ภัย"
"ผู้ย้ายถิ่น" โดยทั่วไปหมายถึงประชากร
ที่ออกจากประเทศของตนเอง
ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
การทำร้ายและสังหาร
เช่น การหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า
หรือหลีกหนีจากพื้นที่แห้งแล้งเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า
มีประชากรจำนวนมากทั่วโลกที่ต้องพลัดถิ่น
เพราะหายนะทางธรรมชาติ
ความแร้นแค้นของอาหารการกิน
และความทุกข์ยากอื่น ๆ
แต่กฎหมายระหว่างประเทศ
ไม่ว่ามันจะมีความถูกต้องหรือไม่
ระบุแต่เพียงว่าใครก็ตามที่หนีความขัดแย้ง
และความรุนแรงจึงจะเป็นผู้ลี้ภัย
แล้วจะอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อใครสักคน
หนีออกมาจากประเทศของตนเอง
การเดินทางไกลของผู้ลี้ภัย
ยาวนานและเต็มไปด้วยภยันตราย
มีข้อจำกัดในการหาที่พัก น้ำ หรืออาหาร
เพราะการอพยพอาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว
ข้าวของทุกอย่างอาจถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
และคนที่หลบหนีจากความขัดแย้ง
ก็มักจะไม่มีเอกสารที่จำเป็น
เช่น หนังสือเดินทาง เพื่อขึ้นเครื่องบิน
และเข้าเมืองต่าง ๆ อย่างถูกกฎหมาย
ข้อจำกัดทางการเงินและการเมือง
ยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของพวกเขา
ด้วยวิถีทางตามปกติ
นั่นหมายถึงว่า โดยทั่วไปพวกเขาต้องเดินทาง
ทางบกหรือทางทะเลเท่านั้น
และบางทีต้องฝากความหวังไว้
กับพวกลักลอกพาคนหลบหนีเข้าเมือง
ให้ช่วยพาพวกเขาข้ามชายแดน
ในขณะที่บางคนแสวงหาที่ปลอดภัย
ไปพร้อมกับครอบครัวของพวกเขา
บางคนพยายามที่จะเดินทางเพียงลำพัง
และทิ้งคนรักพวกเขาไว้เบื้องหลัง
ด้วยความหวังว่าจะกลับไปพบกันในภายหลัง
การแยกจากกันอาจสะเทือนใจ
และทำให้ต้องกล้ำกลืนฝืนทนเป็นเวลานาน
ในขณะที่ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ต่างอยู่ในเมือง
บางครั้งจุดพักแรกของผู้อพยพจากความขัดแย้ง
คือค่ายพักผู้ลี้ภัย
ซึ่งโดยทั่วไปจัดการโดยองค์การเพื่อผู้ลี้ภัย
ของสหประชาชาติ หรือรัฐบาลท้องถิ่น
ค่ายพักผู้ลี้ภัยจงใจถูกสร้างขึ้นมา
ให้มีโครงสร้างอย่างง่าย ๆ
เพื่อให้ที่พักอาศัยในช่วงเวลาสั้น ๆ
จนกว่าผู้อยู่อาศัยจะพร้อมกลับบ้าน
เข้าร่วมอยู่กับประเทศเจ้าบ้าน
หรือไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศอื่น
แต่บ่อยครั้งที่การไปตั้งรกรากใหม่
และการเข้าอยู่ในระยะยาวมีข้อจำกัด
ทำให้ผู้ลี้ภัยหลายคนถูกทอดทิ้ง
ทำให้จำต้องอยู่ในค่ายที่พักเป็นเวลาหลายปี
และบางครั้งก็หลายสิบปี
เมื่อเข้าเข้าไปในประเทศใหม่แล้ว
ขั้นตอนทางกฎหมายแรกสำหรับคนพลัดถิ่น
คือการสมัครเข้าไปอยู่สถานที่ลี้ภัย
ณ จุดนี้เอง พวกเขาคือผู้ขอลี้ภ้ย
และยังไม่มีสถานภาพการเป็นผู้ลี้ภัย
จนกว่าคำร้องจะผ่านการพิจารณายอมรับ
ขณะที่หลายประเทศมีความเข้าใจ
ต่อความหมายของคำว่าผู้ลี้ภัยคล้ายกัน
ทุกประเทศเจ้าบ้านต่างก็ต้องรับผิดชอบ
กับการตรวจสอบคำร้องเพื่อขอลี้ภัย
และพิจารณาว่าผู้ยื่นคำร้อง
จะได้รับสถานะภาพเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่
แต่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกันอย่างมาก
ประเทศเจ้าบ้านมีหน้าที่สองสามอย่าง
ต่อคนที่ได้รับการรับรองสถานภาพว่าเป็นผู้ลี้ภัย
เช่น ให้หลักประกันมาตรฐานขั้นต่ำ
ในการรักษาพยาบาล และการไม่เลือกปฏิบ้ติ
พันธกรณีที่เป็นพื้นฐานที่สุดคือ
ต้องไม่ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศ
ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเพื่อป้องกันประเทศ
จากการส่งตัวบุคคล
กลับไปยังประเทศ
ที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาถูกคุกคาม
แต่ตามความจริงแล้ว
ผู้ลี้ภัยต่างตกเป็นเหยื่อ
ของความไม่แน่นอนและการเลือกปฏิบัติ
พวกเขาต่างถูกบังคับให้สร้างชีวิตขึ้นใหม่
ท่ามกลางคนที่เกลียดชังคนต่างถิ่นอย่างพวกเขา
และการเหยียดเชื้อชาติ
และบ่อยครั้ง พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน
และต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเด็กผู้ลี้ภัยจำนวนมาก
ต้องออกจากโรงเรียน
เนื่องจากขาดทุนสนับสนุนเพื่อการศึกษา
ถ้าคุณมองย้อนกลับไปดูประวัติครอบครัวของคุณ
เป็นไปได้ว่าคุณจะพบจุดสำคัญ
ที่บรรพบุรุษของคุณ
ถูกบังคับให้ออกจากบ้านเกิดของตนเอง
ไม่ว่าจะเป็นการหนีภัยสงคราม
หรือจากการถูกเลือกปฏิบัติ และการถูกทำร้าย
มันเป็นสิ่งที่ดี ที่เราควรจะจดจำเรื่องราวเหล่านี้
เมื่อเราได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
ที่ตอนนี้ต้องอพยพย้ายที่อยู่
เพื่อหาบ้านหลังใหม่